TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Technology ส่องกระแส ChatGPT เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

ส่องกระแส ChatGPT เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

ตั้งแต่ ChatGPT ถูกเปิดตัวในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 มีกระแสการพูดถึงแชทบอทตัวนี้อย่างล้นหลามในหลายแวดวง เนื่องมาจาก ChatGPT มีระบบ AI ที่สามารถหาคำตอบให้คู่สนทนาได้อย่างรวดเร็ว ด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติและสามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนได้ โดยระบบจะรวบรวมข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แล้วทำการประมวลผลเพื่อหาคำตอบให้แก่ผู้ใช้ ทำให้มีการพูดถึงความฉลาด และการนำความสามารถของ ChatGPT มาใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลากหลายอุตสาหกรรมในวงกว้าง

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน 2565 ถึง 12 มีนาคม 2566  ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE  พบว่ามีเอ็นเกจเมนต์ทั้งสิ้น 1,811,162 เอ็นเกจเมนต์และมีข้อความที่พูดถึง ChatGPT 12,452 ข้อความ โดยพบเอ็นเกจเมนต์มากที่สุดในช่องทาง Facebook คิดเป็น 50.82%, Twitter คิดเป็น 28.65%, อื่นๆ ได้แก่ ช่องทางข่าว (News), Youtube, Instagram, และ Forum ตามลำดับ

พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียเกี่ยวกับ ChatGPT ชัดเจน

จากรูป จะเห็นได้ว่า หลังจากเปิดตัว ChatGPT เอ็นเกจเมนต์ที่เกิดขึ้นจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านช่องทาง TikTok จากนั้น เริ่มมีการพูดถึงความเคลื่อนไหวในแวดวงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ ChatGPT ผ่านช่องทาง Facebook มากเป็นอันดับหนึ่ง สอดคล้องกับการเป็นโซเชียลมีเดียที่มีจำนวนผู้ใช้งาน (Active User) สูงที่สุด* เมื่อเทียบกับช่องทางอื่นๆ ส่วน Twitter ข้อความพูดถึงเรื่องของการแชร์ประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ ChatGPT โดยผู้ใช้งาน Twitter ที่ส่วนมากเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีความสอดคล้องกันกับช่วงอายุในข้อมูล Demographics คือ ผู้ที่อายุ 18-34 สูงถึง 78% นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีแชทบอทตัวใหม่นี้เป็นผู้ชาย 73% และผู้หญิง 27%

ช่วงแห่ง Earned Media กระแสการทำความรู้จัก และบอกต่อ 

หากพิจารณาเอ็นเกจเมนต์หลังเปิดตัวในช่วงกลางเดือนมกราคม 2566 มีการพูดถึงความสามารถของ ChatGPT จากสื่อต่างประเทศ แล้วอินฟลูเอ็นเซอร์ (Influencer) ประเทศไทยจึงนำมาขยายต่อ เช่น การที่แชทบอทตัวนี้สามารถสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ของอเมริกาได้ถูกต้องถึง 60% ซึ่งโดยปกติ คะแนนเฉลี่ยของผู้สอบผ่านจะอยู่ที่ 60% จึงจัดว่า ChatGPT สามารถสอบเป็นหมอได้ อีกทั้ง แชทบอทตัวนี้ยังสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย Wharton ของสหรัฐอเมริกาได้ รวมไปถึงข่าว Microsoft เพิ่มทุนซื้อหุ้น ChatGPT จาก 1 พันล้านดอลลาร์ เป็น 1 หมื่นล้านดอลลาร์

จากนั้น ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีการพูดถึง ChatGPT ที่อาจส่งผลกระทบอย่างสูง (Distruption) กับการค้นหาข้อมูลผ่าน Google (Google Search) Google จึงออกมาแถลงในบล็อกว่า แท้จริงแล้ว Google เองก็มี AI แบบเดียวกันที่ชื่อว่า Bard ซึ่งเตรียมจะเปิดตัวเร็วๆ นี้ รวมถึง Baidu ที่ประกาศแชทบอทของตน ‘Ernie Bot’ ซึ่งจะทดสอบเสร็จสิ้นภายในมีนาคมนี้เช่นกันในช่วงเดียวกันนี้เอง อินฟลูเอ็นเซอร์ในไทยก็มีการทดลองใช้และแชร์ประสบการณ์ของตนผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะใน Twitter ไม่ว่าจะเป็น การให้ ChatGPT ตัวนี้แก้แกรมม่า ปรับรูปประโยคใหม่ด้วยอารมณ์ในการเขียนแบบต่างๆ เช่น เขียนแบบเป็นทางการ หรือเขียนแบบสุภาพแต่ต้องมีความสนิทชิดเชื้อ การแปลงภาษาของมนุษย์เป็นโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การแต่งเพลง การดูดวงด้วยศาสตร์ดูดวงดังของโลก และการปรึกษาในเชิงจิตวิทยา

นอกจากนี้ เริ่มมีการกล่าวถึงการใช้ประโยชน์จาก ChatGPT ที่เริ่มพลิกแพลงมากยิ่งขึ้น จากการพัฒนา ChatGPT ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น เช่น การที่นักเขียน 500 คน ใช้ ChatGPT เขียนบทความ และมีวางขายใน Amazon กว่า 200 เล่ม หรือการผนวก ChatGPT เข้ากับแพลทฟอร์มอื่น เพื่อสร้างโครงการที่สามารถโต้ตอบ และเห็นจำนวนผู้เสียชีวิตได้ในโลกจักรวาลนิรมิต (Metaverse)

ทั้งว้าวทั้งกลัว พี่ ChatGPT

จากกระแสการพูดถึง ChatGPT ในไทย พบว่า 73% พูดด้วยความรู้สึกเป็นกลาง แต่ผู้ที่พูดถึงในเชิงบวก (Positive) หรือเชิงลบ (Negative) ยังมีจำนวนใกล้เคียงกัน คือ 13% และ 14% ตามลำดับ 

โดยผู้ที่พูดถึงในเชิงบวก (Positive) จะเป็นการพูดในเชิงประโยชน์ และความสามารถของ ChatGPT ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกในการหาคำตอบที่ไวกว่า Google Search การช่วยวางแผนงาน และลดเวลาในการทำงาน การช่วยในงานเขียน การเป็นที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจ กฎหมาย และจิตใจ การช่วยวิเคราะห์ข้อมูล การช่วยเขียนโค้ด ไปจนถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เช่น การแต่งเพลง การแต่งนิยาย การเขียนบทภาพยนตร์

ส่วนผู้ที่พูดถึงในเชิงลบ (Negative) จะเป็นเรื่องของความสามารถที่อาจใช้ทดแทนแรงงานมนุษย์ได้ และการนำ ChatGPT ไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การทำการบ้านแทน การที่เด็กใช้ ChatGPT จนขาดการฝึกคิดวิเคราะห์ การที่สแกมเมอร์ ใช้ ChatGPT ช่วยคิดวิธีหลอกลวงผู้อื่น การช่วยแฮ็กเกอร์ แฮ็กโปรแกรม เกม หรือการที่ ChatGPT เริ่มตอบแบบมีอารมณ์และความรู้สึกคล้ายมนุษย์ ซึ่งทำให้ ChatGPT ดูน่ากลัว หากทำอะไรให้ไม่พอใจ

แบรนด์ไม่รอช้า พากันเกาะกระแส ChatGPT

ล่าสุด แบรนด์เริ่มเกาะกระแส ChatGPT เพื่อช่วยในเรื่องการทำการตลาด โดย McDonald’s เปิดตัวไก่ทอดรสชาติใหม่ตามคำตอบที่ได้จาก ChatGPT ในคำถามที่ว่า ไก่ทอดที่สมบูรณ์แบบ ต้องเป็นอย่างไร? แล้วแบรนด์ก็ผลิตไก่ทอดที่มีลักษณะเช่นนั้น! 

เราได้เห็นกระแสเกี่ยวกับ ChatGPT จากสื่อและอินฟลูเอ็นเซอร์ไปไม่น้อยแล้ว เป็นที่น่าติดตามต่อไปว่าเทคโนโลยี ChatGPT หรือที่ Microsoft ได้อัปเกรดเป็น GPT-4 ซึ่งทรงพลังยิ่งกว่าเดิม  จะเปลี่ยนโลกได้จริงไหม? บอกเลยว่า….รอชม!

อ้างอิง:

*Facebook เป็นสื่อโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้ (Active User) 37% จัดเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย
ข้อมูลจาก We are social
https://datareportal.com/reports/digital-2023-thailand

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

AGS ร่วมกับ DIPT ติดปีกสินค้าไทย ขายออนไลน์ข้ามพรมแดนกับ Amazon

อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ร่วมกับ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เสริมศักยภาพภาคธุรกิจให้ได้รับประโยชน์จากขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ

สปสช. จับมือกรุงเทพมหานคร ใช้เทคโนโลยีจัดสรรสถานพยาบาลให้ผู้มีสิทธิบัตร

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จัดสรรสถานพยาบาลประจำแก่ผู้มีสิทธิบัตรทองที่ยังไม่มีสถานพยาบาลประจำ 1.9 แสนคน

มาม่า โอเค เปิดตัว 2 รสชาติใหม่ ใช้ CHAT GPT ช่วยคิดไอเดียโฆษณา หวังเจาะกลุ่ม Gen Z

บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดตัวมาม่า โอเค 2 รสชาติใหม่ รสหม่าล่าเนื้อ และ เห็ดทรัฟเฟิล นำ CHAT GPT ต่อยอดไอเดียจัดทำเป็นภาพยนตร์โฆษณา

โตชิบ้า ยืนยัน ข่าวขายกิจการในต่างประเทศ ไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจในไทย

บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ ส่งจดหมายชี้แจง กรณีที่มีข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก เกี่ยวกับ “บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชัน จำกัด ปิดดีล ขายกิจการมูลค่า 2 ล้านล้านเยน

SCB 10X เปิดเวที Hackathon เฟ้นหาทีมนักพัฒนา ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยบล็อกเชน

เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) เปิดเวที “BANGKOK BLOCKATHON 2023” ภายใต้แนวคิด “Blockchain for the Next Billion Users”

GRAMMY x RS ตั้งบริษัทร่วมทุน เตรียมจัด 3 คอนเสิร์ตใหญ่ ก.ค.- ต.ค. นี้ เมืองทองธานี

GMM MUSIC และ RS MUSIC ประกาศจัดตั้ง กิจการร่วมค้าอะครอสเดอะยูนิเวิร์ส (Across The Universe Joint Venture) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดซีรีส์คอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์

AWS เชื่อมั่นตลาดคลาวด์พุ่งไม่หยุด เล็งเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดส่ง ‘Lift’ ลุย SMB

อัตราการเติบโตของคลาวด์ในประเทศไทย ปี 2023 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่า 30% AWS เชื่อมั่นแผนรับมือที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มคู่ค้า จัดทีมดูแลลูกค้าเฉพาะกลุ่ม

Blendata เปิดบริการ Analytics as a Service ในรูปแบบ Pay Per Use

เบลนเดต้า (Blendata) เปิดตัวบริการใหม่ Analytics as a Service บริการวิเคราะห์ข้อมูลครบวงจร รองรับทุกความต้องการด้าน Data Analytics ในรูปแบบการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก WeChat Pay จัดแคมเปญใหญ่ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผนึก WeChat Pay ผู้ให้บริการ E-Wallet รายใหญ่จากประเทศจีน มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวก รวดเร็ว

ดีป้า จับมือพันธมิตร เปิดตัว Tech Thailand แพลตฟอร์มชุมชนคนสายเทค

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์ฟ็อกซ์ จำกัด ร่วมเปิดตัว Tech Thailand

MUST READ

ศูนย์เรียนรู้ ไฟ-ฟ้า สะท้อนความสำเร็จพื้นที่เรียนรู้ ผ่านเวทีเสวนา “ปิดเทอมสร้างสรรค์ เติมเต็มวันว่าง”

ศูนย์เรียนรู้ ไฟ-ฟ้า ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับกิจกรรม “ปิดเทอมสร้างสรรค์ อัศจรรย์วันว่าง” ประจำปี 2566 จัดโดยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประสานความร่วมมือกับเครือข่าย

‘พี.วี.ที. แมนูแฟคเจอริ่ง’ ยิ่งเจ็บ ยิ่งโต โตแบบยั่งยืน

‘พี.วี.ที. แมนูแฟคเจอริ่ง’ บริษัทรุ่นลูกที่เติบโตแบบคิดนอกกรอบในการทำธุรกิจด้วยโมเดล Solution Provider มีความโดดเด่นด้าน Innovative Enterprise ซึ่งเป็น 1 ใน 6 สุดยอดบริษัทที่ได้รับรางวัลจาก ‘Bai Po Business Awards by Sasin’

กทม. จับมือพันธมิตร ร่วมกันแก้ปัญหา เยาวชนว่างงาน-นอกการศึกษา หรือ NEET อย่างยั่งยืน

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กระทรวงแรงงาน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานนำเสนอผลการศึกษา "งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Employment, Education, or Training: NEET) ในประเทศไทย" เพือร่วมกันแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

‘ยูจีน แคสเปอร์สกี้’ เน้นความสำคัญของ ‘Cyber Immunity’ ในการประชุมสกมช.

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ตัดสินใจปฏิวัติสิ่งต่าง ๆ ด้วยการหาวิธีพัฒนาระบบไอทีด้วยการป้องกันตั้งแต่กำเนิด นั่นคือ “Cyber Immunity” หรือ ภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์

แมกโนเลีย ไอศกรีม ดึง “เปเปอร์ เพลนส์” เป็นพรีเซนเตอร์ ส่งต่อความสุขสู่กลุ่มเด็ก

จากกระแสเพลง “ทรงอย่างแบด ฟีเวอร์” ของวงเปเปอร์ เพลนส์ ที่ดังในกลุ่มเด็กไปทั่วประเทศ ล่าสุด บริษัท F&N ดึง "ฮาย และ เซน" มาเป็นพรีเซนเตอร์
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น