TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeบำรุงราษฎร์ ชูความพร้อมทีมแพทย์ ‘ศูนย์โรคระบบประสาท’ ดูแลผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง อย่างครอบคลุม

บำรุงราษฎร์ ชูความพร้อมทีมแพทย์ ‘ศูนย์โรคระบบประสาท’ ดูแลผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง อย่างครอบคลุม

ปัจจุบัน โรคระบบประสาทและสมอง มีแนวโน้มสูงขึ้นและนำมาซึ่งโรคที่อันตรายต่อชีวิต อาทิ โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดสมองอุดตันโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์โรคสมองเสื่อม เป็นต้น โดยจากสถิติในปี 2566 ของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยถึง 349,126 รายหรือเกิดขึ้นทุก 3 นาที / 1 คนโดยพบอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกกว่า 30% ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอยู่ที่ 2.5%  

โรคระบบประสาทและสมองเป็นโรคที่มีความซับซ้อน มีอาการและการรักษาที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูงในการดูแลรักษา เพราะเส้นบาง ๆ ระหว่าง คำว่า ‘รอดชีวิต’ และ ‘สูญเสีย’ คงไม่มีใครอยากให้เกิด ดังนั้น ทุกวินาที คือ ‘วินาทีชีวิต’ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจส่งผลต่อชีวิตได้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มี “ศูนย์โรคระบบประสาท” (Neuroscience center)” ที่มีความพร้อมของทีมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อรองรับผู้ป่วยโรคระบบประสาทที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

นพ. ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ หัวหน้าศูนย์โรคระบบประสาทและแพทย์ชำนาญการเฉพาะทางด้านประสาทวิทยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศูนย์โรคระบบประสาท’ (Neuroscience center) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทครบทุกสาขา และทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทที่ร้ายแรงและซับซ้อน สามารถให้การดูแลผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคลด้วยวิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ตั้งแต่การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การใช้ยา ไปจนถึงการผ่าตัดหรือการรักษาด้วยวิธีรังสีร่วมรักษา โดยอิงจากความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน (Evidence based best practice) พร้อมด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างแม่นยำ รวมถึงการรับมือกับผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่มีความซับซ้อนได้อย่างทันท่วงที

หนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบบประสาท รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง คือ “ผู้สูงอายุ” ซึ่งประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ความเสี่ยงต่อโรคระบบประสาทและสมองมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงผู้ป่วยโรค NCDs (กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง) ที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ โรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่ ไม่มีสัญญานเตือนล่วงหน้า มีประมาณ 10% เท่านั้น ที่มีสัญญานเตือนสั้น ๆ เช่น ตาพร่ามัว เวียนหัว แขนขาอ่อนแรง ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ซึ่งจะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คนส่วนใหญ่ละเลย ไม่ไปพบแพทย์ โดยกลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ เพศชาย และผู้ป่วยที่เป็นโรคกลุ่ม NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ถ้ามีอาการดังกล่าว ต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที 

“ถ้าสงสัยว่าเป็นภาวะสมองขาดเลือด หรือมีอาการผิดปกติ ให้รีบมาพบแพทย์ ยิ่งมาเร็วยิ่งมีโอกาสรอดมากขึ้น ทางโรงพยาบาลสร้างโปรโตคอลการดูแลผู้ป่วย ในกรณีถ้ามีคนไข้สงสัยว่าเป็นภาวะสมองขาดเลือด จะต้องทำขั้นตอนที่ทางเราเตรียมพร้อมไว้แล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือ คุณต้องมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด” นพ. ฤกษ์ชัย กล่าวเพิ่มเติม 

นพ.ภวิศ เหลืองเวชการ แพทย์ชำนาญการเฉพาะทางด้านประสาทวิทยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวเสริมว่า การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงที่ 1 การรักษา ช่วงที่ 2 การเฝ้าระวัง ไม่ให้มีภาวะแทรกซ้อน และช่วงที่ 3 การฟื้นฟู ซึ่งบำรุงราษฎร์พร้อมให้กับดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร

“ในระหว่างการผ่าตัดและหลังการรักษาผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง อาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ตลอดเวลา เช่น ภาวะเลือดออกซ้ำและทำให้สมองเสียหายเพิ่มขึ้น หรืออาจเกิดภาวะสูญเสียความรู้สึก ดังนั้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงมี ‘แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง’ (Neurocritical Care Unit หรือ NCCU) เพื่อติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยแพทย์ผู้ชำนาญด้านระบบประสาทวิกฤติที่ผ่านหลักสูตรและสำเร็จเป็นผู้ชำนาญเวชบำบัดวิกฤติด้านระบบประสาทจากสหรัฐอเมริกา และพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติด้านระบบประสาทและสมอง พร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆ ในเอเชียที่พยาบาลในแผนกผู้ป่วยวิกฤตผ่านการอบรมหลักสูตร ‘การช่วยชีวิตผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทขั้นสูง’ (Emergency Neurological Life Support: ENLS Course) เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย”

นพ.ภวิศ อธิบายเพิ่มเติมว่า “NCCU เป็น ICU สำหรับผู้ป่วยโรคระบบสมองโดยเฉพาะ ข้อดีของคนไข้ที่อยู่ใน NCCU คือ เรามีความพร้อมทางด้านเครื่องมือ นอกจากนี้พยาบาลของเราได้รับการอบรมหลักสูตร ENLS พร้อมที่จะดูแลคนไข้ใน NCCU โดยเฉพาะ เขาจะรู้ว่าอาการอะไรที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าคนนี้มีโอกาสที่จะอาการแย่ลง ต้องไปทำอะไรให้เร็วที่สุด ป้องกันและลดการเกิดซ้ำ เพื่อให้คนไข้ฟื้นฟูได้มากที่สุด” 

นพ.ฤกษ์ชัย กล่าวถึงความพร้อมของศูนย์โรคระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมองที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตว่า “ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย ดังนั้นจำนวนผู้ป่วยโรคนี้จะมากขึ้นเรื่อยๆ ทางโรงพยาบาลเตรียมความพร้อมไว้ 2  ด้าน คือ 1. การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรให้เพียงพอและให้ความรู้ผ่านการฝึกอบรมต่าง ๆ เพื่อเตรียมคนของเราให้พร้อมที่จะดูแลคนไข้ในอนาคตได้ 2 การพัฒนาศักยภาพการใช้อุปกรณ์เครื่องมือและระบบที่ทันสมัยและมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย”

เทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย อาทิ

  • เครื่องตรวจการไหลเวียนของเลือดของหลอดเลือดแดงในสมอง (TCD: Transcranial Doppler) เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน
  • เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG: Electroencephalography)
  • เครื่องกระตุ้นสมองและระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS: Transcranial Magnetic Stimulation)
  • เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI: Magnetic Resonance Imaging)
  • เครื่องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

ห้องผ่าตัดและห้องพักป่วยหนัก อาทิ

  • ห้องผ่าตัดชนิด biplane เป็นห้องผ่าตัดที่ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด แบบ 2 ระนาบ ทำให้เห็นภาพ ให้เห็นภาพเอกซเรย์ที่มีความคมชัดสูง สามารถเห็นภาพ 2 ระนาบในครั้งเดียว ช่วยให้แพทย์สามารถผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดที่มีความซับซ้อนทุกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ห้องพักผู้ป่วยหนักระบบประสาทออกแบบห้องโดยเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ประกอบด้วยห้องพักทั้งหมด 10 ห้อง พร้อมด้วยเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจของผู้ป่วยแต่ละราย (patient monitor) ที่เชื่อมโยงกับเครื่องศูนย์กลางติดตามการทำงานของหัวใจ (central monitor) เพื่อให้พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินสามารถเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยหนักได้อย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ ศูนย์โรคระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ทำงานประสานกับแผนกผู้ป่วยฉุกเฉินและแผนกผู้ป่วยนอกอย่างใกล้ชิด โดยมีแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทศัลยศาสตร์และแพทย์เฉพาะทางด้านรังสีร่วมรักษาให้ความเห็นร่วมกันในการวินิจฉัยเพื่อเลือกแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดให้กับผู้ป่วย

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Translucia ผนึก MIT Media Lab วิจัยและคิดค้นเทคโนโลยี AI ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

CPAC จับมือ PTG เดินหน้าพัฒนาสถานีบริการน้ำมันต้นแบบ ด้านนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ