TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistการหารายได้จากข้อมูล หรือ Data Monetization ทำอย่างไร?

การหารายได้จากข้อมูล หรือ Data Monetization ทำอย่างไร?

Data Monetization ความหมายที่ตรงไปตรงมาที่สุด คือการหารายได้จากข้อมูล โดยรูปแบบของการนำข้อมูลไปหารายได้ แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

1) การใช้งานภายในองค์กร

ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลขององค์กร หรือ Internal Data และข้อมูลภายนอกองค์กร หรือ External Data หากนำมาบริหารจัดการ และมีการเปิดให้ใช้งานได้ภายในองค์กรก็ถือเป็นการหารายได้จากข้อมูลในรูปแบบหนึ่ง โดยเป้าหมายของการใช้ข้อมูลก็เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุน การหารายได้ และการพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ

2) การขายข้อมูล หรือ Data as a Service

การขาย “ข้อมูล” ในรูปแบบข้อมูลดิบ หรือข้อมูลที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการในการวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลตารางเดินรถ ข้อมูลจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟในแต่ละช่วงเวลา เป็นต้น ซึ่งการขายข้อมูลนี้สามารถทำได้โดยไม่ผิดหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากมิได้ขายข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลแต่อย่างใด

3) การขายข้อมูลเชิงลึก หรือ Insight as a Service

ข้อมูลเชิงลึกเป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหลักการวิเคราะห์จะต้องเป็นหลักการที่เชื่อถือได้ ตัวอย่างข้อมูลนี้ ได้แก่ ข้อมูลกำลังซื้อของประชากรในแต่ละพื้นที่ แสดงจำนวนของประชาชนที่ได้รับการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามระดับกำลังซื้อ ซึ่งกำลังซื้อของประชากรจะถูกวิเคราะห์มาจากข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ เป็นต้น แม้ข้อมูลนี้จะวิเคราะห์มาจากข้อมูลธุรกรรมการทางการเงินของประชาชนในแต่ละพื้นที่ แต่ข้อมูลนี้ไม่สามารถนำมาระบุเป็นตัวตนได้ จึงถือว่ามิได้เป็นการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลแต่อย่างใด ซึ่งองค์กรที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้ จะต้องมีข้อมูลธุรกรรมจำนวนมาก เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลเชิงลึกนั้นเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากพอ

4) การขายระบบการวิเคราะห์ หรือ Analytics Enabled PaaS

ระบบการวิเคราะห์นี้เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลขนาดใหญ่เป็นต้นแบบในการสร้างแบบจำลอง จากนั้นองค์กรจะนำแบบจำลองไปสร้างเป็นระบบเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเข้าข้อมูล เพื่อให้ระบบสร้างผลลัพธ์เพื่อไปใช้งานต่อได้ เช่น การแปลภาษาของ Google Translate โดยการป้อนภาษาที่ต้องการให้แปล และเลือกภาษาที่ต้องการแปล ซึ่งเบื้องหลังระบบนี้ คือ AI ประเภท Natural Language Processing ซึ่ง NLP ถูกสร้างมาจากการนำข้อมูลขนาดใหญ่เข้าไปเป็นต้นแบบ เกิดการเรียนรู้ จนกระทั่งได้แบบจำลอง จากนั้นเมื่อมีการนำเข้าข้อมูลใหม่ ระบบจะทำการวิเคราะห์เพื่อนำเสนอผลลัพธ์

การตลาดวันละตอน กางแผนปี 66 ทำเดต้าช่วยผู้ประกอบการรายย่อย หวังสร้างเมืองบูม SME บูม เศรษฐกิจบูม

NTT DATA เผย 3 ความท้าทายโลกการตลาดยุคใหม่ ชี้ Digital Experience หนทางมัดใจผู้บริโภคยั่งยืน

การหารายได้จากข้อมูลจะเกิดขึ้นได้ องค์กรนั้นจะต้องมีข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นข้อมูลที่มีความได้เปรียบ เป็นที่ต้องการของตลาด ขั้นตอนในการทำ Data Monetization ดังต่อไปนี้

  1. วางกลยุทธ์ – การกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร โดยกำหนดเป้าหมายของการหารายได้จากข้อมูล มีโจทย์ให้ชัดว่าจะขายอะไร และทำไมองค์กรถึงมีความได้เปรียบในตลาด
  2. เก็บข้อมูล – เมื่อสามารถกำหนดเป้าหมาย และรูปแบบของข้อมูลที่จะนำมาหารายได้แล้ว จึงมาวิเคราะห์ถึงความพร้อมของข้อมูล หากข้อมูลยังมีไม่มากพอ ก็จะเป็นต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเสียก่อน
  3. บริหารข้อมูล – ในกรณีที่แหล่งข้อมูลมาจากหลายแหล่ง จะต้องมีการบริหารข้อมูล หรือการดำเนินโครงการ Data Management เพื่อให้มีแหล่งศูนย์กลางของข้อมูล เตรียมพร้อมสำหรับการเข้าถึงโดยผู้ใช้งานในอนาคต
  4. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล – การหารายได้จากข้อมูล จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หรือ Data Validation จึงเกิดขึ้น และหากพบว่ามีข้อมูลที่ขาดหาย อาจจำเป็นต้องมีกระบวนการทำให้ข้อมูลสมบูรณ์ หรือ Data Enrichment
  5. วิเคราะห์ข้อมูล – การวิเคราะห์ข้อมูลในที่นี้ จะเกิดขึ้นเมื่อองค์กรต้องการหารายได้จากข้อมูลเชิงลึก ทำให้จำเป็นต้องมีการนำข้อมูลดิบมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มเติมให้กับข้อมูล
  6. การออกแบบช่องทางในการใช้งาน – กระบวนการนี้เป็นการออกแบบสินค้า หรือรูปแบบที่ผู้ใช้บริการจะเข้าถึงข้อมูลของเรา อาจจะเป็นการสร้าง API เพื่อสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้ การทำเป็นรายงานส่งให้ตามกำหนดรอบ หรือเป็นการทำ Dashboard เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เป็นต้น
  7. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย – วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อประเมินมูลค่าของบริการ พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบของการให้บริการ และราคา
  8. ทำการตลาด – การนำสินค้า และบริการเข้าสู่ตลาดเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้

Data Monetization มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็น Data-Driven Organization เพราะจากกรณีศึกษาต่าง ๆ ทำให้เห็นภาพว่า หากองค์กรใดสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล สามารถมองเห็นมูลค่าของข้อมูล และพัฒนาเป็นบริการใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาดได้ก่อน นั่นคือโอกาสครั้งใหญ่ขององค์กรนั้น ซึ่งการจะไปสู่การนำเสนอบริการด้านข้อมูลให้ตลาดได้ องค์กรนั้นควรมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้เป็น Data-Driven Organization เสียก่อน เพราะถ้าตัวเองไม่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล แล้วจะสามารถนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้บริการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

LINE เปิดโลก NFT เพื่อธุรกิจ ดึงผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ นำสินทรัพย์ดิจิทัลสร้างแคมเปญการตลาด

“InsightEra” เสริมศักยภาพธุรกิจไทยในยุคการตลาดดิจิทัล ด้วยโซลูชัน MarTech ตั้งเป้าเติบโตกว่า 100%

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ