TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistBitkub OnlineLayer 2 คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับ Ethereum

Layer 2 คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับ Ethereum

รู้หรือไม่ว่าเครือข่ายบล็อกเชนที่เราคุ้นเคยอย่าง Ethereum นั้นถูกเรียกว่าบล็อกเชน Layer 1 โดยมี Layer 2 เป็นตัวช่วย แล้ว Layer 2 คืออะไร สำคัญอย่างไร มีเหรียญอะไรที่เป็น Layer 2 บ้าง มาหาคำตอบกันในบทความนี้ได้เลย

Layer 2 คืออะไร?

Layer 2 เป็นเครือข่ายบล็อกเชนย่อยที่พัฒนาขึ้นบนบล็อกเชน Layer 1 อีกที โดยมีหน้าที่หลักคือคอยสนับสนุนและแบ่งเบาภาระให้ Layer 1 สามารถรองรับธุรกรรมจำนวนมากได้ดีขึ้น ซึ่งหน้าที่ของ Layer 2 คือการนำธุรกรรมของ Layer 1 มาประมวลและสรุปผล จากนั้นก็จะส่งข้อมูลที่ได้รับการสรุปแล้วกลับไปบันทึกบน Layer 1

ความสำคัญของ Layer 2

เนื่องจากปัจจุบัน บล็อกเชนสาธารณะอย่าง Ethereum กำลังประสบปัญหาขยายขนาดตามจำนวนธุรกรรมไม่ทัน ทำให้เกิดปัญหาตามมาคือการทำธุรกรรมที่ล่าช้าและมีค่าธรรมเนียมสูง จึงเกิดแนวคิดสร้าง Layer 2 เพื่อลดภาระของ Layer 1

สมมติว่า Layer 1 คือถนนสายหลักที่มีการจราจรหนาแน่น ทำให้รถเคลื่อนที่ได้ช้า ส่วน Layer 2 ก็คือทางด่วนที่สร้างขึ้นบนถนนสายหลักอีกที ทำให้สามารถแบ่งการจราจรบางส่วนขึ้นมาวิ่งบนทางด่วนได้ เป็นการแบ่งเบาภาระให้ถนนสายหลักหรือ Layer 1 นั่นเอง

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า Layer 2 จะทำหน้าที่สรุปธุรกรรมและค่อยส่งไปบันทึกบน Layer 1 ดังนั้นการทำธุรกรรมผ่าน Layer 2 จึงมักจะมีความเร็วที่สูงและค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า Layer 1 แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถคงความปลอดภัยที่เป็นเอกลักษณ์ของบล็อกเชน Layer 1 ไว้ได้เช่นกัน

เหรียญ Layer 2 มีอะไรบ้าง?

อย่างที่หลาย ๆ บล็อกเชน Layer 1 มีเหรียญประจำของเครือข่าย เช่น Ethereum ที่มีเหรียญ Ether (ETH) หรือ Cardano ที่มีเหรียญ ADA ใช้สำหรับจ่ายค่าธรรมเนียมและรัน Smart Contract เครือข่าย Layer 2 ก็มีเหรียญสำหรับใช้งานบนเครือข่ายเช่นกัน โดยตัวอย่างเหรียญ Layer 2 ได้แก่

1.MATIC (Polygon)

MATIC หรือ Polygon เป็นตัวช่วยขยายขนาดโครงสร้าง (Scale) หรือ Layer-2 ที่ช่วยให้ Ethereum สามารถรองรับฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายยิ่งขึ้น รวมทั้งลดค่าธรรมเนียม และเพิ่มความเร็วในการทำงานของเครือข่าย

นอกจากนี้ Polygon ยังเป็น Layer 2 ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จนมีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในบรรดา Layer 2 ที่ 6.5 พันล้านดอลลาร์ (ข้อมูลจาก Coinmarketcap ณ วันที่ 22 กันยายน 2022)

2.IMX (Immutable X)

IMX หรือ Immutable X คือเครือข่าย Layer 2 ของ Ethereum และยังถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการโอนสินทรัพย์ประเภท NFT โดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยน NFT ผ่านเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และมีค่า Gas fee สำหรับโอน NFT ในระดับต่ำมาก

Immutable X ยังเป็นส่วนสำคัญสำหรับโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับ NFT บน Ethereum มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกม Gods Unchained, Guild of Guardians, Illuvium รวมถึงตลาด NFT อย่าง Opensea เป็นต้น

3.LRC (Loopring)

Loopring คือ Layer 2 ที่ใช้เทคโนโลยี zkRollup ในการสรุปข้อมูลธุรกรรมและส่งไปบันทึกบน Layer 1 อย่าง Ethereum โดย Loopring เป็นเครือข่ายที่มุ่งเน้นไปที่การส่งต่อมูลค่าและแลกเปลี่ยนแบบไร้ตัวกลาง (Decentralized Exchange) และออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านความปลอดภัยกับความเร็วที่สูง พร้อมรักษาค่าธรรมเนียมให้อยู่ในระดับต่ำเสมอ

4.OP (Optimism)

Optimism คือเครือข่ายบล็อกเชน Layer-2 ของ Ethereum ที่ถูกออกแบบมาให้เป็น Layer-2 ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนที่สุดเครือข่ายหนึ่ง โดยใช้ระบบที่เรียกว่า Optimistic Rollups (ORs) ในการยืนยันธุรกรรม โดยมีหลักการทำงานคือ ทั้งเครือข่ายจะถือว่าทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายเป็นธุรกรรมที่ถูกต้องทั้งหมด เว้นแต่โหนดในเครือข่ายจะแจ้งธุรกรรมที่น่าสงสัยเข้ามา จึงค่อยทำการตรวจสอบ

สรุป

Layer 2 คือบล็อกเชนเครือข่ายย่อยที่ทำหน้าที่สนับสนุนเครือข่ายหลัก (Layer 1) ให้สามารถรองรับธุรกรรมจำนวนมากได้ดีขึ้น โดย Layer 2 จะนำธุรกรรมของ Layer 1 มาสรุปผล และส่งข้อมูลที่สรุปแล้วไปบันทึกบน Layer 1

ปัจจุบัน มีเครือข่าย Layer 2 มากมายเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมมักจะเป็น Layer 2 ของ Ethereum ไม่ว่าจะเป็น Polygon Immutable X Loopring หรือ Optimism และอีกมากมาย

t===================

ติดตามบทความ ข่าวสาร และความรู้ที่น่าสนใจในวงการคริปโตได้ที่ Bitkub Blog

เรียนรู้เรื่อง บิทคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrecy ที่น่าสนใจก่อนเริ่มลงทุน

สมัครบัญชี Bitkub เพื่อ trade Cryptocurrency ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย www.bitkub.com/signup

*สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

**คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง คุณอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน

***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ