TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Life Bitkub แนะ 10 วิธีป้องกันตัวจากมิจฉาชีพออนไลน์

Bitkub แนะ 10 วิธีป้องกันตัวจากมิจฉาชีพออนไลน์

ปัจจุบันมีข่าวเกี่ยวกับมิจฉาชีพออนไลน์ (Scammer) กำลังระบาดหนักขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้มักจะมีกลวิธีหลากหลายในการหลอกลวงประชาชนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ บางคนเสียเงินเป็นหลักล้านเพราะถูกหลอกก็มีมาให้เห็นนักต่อนักแล้ว

Bitkub Exchange ต้องการให้ทุกคนสามารถป้องกันตัวจากมิจฉาชีพได้ จึงแนะนำ 10 วิธีป้องกันตัวจากมิจฉาชีพมาในบทความนี้

1. ไม่ใช้รหัสผ่านซ้ำกับอีเมลหรือบัญชีอื่น ๆ

ทุกวันนี้มีแอปพลิเคชันมากมาย แถมหลายแอปฯ ก็ใช้คนละบัญชีกันอีก ซึ่งเราก็ต้องมาคิดรหัสผ่านใหม่ให้กับแต่ละบัญชีอยู่เรื่อย ๆ หลายคนก็เลยรู้สึกว่ามันไม่สะดวก ทำไมไม่ใช้แค่อันเดียวไปเลย

วิธีนี้แม้จะสะดวกสบาย แต่ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้มิจฉาชีพเข้าถึงบัญชีได้ เนื่องจากบางคนใช้รหัสผ่านชุดเดียวกัน บางทีแค่แอปฯ เดียวทำรหัสผ่านหลุด มิจฉาชีพก็อาจเข้าถึงทุกบัญชีที่ใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันได้เลย

ยกตัวอย่าง คุณใช้แอปพลิเคชันประมาณ 10 แอปฯ ซึ่งมีตั้งแต่แอปฯธนาคาร โซเชียล ถ่ายภาพ เกม การลงทุน ฯลฯ ซึ่งทุกแอปฯใช้รหัสผ่านและอีเมลเดียวกันหมด ต่อมาคุณเผลอทำรหัสผ่านของแอปฯถ่ายภาพหลุด ซึ่งตอนแรกคุณคิดว่าไม่น่าจะเป็นอะไรมาก เพราะเป็นแค่แอปฯถ่ายภาพ แต่มิจฉาชีพที่ได้รหัสผ่านไป เขาอาจนำรหัสผ่านไปลองล็อกอินกับแอปฯอื่นด้วย และผลปรากฎว่าสามารถล็อกอินเข้าแอปฯการเงินได้ด้วย ทำให้มิจฉาชีพสามารถเข้าถึงบัญชีการเงินของคุณได้เลย

ดังนั้น คุณจึงควรพิจารณาสร้างรหัสผ่านแต่ละบัญชีให้แตกต่างกัน หรืออย่างน้อยก็สร้างรหัสผ่านเฉพาะให้กับแอปพลิเคชันที่สำคัญ เช่น แอปฯ ที่เกี่ยวกับการเงินหรือข้อมูลส่วนตัว โดยไม่ให้รหัสผ่านซ้ำหรือคล้ายกับบัญชีอื่นด้วย

2. ทำธุรกรรมผ่าน Browser หมั่นเช็ค URL เสมอ

Browser หรือ Web browser คือแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมที่ใช้สำหรับท่องเว็บไซต์ คนที่ใช้ PC หรือแล็ปท็อปน่าจะคุ้นเคยกันดี ซึ่ง Browser ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Google Chrome, Firefox, Brave, Opera และ Safari เป็นต้น

หนึ่งในวิธีที่มิจฉาชีพนิยมใช้บนโลกออนไลน์ก็คือการสร้างเว็บไซต์ปลอม โดยมักจะสร้างให้มีหน้าตาคล้ายกับของจริง แต่สิ่งที่ไม่สามารถเลียนแบบได้ก็คือ URL หรือที่อยู่เว็บที่เราสามารถสังเกตได้ที่แถบด้านบนของ Web browser เมื่อรู้แล้วว่าเราสามารถดู URL ได้อย่างไร เราก็สามารถสังเกต URL เพื่อแยกแยะเว็บไซต์ของจริงกับปลอมได้ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ของ Bitkub Exchange

  • A.เว็บไซต์ Bitkub Exchange ของจริงจะเป็น https://www.bitkub.com/ เสมอ
  • เว็บไซต์ปลอมอาจใช้วิธีเปลี่ยนอักษรบางตัวที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ใช้ 1 แทน i ของ bitkub กลายเป็น www.b1tkub.com เป็นต้น และมีอีกหลายตัวอักษรที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น n กับ u หรือ i กับ l ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกต URL ก่อนกรอกข้อมูลหรือทำธุรกรรมผ่านเว็บไซต์เสมอ
  • เว็บไซต์ปลอมอาจมีชื่อแปลก ๆ พ่วงท้าย เช่น www.bitkubpro.com หรือ www.masterbitkubfutures.com ซึ่งถ้าหากเป็นเว็บไซต์ในเครือ Bitkub จริง ๆ จะมีประกาศออกมาให้ทราบโดยทั่วกัน

นอกจากนี้ มิจฉาชีพอาจใช้วิธีซื้อโฆษณาบน Google เพื่อให้เว็บปลอมขึ้นมาเป็นอันดับแรกเมื่อทำการค้นหา ดังนั้น หากคุณไม่ได้ตั้งเว็บไซต์ที่เข้าเป็นประจำให้เป็น Bookmark หรือ Favorite แต่ชอบใช้ Google เพื่อค้นหาเว็บไซต์ก็ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

3. เน้นทำธุรกรรมผ่านแอปฯ แทนเว็บไซต์

สืบเนื่องจากข้อที่แล้ว หากสังเกต URL แล้วแต่ยังไม่แน่ใจ แนะนำให้เปลี่ยนมาทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชัน บนสมาร์ทโฟนแทน ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการ Android หรือ iOS ทั้งนี้ เป็นเพราะการทำผ่านแอปพลิชันไม่ได้เป็นการเข้าผ่าน Web browser ทำให้โอกาสที่จะเข้าเว็บผิดลดลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะคนที่ติดตั้งแอปฯ ไว้ในอุปกรณ์อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ต้องการดาวน์โหลดและติดตั้งแอปฯ ใหม่ ก่อนดาวน์โหลดผ่าน App Store หรือ Play Store ก็ควรสังเกตให้ดีก่อนว่าเป็นแอปฯ ของแท้หรือไม่ ยกตัวอย่างแอปฯ ของ Bitkub Exchange ต้องเป็น Bitkub : ซื้อ & ขาย บิตคอยน์ และชื่อผู้พัฒนาต้องเป็น Bitkub Online Co.,Ltd เท่านั้น

4. ตรวจสอบชื่อผู้ส่งอีเมล

ผู้ให้บริการหลายลายจะมีบริการส่งอีเมลเพื่อแจ้งประกาศ อัปเดตข่าวสาร โปรโมชัน รวมถึงบทความที่น่าสนใจ ฯลฯ แต่นี่ก็เป็นอีกช่องทางที่มิจฮาชีพใช้เพื่อหลอกลวงได้เช่นกัน

คล้ายกับกรณีเว็บไซต์ปลอม แต่คราวนี้มิจฉาชีพอาจปลอมหน้าตาหรือข้อความในอีเมลให้ดูคล้ายกับอีเมลที่มาจากผู้ให้บริการตัวจริง โดยอาจใช้ข้อความหลอกล่อประมาณว่า “บัญชีของคุณมีปัญหา โปรดเข้าลิงก์นี้เพื่อแก้ไข” หรือ “รางวัลพิเศษสำหรับลูกค้าเรา โปรดเข้าลิงก์นี้เพื่อรับรางวัล” เป็นต้น หากเผลอเข้าลิงก์ไปก็อาจเจอเว็บไซต์ปลอมเหมือนข้อที่ 2 หรือเลวร้ายยิ่งกว่าก็เป็นการอาจทำให้อุปกรณ์ของเราติดไวรัสได้

ดังนั้น เมื่อได้รับอีเมลใด ๆ ก่อนอื่นควรตรวจสอบชื่อผู้ส่งอีเมลก่อน ยกตัวอย่าง Bitkub Exchange จะส่งอีเมลโดยใช้ที่อยู่ [email protected] และ [email protected] เท่านั้น สังเกตได้ว่าด้านหลังเครื่องหมาย @ จะเป็นชื่อองค์กร ไม่ได้ลงท้ายเหมือนอีเมลของบุคคลทั่วไปอย่าง [email protected] หรือ [email protected]

เราจึงสามารถใช้วิธีสังเกตชื่อผู้ส่งอีเมลเพื่อกรองอีเมลที่น่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากได้รับอีเมลที่มีลิงก์หรือไฟล์แนบ หากไม่แน่ใจจริง ๆ ก็ไม่ควรกดลิงก์หรือไฟล์แนบโดยเด็ดขาด

5. หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะเพื่อทำธุรกรรม

เนื่องจากหนึ่งในการโจมตีที่พบได้บ่อยจากการใช้ Wi-Fi สาธารณะคือการโจมตีที่เรียกว่า Man in the Middle หรือการดักฟังข้อมูลของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต หมายความว่าข้อมูลทุกอย่างที่ผู้ใช้ทำระหว่างที่เชื่อมต่อกับ Wi-Fi สาธารณะจะถูกดักฟังโดยแฮกเกอร์ ไม่ว่าจะเป็นรหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนตัวก็ตาม

การป้องกันที่ดีที่สุด คือหลีกเลี่ยงการใช้ WiFi สาธารณะอย่างเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงการทำธุรกรรมผ่านร้านอินเทอร์เน็ตหรือเน็ตคาเฟ่ด้วย และหันมาใช้อินเทอร์เน็ตจากแพ็กเกจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือหรือเน็ตบ้านของตัวเองจะดีที่สุด

6. เชื่อมต่อ Bitkub Connect บน LINE

Bitkub Exchange มีบริการ Bitkub Connect ซึ่งเป็นบริการเชื่อมต่อบัญชี Bitkub Exchange ของคุณเข้ากับบัญชี LINE เพื่อแจ้งความเคลื่อนไหวของบัญชีและข่าวสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย การฝาก-ถอน ให้รับทราบได้แบบ Real-time ผ่านทางแอปพลิเคชัน LINE

และที่สำคัญ หากคุณพบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือสงสัยว่าบัญชีของคุณอาจไม่ปลอดภัย คุณก็สามารถกดปุ่มแจ้งอายัติ (Freeze) บัญชีของคุณชั่วคราวผ่านทาง LINE ได้อย่างรวดเร็ว หรือสามารถพิมพ์ #suspend ผ่านช่องแชตใน LINE ก็ได้เช่นกัน เพื่อไม่ให้มิจฉาชีพทำอะไรกับบัญชีของคุณได้ จากนั้นก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือได้

ศึกษาวิธีเชื่อมต่อ Bitkub Connect บน LINE

7. ปลอดภัยกว่าเพียงเปิดใช้งาน 2FA คู่กับ SMS OTP

ถ้ารหัสผ่านนับเป็นกำแพงชั้นแรกที่มีไว้เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ 2FA และ SMS OTP ก็ถือเป็นกำแพงชั้นที่สองและสามที่จะมาช่วยเสริมระบบความปลอดภัยสู่ขั้นสูงสุด

โดยทั้ง 2FA และ SMS OTP จะเป็นรหัสผ่านชั่วคราวที่จะรีเซ็ททุก 30 วินาที – 1 นาที รหัสผ่านเหล่านี้จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ที่ลงทะเบียนไว้ รหัส 2FA จะถูกส่งไปยังแอปฯ Authenticator ที่ติดตั้งไว้ เช่น Google Authenticator ส่วน SMS OTP จะถูกส่งไปยังเบอร์มือถือที่ลงทะเบียนไว้

เนื่องจากการที่ 2FA และ SMS OTP ต่างเป็นรหัสผ่านที่ใช้ได้ชั่วคราวและจะถูกรีเซ็ทใหม่เสมอ ต่อให้มิจฉาชีพรู้รหัสผ่านเข้าบัญชีของเรา พวกเขาก็จะยังไม่สามารถโอนเงินหรือทรัพย์สินออกจากบัญชีได้ หากไม่ทราบรหัส 2FA และ SMS OTP ดังนั้น การเปิดใช้งานทั้งสองฟังก์ชันนี้จะเป็นการยกระดับความปลอดภัยได้แบบก้าวกระโดดเลยทีเดียว

ศึกษาวิธีติดตั้ง 2FA

8. พนักงานจะไม่สอบถามรหัสผ่าน

หากคุณมีความจำเป็นต้องติดต่อพนักงานเพื่อขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการโทรหรือแชต ให้ระลึกไว้เสมอว่าพนักงานของบริษัทผู้ให้บริการจะไม่สอบถามรหัสผ่าน (รวมถึงรหัส 2FA และ SMS OTP) ของลูกค้าไม่ว่าในกรณีใด ๆ

ในกรณีที่ต้องการทราบข้อมูล ส่วนใหญ่พนักงานจะสอบถามเพียงชื่อ อีเมล หรือเบอร์ติดต่อเท่านั้น หากถูกสอบถามรหัสผ่าน รหัส 2FA หรือรหัส SMS OTP ให้สงสัยไว้ก่อนว่าผู้ที่กำลังติดต่อนั้นอาจเป็นมิจฉาชีพ

9. ระวังสายโทรเข้าเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ช่วงนี้มีกระแสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ติดต่อเข้ามาตามเบอร์ส่วนตัวของหลาย ๆ คน ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้จะพยายามเกลี้ยกล่อมให้เหยื่อตายใจด้วยกลวิธีต่าง ๆ ยกตัวอย่าง

  • อ้างว่าโทรจากธนาคารเพื่อแจ้งอายัติบัญชี  ต้องแก้ไขด้วยการทำธุรกรรมโอนเงินไปให้
  • หลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจ้งว่ามีพัสดุต้องสงสัย ให้โอนเงินเข้าไปเพื่อตรวจสอบ
  • แจ้งว่าเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล แต่ต้องโอนเงินเข้าไปก่อนเพื่อตรวจสอบถึงจะมอบรางวัลให้

สังเกตได้ว่าแก๊งคอลล์เซ็นเตอร์จะใช้อุบายหว่านล้อมจนดูน่าเชื่อถือ แต่จะลงท้ายด้วยการให้โอนเงินแทบจะเสมอ ดังนั้นเมื่อไรที่ปลายสายบอกให้โอนเงิน ให้คิดไว้ก่อนเลยว่าเป็นมิจฉาชีพ และห้ามโอนเงินไปโดยเด็ดขาด

10. สังเกตเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามา

ในกรณีที่มีเบอร์ติดต่อเข้ามา เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเบอร์ที่ติดต่อเข้ามานั้นเป็นเบอร์ที่สามารถเชื่อถือได้หรือไม่

  • วิธีแรกคือการนำเบอร์ดังกล่าวไปค้นหาใน Google เพื่อดูว่ามีคนเคยเอามาฟ้องว่าเป็นเบอร์ที่มิจฉาชีพใช้ติดต่อเข้ามาหรือไม่
  • วิธีที่สองคือการติดตั้งแอปพลิเคชันช่วยตรวจสอบเบอร์ที่เข้ามาอย่าง Whoscall ซึ่งแอปฯ นี้สามารถช่วยแจ้งได้ว่าเบอร์ที่เข้ามานั้นเป็นเบอร์ที่เสี่ยงเป็นมิจฉาชีพหรือไม่

ทั้งนี้ การตรวจสอบว่าผู้ให้บริการออนไลน์ที่เราใช้เป็นประจำมีเบอร์ที่ใช้ติดต่อเข้ามาคือเบอร์อะไร และบันทึกเบอร์ดังกล่าวเอาไว้จะช่วยให้เราสามารถรู้ทันเวลามีเบอร์แปลก ๆ โทรเข้ามาได้ง่ายยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง Bitkub Exchange จะใช้เบอร์ 02–032–9555 ในการโทรหาลูกค้าเท่านั้น เป็นต้น หากมีเบอร์อื่นโทรเข้ามาและอ้างว่าเป็น Bitkub ก็สามารถสงสัยไว้ก่อนได้เลยว่าปลายสายอาจเป็นมิจฉาชีพปลอมตัวมา

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

LINE เปิดตัว GAME DOSI แพลตฟอร์มเกมแบบ WEB3

TIKTOK ชวนผู้ใช้และครีเอตอร์ ร่วมส่งเสริมพลังผู้หญิงสู่เวทีโลก กับ #APECFORHER

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

AIS โชว์ศักยภาพบนเวทีโลก คว้ารางวัล WSIS Prize 2023

AIS พาโครงการ “อุ่นใจ CYBER” เป็นตัวแทนประเทศ คว้ารางวัลด้านความยั่งยืนระดับโลก ติดอันดับ 1 ใน 5 จาก 1,800 โครงการทั่วโลก

เสียวหมี่ เปิดตัว Xiaomi 13 Series “co-engineered with Leica” สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุด

เสียวหมี่ ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุด – Xiaomi 13 Series – สู่ตลาดต่างประเทศ ณ งานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน

เทนเซ็นต์ คลาวด์ ส่ง Metaverse Solution Suite ยกระดับผู้ประกอบการไทย

จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้การเชื่อมต่อระหว่างโลกเสมือน และโลกความเป็นจริงแข็งแกร่งมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มมองหาโอกาสจากการสร้างแพลตฟอร์ม

ย้อนเวลาสู่อาณาจักรโรมัน…ตามล่าบทเรียนวิกฤติการเงินเขย่าโลก

หากคุณได้ติดตามข่าวมาบ้าง น่าจะรู้ว่าในปี 2565 ที่ผ่านมาได้เกิดความผันผวนขึ้นอย่างหนักในโลกการเงิน จนหลายคนภาวนาอยากให้วิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านพ้นไปเสียที

Skooldio ติดโผ สตาร์ตอัพเติบโตสูงระดับเอเชียแปซิฟิก เข้าชิง Global Startup Awards 2023

Skooldio ผู้ให้บริการด้านทักษะดิจิทัล หรือ Digital Skills สำหรับวัยทำงาน ในเครือ LEARN Corporation ติดอันดับ High-Growth Companies Asia-Pacific 2023

เจาะ 5 เทรนด์ Web3 ที่กระแสมาแรงในปีนี้

เมื่อตลาดอยู่ในช่วงขาลง เรามักจะได้ยินเสมอว่า “คริปโทถึงกาลอวสานแล้ว” แต่แท้จริงแล้ว ราคาคริปโทไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่บ่งชี้ถึงภาวะของอุตสาหกรรมคริปโท

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท หนุนใช้หุ่นยนต์โคบอท ดันไทยสู่ EV Hub

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท บริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน (โคบอท) จากประเทศเดนมาร์ก พร้อมหนุนผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยใช้หุ่นยนต์โคบอทช่วยการผลิต

Google เปิดตัว Generative AI บน Google Cloud และ Google Workspace

Google เปิดตัว คลื่นลูกใหม่ ของ generative artificial intelligence (generative AI) ในส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจหลัก

Samsung เปิดตัว Galaxy A54 5G และ A34 5G ดีไซน์ใหม่ เครื่องสวย กล้องคมชัด

ซัมซุงเปิดตัว Samsung Galaxy A54 5G และ Galaxy A34 5G ด้วย All New Design ปรับโฉมใหม่ สวยเทียบรุ่นเรือธง ชูโรงด้วย AWESOME Camera

อีริคสัน โชว์ศักยภาพโซลูชัน 5G ในงาน DTWA 2023 เดินหน้าขับเคลื่อนดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชันในไทย

อีริคสัน จัดแสดงโซลูชัน 5G ล่าสุด ภายในงาน Digital Transformation World Asia (DTWA) 2023 ที่จัดขึ้น 3 วันเต็มในกรุงเทพฯ

MUST READ

COM7 วางเป้าปี 66 โต 15% เตรียมเปิดเพิ่ม 200 สาขา พร้อมแตกไลน์สู่ธุรกิจร้านขายยา-อาหารสัตว์เลี้ยง

COM7 ตั้งเป้าปี 66 ยอดขายพุ่งกว่า 15% จากกำลังซื้อคึกคัก iPhone14 ซัพพลายกลับสู่ภาวะปกติ เดินหน้าขยายสินค้าเฮาส์แบรนด์

มอนเดลีซ จับมือ กระทิงแดง เปิดตัวหมากฝรั่ง Dentyne Splash Red Bull สดชื่น แบบไม่มีน้ำตาล

บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด จับมือกับแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Red Bull เปิดตัว หมากฝรั่ง เดนทีน สแปลช เรดบูล

เปิดใจ “ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์” เบื้องหลังจัดตั้ง DEPA เป็นหัวหอกนำไทยสู่ยุคดิจิทัล

การจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy Promotion Agency (DEPA) ขึ้นมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2560

สจล. เตรียมจัด KMITL INNOVATION EXPO 2023 โชว์สิ่งประดิษฐ์ฝีมือคนไทย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เตรียมจัดงาน “KMITL Innovation EXPO 2023” แสดงนวัตกรรมและผลงานวิจัยครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

Samsung เปิดตัว Galaxy A54 5G และ A34 5G ดีไซน์ใหม่ เครื่องสวย กล้องคมชัด

ซัมซุงเปิดตัว Samsung Galaxy A54 5G และ Galaxy A34 5G ด้วย All New Design ปรับโฉมใหม่ สวยเทียบรุ่นเรือธง ชูโรงด้วย AWESOME Camera
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น