TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistภูมิคุ้มกันหมู่ กับ วัคซีนทางเลือก ... เลือกที่ จะต้องจ่ายแพงกว่า

ภูมิคุ้มกันหมู่ กับ วัคซีนทางเลือก … เลือกที่ จะต้องจ่ายแพงกว่า

มาถึงเวลานี้ คงไม่ต้องย้อนกลับไปถามว่า ทำไมประเทศไทยจึงการจัดซื้อวัคซีนเพียง 2 ยี่ห้อ คือ วัคซีน CoronaVac  ของซิโนแวค (Sinovac) ที่นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม (อก.) และวัคซีน AZD1222 ของ AstreZeneca  นำเข้าโดย บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด เพราะขณะนี้มีผู้นำเข้าวัคซีนหลายยี่ห้อทยอยขึ้นทะเบียนขออนุญาตจาก คณะกรรมการองค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขแล้ว เช่น 

  • วัคซีน JNJ -78436735 ของ Johnson & Johnson  นำเข้าโดย บริษัท แจนเซ่น-ซีแลก จำกัด 
  • วัคซีน mRNA-1273  ของ Moderna  นำเข้าโดย บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด
  • วัคซีน Covaxin  ของ Bharat Biotech  นำเข้าโดย บริษัท ไบโอเจเนเทค จำกัด 
  • วัคซีน Sputnik V ของ Sputnik V นำเข้าโดย บริษัท คอนเจน ไบโอเทค จำกัด 
  • วัคซีน BNT162b2 ของ Pfizer ร่วมกับ BioNTech นำเข้าโดย บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

ยังมีวัคซีนยี่ห้ออื่น อีกหลายยี่ห้อพี่พยายามเข้ามานำเสนอ แต่วัคซีนโควิด-19 ไม่ใช่สินค้าทั่วไป ที่ใครคิดจะนำเข้ามาเข้ามาจำหน่ายก็ได้ ต้องได้รับอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Authorization: EUA) โดยหน่วยงานควบคุมกำกับของแต่ละประเทศ

เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 ถูกผลิตขึ้นมา ใช้กระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ดังนั้น อาจจะเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ บริษัทผู้ผลิตจึงอยากจำหน่ายให้กับรัฐบาลที่ต้องการซื้อวัคซีนโควิด-19 โดยจะต้องยอมรับว่า จะไม่ฟ้องร้องหรือเรียกค่าความเสียหายจากบริษัท หากมีผลข้างเคียงใดเกิดขึ้น

สำหรับประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในฐานะหน่วยงานของรัฐเป็น ผู้รับผิดชอบนำเข้าวัคซีนตามแต่ที่เจรจาได้ แล้วมาขายต่อให้ภาคเอกชน เอกชนที่บริการฉีดให้ประชาชน จะต้องมีการควบคุม มีการลงทะเบียนผู้รับวัคซีน ติดตามความปลอดภัย ผลข้างเคียงต่าง ๆ ด้วย

จากกระบวนการข้างต้น เท่ากับว่า ต้องมี บริษัทผู้ผลิตวัคซีนในฐานะเจ้าของผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัทผู้นำเข้าวัคซีนในฐานะผู้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนวัคซีนกับองค์การอาหารและยา องค์การเภสัชกรรมในฐานะ “นายหน้า” และผู้ประกอบการในประเทศ คือ โรงพยาบาลเอกชน หรือสถานพยาบาลเอกชน ในฐานะผู้ฉีดให้ประชาชนคนไทย 

นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับ “ดนัย เอกมหาสวัสดิ์” ในรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ประเด็นดังกล่าวว่า เป็นการทำให้วัคซีนมีราคาสูงกว่าเดิม เพราะจากบริษัทผู้ผลิต ขายต่อให้ บริษัทนำเข้า โดยบริษัทผู้นำเข้า บวกราคาค่าบริหารจัดการ 10% -15% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ก่อนจะขายต่อให้องค์การเภสัชกรรม ซึ่งองค์การเภสัชกรรมขายต่อให้โรงพยาบาลเอกชน ด้วยการคิดราคาค่าบริหารจัดการ 5% – 10% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%  เท่ากับประชาชนคนฉีดวัคซีน ต้องจ่ายเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 14% และค่าบริหารจัดการอีกประมาณ 15% – 25%

“ก่อนหน้านี้ 7 เดือน ได้เคยเจรจรากับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนโดยตรง เพื่อสั่งจอง ซึ่งหากโรงพยาบาลซื้อตรงกับบริษัทวัคซีนเองจะไม่เสียภาษี เพราะได้รับการยกเว้น แต่เนื่องจากเป็นวัคซีนฉุกเฉิน บริษัทผู้ผลิตวัคซีนจึงอยากจำหน่ายให้รัฐบาล จึงทำให้วัคซีนมีราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดให้มีการทำประกันความเสี่ยงหลังฉีดด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังจะหารือกับรัฐบาลว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มขององค์การเภสัชกรรมควรได้รับการยกเว้น”

นอกเหนือจากเรื่องราคาค่าวัคซีนที่สูง ยังมีประเด็นเรื่องการจองวัคซีนยี่ห้ออื่นล่าช้า ก่อนหน้านี้เคยมีกระแสข่าวว่า ไฟเซอร์ เสนอขายวัคซีนให้กับรัฐบาลไทย 4 ครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง ที่ผ่านมาไฟเซอร์ได้เข้ามานำเสนอข้อมูลผลการวิจัยในระยะต่าง ๆ รวมถึงผลการใช้จริงในต่างประเทศให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติและกรมควบคุมโรคเป็นระยะ ไม่เคยมีการปฏิเสธการเข้าพบ 

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ที่ผ่านมา “อัลเบิร์ต เบอร์ลา” ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไฟเซอร์  อิงค์ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยผ่านบัญชี LinkedIn ของตัวเอง ว่า ประเทศที่มีรายได้กลาง-ต่ำ ไม่ยอมสั่งวัคซีนของไฟเซอร์ ทั้งที่ตนเองติดต่อผ่านทางจดหมาย โทรศัพท์ หรือแม้กระทั่งส่งข้อความ ไปถึงผู้นำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อให้ทั่วโลกสามารถเข้าถึงวัคซีนชนิดนี้ ทั้งที่ไฟเซอร์มีการเสนอราคาวัคซีนแบบเป็นลำดับชั้น ไปให้แก่ประเทศรายได้ต่ำ-ปานกลาง โดยประเทศที่มีรายได้ปานกลางสามารถซื้อวัคซีนไฟเซอร์ในราคาครึ่งหนึ่ง ส่วนประเทศรายได้ต่ำสามารถซื้อวัคซีนในราคาต้นทุน 

เช่น ราคาวัคซีนไฟเซอร์ในสหรัฐอเมริกา วัคซีนสองโดสของไฟเซอร์อยู่ที่ราคา 39 ดอลลาร์  หรือโดสละ 20 ดอลลาร์ ในขณะที่รัฐบาลโคลอมเบียจ่ายเงินซื้อวัคซีนของไฟเซอร์ในราคาโดสละ 12 ดอลลาร์ และรัฐบาลประเทศแอฟริกาใต้ซื้อวัคซีนไฟเซอร์ในราคาโดสละ 10 ดอลลาร์  เป็นไปตาม

อนุทิน ชาญวีรกูล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่องการจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ ว่า ได้เจรจากับผู้แทนบริษัทไฟเซอร์ ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 10-20 ล้านโดส ตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป และอย.จะอำนวยความสะดวกการขึ้นทะเบียนวัคซีนไฟเซอร์ให้เร็วที่สุด เพราะขณะนี้ไฟเซอร์ยังไม่ได้ยื่นเอกสารเพื่อขอประเมินคำขอขึ้นทะเบียนวัคซีนในประเทศไทยเลย 

น.พ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ระบุว่า วัคซีนที่เอกชนที่สามารถนำเข้ามาเอง ได้แก่ วัคซีนโมเดอร์นาและซิโนฟาร์ม แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากรัฐบาลไทยใช้แนบในการจัดซื้อ และสั่งผ่านองค์การเภสัชกรรม และองค์การเภสัชกรรม จะสั่งซื้อผ่านบริษัทผู้นำเข้าเอง แต่จะพยายามเร่งการนำเข้ามาให้เร็วที่สุด

จะเห็นว่า ขณะนี้ทั้งภาครัฐและภาคอกชนพยายามร่วมมือกันเพื่อจัดหาวัคซีน มาฉีดให้ประชาชนคนไทยให้จำนวนมากที่สุด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้น. ในขณะเดียวกันถ้าเป็นไปได้ รัฐบาลควรพิจารณาราคาของวัคซีนทางเลือกให้สมเหตุสมผล เพราะถ้าประชาชนไม่มั่นใจในวัคซีนที่รัฐบาลจัดให้ ก็จะไม่เกิดการฉีด แต่ประชาชนบางคนยินดีจ่ายเงินเพื่อฉีดวัคซีนทางเลือกที่ตนเองมั่นใจ ก็จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้เช่นกัน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ