TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Technology ถอดบทเรียน เอไอเอส “สู้ภัยโควิด-19” เมื่อนำ 5G และการเชื่อมต่อของภาครัฐ เอกชน สู่การฟื้นฟูประเทศ

ถอดบทเรียน เอไอเอส “สู้ภัยโควิด-19” เมื่อนำ 5G และการเชื่อมต่อของภาครัฐ เอกชน สู่การฟื้นฟูประเทศ

ภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปี 2563 ตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิดรอบแรก เรื่องของ Digitalization เข้ามามาก คนทำงาน Work from Home, Learn from Home จนถึงวันนี้สถิติของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยมีการเติบโตในแง่การใช้งานเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 30% ทั้งในส่วน Wireless (Mobile) และ Fixed Line (Fixed Broadband)

แต่ถึงแม้อุตสาหกรรมจะมีการเติบโตอย่างมาก เนื่องจากทุกคนจำเป็นต้องใช้งาน แต่รายได้ของอุตสาหกรรมโดยรวมไม่ได้เติบโต 30% ตามนั้น

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า เอไอเอสยังโชคดีที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ยังเป็นความจำเป็นของคน แต่การเติบโตของอุตสาหกรรมขึ้นกับกำลังซื้อของประชากร และภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การเติบโตของอุตสหากรรมนี้จะดีกว่า GDP ของประเทศประมาณ​ 1-2%

ปี 2563 GDP ของประเทศไทย ลด -6.1% รายได้โดยรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมก็ลดประมาณ -4% ในปีที่แล้ว สำหรับปีนี้ คาดการณ์ว่า GDP โต 2-3% เชื่อว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมปีนี้น่าจะโตประมาณ ​3-4% ไม่ได้โต 30% แบบการใช้งาน แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าอุตสาหกรรมอื่นที่ติดลบมหาศาล เช่น โรงแรม การท่องเที่ยว เป็นต้น 

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS

“เราเจอวิกฤติโควิดรอบแรก ประเทศไทยถดถอย เรามีแผนการจะฟื้นฟูเมื่อกลางปี 2563 และหวังว่าปลายปี 2563 จะเติบโตของประเทศไทยในนอนาคต ที่เคยกล่าวไว้ตั้งแต่กรกฎาคมปีที่แล้วว่า “ถดถอย ฟื้นฟู และเติบโต ต่อไป” แต่มาเจอโควิดรอบสอง ตอนปลายปีที่แล้ว ไม่น่าเชื่อว่า มีนาคมเกิดโควิดรอบ 3 สิ่งที่เราทำ คือ ต้องช่วยกัน ให้ผ่านวิกฤตินี้ไปได้ด้วยดี” สมชัย กล่าว

สำหรับ เอไอเอสเอง คาดว่าจะโต 2-5% ในปีนี้ แต่หากวิกฤติรอบ 3 ไม่หยุดในเร็ววัน เอไอเอสอาจจะต้องปรับเป้าธุรกิจอีกรอบ

แม้ว่าจะได้รับผลกระทบโควิดรอบ 3 แต่เอไอเอสจะจับมือร่วมกันในการนำพาประเทศก้าวพ้นผ่านวิกฤตินี้ให้ได้ เอไอเอสรับใบอนุญาต 5G เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และจะนำ 5G มาผลักดันประเทศ แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ปลายเดือนมีนาคมเกิดวิกฤติโควิดรอบแรก เอไอเอสจึงปรับนำ 5G มาทำ “เอไอเอส 5G สู้ภัยโควิด” จนกลายเป็นองค์กรที่โดดเด่นมากในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเหลือวงการสาธารณสุข อาทิ เอไอเอส ทำ Robot for Care มีหุ่นยนต์ต่าง ๆ ที่ไปช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการลดความเสี่ยงต่าง ๆ ได้นำเอา AI เข้ามาช่วยทำ Telemedicine เป็นต้น 

พอมาระลอกสอง เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เอไอเอส ได้ทำการต่อยอดด้วยการนำเทคโนโลยีในการติดตามตัวมาช่วยเรื่องการกักตัว (Quarantine) บนเรือยอร์ช และนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนโรงพยาบาลสนามบางแห่ง ซึ่งไม่คิดว่าจะเกิดระลอก 3 ขึ้นมาอย่างง่ายดาย เพราะคิดว่ารอบ 2 คิดว่าเอาเทคโนโลยีไปใช้มากกว่าการป้องกัน แต่ขยายไปสู่ภาคการท่องเที่ยวเพื่อให้เติบโตกลับมา 

อย่างไรก็ดี วิกฤติโควิดรอบ 3 เอไอเอสจะเอา “เอไอเอส 5G สู้ภัยโควิด” ต่อเนื่องไป สิ่งที่เกิดขึ้นในระลอก 3 ที่ได้ทำกันมา ทีมเอไอเอสได้คิดต่อยอดจากการทำ  “เอไอเอส 5G สู้ภัยโควิด”  มาทำ “เอไอเอสสู้ภัยโควิดระลอก 3” ในลักษณะของการ “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทยทุกคน”  

เอไอเอสจะทำ 4 แกน ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ต่อยอดจากที่เคยทำมาในระยะ 1 และ 2 

ประการแรก คือ โรงพยาบาลสนาม การระบาดรุนแรงกว่ารอบ 1 และรอบ 2 มากมาย เอไอเอสจะเอาโครงข่าย 4G, 5G และ Wifi ช่วย 31 โรงพยาบาลสนาม เสริมโครงข่ายเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพ 

ประการที่ 2 คือ Telemedicine ช่วยป้องกันความเสี่ยงของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ จากเดิมมีหุ่นยนต์ และมีระบบ Telemedicine วันนี้มีพันธมิตร เอาความสามารถของพันธมิตรมาขยายความสามารถในการทำ Telemedicine ในเฟสนี้เพิ่มเติม

ประการที่ 3 คือ การใช้ AI  และ 5G อย่างสมบูรณ์แบบในการตรวจโควิด (Swab Test) ระบบ AI ที่ดูผล Swab Test จากการทำ CT Scan ปอด ได้ผลมากกว่า 97% ปีที่แล้วทำที่ โรงพยาบาลวชิระ และโรงพยาบาบจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ปีนี้จะขยายผลต่อไปในต่างจังหวัด 

ประการที่ 4 คือ อสม. ที่ทั้งประเทศมีอยู่ประมาณ 1 ล้านคน ปัจจุบัน มากกว่า 500,000 คนใช้แอปฯ อสม ออนไลน์ ซึ่งเอไอเอสพัฒนาและลงทุนมากว่า 4 ปี มีการรพัฒนาฟีเจอร์และฟังก์ชันส์ต่าง ๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขอยากให้ทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการติดตามผู้ป่วย หรือผู้เฝ้าระวัง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการเพิ่มฟีเจอร์เข้าไปเรื่อย ๆ นอกจากติดตามตามกระบวนการปกติของกระทรวงฯ แล้วยังมีฟีเจอร์ที่ดูแลสุขภาพจิต ของประชาชน ทั้งระหว่างป่วยและหายป่วยจากโควิดแล้ว เป็นต้น 

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS กล่าวว่า เอไอเอสมีความมุ่งมั่นที่จะทำภารกิจ “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทยทุกคน” ให้สามารถตอบสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว 

ตอนเกิดการระบาดระลอก 2 เอไอเอสได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐหลายส่วน เริ่มเข้าไปดำเนินการรถตรวจโควิดเคลื่อนที่ (Swap Test) เชิงรุกเข้าไปในพื้นที่ต่าง ๆ และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเชื่อมต่อภายในรถ

ซึ่งรถตรวจโควิดเคลื่อนที่ (Swab Test) ปกติแล้ว นอกจากนำตัวอย่างเชื้อไปแล้ว ยังต้องการได้เข้าถึงข้อมูลว่าคนไข้ คือ ใคร ส่งข้อมูลกลับไปที่กระทรวงฯ เพื่อทำฐานข้อมมูลว่าใครที่ได้รับการตรวจเชื้อโควิดแล้ว ตรวจเมื่อไร และมีผลการตรวจเป็นอย่างไร ซึ่งจำเป็นต้องมีอินเทอร์เน็ต 

และที่โรงพยาบาลสนาม อุปกรณ์ทางการแพทย์จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลคนไข้ตลอดเวลา ว่าผลอุณหภูมิ และสัญญาณชีพต่าง ๆ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้เก็บอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งรพ.สนามมีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ เครือข่ายสื่อสารอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจึงมีความจำเป็น 

“เราจึงมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่ก่อสร้างโรงพยาบาลสนามอย่างใกล้ชิด” วสิษฐ์ กล่าว

ซึ่งการเข้าไปให้บริการที่รพ.สนาม หรือในพื้นที่เสี่ยงภัย ทางไอเอเอสจะต้องป้องกันพนักงานด้วย คือ จะเข้าไปติดตั้งระบบเครือข่ายการสื่อสารก่อนที่จะมีการเปิดรพ.สนาม ปัจจุบันเอไอเอสให้บริการติดตั้งเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงให้กับ 31 รพ.สนาม ซึ่งมีจำนวนเตียงรวมกันมากกว่า 10,000 เตียง ให้ทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ในขณะเดียวกันก็มีบริการ Free Wifi ให้ผู้ป่วยที่เข้าพักที่รพ.สนามด้วยนะหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ที่รพ.สนาม เพื่ออำนวยความมสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับครอบครัวได้

เรื่อง AI, 5G ไม่ใช่เรื่องใหม่ เอไอเอสมาตั้งแต่ระลอกแรก ที่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลวชิระ ในระลอกนี้ สถานการณ์โควิดกระจายใยวงกว้างมากขึ้น เอไอเอสจึงได้ประสานงานกับโรงพยาบาลในภูมิภาคที่มีเครื่อง CT Scan เพื่อใช้ศักยภาพโครงข่าย 5G ของเอไอเอส เพื่อนำข้อมมูลจาก CT Scan ขึ้นมาที่คลาวด์ โดยผ่าน Gateway ที่เอไอเอสติดตั้งให้ ที่ผ่านมามีการเปิด ​(บริการนี้) ให้กับอีก 3 คือ โรงพยาบาลที่เพชรบูรณ์  ที่ร้อยเอ็ด และที่น่าน จะเห็นว่าเอไอเอสได้นำ 5G เข้ามาช่วยขยายบริการสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกล เพื่อช่วยตรวจโควิดได้รวเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการตรวจ Swab Test หากใช้ ​CT Scan และ AI จะรู้ได้ภายใน 30 วินาที และได้ผลตรวจประมาณ 97% ดังนั้น น่าจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานของคุณหมอและการตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิดในเชิงรุกได้อย่างดี 

นอกจากนี้ เอไอเอส ยังมีความร่วมมือกับพันธมิตร อาทิ “มีหมอ” (ไม่ใช่พันธมิตรใหม่) ได้ร่วมมือกับมีหมอตั้งแต่ระลอกแรก ที่รพ.ราชวิถี โดยสร้างห้อง Telemedicine ที่กันผู้ป่วยที่คิดว่าจะเป็นโควิด กับคุณหมอ แยกคนละห้อง มีการทำ Telemedicine โดยใช้แพลตฟอร์มของมีหมอ และที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทำ Telemedicine สำหรับให้บริการ Hotline ซึ่งทั้งหมดใช้แพลตฟอร์มของมีหมอ

รอบนี้ได้ทำงานร่วมกับ “มีหมอ” อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำแพลตฟอร์มสนับสนุนรพ.สนาม 

กฤตชญา โกมลสิทธิ์เวช ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไดเวอร์เจนท์ติ้งกิ้ง จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน “มีหมอ” กล่าวว่า มีหมอ (Me More) เป็นแอปพลิเคชันสำหรับทำ Telemedicine เพื่อช่วยให้โรงพยาบาลสามารถให้บริการรักษาผู้ป่วยทางไกลได้แบบครบวงจร สามารถเก็บผลการรักา และเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบ HIS ของโรงพยาบาลได้ นัดหมายล่วงหน้า แจ้งเตือนผู้ป่วยถึงเวลานัด รวมถึงการชำระเงินแบบออนไลน์ หรือการติดตามกรณีที่ผู้ป่วยมีการรับยาที่บ้าน ผู้ป่วยสามารถ Tracking และดูประวัติย้อนหลังผ่านแอปฯ ได้ 

กฤตชญา โกมลสิทธิ์เวช ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไดเวอร์เจนท์ติ้งกิ้ง จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน “มีหมอ”

สำหรับการช่วยเหลือรพ.สนาม มีหมอได้ออกแบบระบบมาเพื่อช่วยลดการเจอกันระหว่างคุณหมอกับคนไข้ แต่ยังสามารถที่จะพูดคุยกัน เสมือนนั่งอยู่ด้วยกันได้ ซึ่งในช่วงเวลานี้การรักษาระยะห่าง (Social Distancing) สำคัญมาก ๆ เพราะฉะนั้น ตัวแอปฯ มีหมอมาตอบโจทย์ตรงนี้ ช่วยลดความเสี่ยงให้แพทย์และพยาบาลที่จะติดเชื้อโควิดจากผู้ป่วย

“เราเอา 2 ฟีเจอร์หลักมาใช้กับรพ.สนามเอราวัณ 2 ส่วนแรก คือ Video Call เพื่อสอบถามอาการ และให้คำแนะนำผู้ป่วยที่อยู่ในรพ.สนามที่ Bangkok Arena และการแจ้งเตือนผู้ป่วยให้ติดตามอาการ อาทิการวัดไข้ วัดความดัน ตามกำหนดเวลาที่คุณหมอและพยาบาลกำหนดไว้ให้ ผู้ป่วยสามารถกรอกลงในแอปพลิเคชันได้เลย” กฤตชญา กล่าว

วสิษฐ์ กล่าวเสริมว่า ที่รพ.สนามจะมีประมาณ 150-500 เตียง ส่วนมากเป็นผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง อยู่ในพื้นที่ควบคุม และต้องมีการตรวจตลอดเวลา ผู้ป่วยมีจำนวนมาก แพทย์ พยาบาลอาจจะไม่พอ เช่น ที่รพ.สนามมเอราวัณ​ 2 คุณหมอจะอยู่ที่รพ. หนองจอก ซึ่งห่างไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะมีพยาบาลประจำอยู่ที่ Bangkok Arena ประมาณ 3-4 คน ซึ่งจะมีการทำ Telemedicine อาทิ พยาบาลขอส่ง Notification ให้ผู้ป่วยวัดไข้ แลสัญญาณชีพต่าง ๆ เพื่อกรอกข้อมูลกลับเข้าไปในระบบเพื่อให้คุณหมอได้ตรวจเช็กว่าตอนนี้อาการเป็นอย่างไร 

นอกจากนี้ หากใครมีอาการผิดปกติ คุณหมอจะมีการ Call และทำ Telemedicine กลับเข้ามา เพื่อจะเช็คและคัดแยกผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป เนื่องจากว่าตอนนี้การทำงานของรพ.สนามเป็นลักษณะของการ “เฝ้าระวัง” ซึ่งจะมีระบบ ​CCTV ที่เอไอเอสเข้าไปดำเนนินการติดตั้งให้ เนื่องจากคุณหมอจะต้อง เฝ้าระวัง สังเกตอาการผู้ป่วยจากระยะไกล เพื่อจะให้การช่วยเหลือได้ทันทวงทีหากเกิดการปกติ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เรียกร้อง 3 ประสานรัฐเอกชนประชาชนต้านวิกฤติโควิด

อย่างไรก็ดี สมชัย กล่าวว่า มิติของการะบาดระลอก 3 เป็นเรื่องใหญ่มาก อารมณ์ความรู้สึก จะต่างจากปีที่แล้ว ปีที่แล้วมีความกลัว ทั้ง ๆ ที่การระบาดในปีที่แล้วน้อยกว่าปีนี้อย่างมากมายมหาศาล ลำพังแค่เอไอเอสจะไม่สามารถช่วยให้ประเทศก้าวพ้นผ่านวิกฤตินี้ไปได้ จำเป็นที่ทุกองค์กร ทุกภาคส่วนในสังคมไทย ต้องร่วมมือกันและช่วยเหลือกันอย่างจริง ๆ 

เอไอเอส ขอเสนอโมเดล 3 ประสาน (ตั้งแต่กรกฎาคมปีที่แล้ว) คือ ภาครัฐบาล ภาคเอกชนที่แข็งแรง และประชาชนทุก ๆ คน เพื่อต่อสู้ภัยโควิด ให้มีประสิทธิภาพ 

“ทุกคนต้องเตรียมพร้อม ต่อสู้ และปรับตัว รัฐกับประชาชนออย่างเดียวไม่พอ ภาครัฐต้องเปิดให้เกิดการทำ 3 ประสาน ให้ร่วมมือกันต่อสู้ภัยโควิดให้ได้ วันนี้บรรยากาศที่ดี อาทิ 40 CEO ได้เข้าคุยกับสภาหอการค้า และอีก 200 CEO ประกาศว่าพร้อมสนับสนุนงบประมาณในการช่วยประเทศก้าวผ่านวิกฤตินี้” สมชัย กล่าว

สมชัย กล่าวว่า  3 ประสานต้องทำงานอย่างเข้มแข็ง ภาครัฐต้องเตรียมพร้อมมาก ๆ ในเรื่อง วัคซีน ต้องสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดระลอก 4,5 ภาครัฐต้องจัดการฉีดวัคซีนให้ประชาชนมากกว่า 70% ขึ้นไป และต้องมีมาตรการเยียวยา ที่ยั่งยืนในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่หว่านแจกเงิน 

ส่วนภาคเอกชน อยากให้เกิดการร่วมมือกันในการช่วยเหลือประชาชน แทนที่จะแข่งขันกัน ยังมี Area ที่ยังต้องช่วยเหลือกัน อาทิ เอไอเอสช่วยไปแล้ว 31 แห่ง และจะขยายอีก ยังเหลืออีกเยอะมาก คู่แข่งไปทำในโรงพยาบาลที่ยังไม่มีใครทำ และเสนอว่าองค์กรใหญ่ควรใช้แนวคิด ปลาใหญ่ต้องช่วยปลาเล็ก ไม่ใช่กินปลาเล็ก อยากให้ทุกองค์กรมีส่วนช่วยรายเล็ก อาทิ เอไอเอสจะช่วยเยียวยาองค์กรเล็ก ๆ ผ่านการออกแบบแพคเกจต่าง ๆ ให้รายเล็ก ๆ ฟื้นขึ้นมา 

“ภาคประชาชน จะรอรัฐบาลและะเอกชนรายใหญ่มาช่วยไม่ได้ ทุกคนต้องปรับตัว ต้องรู้จักประหยัด อย่างสปอยตัวเอง ต้องลงไปแก้ไข core business ของตัวเองให้อยู่ได้ในระยะยาว ให้ทุกคนพัฒนาตัวเองในการใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดค่าใช่จ่ายในชีวิต เรามีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างมากที่จะเอาโครงข่ายของเราไปเชื่อมต่อและช่วยเหลือ” สมชัย กล่าว

โควิด กระทบให้ทุกองค์กรปรับตัว เอไอเอสประกาศ WFH 100% ทันทีหลังเกิดระบาดรอบ 3 ก่อนที่รัฐจะประกาศ บุคลากรที่จะต้องทำงานที่ออฟฟิศ​ อาทิ Network Operation Center (NOC) และทีมงานที่ต้องออกไปติดตั้งระบบ จะต้องมีมาตรการความปลอดภัยมากขึ้น โดยให้เนื้องานไม่หยุดหรือลดน้อยลง รวมถึงงานที่เพิ่มเข้ามา อาทิ การเข้าไปติดตั้งเครือข่ายให้รพ.สนาม เรามีงบ 50 ล้านบาท เพื่อจัดหาวัคซีน ให้พนักงานที่สัครใจจะฉีด 

“หวังเป็นอย่างยิ่งว่าภายในไตรมาส 2 วิกฤตินี้จะจบลง เพื่อให้ไตรมาส 3 ประเทศไทยได้มีโอกาสพื้นฟูและเติบโต” สมชัย กล่าวทิ้งท้าย 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

AGS ร่วมกับ DIPT ติดปีกสินค้าไทย ขายออนไลน์ข้ามพรมแดนกับ Amazon

อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ร่วมกับ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เสริมศักยภาพภาคธุรกิจให้ได้รับประโยชน์จากขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ

สปสช. จับมือกรุงเทพมหานคร ใช้เทคโนโลยีจัดสรรสถานพยาบาลให้ผู้มีสิทธิบัตร

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จัดสรรสถานพยาบาลประจำแก่ผู้มีสิทธิบัตรทองที่ยังไม่มีสถานพยาบาลประจำ 1.9 แสนคน

มาม่า โอเค เปิดตัว 2 รสชาติใหม่ ใช้ CHAT GPT ช่วยคิดไอเดียโฆษณา หวังเจาะกลุ่ม Gen Z

บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดตัวมาม่า โอเค 2 รสชาติใหม่ รสหม่าล่าเนื้อ และ เห็ดทรัฟเฟิล นำ CHAT GPT ต่อยอดไอเดียจัดทำเป็นภาพยนตร์โฆษณา

โตชิบ้า ยืนยัน ข่าวขายกิจการในต่างประเทศ ไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจในไทย

บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ ส่งจดหมายชี้แจง กรณีที่มีข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก เกี่ยวกับ “บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชัน จำกัด ปิดดีล ขายกิจการมูลค่า 2 ล้านล้านเยน

SCB 10X เปิดเวที Hackathon เฟ้นหาทีมนักพัฒนา ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยบล็อกเชน

เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) เปิดเวที “BANGKOK BLOCKATHON 2023” ภายใต้แนวคิด “Blockchain for the Next Billion Users”

GRAMMY x RS ตั้งบริษัทร่วมทุน เตรียมจัด 3 คอนเสิร์ตใหญ่ ก.ค.- ต.ค. นี้ เมืองทองธานี

GMM MUSIC และ RS MUSIC ประกาศจัดตั้ง กิจการร่วมค้าอะครอสเดอะยูนิเวิร์ส (Across The Universe Joint Venture) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดซีรีส์คอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์

AWS เชื่อมั่นตลาดคลาวด์พุ่งไม่หยุด เล็งเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดส่ง ‘Lift’ ลุย SMB

อัตราการเติบโตของคลาวด์ในประเทศไทย ปี 2023 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่า 30% AWS เชื่อมั่นแผนรับมือที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มคู่ค้า จัดทีมดูแลลูกค้าเฉพาะกลุ่ม

Blendata เปิดบริการ Analytics as a Service ในรูปแบบ Pay Per Use

เบลนเดต้า (Blendata) เปิดตัวบริการใหม่ Analytics as a Service บริการวิเคราะห์ข้อมูลครบวงจร รองรับทุกความต้องการด้าน Data Analytics ในรูปแบบการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก WeChat Pay จัดแคมเปญใหญ่ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผนึก WeChat Pay ผู้ให้บริการ E-Wallet รายใหญ่จากประเทศจีน มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวก รวดเร็ว

ดีป้า จับมือพันธมิตร เปิดตัว Tech Thailand แพลตฟอร์มชุมชนคนสายเทค

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์ฟ็อกซ์ จำกัด ร่วมเปิดตัว Tech Thailand

MUST READ

บาร์บีคิวพลาซ่า เปิดตัว น้ำจิ้มสูตรไลท์ ลดโซเดียม ลดน้ำตาล เอาใจคนรักสุขภาพ

บาร์บีคิวพลาซ่า ปล่อยน้ำจิ้มสูตรใหม่! น้ำจิ้มบาร์บีคิวสูตรไลท์ หลังจากพัฒนาสูตรมากกว่า 2 ปี หวังตีตลาดผู้บริโภคสายสุขภาพ โดยปรับลดสัดส่วนปริมาณเกลือโซเดียมลงมากกว่า 53%

ทาเคดาและคาโอ ร่วมกับกทม. เปิดตัว โครงการ “โรงเรียนติด Guard ห่างไกลไข้เลือดออก”

ทาเคดาและคาโอ ร่วมกับกทม. จัดโครงการ “Dengue-zero School Project โรงเรียนติด Guard ห่างไกลไข้เลือดออก”

ยูนิเวนเจอร์ จับมือ ทีซีซีเทค ยกระดับองค์กรสู่ data-driven organization

ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดโครงการจัดการวางระบบ SAP ภายใต้ชื่อ “BetterV Project” มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างจุดเปลี่ยนและเสริมศักยภาพให้กับยูนิเวนเจอร์ที่มีหลากหลายธุรกิจ

SCB จับมือ fastwork นำโซลูชันด้านการเงินสนับสนุนธุรกิจผู้ประกอบการ

ธนาคารไทยพาณิชย์ จับมือ บริษัท ฟาสต์เวิร์ค เทคโนโลยีส์ จำกัด ศูนย์รวมผู้ประกอบอาชีพอิสระ (ฟรีแลนซ์) ออนไลน์ นำความสามารถด้านเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน

ตรวจแถวการเมือง … วัดกึ๋นทีมเศรษฐกิจ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องจะเป็นปัจจัยชี้ขาดในการเลือกตั้งครั้งนี้ ก่อนหน้านี้ทุกพรรคการเมืองพยายามแข่งกันนำเสนอนโยบายประชานิยม ลด แลก แจกแถม
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น