TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologySelfCheck (Covid-19) ผู้ป่วยช่วยลดภาระเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

SelfCheck (Covid-19) ผู้ป่วยช่วยลดภาระเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

ด้วยจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และต้องติดตามอาการผู้ป่วยตลอดทั้งวัน ทำให้เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลต้องทำงานอย่างหนัก

“วรวุฒิ ชุณหพงษ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวอร์นิตี้ จำกัด จึงพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลและติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยตัวเอง เพื่อช่วยลดภาระการทำงานในส่วนนี้ของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วนจำนวนมาก ที่สำคัญระบบนี้พัฒนาเพื่อให้ใช้งานฟรี

วรวุฒิ กล่าวกับ The Story Thailand ว่า Vernity เป็นบริษัทที่พัฒนาแอปอยู่ 3 ส่วน คือ medical application สร้างหมอให้เก่ง hospital solution ทำโรงพยบาลให้มี ประสิทธิภาพ home healthcare ทำให้คนไข้กลับบ้านไปดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง จุดมุ่งหมาย คือ ทำให้คนมีคุณภาพที่ดีจากเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ของ Vernity

ซึ่ง SelfCheck เป็นแอปใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อเปิดให้โรงพยาบาลได้ใช้ฟรี ใช้เวลา 5 วัน 5 คืน ใช้ทีม 6 คน ในการพัฒนาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ใช้บริการได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

แอป SelfCheck ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถบันทึกสัญญาณชีพและอาการประจำวันด้วยตนเอง ที่ลดภาระงานและเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลให้กับเจ้าหน้าที่ ทั้งงานมอนิเตอร์คนไข้ และงานเอกสารส่งสปสช.

สัญญาณชีพที่วัด คือ อุณหภูมิ อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ (คนที่มีปัญหาการหายใจจะมีความถี่ในการหายใจมากกว่า 24 ครั้งต่อนาที) ความดัน และความเข้มข้นออกซิเจนในเลือด คนไข้วัดเองแล้วใส่ข้อมูลเข้าไปในแอป 

“เมื่อเห็นข่าวความอ่อนล้าของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโควิด-19 จึงเกิดความคิดอยากจะนำองค์ความรู้ของบริษัทที่ทำระบบด้าน healthcare อยู่แล้วมาให้สร้างตัวช่วย ประกอบกับได้รับการติดต่อจากนายแพทย์ ธนวัฒน์ เต็งศิริโกมล (คุณหมออาร์ม) โรงพยาบาลบางพลี อยากให้ทำระบบให้แต่ไม่มีทุน จีงเกิดความต้องการที่จะช่วย ไม่เฉพาะโรงพยาบาลบางพลี แต่จะช่วยให้ได้ทุกโรงพยาบาล” วรวุฒิ กล่าว

จึงให้ทีมงาน 6 คน พัฒนาแอป SelfChek (COVID-19) เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน แบบ non-stop เพื่อให้ได้แอปออกมาใช้งานเร็วที่สุด และได้เริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งจนถึงวันนี้ 

“เราคิดว่าทำได้ และหากยังไม่มีทุน ไม่เป็นไร หากระบบนี้สามารถช่วยคนอื่นได้ เรายินดี ซึ่งระบบนี้อาจจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ทำกัน 5 วัน 5 คืน” วรวุฒิ กล่าว

ตอนเริ่มลงมือทำ มีการประกาศเรื่อง home isolation พอดี จึงปรับตัวแอปให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแล เบื้องต้นตัว SelfCheck เริ่มต้นจากการที่เห็นพยาบาลและเพทย์เหนื่อย เพราะฉะนั้น แอปนี้จะต้องบันทึกแล้วต้องช่วยแบ่งเบาภาระและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล 

การเช็คสัญญาณชีพ (Vital Sign) ของคนไข้ที่พยาบาลต้องเดินเข้าไปทุก 4 ชั่วโมง 6 ครั้งต่อวัน เพื่อที่บันทึกข้อมูลใช้เวลา 10 นาทีต่อครั้ง ถ้าสลับกันให้คนไข้เป็นคนบันทึกเองจะช่วยได้ไหม ทั้งในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือที่ hospital และ home isolation หากคนไข้มีอุปกรณ์ก็สามารถที่จะบันทึกเองได้

นอกจากนี้ แทนที่พยาบาลที่ต้องดูแลคนไข้ทั้งวอร์ด อาทิ ที่โรงพยาบาลสนาม 300 คน หากต้องติดตามอาการของทุกคนตลอดเวลาว่าอยู่ระดับสีอะไร ตัวระบบมีออกแบบมาให้จัดกลุ่มคนไข้ เมื่อคนไข้มีการบันทึกข้อมูลเข้ามา ระบบจะคัดกรองให้เลยว่าคนไข้คนไหนสีเขียว สีเหลือง สีแดง คนไข้ที่อยู่กลุ่มสีแดงจะถูกดึงขึ้นมาอยู่ลำดับต้น ๆ และมีแถบสีแดงบนชื่อ ไล่เรียงลงไปเป็นสีเหลืองและสีเขียว เพื่อให้พยาบาลได้มอนิเตอร์และรู้ได้ทันทีว่าคนไข้คนไหนอาการอยู่ในระดับไหนจะได้เข้าไปดูแลเป็นพิเศษตามอาการ หรือหากคนไข้ที่อยู่ hone isolation ขึ้นแถบสีแดง พยาบาลจะได้ติดต่อเข้าไปหาคนไข้คนนั้นได้ทันท่วงที 

ค่าต่าง ๆ ที่ออกมาจะสามารถบันทึกออกมาอยู่ในเอกสารที่จะต้องนำส่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่เรียกว่า “ฟอร์มปรอท” สามารถพิมพ์เอกสารออกมาอยู่ในรูปของ “ฟอร์มปรอท” ได้อัตโนมัติ ช่วยประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพให้เจ้าหน้าที่พยาบาล

เตรียมขยายเซิร์ฟเวอร์

เริ่มให้บริการตั้งแต่ 19 กรกฎาคม 2564 จนถึงวันนี้ (23 ก.ค.64) มีโรงพยาบาลและโรงงานใช้งานแล้ว 40 แห่ง มีผู้ใช้แอปทั้งหมดแล้วประมาณ 10,000 คน เนื่องจากระบบที่พัฒนานี้สามารถรองรับได้สูงสุด 100,000 คน ดังนั้นจะเปิดรับเฉพาะคนไข้ในโรงพยาบาลก่อน และมีแผนจะขยายเซิร์ฟเวอร์

คนทั่วไป สามารถใช้แอป SelfCheck (COVID) ได้เช่นกัน เพื่อติดตามสัญญาณชีพของตัวเอง และเก็บบันทึกไว้ในระบบได้เช่นกัน หากวันหนึ่งเกิดอาการที่ผิดปกติขึ้นก็สามารถติดต่อโรงพยาบาลและสามารถส่งข้อมูลบันทึกไว้ไปให้ที่โรงพยาบาล

“ข้อมูลทั้งหมดเก็บอยู่บนคลาวด์ โรงพยาบาลเข้ามาดูข้อมูลของคนไข้ผ่านระบบ หน้าแสดงสำหรับโรงพยาบาลจะแสดงผลเป็น dashbroad” วรวุฒิ กล่าว

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ