TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLife“บ้านปู” สานต่อความสำเร็จกลยุทธ์ ‘People Focus: บริหารคนบนความหลากหลาย’

“บ้านปู” สานต่อความสำเร็จกลยุทธ์ ‘People Focus: บริหารคนบนความหลากหลาย’

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ Banpu หนึ่งในไม่กี่องค์กรขนาดใหญ่สัญชาติไทยที่มีออฟฟิศหลักในหลายประเทศ ความท้าทายในการรักษา DNA แบบคนบ้านปูจึงเป็นโจทย์สำคัญให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องวางกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการบริหารคนบนความหลากหลาย เพราะจุดแข็งที่บ้านปูมีมาตลอดคือ การให้ความสำคัญกับพนักงาน ‘People Focus’ และคำมั่นในการทรานส์ฟอร์มองค์กร คือ จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

วิธพล เจาะจิตต์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ทรัพยากรมนุษย์ (Head of Human Resources) บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บ้านปู เป็นผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรจาก 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจแหล่งพลังงาน ธุรกิจผลิตพลังงาน และธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานใน 10 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและเวียดนาม

แน่นอนว่าความท้าทายเรื่องการทำงานบนความหลากหลายเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับบ้านปู และเป็นจุดแข็งสำคัญของทีมทรัพยากรบุคคลที่ต้องมีแนวคิดที่ชัดเจนในการบริหารคนทำงานที่ต่างวัฒนธรรม ต่างความเชื่อให้สามารถทำงานเชื่อมโยงและมุ่งไปที่เป้าหมายเดียวกันได้

‘People Focus’ บริหารคนบนความหลากหลาย

ทั้งนี้ บ้านปู ให้ความสำคัญในเรื่องของ คนทำงานมาโดยตลอด กลยุทธ์ ‘People Focus’ ที่บ้านปูได้ส่งต่อไปยังประเทศต่าง ๆ คือ หัวใจสำคัญ โดยวิธีบริหารจัดการของทีมทรัพยากรบุคคลมี 5 หลัก ได้แก่

1. Diversity and Inclusion เป็นแนวคิดการบริหารที่สนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของพนักงานในองค์กร ทั้งในด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเปิดโอกาสให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของแต่ละประเทศสามารถบริหารจัดการกันเองได้ โดยมองว่าคนในแต่ละประเทศมีความเชื่อ วิธีคิดในการทำงานต่างกัน ไม่สามารถไปเปลี่ยนแนวคิดบางอย่างได้ เช่น คนบ้านปูของญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องยึดตามแบบอย่างของวัฒนธรรมคนบ้านปูในเมืองไทย เป็นต้น แต่ละประเทศมีอิสระในการบริหารจัดการพนักงาน

2. Global Talent management เป็นอีกจุดแข็งอย่างหนึ่งที่บ้านปูมีคือสามารถเข้าถึงคนเก่งในแต่ละประเทศได้ เพื่อมาทำงานร่วมกัน เปิดเวทีให้คนเก่งได้แสดงผลงานของตัวเอง

3. Banpu Academy เป็นส่วนสำคัญของการทรานส์ฟอเมชั่นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะพนักงาน โดยมีแนวคิดที่ว่า ทุกคนต้องไปด้วยกัน ใช้วิธีการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นการถ่ายทอดความรู้จากพี่สู่น้อง

4.Global career path คือการช่วยให้พนักงานได้ก้าวเดินบนสายอาชีพที่มีการพัฒนาไปข้างหน้าได้ ซึ่งมีการออกแบบองค์กรให้สอดรับกับคนรุ่นใหม่ในการทำงาน โดยช่วยให้พนักงานที่ต้องการเปลี่ยนการทำงานเพื่อไปเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ในประเทศอื่นๆ เพื่อพัฒนาตัวเองและเชื่อมต่อในการสร้างโอกาสการเติบโตในสายอาชีพให้กับพนักงาน

5. Coaching culture วัฒนธรรมพี่สอนน้องของบ้านปูมีความเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน ทำให้น้องใหม่ที่เข้ามาทำงานมีความสบายใจ ลดความกังวลและลดความกดดันได้ โดยบ้านปูมีโปรแกรม Hi coach ซึ่งเป็นพื้นที่ในการให้รุ่นพี่อาสาเข้ามาเพื่อแบ่งปันความรู้ โปรแกรมนี้ใช้ร่วมกับหลายประเทศ

“สิ่งหนึ่งที่ทำให้กลยุทธ์ People Focus ประสบความสำเร็จคือ ผู้บริหารระดับบนมีจุดแข็งเรื่องการไม่ใช้ค่านิยมของตัวเองในการตัดสินการทำงานของผู้อื่น ทำให้แนวคิดการทำงานชัดเจน คนรุ่นใหม่จึงมีพื้นที่ในการแสดงความสามารถออกมา โดยมองว่าการจะเป็นบริษัทระดับนานาชาติ ไม่ใช่เพียงมีคนทำงานอยู่ในหลายประเทศเท่านั้น แต่คนในองค์กรนั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนต้องได้รับการมองเห็น สามารถแสดงออกถึงความสามารถที่มีได้เท่าเทียมกัน”

Life Skills คือ สิ่งจำเป็น

บ้านปู พัฒนาทักษะพนักงานมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็น Soft skills ที่มั่นใจได้แล้วว่าพนักงานขององค์กรเข้าใจในหลักคิด เรื่องนี้ ซึ่งต่อจากนี้จะพัฒนาต่อเนื่องและนำไปเป็น e-learning ให้คนได้เข้ามาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ซึ่งตอนนี้มีการทำแพลตฟอร์มที่เป็น Virtual University

ส่วนเรื่องของ Hard skills จะมีการพัฒนา 3 ส่วน คือ 1.พัฒนาพนักงานท้องถิ่นในแต่ละประเทศ ในกลุ่มธุรกิจเหมืองแร่ ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของบ้านปู โดยต้องการให้คนในแต่ละประเทศสามารถทำงานได้เองมากขึ้นลดการพึ่งพาคนงานไทยลง มีการสร้างโปรแกรมเพื่อให้ความรู้ที่พัฒนาให้พนักงานที่ทำเหมืองแร่ถ่านหินสามารถพัฒนาไปยังเหมืองแร่ประเภทอื่นได้ 2.การพัฒนากลุ่ม energy Trading โดยใช้ Global Talent management ดึงคนที่มีความสามารถเข้ามาแบ่งปันความรู้เพราะคนไทยยังไม่มีทักษะนี้ 3.การสร้างคนให้เป็น international business manager ที่ดี และ 4.การมุ่งเน้นต่อเนื่องเรื่อง digital transformation เพื่อให้เป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อน

นอกจากนี้ ส่วนสำคัญที่สุดนอกจาก Hard skills และSoft skills ที่ต้องพัฒนาให้กับพนักงานแล้ว Life skills คืออีกทักษะความรู้ที่พนักงานควรมี ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1.ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพกาย การกิน การอยู่ที่ทำให้สุขภาพดี 2.การดูแลสุขภาพใจ บ้านปูมีแผนเรียนรู้กรณีศึกษาในกลุ่มพนักงานเหมืองแร่ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาต่อยอดในการพัฒนาเป็นองค์ความรู้ให้พนักงานต่อไป เพราะสุขภาพใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มีความต่อเนื่องและส่งผลในระยะยาว และ 3.ความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการเงิน

โดยมองว่าหากพนักงานมีทักษะในส่วนของ Life skills จะช่วยให้การใช้ชีวิตมีความสุขเพิ่มขึ้น Work Life Balance บ้านปูเปิดโอกาสให้พนักงานได้ออกแบบการทำงานใน 3 ส่วนด้วยตัวเองทั้ง Work Life Balance เพื่อให้สามารถบริหารจัดการด้านเวลาในเรื่องอื่นที่ไม่ใช่แค่เรื่องงานได้ด้วย

ซึ่งหลักการสำคัญที่บ้านปูต้องการให้พนักงานมีในการ Work From Anywhere คือ สามารถรักษาสมดุลการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวไปด้วยกันได้ ซึ่งพนักงานแต่ละคนมีความต้องการ 3 ส่วนนี้ต่างกัน อีกทั้งบ้านปูกล้าพอที่จะเชื่อมั่นในพนักงานในเรื่องความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายซึ่งมีความเชื่อต่อกับงานส่วนอื่น เพราะฉะนั้นบ้านปูตั้งมั่นบนความเชื่อใจ เชื่อมั่นและเชื่อถือพนักงาน

ทั้งนี้พนักงานในประเทศไทยที่ทำงานลักษณะ Work From Anywhere บ้านปูมีสวัสดิการเพิ่มเติมให้แต่ละบุคคลที่ 12,000 บาทเพื่อให้นำไปใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ เช่น สุขภาพ หรือด้านครอบครัว เป็นต้น

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ