TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeWEDO By SCG เปิดโชว์เคส New Gen คิดค้นนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น

WEDO By SCG เปิดโชว์เคส New Gen คิดค้นนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น

WEDO หน่วยงาน Digital Office ภายใต้ธุรกิจของ SCG เปิดตัว 4 ทีมตัวแทน New Gen เปิดโชว์เคส นวัตกรรมที่พัฒนาผ่านโครงการ We Do Young Talent Program 2022 ในงาน SCG: The Next Chapter Exposition ภายใต้ธีม New Gen’s Innovative Idea for Smart Living จากผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นนิสิตนักศึกษา ที่อยากจะมาค้นหาศักยภาพ ต่อยอดไอเดียสู่นวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น โดยต้องผ่านการทดสอบและการบ่มเพาะตามแบบฉบับของ WEDO จนสามารถพัฒนาไอเดียสู่ Design, Business และ Technology 

“Never fall” Mind Your Step Before It’s too late ส่งต่อประสบการณ์ที่ไม่มีวันล้ม

ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และปัญหาอันดับต้น ๆ ของผู้สูงอายุนอกจากความเสื่อมสภาพของร่างกายที่เกิดขึ้น ยังมีอีกปัญหาใหญ่คือ ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกและหกล้ม  ในทุกๆ ปี มีผู้สูงอายุพลัดตกหกล้ม 5.5 ล้านคนและเสียชีวิต 3 คนในทุกๆ วัน สาเหตุหลักมาจากการสะดุดล้มสูงถึง 66 เปอร์เซ็นต์  

การพลัดตกหกล้มหากเกิดแล้วจะใช้เวลานานในการฟื้นฟู และอาจสร้างความเสียหายต่อระบบในร่างกาย ทำให้ไม่อาจกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงได้ดังเดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่ลูกหลานก็มีความกังวล หรือแม้แต่ตัวผู้สูงอายุเองก็ไม่อยากให้เกิดอุบัติเหตุการล้มกับตัวเองหรือคนรักเช่นเดียวกัน ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ “การป้องกัน” ไม่ให้มันเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น 

ทีม “Never fall” ได้เล็งเห็นถึง Pain Point นี้ และมีแนวคิดในการใช้ศาสตร์การป้องกัน ในการพัฒนานวัตกรรม Computer Vision วัดความเสี่ยงในการพลัดตกและหกล้มของผู้สูงอายุภายใต้คอนเซ็ปต์ Never Fall Experience โดยหยิบยก 2 หลักการมาใช้วัดความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการป้องกัน 

Timed up and go test (TUG) คือการนำหลักการทางกายภาพบำบัด มาปรับใช้กับเทคโนโลยี Computer Vision เพื่อทำการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน และแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมแนะแนวทางการป้องกันการรักษา รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อแพทย์และนักกายภาพ ในการเป็นข้อมูลประกอบการรักษาเบื้องต้นในรูปแบบ Software/ Digital Platform ในการประมวลผลโดยรับ input จากอุปกรณ์ เช่น กล้องในสมาร์ทโฟน

ในการทำ Time Up and Go Test  จะให้ผู้รับการทดสอบหรือผู้สูงอายุ  นั่งเก้าอี้ ก่อนที่จะเริ่มจับเวลา และให้ทำการลุกขึ้น เดินไปที่จุดมาร์คสีฟ้า ระยะประมาณ 3 เมตร แล้วเดินกลับไปที่จุดสีแดงเริ่มต้น และนั่งลงพร้อมกับการหยุดการจับเวลา Computer Vision จะบันทึกการทดสอบ  เก็บข้อมูล และทำการประมวลผล โดยใช้ Skeleton Mapping ดูช่วงเวลา การเดิน การนั่ง ลุก เดิน รวมทั้งมี Machine Learning ที่คอยวิเคราะห์ถึงท่าทางและการเปลี่ยนแปลงในการเดิน เพื่อสามารถส่งสัญญาณเตือนเมื่อพบการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพได้

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของทีม Never fall คือการออกแบบค่าดัชนี Fall Risk Health Index หรือ FRHI เพื่อเป็นเกณฑ์ประเมินระดับความเสี่ยงในการล้ม โดยมีการแบ่งเป็น 3 ระดับคือ 1 สีเขียว Good Working Health สุขภาพการเดินปกติ ระดับ 2 Risk of Falling สีแดง อาจเสี่ยงล้ม และ 3 ระดับสีม่วง เสี่ยงล้มมาก ในกรณีที่ผลออกมาเป็นความเสี่ยงล้มมาก  จะมีการให้คำแนะนำในการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาโดยละเอียดต่อไป 

“รากแก้ว” เครื่องอ่านหนังสือสำหรับผู้พิการทางสายตา

ในการอ่านหนังสืออันเป็นความสามารถพื้นฐาน สำหรับคนตาดีและอ่านออกเขียนได้ การอ่านหนังสือ 1 หน้า เราสามารถจะอ่านไล่ไปทีละบรรทัด หรือจะกวาดตาไปทั่วๆ เพื่อจะรับรู้ว่ามีหัวข้อและเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง แต่สำหรับคนตาบอดที่โลกของเขามีแต่เสียง การใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอบนคอมพิวเตอร์ของพวกเขา ทำได้เพียงการเปิดฟังเสียงอ่านไปทีละบรรทัด ตั้งแต่ต้นจนจบ  กว่าที่เขาจะเข้าใจเนื้อหาใน 1 หน้า อาจจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ซึ่งคนปกติอย่างพวกเราอาจจะใช้เวลาแค่ 5 นาที  แล้วมันจะดีกว่าไหม ถ้าเอาเวลาพวกนั้นคืนกลับไปให้พวกเขาได้ 

สำหรับจำนวนคนตาบอดในประเทศไทยที่มีอยู่ประมาณ 187,601 คน เทียบกับจำนวนประชากรไทยทั้งหมด อาจจะดูว่าเป็นคนส่วนน้อย แต่ถ้าหากเราลองคิดว่ากลุ่มคนเหล่านี้ คือกลุ่มคนที่เขาเสียโอกาสที่จะเอาเวลาอ่านหนังสือไปพัฒนาตัวเองหรือว่าไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์กับเขา ตัวเลข 187,601 คน ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย และจากการพูดคุยสอบถามผู้พิการทางสายตา พบว่า คนตาบอดไม่ได้อยากพึ่งพาคนตาดี  พวกเขาอยากทำอะไรต่างๆ ได้ด้วยตัวเองเช่นกัน

น้องๆ ทีมรากแก้ว ที่มีเป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา จึงสร้างสรรค์นวัตกรรม “รากแก้ว” เครื่องอ่านหนังสือสำหรับผู้พิการทางสายตา เพื่อช่วยย่นระยะเวลาการอ่านหนังสือ ด้วยวิธี skimming หรือ scanning เพื่อเลือกเฉพาะคำที่ต้องการค้นหา หรือ บทที่ตัวเองต้องการอ่านได้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ผู้พิการทางสายตามีความสามารถในการใช้หนังสือเทียบเท่ากับคนทั่วไป เอาเวลาที่เคยสูญเสียไป มาใช้พัฒนาตัวเองในด้านต่างๆ ได้ 

เครื่องอ่านหนังสือ รากแก้ว  มีลักษณะเป็นกล่องขนาดเล็ก พกพาใส่กระเป๋าไปไหนก็ได้ จะมีตัวลำโพงในตัว หรือถ้าจะจะเอาไปอ่านในห้องสมุด ก็สามารถเสียบหูฟังฟังได้ รากแก้ว ทำงานกับไฟล์ PDF หรือไฟล์หนังสือ โดยมีฟังก์ชันการใช้งานหลัก ได้แก่  Navigation และ Search 

ฟังก์ชั่น Navigation จะทำการสร้างสารบัญให้โดยอัตโนมัติเป็นบทต่างๆ และเป็นบทย่อยลงไป และจะมีการสรุปภาพรวมของแต่ละบท ให้ผู้ใช้งานตัดสินใจได้ว่าบทนี้ใช่บทที่เขาต้องการจะอ่านหรือไม่

ฟังก์ชัน Search  ช่วยให้ผู้ใช้งาน สามารถพูดคีย์เวิร์ดที่ต้องการได้เลย ซึ่งแน่นอนว่า คีย์เวิร์ดที่เขาพูดไปอาจจะไม่ตรงกับเนื้อหาในไฟล์หนังสือ 100% ก็จะมีการจัดอันดับ 3 อันดับ ที่คิดว่าตรงกับที่เขาต้องการอ่านมากที่สุด 

meplug นวัตกรรมสำหรับผู้ใช้รถ EV ตอบโจทย์ Smart Energy Anytime Anywhere 

ปรากฏการณ์ในปี 2565 ที่เกิดจากกระแสความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของคนไทย ไม่ว่าจะเป็น ยอดจองรถยนต์ไฟฟ้า Tesla จำนวน 5000 คัน ภายใน 2 วัน ซึ่งมากกว่าจำนวนรถในงาน Motor Expo ทุกแบรนด์รวมกัน หรือ ORA Good Cat โดยค่าย GT เปิดยอดจอง 500 คัน หมดภายใน 58 นาที  และ BYD เปิดจองออฟไลน์ 5,000 คัน  และมีคนไปรอคิวจอง ตั้งแต่ 2 ทุ่มวันก่อนหน้า เพื่อรอเปิดจองในเวลา 7 โมงเช้าของวันจอง 

การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในบริบทเริ่มแรกที่โครงสร้างพื้นฐานยังมีไม่ทั่วถึง ทำให้ผู้ใช้งานที่มีที่พักอาศัยอยู่ในอาคารคอนโดมิเนียม มีความยากลำบากในการชาร์จไฟ อาจต้องมาแวะชาร์จที่สถานีชาร์จตามปั๊มก่อนเข้าบ้านทุกวันซึ่งใช้เวลาและจะกลายเป็นภาระ ช่องจอดรถในคอนโดมิเนียมก็มีพื้นที่เล็ก และนิติบุคคลของคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ ยังไม่ตัดสินใจซื้อ EV Station  หรือว่า EV Solution ต่างๆ ด้วยเหตุผลหลัก 3 ข้อ คือ EV Station มีราคาแพงมาก จะให้ใช้ Portable charger ก็ไม่มั่นใจในความปลอดภัย สอง คือ ไม่มีระบบการจัดการค่าไฟ และ การที่คอนโดมิเนียมต้องแบ่งช่องจอดเฉพาะให้กับผู้ใช้รถ EV ลูกบ้านที่ไม่ได้ใช้รถ EV ไม่เต็มใจที่จะแบ่งแน่นอน

meplug จึงเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการวางรากฐานสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย ในด้านโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟฟ้า และแก้ปัญหาให้ผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ ผู้ใช้รถ EV สามารถใช้ Portable charger ของเขาชาร์จได้อย่างปลอดภัยในคอนโดมิเนียม   สอง คอนโดมิเนียม สามารถให้บริการลูกบ้าน ที่อยากใช้รถไฟฟ้า โดยไม่กระทบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้รถไฟฟ้า และสุดท้าย meplug สามารถช่วยให้ การไฟฟ้า ให้บริการไฟฟ้าในรูปแบบอื่นๆ ได้ 

meplug คือ smart Outlet ที่สามารถชาร์จได้ทั้งรถยนต์ทีวีและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ โดยที่มีกำลังไฟสูงสุดที่ 3600 วัตต์ กับคอนเซ็ปต์ User friendly สามารถใช้งานได้ง่าย เพียงแค่สแกนคิวอาร์โค้ดก่อนการใช้งาน มีการออกแบบดีไซน์ให้รองรับกับสรีระมือของผู้ใช้งาน และติดตั้งได้ง่ายในลานจอดรถของคอนโดมิเนียม และไม่เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ที่สำคัญก็คือสามารถเพิ่มจำนวนได้ง่าย โดยที่ไม่กระทบกับโครงสร้างของคอนโดมิเนียม

meplug ยังมี Application ที่แสดงสถานะการชาร์จแบบ Real Time โดยที่ผลการชาร์จและค่าไฟจะถูกคำนวณด้วยระบบที่ได้มาตรฐาน เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการออกแบบตัว meplug เป็นเทคโนโลยีที่มีความเรียบง่าย สามารถเข้าถึงได้ง่าย แล้วก็ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งานในคอนโดมิเนียมได้เป็นอย่างดี  

ปัจจุบัน meplug อยู่ในระหว่างการพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ ให้พร้อมสำหรับการติดตั้งในช่วงของ sandbox ให้กับลูกค้าได้เข้ามาทดลองใช้งานจริง และเปิดรับความคิดเห็น ก่อนจะยื่นขอการรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จาก มอก. และนำ meplug ออกสู่ตลาดจริง โดยโฟกัสผู้ใช้งานรถ EV ที่พักอาศัยในคอนโดมิเนียม แต่ meplug ยังคงมองเห็นโอกาสอื่นที่จะเข้าไปช่วยตอบโจทย์ เช่น ตามพื้นที่ตลาด หรือห้างสรรพสินค้า ที่ช่วยทำให้สามารถเก็บค่าไฟได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และการพัฒนา AI ที่ช่วยในการบริหารจัดการไฟฟ้า ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัท 

Naiyana นวัตกรรมจากแนวคิด “ทุกคนคู่ควรกับการใช้ชีวิตอย่างอิสระและปลอดภัย”

เมื่อเราก้าวขาออกจากบ้าน เพื่อไปทำหน้าที่ของแต่ละคนในทุกๆ วัน จะมีอยู่สิ่งหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะเป็นเสาที่ติดตั้งป้ายต่างๆ ต้นไม้ที่โผล่ขึ้นมากลางทางเดิน หรือว่าสายไฟที่ห้อยระโยงระยางลงมา หากมีการใช้ทางเท้าเป็นประจำ หลายคนคงคุ้นเคยกับการหลบไปทางด้านซ้าย หลบไปทางด้านขวา ก้มหัว หรืออาจจะเดินชนบ้างในบางครั้ง  

แต่ในโลกของผู้พิการทางสายตา ย่อมไม่สามารถที่จะรับรู้ได้ว่าเขาต้องเผชิญกับอะไรข้างหน้า แล้วเพื่อที่เขาจะได้ใช้ชีวิตอย่างปกติมากที่สุด จะต้องฝึกฝนการใช้ไม้เท้าในการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว รวมไปถึงพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางที่ตั้งอยู่บนทางเดิน แต่สิ่งที่เป็น pain point สำหรับพวกเขา ไม่ว่าจะพยายามมากเท่าไหร่ นั่นคือ สิ่งกีดขวางที่ตั้งอยู่เหนือหัว ซึ่งทำให้พวกเขาเกิดความกลัวในการใช้ทางเท้า ทำให้ต้องขอความช่วยเหลือจากคนตาดีในการบอกทาง รวมไปถึงการขาดอิสระในการเดินทางด้วยตัวคนเดียวอีกด้วย  

จากปัญหาทั้งหมดข้างต้น ได้มีการนำเทคโนโลยี AI คอมพิวเตอร์วิชั่น นำมาสู่การสร้างการเป็น  “Naiyana” คืออุปกรณ์ที่เป็นเสมือนเพื่อนร่วมทางให้กับคนตาบอดให้เขาสามารถเดินทางไปได้ทุกที่  โดยการใช้ควบคู่กับไม้เท้า แก้ปัญหาการชนสิ่งกีดขวางที่อยู่เหนือหัว อุปกรณ์ Naiyana จะทำการแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางในระยะ 7 เมตรด้วยระบบเสียง โดยไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต จากเสียงสะท้อนความรู้สึกของคนตาบอดที่ได้มีการทดลองใช้  สามารถพิสูจน์ได้ว่าใช้งานได้จริงและหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างทันท่วงที ลดการเกิดอุบัติเหตุจากสิ่งกีดขวางที่อยู่เหนือหัว ในส่วนของอนาคต อุปกรณ์ Naiyana  จะเพิ่มการมองเห็นให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมไปถึงพื้นที่ภายในอาคาร และจะเพิ่มคุณสมบัตรให้เข้าถึงผู้ที่ประสบปัญหาสายตาเลือนรางอีกด้วย 

และนั่นคือ เครื่องพิสูจน์ความมุ่งมั่นของเด็กไทย กับน้องๆ นิสิตนักศึกษา ตัวแทน 4 ทีมจากโครงการ WEDO Young Talent Program จากหน่วยงาน Digital Office ของ SCG  ซึ่งเป็นพื้นที่ให้เยาวชน ได้มาปล่อยของ สร้างสรรค์และพัฒนาตนเอง เพื่อจะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศของเราต่อไป  สามารถติดตาม โครงการ WEDO Young Talent 2023 ที่กำลังเปิดรับไอเดียสุดล้ำของเด็กไทย ให้สามารถที่จะทำให้เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งในปีนี้มีการรับสมัคร นอกจากรับสมัครในระดับอุดมศึกษา และยังเป็นปีแรกที่รับสมัครน้องๆ มัธยมอีกด้วย  

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ