TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLife“ศูนย์เรียนรู้ ไฟ-ฟ้า”​ พันธสัญญาของทีทีบี ในการขยาย "พื้นที่แห่งโอกาส" ให้เยาวชนไทย

“ศูนย์เรียนรู้ ไฟ-ฟ้า”​ พันธสัญญาของทีทีบี ในการขยาย “พื้นที่แห่งโอกาส” ให้เยาวชนไทย

อาคารพาณิชย์ 2 คูหาขนาด 4 ชั้นครึ่งที่ตกแต่งโดดเด่นแตกต่างจากตึกแถวห้องใกล้เคียงบริเวณชุมชนย่านบางบัวทอง คือ ที่ตั้งของอาคารศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรี ซึ่งเป็นศูนย์ฯ ที่ 5 และศูนย์ล่าสุดภายใต้โครงการไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี (fai-fah by ttb) โครงการ CSR หลักของทีทีบี ที่เริ่มต้นปี 2552 ดำเนินการภายใต้ปรัชญา Make REAL Change ดำเนินการโดยมูลนิธิทีทีบี

ปัจจุบันมีศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้าทั้งหมด 5 แห่ง โดย 3 แห่งอยู่ที่กรุงเทพฯ ประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้าประชาอุทิศ, ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้าจันทน์ ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้าบาง กอกน้อย และอีก 2 แห่ง คือศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า สมุทรปราการ และศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรีแห่งนี้

แนวคิดของการทำ ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า คือ การเปิดโอกาสให้เด็กเยาวชน อายุระหว่าง 12-17 ปี ที่มีโอกาสน้อย และอาศัยอยู่ในละแวกชุมชนรอบ ๆ ศูนย์ฯ ได้มีพื้นที่ในการค้นหาตัวตน หาความชอบ เรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะและความสามารถในสาชาวิชาที่ไม่ได้มีสอนในห้องเรียน แต่สามารถนำองค์ความรู้และประกาศณียบัตรที่ได้หลังเรียนจบจากศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า ไปต่อยอดทางการเรียนในระบบและการทำงานได้ 

ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า แต่ละแห่งจะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีชุมมชนล้อมรอบ มีจำนวนเด็กเยาวชน และโรงเรียน คุณสมบัติของเด็กที่จะเข้ามาเรียนที่ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้าได้ จะต้องมีอายุในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต คือ 12-17 ปี อาศัยอยู่ในชุมชนในระยะรัศมี 3 กิโลเมตรจากศูนย์ฯ จะต้องเป็นเด็กจากครอบครัวยากจน (รายได้ครัวเรือนไม่เกิน 25,000 บาทต่อครอบครัวที่มีลูก 1 คน หากครอบครัวมีลูกมากกว่า 1 คนรายได้ครัวเรือนเพิ่มได้อีก 5,000 บาทต่อลูก 1 คน)​

เด็กเยาวชนที่มาสมัครเรียนที่ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า จะมีโอกาสเรียนที่ศูนย์ฯ ตลอด 3 ปี โดยเริ่มจาก 2 วิชาที่ชอบที่สุด เป็นวิชาหลัก บวกกับวิชาภาษาอังกฤษ จากนั้นเมื่อเรียนจนจบรายวิชานั้นแล้ว เด็กสามารถเลือกเรียนในรายวิชาต่อไปได้เรื่อย ๆ จนครบ 3 ปี ทั้งนี้แต่ละศูนย์ฯ จะมีรายวิชารวมอยู่ 11 รายวิชา แต่ละวิชาจะเรียนครั้งละ 1 ชั่วโมงครึ่ง 

บทบาทของศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า คือ พื้นที่ที่เด็กเยาวชนในชุมชนสามารถมาใช้เวลานอกห้องเรียน คือ เวลาหลังเลิกเรียนและเวลาในวันหยุด มาเรียนรู้วิชาที่นำไปใช้และสร้างชีวิตได้ เพราะศูนย์ฯ จะเปิดทำการเวลาเย็น 17:00-19:00 ในวันธรรมดา และเปิดทำการเต็มวัน 8:30-17:30 ในวันเสาร์และอาทิตย์

ศักยภาพในการรองรับเด็กเยาวชนของแต่ละศูนย์ฯ อยู่ที่ราว ๆ 150-200 คนต่อปี แต่ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรี ซึ่งเป็นศูนย์ฯ ล่าสุด และมีขนาดใหญ่ที่สุด (มีพื้นที่ใช้สอยราว ๆ 768 ตารางเมตร) สามารถรองรับเด็กได้มากถึง 300 คน โดยมีคุณครูอาสา 30 คนในแต่ละรายวิชาแวะเวียนสอนเด็ก ๆ ใน 5 ศูนย์ฯ

แต่ละศูนย์จะมีรายวิชาหลัก อาทิ คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปะ ดนตรี กีต้าร์ เรียนเต้น วงดนตรี เทควันโด ภาษาอังกฤษ และมวยไทย กับรายวิชาเด่น ที่เกิดจากความต้องการของชุมชน อาทิ ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า บางกอกน้อย มีวิชาเรื่องการท่องเที่ยวชุมชน และที่ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรี มีวิชาเด่น คือ คลาสครัว และคลาสสื่อสร้างสรรค์ออนไลน์ ต่อยอดอาชีพที่กำลังมาแรงอย่าง Youtuber และเป็นศูนย์ฯ​ แรกที่เปิดรับเด็กที่มีความพิการทางการได้ยิน เพื่อขยายโอกาสให้เด็กและศักยภาพของศูนย์ฯ

ต่อยอด-ขยายผล: อีคอมเมิร์ซ หลักสูตรออนไลน์

กาญจนา โรจวทัญญู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการตลาด ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  มูลนิธิทีทีบี มีการต่อยอดผลงานดีไซน์ของเยาวชนมาเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ กระเป๋าผ้า ผ้าพันคอ และหน้ากากอนามัย นำมาขายบนผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ ที่ vending machine ที่สาขา TTB และขายบนช่องทางออนไลน์ (www.ttbfoundation.org) โดยกำไรจากการขายจะให้น้อง ๆ เลือกว่าจะบริจาคให้กับใคร เพื่อให้น้อง ๆ ได้มีโอกาสเป็นผู้ให้ ทำให้เขารู้สึกว่าเขาเองก้มีความสามารถในการเป็นผู้ให้ ไม่ใช่เป็นแต่ผู้รับฝ่ายเดียว

ที่ผ่านมาเด็ก ๆ ได้นำความรู้ที่ได้จากศูนย์​ฯ ไปช่วยชุมชนของตัวเอง อาทิ ไปสอนทำคุกกี้ ไปปรับปรุงศูนย์เด็กเล็กในชุมชน และทำแผนที่ท่องเที่ยว เป็นต้น ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ดำเนินการมา ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า ได้ให้โอกาสเด็กเยาวชนไปแล้วราว ๆ  10,000 คน

แผนการขยายศักยภาพของศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า จะเน้นการทำหลักสูตรออนไลน์ เพื่อขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่ายในอนาคต โดยไม่ต้องลงทุนขยายตัวศูนย์ฯ ไปยังพื้นที่ห่างไกลในต่างจังหวัดเพราะด้วยข้อจำกัดในเรื่องการดำเนินการ เนื่องจากศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า จะต้องดูแลเด็ก ๆ นับร้อยในมิติต่าง ๆ (ที่นอกเหนือจากการเรียน) อย่างทั่วถึงเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดระยะเวลาที่เด็กมาเรียนที่ศูนย์ฯตลอด 3 ปี 

ศูนย์ฯ หนึ่ง ๆ ลงทุนราว ๆ 10 ล้านบาท ทั้งหมด 5 ศูนย์ฯ TTB ลงทุนไปแล้วทั้งสิ้นมากกว่า 40 ล้านบาท ไม่รวมค่าสถานที่ ซึ่งมีทั้งรูปแบบเช่า และซื้อขาด ศูนย์ฯ นนทบุรี เป็นที่ทำการสาขาเก่าของ TTB เงินในการดำเนินการทั้งหมดเป็นเงินบริจาคจาก TTB มาให้มูลนิธิทีทีบี ดำเนินการศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า

“อีกวิชาที่จะเพิ่มเข้ามา คือ ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) เพราะปัญหาทางการเงินเป็นจุดเริ่มต้นของทุกปัญหา และปัญหาทางการเงินเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เฉพาะคนที่มีรายได้น้อยเท่านั้น แต่เกิดกับทุกคนที่ไม่มีความรู้ทางการเงิน ซึ่งวิชานี้ไม่มีสอนในโรงเรียนแต่เราจะสอนเยาวชนที่ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า” กาญจนา กล่าว

Make REAL Change

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานกรรมการ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) กล่าวว่า ไฟ คือ พลังที่มีอยู่ในตัวเด็ก และชาวชุมชนทุกคน ฟ้า คือ พลังแห่งการ “ให้” จากอาสาสมัครทีทีบี การที่ทีทีบีมาตั้งศูนย์ฯ อยู่ในชุมชน ทำให้เด็ก ๆ มีโอกาสมาเรียนทักษะต่าง ๆ นำไปต่อยอดและเปลี่ยนให้ชีวิตของเขาดีขึ้น

“เราไม่ต้องการให้ปลากับเด็ก แต่ให้โอกาสกับเด็กในการไปสร้างเสริมต่อยอดโอกาสในชีวิตของเขา เป็นโครงการที่เราทำมา 13 ปี ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรี เป็นศูนย์ฯ ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาศุนยืฯ ที่เรามี ที่สำคัญกว่า คือ ได้เห็นประกายตาของน้อง ๆ ที่ได้มีโอกาสได้เรียนรู้ เห็นการเปลี่ยนแปลงของน้อง ๆ” ดร.เอกนิติ

โครงการไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี (fai-fah by ttb) โครงการ CSR หลักของทีทีบี ที่เริ่มต้นปี 2552 เป็นการตอกย้ำด้วยการการกระทำอย่างทุ่มเทและต่อเนื่องของทีเอ็มบีธนชาต ที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนทั้งในเชิงธุรกิจ ชุมชนและสังคมรอบข้าง และเป็นการตอกย้ำปรัชญา Make REAL Change ผ่านการมอบโอกาสและปลูกฝังให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ผ่านกิจกรรมมสร้างสรรค์เชิงศิลปะและพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพื่อสร้างเยาวชนในชุมชน ให้สร้างสิ่งดี ๆ คืนสู่สังคมไทยอย่างยั่งยืน

“ธนาคารเล็งเห็นว่า เด็กทุกคนมีพลัง และเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันชุมชนไปในทิศทางที่ดี ใช้พลังอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเปลี่ยนชีวิต ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้ดีขึ้นในลำดับต่อไป” ดร.เอกนิติ กล่าว

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นด้วยวิสัยทัศน์ของอดีตซีอีโอ (ทีเอ็มบี) “บุญทักษ์ หวัง จากการเปลี่ยนพลังในแต่ละคนทำให้ธนาคารดีขึ้น เชื่อว่าพลังในแต่ละคนจะสามารถเปลี่ยนแปลงให้โลกดีขึ้น มองหาว่าสิ่งที่จะใส่พลังลงไปเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากวงการธนาคาร คืออะไร และพบว่า “เด็กเยาวชน” คือพลังที่จะทำให้สังคมและประเทศชาติดีขึ้น เพราะ เด็กคืออนาคตของประเทศ

จึงเริ่มต้นจากการมองไปรอบ ๆ สภาพแวดล้อมใกล้ ๆ สาขาของธนาคารที่สะพานควาย พบว่า พื้นที่ตรงนั้นหลังห้องแถวย่านธุรกิจพาณิชย์เป็นชุมชนแออัด คนรายได้น้อยอาศัยอยู่จำนวนมาก สภาพแวดล้อมรอบบ้านของเด็กที่ต้องใช้ชีวิตและเวลาอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมีความสำคัญมาก จึงเป็นที่มาของศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบนี้ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 13 ปีที่แล้วตรงประดิพัทธ์ และขยายมาเรื่อยจนปัจจุบัน คือ ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรี ซึ่งจริง ๆ คือ ศูนย์ที่ 6 แต่ทว่าศูนย์ฯ แรกตรงประดิพัทธ์ปิดไปแล้ว เพราะชุมชนเหล่านั้นหายไปแล้วพื้นที่ถูกพัฒนาไปมาก

“ไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบีมีแนวคิด “เด็กธรรมดา…คือสิ่งที่สวยงาม” ที่ต้องการสร้างโอกาสให้เด็กธรรมดาได้มีพื้นที่ยืนในสังคมได้อย่างสวยงาม เท่าเทียมกับเด็กคนอื่น 

นอกจากนั้น ยังเป็นกิจกรรมที่ให้เยาวชนได้ค้นพบศักยภาพในตัวเอง เกิดแรงบันดาลใจ มีความสุขกับชีวิต ได้รับการยอมรับและสามารถดูแลตัวเองได้ในอนาคต อีกทั้งสร้างสิ่งดี ๆ ต่อยอดสู่การเปลี่ยนแปลงผ่านการ “ให้คืน” สู่สังคมอย่างยั่งยืน

“ที่ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรี มีความพิเศษ คือ การเปิดโอกาสให้เด็กพิการทางการได้ยินเข้ามาร่วมเรียนด้วย และมีวิชาใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของเด็กในปัจจุบัน คือ วิชาการสร้างสรรค์คอนเทนต์ออนไลน์ เพื่อต่อยอดการสร้างคอนเทนต์และอาชีพ YouTuber” ปิติ กล่าว

แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดนนทบุรี

ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรี ออกแบบอาคารมีการตกแต่งโดยเน้นความโปร่ง โล่งสบาย ใช้แสงจากธรรมชาติ และเลือกใช้วัสดุที่ยังคงความเรียบ ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม ผสานเข้ากับความทันสมัยในการออกแบบพื้นที่ ในรูปแบบให้มีสีสันสนุกสนาน จุดประกายจินตนาการได้อย่างเต็มที่ สู่ความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อให้การใช้งานเหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ภายใต้คอนเซปต์ เพนโรส สเตร์ (Penrose Stairs) หนึ่งในผลงานด้านศิลปะชื่อดังระดับโลก ซึ่งเป็นบันไดที่เรียงต่อกัน เปรียบเสมือนจินตนาการของเด็ก ๆ ที่ไม่มีสิ้นสุด พร้อมที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ต่อไป 

ทีทีบี ตั้งใจให้ ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรี กลายแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดนนทบุรี พร้อมจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับเยาวชนผ่าน Wall Arts ที่สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชนชาวนนทบุรี ออกแบบโดย Linda May Melendez อาสาสมัครทีทีบี จากทีม Corporate Property & Services

และเชื่อว่าศูนย์เรียนรู้ ไฟ-ฟ้า ทั้ง 5 แห่ง รวมถึงศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรีแห่งนี้ จะเป็นสถานที่ที่ให้โอกาสเด็ก ๆ ได้พัฒนาศักยภาพตัวเองให้กลายเป็นเด็กธรรมดาที่เป็นคนดีและมีความสุข มีโอกาสเป็นทั้งผู้รับ และผู้ให้ที่ดี ด้วยการนำทักษะทางศิลปะและทักษะชีวิตที่ได้เรียนรู้จากศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า ไปพัฒนาตนเองต่อยอดสู่ครอบครัว และสังคมรอบข้างให้ดีขึ้น ตอกย้ำปรัชญา Make REAL Change เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนเพื่อสังคมดีขึ้นอย่างยั่งยืน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

J Ventures เปิดพื้นที่นำเสนอผลงาน NFT ART หวังยกระดับมาตรฐานวงการ Digital Art ไทย

รพ.มะเร็งชีวามิตรา เผยกลุ่มบุหรี่มือสอง – ฝุ่น PM 2.5 เสี่ยงมะเร็งปอด เทียบเท่าสูบเอง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ