TH | EN
TH | EN
หน้าแรกStartupกสศ.- Disrupt เปิดสนามคนรุ่นใหม่สร้างนวัตกรเพื่อสังคม

กสศ.- Disrupt เปิดสนามคนรุ่นใหม่สร้างนวัตกรเพื่อสังคม

กสศ.- Disrupt เปิดสนามให้คนรุ่นใหม่เสนอไอเดียปฏิวัติการศึกษา สร้าง “นวัตกรเพื่อสังคม” เปลี่ยนประเทศมุ่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา” ใช้กลไก เสริม-เติม-ต่อ ด้วย 3 องค์ประกอบ “ความหวัง-ความจริง-โอกาส” บนฐานการทำงาน 5 STEPS สู่ความสำเร็จ

-“ลูกค้าต้องมาก่อน” ปัจจัยสร้างความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ในยุคโควิด-19
-“ถนนสู่ดวงดาว” ความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ที่พ่อแม่หยิบยื่นให้ลูก

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ บริษัท ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ จำกัด จัดงาน “Education Disruption Hackathon 2” ภายใต้โครงการ StormBreaker Accelerator โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างโอกาสสำคัญสำหรับผู้ที่มีใจรักร่วมเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศ ร่วมแข่งขันพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาแห่งโลกอนาคต และแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อให้ประเทศไทยได้ไปต่อ ซึ่งมีผู้ที่สมัครเข้าร่วมแข่งขันและผ่านคุณสมบัติ จำนวน 30 ทีม จาก 147 ทีมทั่วประเทศ

ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวในฐานะผู้ให้การสนับสนุน Startup สาย Social Impact ในประเด็น “ปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ว่า กสศ. มีความตั้งใจและมีความคาดหวังในการทำงานร่วมภาคเอกชนและ สตาร์ตอัพ โดยจะเห็นได้ว่าพื้นที่กว่า 75% กสศ. เปิดให้ภาคเอกชน คนรุ่นใหม่มาทำงานร่วมกับเรา เพราะการทำงานที่จะสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ต้องร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน โดย กสศ.มองลึกถึงคนรุ่นใหม่ ให้ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานช่วยกันลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้มากขึ้น

ดร.ไกรยส กล่าวว่า บทบาทของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นนวัตกรเพื่อสังคม ซึ่งจะเป็นอาชีพที่มีความหมาย ต้องมีสิ่งสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. ความหวัง ที่ต้องเริ่มด้วย “หัวใจ” ที่มีความหวังมีสมองที่เข้าใจความจริง และโอกาสก็จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ กสศ.อยากเห็นความสามารถที่ท้าทาย จากน้องรุ่นใหม่ที่จะมาช่วยการศึกษา ถ้าเรามีความหวัง สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยสมองและสองมือจะทำให้เป็นจริงได้

การมาร่วมกันช่วย เสริม-เติม-ต่อ ตัดโซ่ความยากจนของรุ่นก่อน โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกตัดวงจรความยากจนข้ามชั่วคน และส่งไม้ต่อซึ่งคือ “ความหวัง” ของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นได้ 2. ความจริง กล้าเผชิญความจริงที่แก้ปัญหาด้วยการเรียนรู้ โดยใช้ความหวัง ความจริงที่เกิดขึ้น

เมื่อประเทศไทยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่มีความจริงเรื่องความยากจนที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ มีช่องว่างความเป็นเมือง-ชนบท และกำลังเผชิญภาวะแก่ก่อนรวย ซึ่งเป็นกับดักที่ต้องแก้ด้วยนวัตกรรม ไม่ใช่เงิน

นวัตกรเพื่อสังคมและความเสมอภาคทางการศึกษา ต้องมี 3 หลักการ

1.All for Education ด้วยการดึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้ามาร่วม เพื่อความยั่งยืน
2.Game Changer ต้องทำงานด้วยหัวใจ
3.เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติงาน

สิ่งสำคัญที่เป็นพิมพ์เขียวในการทำงาน บนความคาดหวังใน 3 องค์ประกอบ ความหวัง ความจริง โอกาส จะสำเร็จได้นวัตกรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ต้องทำงานโดยมีพื้นฐาน 5 step ได้แก่

1.เลือกประเด็นการทำงานให้ถูกต้อง
2.เลือกพื้นที่การทำงานให้เหมาะสม
3.ลงพื้นที่จริง ทำงานกับ frontline ในพื้นที่
4.สร้างภาคีเครือข่ายสู่เป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน
5.วางแผนการขยายผลและพัฒนาความยั่งยืน

“โดยความสำเร็จที่ดีที่สุดคือการทำให้พื้นที่ ชุมชน สามารถสร้างความสำเร็จได้เอง” รองผู้จัดการ กสศ. กล่าว

กสศ.- Disrupt เปิดสนามคนรุ่นใหม่สร้างนวัตกรเพื่อสังคม

เรืองโรจน์ พูนผล หรือ กระทิง ผู้ก่อตั้ง Disrupt Technology Venture โรงเรียนสอนนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการสตาร์ตอัพที่ประสบความสำเร็จ และผู้จัดการกองทุน 500 TukTuks กล่าวว่า จากที่ได้ร่วมเป็น Mentor ให้กับโครงการ “Education Disruption Hackathon 2” โดยการสนับสนุนของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่าผู้สมัครหลายทีมมีไอเดียตั้งต้นดีมาก

โดยเฉพาะทีมที่ทำ Social Impact เช่น การสอน Coding ให้พ่อแม่แบบ Unplug โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งหลายครอบครัวในประเทศไทยไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ และพ่อแม่หลายคนกลัวการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่เขาทำชุดความคิดที่สอนวิธีคิดสำหรับพ่อแม่ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการสนับสนุนการเรียนรู้ของลูก

เป็นแนวคิดที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของสังคมไทยในปัจจุบัน หรือบางทีมต้องการสอน Digital Skill ให้กับนักเรียนอาชีวศึกษา เพราะเชื่อว่านักเรียนอาชีวศึกษาสามารถสร้างชาติได้ และสามารถสร้างทักษะที่จะนำไปสู่การเป็นแรงงานฝีมือ หรือเป็นพนักงานที่ชาญฉลาด (Knowledge Maker) สามารถตอบโจทย์แรงงานในอนาคต

“การที่ กสศ. เปิดโอกาสในการจัดเวทีเช่นนี้ จะช่วยให้เราได้ไอเดียจากคนรุ่นใหม่ และเป็นการสร้างชุมชนความคิดที่มี Mentor มาช่วยให้คำแนะนำ มีการแบ่งปันความคิดร่วมกัน และตีโจทย์ให้ถูกต้อง จึงเป็นโอกาสที่ผู้สมัครทุกคนได้รับการเรียนรู้อย่างเข้มข้น (Intensive Learning) ในระยะเวลาอันสั้น และช่วยให้แต่ละทีมลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ รวมถึงได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Immersive Learning) เรียนรู้พร้อมกับการลงมือทำ โดยได้รับความเห็นจาก Mentor และผู้เชี่ยวชาญในทันที และเป็นความเห็นที่ใช้ได้จริง นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Collaborative Learning) ได้เรียนรู้จากไอเดียคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่หาได้ยากมาก” เรืองโรจน์ กล่าว

จันทนารักษ์ ถือแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ จำกัด ในฐานะผู้จัดการโครงการ Education Disruption Hackathon 2 และโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการด้านการศึกษา StormBreaker Accelerator กล่าวว่า งาน Education Disruption Hackathon ครั้งที่ 2 โดยการเปิดรับสมัครแบ่งออกเป็น 2 แทร็ก ได้แก่

“Social Impact Track” เน้นความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างผลกระทบ (Impact) เพื่อช่วยแก้ปัญหาการศึกษาได้จริง มุ่งเน้นกลุ่มคนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือ เข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา ซึ่งมี 7 กลุ่มย่อย ได้แก่

1.กลุ่มเด็กวัยแรกเกิดถึง 3 ปี
2.กลุ่มเด็กอนุบาล
3.กลุ่มนักเรียนประถม-มัธยมต้น
4.กลุ่มนักเรียน ม.ปลาย/ปวช
5.เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษา
6.กลุ่มเยาวชนอายุ 18 ปีขึ้นไปหรือแรงงานรุ่นใหม่
7.ครูที่สอนเด็ก เยาวชนด้อยโอกาส

ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาได้อย่างยั่งยืน จำนวน 20 ทีม

“Scalable EdTech Track” สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการทำ EdTech Startup ขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยี โดยสามารถพัฒนาเป็นธุรกิจที่มีโมเดลในการเติบโต สร้างรายได้ โดยสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมากได้ในอนาคต จำนวน 10 ทีม

“ประเทศไทยต้องการการเปลี่ยนแปลงเพื่อร่วมกันพัฒนาการศึกษา เพราะปัจจุบันเราสร้างผู้ประกอบการนับพันราย มีแรงงานเฉพาะทางบางสาขาที่ขาดแคลน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีคนตกงาน เนื่องจากเรากำลังประสบปัญหา Skill Disruption ทักษะจากการศึกษา 35% ใช้ไม่ได้ทันทีเมื่อเรียนจบ และเมื่อเกิดโควิดยิ่งซ้ำเติมให้เกิดความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้นไปอีก เราจึงต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเราเชื่อมั่นในระบบนิเวศน์นวัตกรรม (Innovation Ecosystem) จิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และเทคโนโลยี (Technology) ซึ่งจะช่วยทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้เกิดขึ้นได้” จันทนารักษ์ กล่าว

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ