TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistหุ้น ‘Healthcare’ คืออะไร น่าลงทุนแค่ไหน

หุ้น ‘Healthcare’ คืออะไร น่าลงทุนแค่ไหน

ไม่ว่าจะสถานการณ์ปกติหรือภาวะโรคระบาดอย่าง Covid-19 แบบนี้ ธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) ยังคงมีบทบาทและความสำคัญต่อผู้คนทั่วโลกตลอดเวลา

เหตุผลแรกคงหนีไม่พ้น ‘ยารักษาโรค’ คือ 1 ในปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตมนุษย์ เพราะโรคภัยไข้เจ็บ…เป็นของคู่กัน เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  

ยิ่งตอนนี้โลกกำลังต่อสู้กับโรคระบาด Covid-19 มานานกว่า 16 เดือน ทางออกเดียวคือ ‘วัคซีน’ ที่จะเป็นอาวุธสำคัญให้มนุษยชาติใช้ต่อกรกับไวรัสตัวนี้ได้

การพัฒนาวัคซีนอย่างเร่งด่วน มีส่วนทำให้บริษัท Healthcare ระดับโลกมีบทบาทสำคัญอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Pfizer บริษัท BioNtech บริษัท AstraZeneca บริษัท Moderna บริษัท Johnson & Johnson หรือบริษัท Sinovac Biotech รวมทั้งบริษัทอื่น ๆ ทั่วโลก ที่พยายามคิดค้นวัคซีนป้องกัน Covid-19 ที่ให้ประสิทธิภาพดีที่สุด

นี่เป็นแค่ตัวอย่างที่สะท้อนว่า ธุรกิจ ‘สุขภาพ’ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตมนุษย์มากแค่ไหน แล้วโอกาสหุ้นในธุรกิจกลุ่มนี้…จะเป็นโอกาสการลงทุนในอนาคตได้อย่างไร

รู้จักกับธุรกิจ ‘Healthcare’ ระดับโลก

อุตสาหกรรม Healthcare สามารถแบ่งเป็นธุรกิจย่อย 4 กลุ่มหลักและ 1 ภาคบริการ ดังนี้

  1. กลุ่มธุรกิจ Pharmaceutical บริษัทยา ซึ่งผลิตและจำหน่ายยา แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ยา Original ยาที่จดสิทธิบัตร และยา Generic ยาสามัญ หรือยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว  

สำหรับสิทธิบัตรยาจะมีอายุ 20 ปี ซึ่งเจ้าของจะสามารถผลิตและจำหน่ายได้แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นในช่วงที่ถือสิทธิบัตรยา เป็นเวลาทองในการสร้างรายได้และกำไร

บริษัทในกลุ่มนี้ ได้แก่ บริษัท Johnson & Johnson (สหรัฐอเมริกา) บริษัท Roche (สวิสเซอร์แลนด์) บริษัท Takeda (ญี่ปุ่น) และบริษัท Sanofi (ฝรั่งเศส)

  1. กลุ่มธุรกิจ Biotechnology การศึกษาค้นคว้าสิ่งมีชีวิตเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ การค้นคิดและพัฒนาวัคซีนจัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย

บริษัทในกลุ่มนี้ ได้แก่ บริษัท AmGen บริษัท Biogen และบริษัท Gilead ของสหรัฐฯ และ Bayer ของเยอรมัน

  1. กลุ่มธุรกิจ Healthcare Equipment & Supplies การผลิตเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 
    • อุปกรณ์ใช้แล้วทิ้ง (Single-Use Devices) เข็มฉีดยา หลอดฉีดยา ถุงมือยาง มีสัดส่วน 20% ของการผลิต 
    • อุปกรณ์ใช้คงทน (Durable Medical Devices) เตียงคนไข้ รถเข็น เครื่องมือแพทย์ใช้เทคโนโลยีสูง เครื่องมือวินิจฉัยโรคต่าง ๆ มีสัดส่วน 75% ของการผลิต 
    • น้ำยาวินิจฉัยโรค (Reagents and test Kits) สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ มีสัดส่วน 5% ของการผลิต 

บริษัทในกลุ่มนี้ ได้แก่ เช่น บริษัท Abbott Laboratories บริษัท Medtronic และบริษัท DePuy Synthes ของสหรัฐฯ และ Siemens ของเยอรมัน

  1. กลุ่มธุรกิจ Healthcare Provider การบริหารโรงพยาบาล มีรายได้จากค่ายา บริการของบุคลากรการแพทย์ การตรวจแล็บหรือเอ็กซ์เรย์ และห้องพักผู้ป่วย 

บริษัทในกลุ่มนี้ ได้แก่ บริษัท Unitedhealth Group และบริษัท Teladoc Health ของสหรัฐฯ 

  1. บริการ Healthcare Insurance ประกันสุขภาพ อาจจะมีคาบเกี่ยวกับกลุ่มการเงินและประกัน มีความสำคัญมากในหลาย ๆ ประเทศที่ค่ารักษาพยาบาลแพง แต่สวัสดิการของรัฐน้อย อย่างสหรัฐฯ 

‘สังคมคนสูงอายุ’ โอกาสของธุรกิจ ‘Healthcare’ 

การแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักงันไปทั่วโลก จากมาตรการล็อกดาวน์ และการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) 

วิกฤตครั้งนี้ ก็เป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาวัคซีนอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงความต้องการในด้านระบบสาธารณสุขที่ดีกว่าเดิม แล้วอะไรที่ทำให้ธุรกิจ Healthcare ยังสามารถเติบโตได้อีก?

คำตอบ คือ สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งกำลังเป็น Mega Trend ระดับโลก และเป็นประเด็นท้าทายทุกรัฐบาลในการออกนโยบายเพื่อรับมือจำนวนคนสูงวัยที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เพราะอายุขัยของผู้คนปัจจุบันยืนยาวขึ้น ขณะที่อัตราการเกิดใหม่กลับลดลงในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้สัดส่วนประชากรสูงวัยเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดเพิ่มมากขึ้น

Deloitte คาดการณ์ว่า ประชากรที่มีอายุ 65 ปีทั่วโลก จะมีสัดส่วน 11.8% ของประชากรทั้งหมดในปี 2566 โดยประเทศที่จะมีสัดส่วนประชากรสูงวัยสูงที่สุด คงหนีไม่พ้นญี่ปุ่น คาดว่าอยู่ที่ 29% รองลงมาคือ โซนยุโรปตะวันตกที่ 22%

องค์การสหประชาชาติ (United Nations หรือ UN) ให้แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็น 3 ระดับ ได้แก่

  1. สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) สัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่า 10% ของประชากรทั้งหมด หรือสัดส่วนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ของประชากรทั้งหมด
  2. สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) สัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด หรือสัดส่วนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 14% ของประชากรทั้งหมด
  3. สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึงสัดส่วนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ประชากรทั้งหมด

นั่นหมายความว่า ญี่ปุ่นและยุโรปตะวันตกกำลังจะเป็น Super-aged society ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และจะมีอีกหลาย ๆ ประเทศตามมาในอนาคต รวมทั้งไทยด้วย

เมื่อสังคมผู้สูงอายุกำลังขยายตัวในทุกมุมโลก ความต้องการระบบสาธารณสุข การรักษาพยาบาล และยารักษาโรคที่ดีจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว รวมทั้งจะต้องมีการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์ วิธีการรักษา ยา และวัคซีน เพื่อมาสนับสนุนความต้องการจากกลุ่มคนไข้สูงวัยด้วย

Deloitte มองข้ามช็อตไปอีกว่า ประชากรที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง อย่างเบาหวาน จะเพิ่มขึ้นถึง 48% เป็น 629 ล้านคนในปี 2588 นำโดยประเทศใหญ่ ๆ อย่าง จีน 114.4 ล้านคน อินเดีย 72.9 ล้านคน และสหรัฐฯ 30.2 ล้านคน

เมื่อจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น รัฐบาลแต่ละประเทศจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนกับระบบสาธารณสุขอีกมหาศาล Deloitte มองว่า จะใช้เงินเพิ่มขึ้น 5% ต่อปี จนถึงปี 2566 เพิ่มจากปี 2557-61 ที่เพิ่มขึ้นปีละ 2.7% 

ในปี 2566 เม็ดเงินที่ลงทุนในระบบสาธารณสุขคิดเป็น 10.2% ต่อ GDP โลก โดยสหรัฐฯ ยังเป็นประเทศที่ลงทุนกับระบบสาธารณสุขสูงที่สุด 12,262 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ส่วนปากีสถานลงทุนต่ำที่สุดที่ 45 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี

เห็นทิศทางอย่างนี้แล้ว ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนหรืออีกกี่สิบปีข้างหน้า ธุรกิจ ‘Healthcare’ ยังสามารถต้านทานกระแสของการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพราะทันทีที่มีโรคระบาดใหม่ ๆ หรือมีโรคที่รักษาได้ยาก แพทย์และนักวิจัยทั่วโลกก็พร้อมจะพัฒนาเครื่องมือ ยา และวัคซีนมาเพื่อเอาชนะโรคร้าย

เราจึงได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นในแวดวงสาธารณสุขทั่วโลกตลอดเวลา เช่น แพลตฟอร์มการให้คำปรึกษาและวินิจฉัยโรคทางไกล หรือ Telemedicine เครื่องมือในห้องผ่าตัดที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) และหุ่นยนต์มาช่วยอำนวยความสะดวกให้แพทย์และพยาบาล

ในอนาคต เราอาจจะได้เห็นแพทย์ทำการผ่าตัดจากบ้าน โดยสั่งการผ่าน AI และให้หุ่นยนต์ในห้องผ่าตัดจัดการให้หมด ที่สำคัญคือ ใช้บุคลากรทางการแพทย์ในห้องผ่าตัดลดลงด้วย แก้ปัญหาบุคลากรขาดแคลนได้อีกทาง

นอกจากนี้ธุรกิจ Healthcare ยังสามารถแตกแขนงไปสู่นวัตกรรมทางการแพทย์เชิงลึกที่จะวิเคราะห์วินัจฉัยโรคในระดับพันธุกรรม เริ่มมีการพูดถึงศาสตร์ของ Genomics ที่หลายบริษัทเริ่มหาพันธมิตรพัฒนานวัตกรรมด้านนี้แล้ว

Jitta Wealth เล็งเห็นว่า ‘สังคมคนสูงวัย’ จะเป็นเมกะเทรนด์ระยะยาวในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ในบริการกองทุนส่วนบุคคล Thematic มีธีม Healthcare มาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้นักลงทุน โดยจะลงทุนในกองทุน iShares Global Healthcare ETF (IXJ) 

IXJ อ้างอิงดัชนี S&P Global 1200 Health Care Index ลงทุนมากกว่า 100 บริษัททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ในธุรกิจ Healthcare ที่กระจายอยู่ทั่วโลก 

กองทุน IXJ จะลงทุนในธุรกิจ Healthcare ชั้นนำอย่างบริษัท Johnson & Johnson บริษัท Unitedhealth Group บริษัท Roche บริษัท Abbott Laboratories บริษัท Novartis บริษัท Pfizer บริษัท Merck & Co บริษัท Thermo Fisher Scientific บริษัท Abbvie  และบริษัท Medtronic

ผลตอบแทนปี 2563 ของกองทุน IXJ อยู่ที่ 12.75% เฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังที่ 13.12% ต่อปี

นอกจากนี้กองทุนส่วนบุคคล Thematic เปิดโอกาสให้คุณเลือกจัดพอร์ตลงทุน ETF ได้หลากหลายธุรกิจได้ตั้งแต่ 1-5 ธีม จากทั้งหมด 14 ธีม ลองเข้ามาดูธีมการลงทุนอื่น ๆ ได้ที่ https://jittawealth.com/thematic

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ