TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewCEO Storyวิสัยทัศน์ แรงบันดาลใจ ของ “อรนุช เลิศสุวรรณกิจ" กับ 10 ปี Techsauce

วิสัยทัศน์ แรงบันดาลใจ ของ “อรนุช เลิศสุวรรณกิจ” กับ 10 ปี Techsauce

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา Techsauce เป็นจิ๊กซอว์สำคัญรายหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนวงการ tech startup ของไทย ในฐานะที่เป็น enabler ที่สร้างชุมชนและระบบนิเวศมาร่วมกันกับผู้เล่นหลักรายอื่น ๆ​ 

Techsauce เป็นส่วนหนึ่งที่ได้วางรากฐานและการขับเคลื่อน Tech Ecosystem ในนี้ ตั้งแต่แรกตลอด 10 ปีเต็ม ซึ่งปัจจุบัน (20 พฤษภาคม 2564) ตัวเลขยอดระดมทุนของสตาร์ตอัพไทยทั้งหมดนั้นมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 843.448 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ก้าวถัดไปของ Techsauce คือ การขับเคลื่อนประเทศไทยให้ประเทศไทยเป็น tech-driven nation ในฐานะประเทศผู้ผลิตและคิดค้นนวัตกรรและเทคโนฺโลยี 

อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด กล่าวกับ The Story Thailand ว่า ตลอด 10 ปี Techsauce มีหมุดหมายที่ค่อย ๆ เติบโตขึ้น และ Techsauce จะโตไม่ได้ ถ้าระบบนิเวศในไทยไม่เติบโต ความหมาย คือ การที่จะบอกได้ว่า Techsauce สำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ ecosystem และ community ค่อย ๆ เติบโตและประสบความสำเร็จ Techsauce ยังมีอะไรให้ทำอีกมากมายจนกว่าจะเห็นว่าประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้อย่างจริงจัง

10 ปีพัฒนาการวงการสตาร์ตอัพในไทยมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก เมื่อก่อนสตาร์ตอัพไทยยังเล็กมาก จัดงาน meet up ครั้งหนึ่งคนมาร่วมงานไม่ถึงร้อยคน คนยังไม่ค่อยเข้าใจ จนกระทั่งคนเริ่มเข้าใจว่าทำไมประเทศไทยควรจะมีผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม องค์กรธุรกิจเริ่มตระหนักว่าเทคโนโลยีเริ่มเข้ามาดิสรัปธุรกิจ และเริ่มเคลื่อนไหวหนักมากในช่วงปี 2016 

“10 ปีในไทยหากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังมีหลายสิ่งที่ยังต้องทำอีกมาก”

โดยส่วนตัว อรนุช มีความเชื่อว่าทุกประเทศการที่จะขับเคลื่อนสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลได้ รากฐานสำคัญ คือ ไม่ใช่แค่การสร้างให้เกิดผู้ประกอบการรายเล็กจำนวนมาก ๆ แต่ประเด็นสำคัญ คือ ต้องสร้างผู้ประกอบการรายเล็กที่เน้นการสร้างรูปแบบธุรกิจที่สามารถสเกลได้ ซึ่งคาแรคเตอร์แบบนี้ คือ กลุ่มสตาร์ตอัพ กลุ่มคนที่เอาเครื่องมือมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ธุรกิจของบริษัทเติบโตและขยายได้อย่างรวดเร็ว คือ การค้นหานวัตกรรมของรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ที่ทำให้องค์กรสามารถสร้างผลกระทบได้ 

มีหลายงานวิจัยบอกตรงกันว่า ประเทศหากจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้และกลายเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมได้จริง จะต้องมีคนที่มี entrepreneurial mindset ที่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจที่ขยายตัวได้เร็ว นั่นคือ กลุ่มธุรกิจสตาร์ตอัพ ที่จะสร้างนวัตกรรมให้ประเทศ ซึ่งสตาร์ตอัพเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำได้ แต่ต้องได้รับการร่วมมือจากคอปอเรตขนาดใหญ่และภาครัฐ

“โอกาสเป็นเรื่องสำคัญมาก หากเปิดใจให้โอกาส สตาร์ตอัพไทยจะมีก้าวแรก และก้าวต่อ ๆ ไป และจะค่อย ๆ เก่งขึ้น อยากให้เปิดใจสนับสนุน และอยากให้เกิดความร่วมมือกับจริงจัง”

4 บทบาทสำคัญของ Techsauce 

อรนุช กล่าวว่า ประเทศไทยต้องการความร่วมมือ ต้องมีคำว่า “ให้โอกาส” ในสังคม ได้เจอคำถามบ่อยว่า “สตาร์ตอัพไทยเก่งหรอ” “สตาร์ตอัพไทยสู้คนอื่นได้หรอ” “สตาร์ตอัพไทยมีดีอยู่หรอ” สำหรับอรนุช มองว่า หากไม่มีการเปิดใจ ไม่มีก้าวแรก จะกลายเป็นการปิดกั้น และหากคนไทยไม่ช่วยคนไทยด้วยกันเองก็เป็นการยากที่จะให้เติบโต หลายเคสที่สตาร์ตอัพที่เกาหลีหรืออินโดนีเซียเติบโตได้ ส่วนหนึ่ง คือ ความเปิดใจและให้โอกาสกับผู้เล่นในบ้านเขา 

เมื่อ 10 ปีที่แล้วอาจยังไม่เห็น key stakeholder เหล่านี้เท่าไร อรนุช จึงสร้างพื้นที่สร้างโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยน ได้มีโอกาสเจอนักลงทุน ให้เกิดการเชื่อมโยงให้สตาร์ตอัพสามารถทำงานร่วมกับคอปอเรตได้ และจะทำให้ค่อย ๆ เกิดการไหลเวียนของนวัตกรรม 

“เราเกิดขึ้นจาก media portal ทำคอนเทนต์เพื่อให้ความรู้คน จากนั้นมาทำ startup report ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็น startup directory และวันนี้พัฒนาเป็นแพลตฟอร์ม Techsauce Startup Directory รวบรวมสถิติการระดมทุนทั้งหมดในประเทศไทย เพื่อให้นักลงทุนและผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ในการลงทุน”

บทบาทถัดมา คือ บทบาทในเรื่อง community และ ecosystem อรนุช บอกว่า บทบาทนี้ คือ งาน Techsauce Global Summit การมีอยู่ของงาน Techsauce Global Summit สำคัญมาก เพราะจะทำให้ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้เห็นว่าประเทศไทยมีงานสตาร์ตอัพระดับอินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทยมีสตาร์ตอัพรายเก่ง ๆ ที่สามารถมาเจอได้ที่นี่ทุกปี หลังเปิดประเทศไทย สิ่งเหล่านี้จะกลับมา และแม้ว่าตอนนี้ยังไม่กลับมา บริษัทก็จัดงานเป็น virtual อยู่ ทำกับต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวระหว่างสตาร์ตอัพในไทยที่มีศักยภาพให้มีโอกาสได้เจอนักลงทุนในต่างประเทศ

อรนุช บอกว่า วันที่โควิดมาต้องยอมรับว่าขานี้ซาไปเยอะมาก ไม่เห็นความคึกครื้น เห็นสตาร์ตอัพหลายรายล้มหายตายจากไป เห็น accelerator ที่เคยอยู่แล้วจากไปค่อนข้างมาก แต่สำหรับ Techsauce ขอยืนยันว่าจะยังอยู่ตรงนี้ อยู่เพื่อช่วยเหลือสตาร์ตอัพไทยให้มีโอกาสได้เจอกับนักลงทุน 

“เป้าหมายของเรา คือ ตราบใดที่จำนวนของสตาร์ตอัพที่อยู่ใน directory จำนวนของสตาร์ตอัพที่เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์ม จำนวนของเม็ดเงินระดมทุน ยังมีไม่มากขึ้นไปเรื่อย ๆ มากกว่านี้อีก นั่นคือ ยังมีสิ่งที่เรายังต้องทำอีก คือ พยายามทำให้เกิดดีลมากขึ้นในประเทศไทย”

บทบาทต่อมา คือ การเข้าไปช่วยองค์กรธุรกิจในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจหลายที่ ซึ่งสตาร์ตอัพเองจะอยู่ลำพังไม่ได้ จะต้องมีผู้เล่นรายใหญ่ที่มองหาโอกาสในการทำงานร่วมกับสตาร์ตอัพ หน้าที่ของ Techsauce คือ การช่วยองค์กรใหญ่ทำทรานส์ฟอร์ม หาสตาร์ตอัพทำให้เกิดดีล

Techsauce มีเครือข่ายกับบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลกกว่า 10,000 บริษัท ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถช่วยจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ให้กับองค์กรใหญ่ ๆ ของไทยที่กำลังค้นหานวัตกรรม ทั้งในมุมพาร์ทเนอร์ และรวมถึงการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ จากทั่วโลก

บทบาทสุดท้าย เป็นความตั้งใจของอรนุช และ Techsauce คือ ภายใน 5 ปี จะเตรียมพร้อมผู้นำรุ่นใหม่ขึ้นมาให้ได้อีก 1 ล้านคน ที่มี mindset ที่พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง เพราะ skill set และ tool set เหมือนนมหมดอายุได้ ที่เคยเรียนมาใช้ไม่ได้แล้ว ณ วันนี้ แต่ตราบใดที่มี ​mindset ที่พร้อมที่จะเรียนรู้และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ยังสามารถที่จะทำงานไปได้ 

“ด้วยความตั้งใจตรงนี้ จึงมีการสร้างแบรนด์ใหม่ ConNEXT คือ การเชื่อมโยงระหว่างน้อง ๆ talent เหล่านี้ ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งความรู้ที่มีประโยชน์ เข้าถึงกิจกรรมที่ช่วยเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน” 

แพลตฟอร์ม ConNEXT พร้อมจะเข้ามาช่วยตอบโจทย์แก้ปัญหาเหล่านี้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่ ก่อนเข้าไปทำงานในบริษัทต่าง ๆ ผ่านคลังข้อมูลที่หลากหลาย มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นต้องมีในการทำงาน รวบรวมตำแหน่งงานที่น่าสนใจ และข้อมูลด้านเทคโนโลยีจากทั่วโลก ที่สำคัญช่วยเตรียมความพร้อมทั้งด้าน mindset, skill set และ tool set โดย ConNEXT ยังจะมีการจัดกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ให้กับคนรุ่นใหม่ก่อนเข้าสู่โลกแห่งการทำงาน

“ConNEXT คือ พื้นที่ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดพร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ เราทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อม คนรุ่นใหม่กับองค์กร ที่เฟ้นหากลุ่มคนที่โดดเด่น และมีความสามารถเข้าสู่องค์กร อีกทั้งยังรวบรวมและแบ่งปันสิ่งที่ต้องรู้ เกี่ยวกับชีวิตการทำงาน ทักษะที่จำเป็น เพื่อก้าวสู่โลกการทำงานในอนาคตได้อย่างมั่นใจ”

สะพานเชื่อมไทย- SEA 

อรนุช กล่าวว่า เป้าหมายที่ยังคงอยู่ และยังพยายามต่อจิ๊กซอว์นี้อยู่ คือ การเชื่อมโยงประเทศไทยกับต่างประเทศ ที่ผ่านมาเดินสายทำกิจกรรมเชื่อมโยงไปแล้วกว่า 10 ประเทศ แต่โควิดทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ แต่หลังจากโควิด จะกลับมาผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางและสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นใน SEA ได้ และจะมี Techsauce ในต่างประเทศเพื่อให้เกิด deal flow ในต่างประเทศมากขึ้น ไม่ได้หมายถึงแค่การระดมทุน แต่หมายรวมถึงการเป็นสะพานเชื่อมให้สตาร์ตอัพไทยที่อยากขยายไปต่างประเทศ เป็นความตั้งใจที่อยากเป็นเครือข่ายแมงมุมที่จะพาสตาร์ตอัพรวมถึงคอปอเรตที่อยากจะลงทุนในสตาร์ตอัพต่างประเทศด้วย

“เป้าหมายของเรา คือ ต้องทำให้สตาร์ตอัพของไทยโตขึ้น ไม่ใช่แค่การมียูนิคอร์นเท่านั้น แต่ยอดการระดมทุนต้องเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ มีสตาร์ตอัพใหม่ ๆ เกิดขึ้น เราไม่ได้มองตัวเองเป็น local player มานานแล้ว เรามองบริบทไม่ใช่แค่ประเทศไทย เรามองว่า SEA จะเป็น ​The Next China เป็นเศรษฐกิจที่มีศักยภาพมาก ๆ จะพยายามให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในเวทีระดับภูมิภาคและผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็น technical and innovative country สิ่งสำคัญ คือ ต้องสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ใน SEA ด้วยกัน”​

เป้าหมายสูงสุด คือ อยากขับเคลื่อน ไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่ขับเคลื่อนทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับประเทศจีน กับเอเชียใต้ หรือกับยุโรป เป็นต้น ยังมีงานอีกมากมายหลายสิ่งที่ Techsauce ยังคงต้องทำ

“มีสองคำที่สำคัญมาก คือ “ให้โอกาส”​ กับ “เชื่อใจ” Techsauce จะไม่มีวันนี้เลยถ้าเราไม่ได้รับซึ่งความเชื่อใจและโอกาสจากคนในชุมชน ทั้งความเชื่อใจจากคอปอเรตต่าง ๆ และภาครัฐที่ให้การสนับสนุน โอกาสของคนในชุมชนที่ให้กำลังใจและโอกาสเรา เฉกเช่นเดียวกัน อยากให้ทุกคนเชื่อใจและให้โอกาสคนที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีด้วยฝีมือของคนไทย เพราะโอกาสเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ อาจจะยังไม่เห็นอะไรที่เติบโตได้วันนี้ ถ้าเราเปิดพื้นที่ให้กับพวกเขา เชื่อว่าคนไทยสามารถผลิตและคิดค้นนวัตกรรมขึ้นมาได้ และเราจะทำหน้าที่ community builder อย่างเต็มที่” อรนุช กล่าวทิ้งท้าย 

ไทม์ไลน์ 10 ปี Techsauce 

  • ปี 2011 Techsauce  สร้างพื้นที่ในการเชื่อมต่อระบบนิเวศสตาร์ตอัพเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ในยุคที่เริ่มตั้งไข่ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ
  • ปี 2012 จัดงาน Start it up Power it up มีผู้เข้าร่วมงานเพียงหลักร้อย ได้ค่อย ๆ เติบโตสู่หลัก 5,000 คน 
  • ปี 2014 ที่ได้มีการเปิดตัวเว็บไซต์ techsauce.co อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ ข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในวงการสตาร์ตอัพและในปี 2015 ได้จัดทำรายงานข้อมูลระบบนิเวศของสตาร์ตอัพในประเทศไทย เพื่อสื่อสารข้อมูลและสถิติที่เชื่อถือได้ให้กับคนไทยและต่างประเทศสามารถนำไปอ้างอิงทั่วโลก 
  • ปี 2016 ได้มีการเปิดตัว techsauce.co/en เป็นการรวบรวมและนำเสนอข้อมูลข่าวเป็นภาคภาษาอังกฤษ (International content) เพื่อเป็นการสื่อสารให้ระบบนิเวศสตาร์ตอัพไทยมีบทบาทและเป็นที่สนใจในระดับภูมิภาคมากขึ้น 
  • ปี 2017 สัมมนาด้านเทคโนโลยี ระดับนานาชาติ ภายใต้ชื่อ Techsauce Global Summit จนกระทั่งในปี 2019 ที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 15,000  คน โดยมีผู้เดินทางมาร่วมงานกกว่า 50 ประเทศจากทั่วโลกจนขึ้นแท่นเป็น The Best Tech Conference ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ปี 2018 จับมือกับ Techstars (Global platform for investment and innovation) และ HUBBA จัดงาน Innovation Week ครั้งแรกในไทย ประกอบด้วยงาน Techsauce Global Summit, Corporate Innovation Day, Thailand Startup Week และ Techstars APAC Summit 
  • ปี 2019 ร่วมจัดงาน ‘Google for Startup Asia Day’ ที่งาน Techsauce Global Summit เพื่อดึง สตาร์ตอัพ และนักลงทุนจากทั่วโลกมายังประเทศไทย
  • ปี 2019 จัดงาน Techsauce Culture Summit งานสัมมนาด้าน Culture Transformation แห่งแรกในประเทศไทย
  • ปี 2020 จัดงาน Techsauce Summit ในมาเลเซีย เป็นการขยายงานอีเวนท์ไปยังต่างประเทศเป็นครั้งแร
  • ปี 2020 ที่ผ่านมา ปีแห่ง Covid Techsauce ปรับตัว เปิดตัวงาน International Virtual Summit แรกในไทย ชื่อ Techsauce Virtual Summit 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ