TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Technology Kaspersky คาดการณ์ 4 ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในอาเซียน ปี 2022

Kaspersky คาดการณ์ 4 ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในอาเซียน ปี 2022

Kaspersky คาดการณ์ 4 ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในอาเซียน ปี 2022: แรนซัมแวร์ การหลอกลวงขั้นสูง การละเมิดข้อมูล การโจมตีคริปโท และ NFT ปี 2022

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลกกำลังเตรียมพร้อมเพื่อการฟื้นตัวจากโรคระบาดที่ยาวนานสองปี บริษัทและผู้คนทุกวัยพร้อมที่จะหวนคืนสู่ความรู้สึกปกติด้วยมาตรการกลับไปทำงานออฟฟิศ กลับไปโรงเรียน และเดินทางท่องเที่ยว

แต่อย่างที่ได้เห็นในปี 2021 ที่ผ่านมา อาชญากรไซเบอร์สามารถกำหนดเป้าหมายการโจมตีไปยังอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งสายการบิน โรงพยาบาล เว็บไซต์ของรัฐบาล ธนาคาร บริษัทโทรคมนาคมมหาวิทยาลัย อีคอมเมิร์ซ และแม้แต่ บริษัทยักษ์ใหญ่ในโซเชียลมีเดีย ด้วยวิธีการซับซ้อน

ผู้เชี่ยวชาญจากทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลกของแคสเปอร์สกี้ (Global Research and Analysis Team – GReAT) ได้เปิดเผยแนวโน้มสำคัญ 4 ประการที่ต้องระวังในปีนี้เพื่อให้องค์กรและบุคคลทั่วไปได้ติดตามภูมิทัศน์ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตที่เปลี่ยนแปลงไปและรักษาความปลอดภัยของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค ดังนี้

1. การโจมตีแรนซัมแวร์แบบกำหนดเป้าหมายลดลงช่วงเวลาของการระบาดของโควิดใกล้เคียงกับการเพิ่มขึ้นของแรนซัมแวร์แบบกำหนดเป้าหมายทั่วโลก โดยมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายที่มีค่าที่สุด และธุรกิจที่มีความอ่อนไหวต่อการหยุดชะงักหลายบริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีดังกล่าว อย่างไรก็ตามด้วยความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างประเทศและหลายหน่วยงานในการติดตามกลุ่มแรนซัมแวร์ ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้เชื่อว่าจำนวนการโจมตีจะลดลงในปี 2022

วิทาลี คัมลัก ผู้อำนวยการทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลกของแคสเปอร์สกี้เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “รัฐบาลสหรัฐเอฟบีไอและหน่วยบัญชาการไซเบอร์ของสหรัฐพร้อมความสามารถเชิงรุกได้คาดการณ์เบื้องต้น เราคาดว่าการโจมตีอาจเกิดขึ้นอีกครั้งในภายหลังโดยเน้นไปที่การโจมตีประเทศกำลังพัฒนาที่มีความสามารถในการตรวจสอบทางไซเบอร์น้อย หรือประเทศที่ไม่ใช่พันธมิตรของสหรัฐ” จากจุดยืนทางภูมิศาสตร์การเมืองของบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มว่าจะมีการโจมตีดังกล่าวจะน้อยลงหรือไม่มีเลยในบางประเทศในปี 2022 อย่างไรก็ตาม บริการโฮสติ้งที่พร้อมให้บริการในประเทศต่าง ๆ อย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย บริการดาต้าเซ็นเตอร์และโครงสร้างพื้นฐานจะยังคงเป็นเป้าหมายการโจมตีโดยกลุ่มแรนซัมแวร์

2. การหลอกลวงและวิศวกรรมสังคมขั้นสูงลักษณะเด่นประการหนึ่งของพลเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้วคือความรู้สึกปลอดภัยที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สร้างความรู้สึกปลอดภัยทางออนไลน์ในระยะยาวเช่นกันด้วยเหตุนี้ ประชากรทั่วไปจึงมีโอกาสถูกคุกคามทางไซเบอร์แบบเดิม ๆ น้อยลงการหาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีการป้องกัน เป็นไปได้ยากขึ้นทำให้ผู้โจมตีมุ่งเน้นไปที่การโจมตีที่ไม่เน้นเทคโนโลยีและใช้ช่องโหว่ของมนุษย์แทน

เช่น การหลอกลวงทุกประเภทผ่าน SMS การโทรอัตโนมัติ แอพฯแมสเซ็นเจอร์ส่งข้อความยอดนิยม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ฯลฯ จากข้อมูลของ กองกำลังตำรวจสิงคโปร์จำนวนรายงานการหลอกลวงยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนี้ +16% (2021), +108.8% (2020), +27.1% (2019), +19.5% (2018) ข้อมูลนี้สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเช่นกัน ประชาชนในไทยเกือบ 40,000 คนถูก หลอกลวง จากธุรกรรมบัญชีธนาคารและบัตรเครดิตที่อธิบายไม่ได้นักต้มตุ๋นใช้เว็บไซต์ธนาคารปลอมเพื่อขโมยรายละเอียดการธนาคารที่มาเลเซียเมื่อปีที่แล้วและการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่นบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำในเวียดนามเพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้ส่งเงินให้

วิทาลี กล่าวเสริมว่า “แนวโน้มนี้ขับเคลื่อนโดยระบบอัตโนมัติของบริการบางประเภท เช่นการโทรและการส่งข้อความอัตโนมัติตามมาด้วยพฤติกรรมที่คาดเดาไว้ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหลอกลวงเราเชื่อว่าแนวโน้มนี้จะพัฒนาต่อไปในอนาคต รวมถึงการผลิตเอกสาร รูปภาพ วิดีโอดีพเฟคปลอม และการสังเคราะห์เสียง มีความเป็นไปได้ที่อาชญากรไซเบอร์จะเปลี่ยนจากแผนการหลอกลวงที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเป็นอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตที่อิงการรุกล้ำของสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ (เช่น บัญชีผู้ใช้ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) มีแนวโน้มว่าเราจะได้เห็นความพยายามครั้งแรกของการหลอกลวงขั้นสูงทางเทคนิคดังกล่าวในปี 2022”

3. การละเมิดข้อมูลโดยผู้โจมตีที่ไม่ระบุชื่อมากขึ้นด้วยการลดลงของการโจมตีแรนซัมแวร์แบบกำหนดเป้าหมาย (targeted ransomware) ซึ่งเปิดเผยข้อมูลที่ถูกขโมยและประกาศตัวรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ละเมิดข้อมูล

“เราจะเห็นการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่ถูกขโมยในตลาดมืดมากขึ้น วิทาลี กล่าวว่า “การระบุตัวผู้โจมตีและแหล่งที่มาของการละเมิดเป็นสิ่งท้าทายอยู่เสมอแต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราสังเกตว่าการละเมิดข้อมูลในหลายกรณีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อไม่สามารถระบุตัวผู้โจมตี หรือค้นหาว่าตนเองถูกบุกรุกได้อย่างไรจากการวิจัยของเราพบว่าสัดส่วนดังกล่าวนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงสองปีที่ผ่านมาซึ่งสูงกว่า 75%” ผู้เชี่ยวชาญจากแคสเปอร์สกี้เชื่อว่านี่ไม่เพียงเป็นสัญญาณของความท้าทายที่ผู้ป้องกันไซเบอร์ต้องเผชิญเท่านั้นแต่ยังเป็นปัจจัยที่สร้างแรงบันดาลใจและเป็นสัญญาณให้อาชญากรไซเบอร์รายอื่น ๆ ที่แฝงตัวเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการขโมยข้อมูลและการซื้อขายที่ผิดกฎหมายอีกด้วย”

ด้วยเหตุนี้ แคสเปอร์สกี้จะสังเกตดาต้าเบสที่ถูกขโมย การสื่อสารภายในและรายละเอียดส่วนบุคคลที่ขโมยจากบริษัทต่าง ๆ และซื้อขายในตลาดมืดมากยิ่งขึ้น

4. การโจมตีวงการเงินคริปโท และ NFT จากการสังเกตผู้โจมตีที่มีทรัพยากรมนุษย์จำนวนมาก เช่น กลุ่มลาซารัส (Lazarus) และกลุ่มย่อยบลูโนรอฟฟ์ (BlueNoroff) นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้คาดว่าจะมีการโจมตีคลื่นลูกใหญ่ในธุรกิจเงินคริปโท อุตสาหกรรม NFT (โทเค็นที่ไม่สามารถทดแทนได้) ที่กำลังเติบโตก็จะตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์เช่นกัน เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้นำด้านความเป็นเจ้าของ NFT ฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับต้น ๆ ที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว โดยมี 32% และในบรรดายี่สิบประเทศที่ทำการสำรวจ ประเทศไทย (26.2%) อยู่ในอันดับที่สองรองลงมาคือมาเลเซีย (23.9%) เวียดนามอยู่ที่อันดับ 5 (17.4%) และสิงคโปร์อยู่ที่ 14 (6.8%)

วิทาลี กล่าวว่า “จากการโจมตีพนักงานสตาร์ตอัพคริปโทโดยตรงและการแลกเปลี่ยนสกุลเงินผ่านวิศวกรรมสังคมที่ซับซ้อน การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ ซัพพลายเออร์ปลอมไปจนถึงการโจมตีจำนวนมากผ่านซอฟต์แวร์ซัพพลายเชนและคอมโพเนนต์ (เช่น โค้ดไลบรารีบุคคลที่สาม) เราจะเห็นการโจมตีลักษณะนี้มากขึ้น นอกจากนี้เราจะเห็นการโจรกรรมทรัพย์สิน NFT มากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ส่งผลต่อทักษะการสืบสวนของตำรวจจึงทำให้เกิดการโจมตีดังกล่าวในขั้นต้นได้”

นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญจากแคสเปอร์สกี้คาดว่า การโจมตีเหล่านี้จะไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อตลาดสกุลเงินคริปโททั่วโลก แต่ยังรวมถึงราคาหุ้นของบริษัทแต่ละแห่งด้วยซึ่งผู้โจมตีจะสร้างผลกำไรผ่านการซื้อขายข้อมูลเชิงลึกที่ผิดกฎหมายในตลาดหุ้นรายงานเพิ่มเติมเรื่อง Kaspersky Security Bulletin (KSB) ซึ่งเป็นเอกสารการคาดการณ์ประจำปีและรายงานการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญในโลก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ดลับสตาร์ตอัพอายุ 10 ปีอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่ใช่แค่อยู่รอดแต่ยังเติบโต

KBank Private Banking ส่ง LH-THAIPE1UI กองทุนหุ้นนอกตลาดแรกของไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

โตโยต้า ทูโช เน็กซ์ตี จับมือพันธมิตร จัดแข่งขันพัฒนาซอฟต์แวร์ขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับผ่าน Virtual Simulation

บริษัทโตโยต้า ทูโช เน็กซ์ตี อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (NETH) จัดการแข่งขันพัฒนาซอฟต์แวร์จำลองการขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับ ผ่าน Virtual Simulation

ส่องกระแส ChatGPT เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

ตั้งแต่ ChatGPT ถูกเปิดตัวในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 มีกระแสการพูดถึงแชทบอทตัวนี้อย่างล้นหลามในหลายแวดวง เนื่องมาจาก ChatGPT มีระบบ AI ที่สามารถหาคำตอบให้คู่สนทนาได้อย่างรวดเร็ว ด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติและสามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนได้

T&B เปิดตัว ศูนย์รวมทรานส์ลูเซีย เมตาเวิร์ส ที่แรกของโลก พร้อมนำธุรกิจบันเทิงเข้าสู่โลกเสมือนเต็มตัว

บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตซีรีส์แอนิเมชั่นและคอนเทนต์เพื่อความบันเทิงชั้นนำของประเทศไทย จัดงาน “The Universe of Happiness” เปิดตัวโครงการใหญ่ ศูนย์รวมแห่งเมตาเวิร์ส ทรานส์ลูเซีย

ช่อง 8 ต้อนรับ “พุทธอภิวรรณ” นั่งแท่นผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายข่าวคนใหม่ ดันเรตติ้ง

หลังจาก เฮียฮ้อ-สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ อาร์เอส กรุ๊ป ประกาศผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ต้อนรับ พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี เป็นผู้อำนวยข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 คนใหม่

Helperlink แพลตฟอร์มออนไลน์ตัวกลางจัดหางานซาอุฯ เปิดลงทะเบียนฟรี ค่าแรงสูง-สวัสดิการดี

Helperlink แพลตฟอร์มออนไลน์จัดหางานในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ตัวกลางเชื่อมโยงนายจ้างและแรงงานผู้ช่วยดูแลงานบ้าน เปิดให้ลงทะเบียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

AIS โชว์ศักยภาพบนเวทีโลก คว้ารางวัล WSIS Prize 2023

AIS พาโครงการ “อุ่นใจ CYBER” เป็นตัวแทนประเทศ คว้ารางวัลด้านความยั่งยืนระดับโลก ติดอันดับ 1 ใน 5 จาก 1,800 โครงการทั่วโลก

เสียวหมี่ เปิดตัว Xiaomi 13 Series “co-engineered with Leica” สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุด

เสียวหมี่ ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุด – Xiaomi 13 Series – สู่ตลาดต่างประเทศ ณ งานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน

เทนเซ็นต์ คลาวด์ ส่ง Metaverse Solution Suite ยกระดับผู้ประกอบการไทย

จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้การเชื่อมต่อระหว่างโลกเสมือน และโลกความเป็นจริงแข็งแกร่งมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มมองหาโอกาสจากการสร้างแพลตฟอร์ม

ย้อนเวลาสู่อาณาจักรโรมัน…ตามล่าบทเรียนวิกฤติการเงินเขย่าโลก

หากคุณได้ติดตามข่าวมาบ้าง น่าจะรู้ว่าในปี 2565 ที่ผ่านมาได้เกิดความผันผวนขึ้นอย่างหนักในโลกการเงิน จนหลายคนภาวนาอยากให้วิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านพ้นไปเสียที

Skooldio ติดโผ สตาร์ตอัพเติบโตสูงระดับเอเชียแปซิฟิก เข้าชิง Global Startup Awards 2023

Skooldio ผู้ให้บริการด้านทักษะดิจิทัล หรือ Digital Skills สำหรับวัยทำงาน ในเครือ LEARN Corporation ติดอันดับ High-Growth Companies Asia-Pacific 2023

MUST READ

เทนเซ็นต์ คลาวด์ ส่ง Metaverse Solution Suite ยกระดับผู้ประกอบการไทย

จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้การเชื่อมต่อระหว่างโลกเสมือน และโลกความเป็นจริงแข็งแกร่งมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มมองหาโอกาสจากการสร้างแพลตฟอร์ม

ออปโป้ เตรียมเปิดตัวสมาร์ทโฟนแฟลกชิป จอพับรุ่นแรก OPPO Find N2 Flip

ดีแทค แนะนำแพ็กเกจใหม่ DTAC 5G BETTER WONDERFUL ดูฟรีทุกความบันเทิง

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ตั้งเป้าปี 66 รายได้ 1,700 ล้าน ขยายพอร์ตกว่า 400 โครงการ

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ผู้นำในธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเมนต์ไทย เผยผลงานบริหารจัดการโครงการ ด้วยพื้นที่บริหารมากที่สุดกว่า 18 ล้านตร.ม.

SHEconomy กับการสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจไทย

8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสตรีสากล (International Women’s Day) ซึ่งในปัจจุบันทุกภาคส่วนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบทบาทของสตรี

เชฟรอน ผนึกพันธมิตร จัดงาน Southeast Asian STEM Education Fair and Exposition 2023

หากพูดถึงโครงการพัฒนาการเรียนรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือ STEM โครงการ “Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต”
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น