TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Sustainability นวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่ Net Zero เพื่อชีวิตที่ดีในโลกใบเดิมที่น่าอยู่

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่ Net Zero เพื่อชีวิตที่ดีในโลกใบเดิมที่น่าอยู่

ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โลกร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย สภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ มีความผิดเพี้ยนไป ส่งผลกระทบกับทั้งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั่วโลก หากว่าปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข ผลกระทบจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันหนึ่งโลกอาจจะไม่ใช่ที่ที่อยู่อาศัยได้อีกต่อไป

ต้นตอของปัญหาดังกล่าว คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยที่ทั่วโลกมีการตั้งเป้าหมายร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือที่เรียกกันว่า Net Zero Carbon Emissions ให้ได้ ภายใน ปี 2050 ประมาณ 30 ปีข้างหน้า เพื่อที่จะทำให้โลกยังเป็นโลกใบเดิมที่น่าอยู่สำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป 

Innovation toward Net Zero 

อัครพงศ์ พรหมศร Corporate Innovation Office SCG ให้ภาพรวมของการไปสู่เป้าหมาย Net Zero ผ่านมุมมองนวัตกรรมว่า ภาคอุตสาหกรรมควรมีบทบาทสำคัญในการร่วมแก้วิกฤติโลกร้อนด้วยการหันมาใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด โดยอาจเปลี่ยนให้เป็นพลังงานรูปแบบอื่นที่มีประโยชน์ได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ไปสู่เป้าหมาย Net Zero ได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อีกด้วย

ลองจินตนาการตามดู โลกในอีก 30 ปีข้างหน้า หากโลกมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นอีก 2 พันล้านคน เศรษฐกิจโลกเติบโตขึ้น 2 เท่าจากเศรษฐกิจวันนี้ แต่ต้องใช้พลังงานน้อยลง และแหล่งพลังงานที่จะใช้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาด หรือ พลังงานในรูปแบบใหม่ ๆ นำมาใช้แทนที่การใช้พลังงานจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน 

การที่จะไปสู่ Net Zero มีวิธีการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการ Reduce ลดการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศให้น้อยที่สุด Remove คาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศให้ได้ในระดับหลายล้านตัน และแน่นอนว่าจะต้องมีทั้งคนที่ทำได้ และทำไม่ได้ คนที่ทำไม่ได้ก็จะ Compensate หรือชดเชย เติมเต็มช่องว่าง โดยการให้การสนับสนุนคนที่ทำได้ แล้วทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนกัน ด้วยการ Compensate หรือ การทำ Offsetting

นอกจากวิธีการที่หลากหลายแล้ว ยังมี 3 องค์ประกอบที่มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับเรื่อง Net Zero  คือ Technology, Business และ Regulation

โดย Technology ได้แก่ นวัตกรรม หรือ โซลูชันใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มความสามารถในการจัดการกับคาร์บอนได้ดีขึ้น Business เปรียบเสมือนห้องทดลอง ที่จะหยิบเอาเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตลอด value chain เพื่อจะจัดการกับคาร์บอน ช่วยลดคาร์บอน ส่วน  Regulation หมายถึง กฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย และปัจจัยต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อทำให้เกิดผลในทางธุรกิจ

Technology 

เทคโนโลยีที่ช่วยในเรื่องของการลดคาร์บอนหรือ Decarbonization นั้นมีอยู่หลากหลาย แต่สิ่งที่สำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้แต่ละองค์กรสามารถรับรู้ถึงเทคโนโลยีเหล่านั้น เพื่อที่จะเลือกศึกษาทดลองแล้วก็ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจและอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น SCG เป็น Industrial Group มีกระบวนการผลิตหลากหลาย มีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ วัสดุต่าง ๆ และมีการใช้พลังงานความร้อนในกระบวนการผลิตจำนวนมาก กลุ่มของเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของ SCG จะเป็น 5 เรื่อง เช่น ในเรื่องของพลังงานหมุนเวียน หรือ Renewable Energy  เช่น เทคโนโลยีการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบอื่น มาเก็บในรูปแบบของแบตเตอรี่ หรือ Energy Storage System จะได้มีพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดใช้ในกระบวนการผลิต

พลังงานความร้อนคาร์บอนต่ำ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่สามารถเก็บพลังงานจากแสงแดดหรือลมมาไว้ในรูปเก็บใน Heat Battery เพื่อที่จะมีพลังงานความร้อนที่สะอาดใช้ในกระบวนการผลิตที่ต้องใช้ความร้อน หรือจะเป็นในส่วนของ Carbon Mineralization การเอาคาร์บอนที่ถูกปลดหล่อยมาจากกระบวนการผลิต ไปแปลงสภาพกักเก็บในรูปแบบของคอนกรีตและวัสดุก่อสร้าง 

และอีกกลไกสำคัญ  คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency Enhancement) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Material เช่น การใช้ BIM เอามาดีไซน์โปรเจคท์ตั้งแต่ต้น เพื่อที่จะวางแผนให้เกิดของเสียน้อยที่สุด หรือการใช้ RPA การใช้ AI มาทำในเรื่องของ Quality Control รวมไปถึง การทำ Optimization เช่น การเอา Quantum computing  มาทำในเรื่อง Advanced Optimization 

Business 

ธุรกิจและอุตสาหกรรม สามารถที่จะเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการกักเก็บคาร์บอนได้ในหลาย ๆ ส่วน เข้าใจได้โดย 3 scope ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 

Direct Emission การปล่อยคาร์บอนด้วยการเผาโดยตรง สิ่งที่สามารถทำได้ ที่ SCG มีการทำไปแล้ว คือ การใช้ Low Carbon Heat, Low Carbon Material และการเปลี่ยน Fleece ให้ไปใช้พลังงานไฟฟ้า 

Indirect Emission สามารถที่จะทำในเรื่อง Renewable Energy เป็น Energy Efficiency เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของ Machine equipment อาคารสำนักงาน เพื่อใช้พลังงานน้อยลง หรือ product ที่เรา transfer ownership ไปให้กับลูกค้า แล้วก็มีการพัฒนา product ที่เป็น Green product ไม่ว่าจะเป็นเป็น Green Choice, Green Label Product เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกที่จะ Go Green 

Regulation  

Carbon Tax ซึ่งก็เป็นเครื่องมือที่ที่ใช้ในการควบคุม จำกัดการปล่อยคาร์บอน แล้วก็สนับสนุนให้เกิดความพยายามในการลดการปล่อยคาร์บอนลง 

Green Incentive เราเคยมีคำว่าทำดีได้ดี ต่อไปเราจะมีคำว่า ทำ Green ได้ดี คนที่ทำเรื่องของการลดคาร์บอนได้ ก็จะได้ Incentive ในส่วนนี้

Carbon Offset เป็นกลไกในการทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน คนที่ทำได้และคนที่ทำไม่ได้ก็จะมีการแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้ภาพรวมเป็นไปในทางที่ดีขึ้นและเร็วขึ้น

ทั้ง 3 องค์ประกอบนีจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน Transactional Activity ที่เรียกว่า Carbon Market ที่มี Carbon Credit เป็น Tradable Asset ซึ่ง Carbon Market ที่เกิดขึ้นมา ถ้าเกิดว่ามีประสิทธิภาพมีประสิทธิผล ก็จะช่วยให้เกิดการเร่งการไปสู่ Net Zero ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่ Carbon Market จะเกิดขึ้นได้และมีประโยชน์จริง ๆ ต้องอาศัยปัจจัยเพิ่มเติมหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Carbon Credit เรื่องของ Standard & Verification ต่าง ๆ และ Key Enabler ต่าง ๆ ที่จะต้องเกิดขึ้นมา 

สรุปเส้นทางเดินสู่ Net Zero สิ่งที่สำคัญ คือ การที่จะมุ่งเน้นการสร้าง Business Impact จากเทคโนโลยีที่รู้จัก เพื่อให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจและอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกัน ต้องไม่ลืมที่เปิดรับโอกาสใหม่ ๆ คอยศึกษาแล้วก็เฝ้าดูเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านของ Deep Tech, Digital หรือเป็น Business Model Innovation ที่เกิดขึ้นตามเส้นทางของวิวัฒนาการของ Carbon Market เพื่อให้ไม่พลาดโอกาส และสามารถที่จะเพิ่มโอกาสที่จะก้าวสู่ Net Zero ได้เร็วขึ้น

Heat Battery: Solution for decarbonizing heavy industries

ภัทรพล เกษมธนกุล จากทีม Deep Technology ของ SCG มาแนะนำอีกหนึ่งเทคโนโลยี ที่ทาง SCG กำลังสนใจศึกษาอยู่ เทคโนโลยีตัวนี้ ชื่อว่า Heat Battery เชื่อว่าเทคโนโลยีตัวนี้จะมาช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งภายในอุตสาหกรรมของ SCG เองด้วย และอุตสาหกรรมข้างนอก 

ภัทรพล กล่าวว่า เวลาพูดถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคอุตสาหกรรม ภาพที่ติดอยู่ในหัวคน คือ ภาพโรงงานขนาดใหญ่ มีควันพวยพุ่งออกมาเยอะแยะ ควันพวกนี้แน่นอนว่าต้นทางของมันมาจากพลังงานที่ทางอุตสาหกรรมต้องใช้ ในการที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นซีเมนต์ เหล็ก อลูมินั่ม พลาสติกต่าง ๆ พลังงานที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหล่านี้มักจะเป็นในรูปของพลังงานความร้อน ซึ่งก็มาจากการเผา Fossil Fuel  ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน แก๊ส หรือถ่านหินต่าง ๆ เป็นแหล่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นมา 

ถามว่าแหล่งความร้อนหรือพลังงานที่เกิดจากฟอสซิลในภาคอุตสาหกรรม มีปริมาณมากขนาดไหน มีการสรุปมาให้ว่าทั้งโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ประมาณ 4 หมื่นล้านตันต่อปี ซึ่งพลังงานจากอุตสาหกรรมเป็นก้อนที่ใหญ่ที่สุด คือประมาณ 1/4 หรือประมาณ 1 หมื่นล้านตันต่อปี แน่นอนว่าส่วนใหญ่เกิดจากการเผา Fossil Fuel เพื่อเอาพลังงานความร้อนออกมา ซึ่งอุตสาหกรรมรับรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว และพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรมเองอยู่แล้ว 

SCG เองมีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 20% ในปี 2030 หรือว่าเป็น Net Zero ในปี 2050 แต่ว่าแน่นอน เรื่องนี้ยังคงมีความท้าทาย ข้อแรก อุตสาหกรรมเหล่านี้มักจะใช้พลังงานสูงมาก อุณหภูมิที่ใช้มันสูงมากจน Fossil Fuel เป็นทางเลือกที่สำคัญที่สุด เป็นทางเลือกที่ง่ายที่สุด ข้อที่ 2 ทำไมต้องใช้ Fossil Fuel ในเมื่อทุกวันนี้มีพลังงานสะอาดอยู่แล้ว แต่ว่าตัวพลังงานสะอาดเองมีปัญหาในเรื่องของความที่ไม่ต่อเนื่องในการให้พลังงาน และข้อ 3 เรื่องของทางเลือกในการแก้ปัญหาเหล่านี้ยังมีจำกัดอยู่ 

พูดถึงเรื่องความร้อนสูง จะเห็นว่าอุตสาหกรรม 4 อย่าง ที่เป็นอุตสาหกรรมหลัก ๆ ของโลก ได้แก่ ซีเมนต์ เหล็ก อลูมินั่ม พลาสติกและปุ๋ยเคมี จะเห็นว่าแต่ละอย่างใช้อุณหภูมิค่อนข้างสูง อย่างซีเมนต์ใช้อุณหภูมิมากกว่า 1000-1500 องศา การเผา Fossil Fuel จึงเป็นทางเลือกที่ง่ายที่สุดในการทำให้เกิดปฏิกริยาในผลิตภัณฑ์ของ SCG

อย่างไรก็ตาม พลังงานสะอาดทุกวันนี้ ราคาถูกลงมาก และอาจจะถูกกว่าถ่านหินด้วยซ้ำไป ถูกกว่าก๊าซธรรมชาติแน่นอนแล้ว แต่ว่าปัญหาของตัวพลังงานสะอาดเอง คือ ผลิตได้ในช่วงหนึ่งของวันเท่านั้น พลังงานแสงอาทิตย์ ถ้าไม่มีแสงอาทิตย์ ไม่สามารถผลิตพลังงานได้เลย ในหนึ่งวันอาจได้พลังงานแสงอาทิตย์ประมาณสัก 5-6 ชั่วโมงสูงสุด ทุกประเทศที่มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์จะมีปัญหาความไม่ต่อเนื่อง (Intermittency Problem) หรือที่เรียก The Duck Curve สร้างความยุ่งยากให้กับภาคอุตสาหกรรมในการที่จะจัดการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเข้าไปในช่วงที่ไม่สามารถผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ ส่วนหนึ่งของวันก็ยังต้องใช้พลังงานฟอสซิลอยู่ดี

ทางเลือกในการที่จะแก้ปัญหา Fossil Fuel หลัง ๆ จะได้ยินเรื่องไฮโดรเจนที่เป็นทางเลือกนึง แต่ว่าแน่นอนว่าทุกวันนี้ 95 เปอร์เซ็นต์ของไฮโดรเจนที่ผลิตมาก็ยังผลิตจาก Fossil Fuel อยู่ เพราะฉะนั้นจนกว่าจะมีสิ่งที่เรียกว่า Green Hydrogen ส่วน Biomass ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มาใช้เผาแทน แต่แน่นอนว่าไบโอแมสกมีจำกัด ถ้าทุกอุตสาหกรรมไปใช้ไบโอแมสกันหมด แน่นอนว่าของเหล่านี้ก็หมดไป

SCG จึงสนใจ Concept ที่เรียกว่า Heat Battery ความจริงได้ยินคำว่าแบตเตอรี่กันมาก Lithium Ion Battery ที่ใช้ใน Tesla หรืออื่น ๆ มมีแนวคิดคล้ายกัน คือ เอาไฟฟ้าชาร์จเข้าไปในแบตเตอรี่ก้อนหนึ่ง เก็บไว้รอวันที่อยากจะใช้งาน เวลาปล่อยพลังงานออกมาปล่อยเป็นพลังงานไฟฟ้า ก็เป็นแบตเตอรี่ทั่วไป 

ถามว่า Heat Battery แตกต่างอย่างไง ลักษณะเดียวกัน คือ ชาร์จไฟฟ้าจาก Renewable Energy ที่ไม่ต่อเนื่อง แต่ชาร์จเข้าไปในตัว Heat Battery เก็บพลังงานเป็นความร้อน (แทนที่จะเก็บเป็นไฟฟ้า) แล้วจ่ายไปให้ทางอุตสาหกรรมเป็นความร้อน ความจริงสิ่งที่อุตสาหกรรมต้องใช้เป็นเรื่องของความร้อน อาจจะใช้ไฟฟ้าบางส่วน แต่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความร้อนมากกว่า 

โจทย์คือ สิ่งที่จะมาใช้สำหรับเก็บพลังงานความร้อนเหล่านี้ หลายสตาร์ตอัพทั้งในยุโรปและอเมริกามีหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นการใช้หิน การใช้ทราย Molten Salt  ซึ่งเก็บความร้อนได้ดี เวลาต้องการใช้ความร้อนเอาลมไปแลกเปลี่ยน แต่ว่ามีเดียแต่ละอย่างข้างต้น มีข้อดีข้อเสียต่างกัน เช่น ทราย หิน ควบคุมคุณภาพไม่ได้ ส่วนลิเธียมไอออนแบตเตอรี่ มีราคาแพงไปสำหรับการใช้ในภาคอุตสาหกรรม และตัวลิเธียมมีจำนวนจำกัด

สิ่งที่ SCG กำลังศึกษาอยู่ คือ การใช้ตัว Refractory Brick หรืออิฐทนไฟ ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของ SCG และมีการใช้อิฐทนไฟ ในอุตสาหกรรมหนัก พวกซีเมนต์ เหล็ก เคมี อยู่แล้ว  เพราะฉะนั้น การที่จะทำงานในอุณหภูมิที่อุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องการ เป็นเรื่องที่พิสูจน์มาแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบอิฐทนไฟให้มีรูปร่างอะไรก็ได้ ทำให้แลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีขึ้นด้วยการทำรูเยอะ ๆ ก็สามารถทำได้ ซึ่งแตกต่างจากพวกทราย  หินหรือ Molten Salt  ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นข้อจำกัด 

การนำอิฐทนไฟมาใช้เป็น Heat Battery  นอกจากเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรม ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจดั้งเดิมของ SCG ที่ทำเรื่องของอิฐทนไฟอยู่แล้ว ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับธุรกิจ โดยรูปแบบการทำงานของระบบนี้คือ เวลาที่มันมีพลังงานจากแสงอาทิตย์ ระบบจะชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่จนเต็ม ตอนกลางคืนจะปล่อยความร้อนที่เก็บเอาไว้ มาให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ใช้ ปล่อยเป็น Stable วนไปอย่างนี้ ตอนเช้าชาร์จเข้าไปใหม่ ตอนเย็นก็ปล่อยความร้อนที่เก็บไว้ในอิฐออกมา เป็น Cycle ของ Heat Battery ที่คิดว่าจะช่วยในการลดการใช้ Fossil Fuel ในภาคอุตสาหกรรมได้

แน่นอนว่า 4 อุตสาหกรรมที่กล่าวไปข้างต้น ล้วนเป็นอุตสาหกรรมของ SCG อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น นอกจากมีความตั้งใจที่จะใช้ Heat Battery ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจดั้งเดิมพวกอิฐทนไฟ สร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบการใช้งานใหม่ ในรูปแบบ Clean Energy

Quantum Computing 

ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ CEO & Co-Founder ของ Quantum Technology Foundation Thailand หรือ QTFT บริษัทด้าน Quantum Startup ของประเทศไทย ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสก้าวเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ และร่วมมือกับทางเอสซีจีในหลาย ๆ โครงการ  

ทุกท่านอาจจะได้เห็น ว่ามีการพูดถึง Digital Technology หลากหลาย ตั้งแต่ Green Solution ไปถึง Chemical ต่าง ๆ แต่คำว่าดิจิทัลจริง ๆ แล้ว เป็นแค่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ตอนนี้ยุคดิจิทัลที่กำลังจะเข้าสู่อีกยุคหนึ่งที่เรียกว่าเป็นยุคของควอนตัม มันคืออะไร ต่างจากดิจิทัลอย่างไร จะมาช่วยในเรื่องของ ESG หรือว่ากรีนโซลูชันต่าง ๆ อย่างไร ซึ่งอธิบายได้ด้วยคำ 3 คำ ที่เป็นแรงผลักดันหลักของ SCG และอีกหลายบริษัท คือคำว่า Leader, Innovative และ Sustainable 

Leader คำว่า Leader ในมุมของเทคโนโลยีต้องพร้อมจะสร้าง high-impact ที่ยังไม่มีใครเคยทำมาก่อนในการเปลี่ยนผ่านขององค์กรสู่สิ่งใหม่ ๆ บางครั้งถ้าตั้งคำถามว่ามีคนเคยทำมาหรือยัง มี Success Case ให้ทำตามหรือยัง ถ้าตั้งคำถามนี้แสดงว่าเป็นผู้ตามโดยปริยาย Leader by Definition ถ้าตั้งคำถามว่าคือความไม่แน่นอน เรื่องของควอนตั้ม เช่น อาจจะรู้สึกว่ายังไม่เคลียร์ ตกลงมันจะเปลี่ยนแปลงอะไรยังไง แต่ว่าถ้าฟังอะไรแล้วรู้สึกว่าไม่เคลียร์ นั่นแสดงว่า มันเป็น opportunity ที่จะเป็น Leader ในฟีลด์นั้น

Innovative ได้ยินเกี่ยวกับนวัตกรรมต่าง ๆ มากมายเลย มี Quantum, AI, Blockchain, Metaverse, NFT, Drone และ IOT อะไรต่าง ๆ แต่ว่า innovation ที่สำคัญ ต้องเข้ามาแก้ปัญหาที่ matter จริง ๆ ต้องสามารถลด Cost การ Operation จริงลงได้ มี Efficiency ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้จริง ๆ 

Sustainable คำว่า Sustainable มีหลายมุม แต่ว่าในมุมที่สำคัญในจุดนี้คือ การที่มี Operation ที่ Efficient มากขึ้น ผ่านการทำ Advanced Optimization Technology ซึ่งควอนตั้มเป็นหนึ่งในนั้น เพื่อให้การผลิตหรือการปล่อยคาร์บอนลดลง 

ควอนตัมคืออะไร

ควอนตัม คือ สาขาหนึ่งในวิชาฟิสิกส์ ศึกษาอะไรก็ตาม ที่เล็ก ๆ เย็น ๆ เหมือนเช่น อะตอม อะตอมเล็กแค่ไหน เอาเส้นผมมา 1 เส้นพาไปตามแนวขวาง ประมาณ 20 รอบ ก็จะได้ขนาดของอะตอมมา 1 ตัว  ขนาดเล็กในระดับ 0.1 นาโนเมตร แล้วโลกที่มันเล็กขนาดนั้น มีอะไรพิเศษกัน 

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่ามีอะไรที่แตกต่างไปจากที่เราเคยเห็นในชีวิตประจำวันเยอะแยะมากมายเลย ตัวอย่างเช่น อะตอม มันสามารถอยู่ได้หลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน อะตอมสามารถทะลุผ่านผนังได้ ไม่ต้องกระโดดข้าม ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์มาแล้วทางวิทยาศาสตร์ 

และเรื่องที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปีนี้ คือ Quantum Entanglement พบว่า อะตอม 2 ตัวที่อยู่ห่างไกลกันมาก ๆ สามารถรู้สึกถึงกันได้ โดยที่ไม่ต้องมีอะไรส่งสัญญาณหากัน อะตอมตัวนึงอยู่ฝั่งซ้ายของห้อง อีกตัวหนึ่งอยู่ฝั่งขวาของห้อง ถ้าเราไปทำอะไรสักอย่างกับอะตอมฝั่งซ้าย อะตอมฝั่งขวาน่าจะรู้สึกทันทีเลย โดยที่ไม่ต้องมีการส่งอะไรหากันเลย ความพิเศษ Quantum Technology คือการนำเอาคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้างให้เกิดเทคโนโลยีคอมพิวติ้งแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างจากดิจิทัลโดยสิ้นเชิง 

ดิจิทัลที่พูดถึงทุกวันนี้ คือการเปิดกับปิด เหมือนเหรียญที่วางอยู่บนโต๊ะ ถ้าไม่ใช่หัวก็คือก้อย แต่ควอนตัม คือสิ่งที่เรียกว่า Qubit หรือ Quantum bit คือเป็น 0 กับ 1 ได้ ในเวลาเดียวกัน จะเปิดจะปิดก็ได้ในเวลาเดียวกัน เหมือนเหรียญที่วางอยู่บนไจโรสโคป บิดไปได้หลากหลาย ความสามารถตรงนี้ก็ทำให้ควอนตัม คอมพิวติ้งเอง สามารถทำงานหลาย ๆ อย่างได้ดีกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับ optimization ตัวอย่าง ได้แก่ควอนตัม คอมพิวเตอร์ของ Google ซึ่งสามารถใช้ได้จริงแล้ว เพียงแต่ว่า ยังมีปัญหาเรื่องของความเสถียร 

ปัญหาที่ควอนตัมแก้ เป็นปัญหาลักษณะไหน ยกตัวอย่างปัญหาหนึ่ง ที่ดิจิทัลลคอมพิวเตอร์ทำได้แต่ยังได้ไม่ค่อยดีนัก ปัญหาเรื่องเกี่ยวกับการ optimization เช่น โลจิสติกส์ SCG JWD สมมุติว่ารถบรรทุกคันหนึ่ง จะต้องไปส่งของสักแค่ 20 ที่เท่านั้น ถามว่า ซีเควนซ์การวิ่งแบบไหน ระยะทางดีที่สุดสั้นที่สุด ปล่อย emission น้อยที่สุด ใช้น้ำมันน้อยที่สุด ไปส่งของแค่ 20 ที่ ความเป็นไปได้สลับหน้าหลัง เป็นไปได้ 2 ล้านล้านล้านรูปแบบ เพราะฉะนั้นถ้าจะหาแพทเทิร์นที่ดีที่สุด ต้องไปนั่งสุ่มทีละอัน ๆ ทำให้ใช้เวลาค่อนข้างมาก

แต่การ process แบบ ควอนตัมคอมพิวติ้ง จะสร้างสิ่งที่เรียกว่า Multiverse ขึ้นมา แปลว่าจักรวาลคู่ขนาน เหมือนในหนังจักรวาลมาร์เวลของดอกเตอร์เสตรนจ์ แต่นี่คือเรื่องจริงทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งควอนตัมคอมพิวเตอร์ จะสร้างขึ้นมาหลาย ๆ Universe พร้อมกัน Universe แรก ลองวิ่งดู ถ้ารถวิ่งแบบนี้ ระยะทางเป็นเท่าไร ถ้ารถวิ่งแบบนี้ระยะทางเป็นเท่าไร แล้วเลือกเอา Universe ที่ได้คำตอบที่ดีที่สุดกลับมาบอกใน Original Universe

การออกแบบและการเขียนโค้ดเพื่อควบคุม ควอนตัม คอมพิวเตอร์ จึงแตกต่างจากการเขียนโค้ดแบบดิจิทัล เพราะจะต้อง Design ว่าหลังจากที่สร้าง Multiverse มาแล้ว และเจอคำตอบที่ดีที่สุด เขาจะเอาคำตอบที่ดีที่สุด กลับมาบอกได้อย่างไร เป็นตรรกะแบบใหม่ของควอนตัม 

จำนวน Qubit ที่มากขึ้น ทำให้จำนวนของมัลติเวิร์สเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ตัวอย่าง ถ้าเรามีแค่ 1 Qubit จะสามารถค้นหาได้ 2 รูปแบบในเวลาเดียวกัน ก็คือ ไม่ศูนย์ก็หนึ่ง แต่ว่าถ้ามี 2 ก็จะเป็น 4 รูปแบบ คือ 00, 01,10, 11 แล้วโตเร็วมาก สมมุติว่ามีอยู่ 50 Qubit ความเป็นไปได้ที่จะเก็บจะอยู่ที่ประมาณพันล้านล้านรูปแบบ ซึ่งแทบจะเป็นข้อจำกัดของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันแล้ว ถ้าเมีควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาด 300 Qubit จะเก็บความเป็นไปได้ 10 ยกกำลัง 90 รูปแบบ แปลว่าอะไร แปลว่ามี Data Center ใหญ่เท่าจักรวาลนี้เลย datacenter นั้นยังไม่สามารถมาเก็บตัวเลขนี้ได้เลย

ในปี 2019 เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ควอนตั้มคอมพิวติ้งเริ่มเป็นที่สนใจของภาคเอกชนมากขึ้น คือ ทาง Google มีประกาศสิ่งที่เรียกว่า Quantum Supremacy คือเขาใช้ควอนตั้มคอมพิวเตอร์ในการคำนวณงานบางอย่างในเวลา 200 วินาที ขณะที่ถ้าเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ประมาณ 1 หมื่นปี แต่ว่างานนี้ยังเป็นงาน Benchmark ยังไม่ได้มีการเอามาใช้จริงอะไร และตัวเลข 1 หมื่นปีก็ลดลงแล้วในปัจจุบัน เพราะว่าทางดิจทัลก็สู้กลับ อย่างไรก็ตาม benchmark ดังกล่าวก็ทำให้เกิดเทรนด์ของควอนตัมคอมพิวติ้ง 

ล่าสุด ปีนี้ IBM ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์กับ QTFT ได้เปิดตัวออกมา ควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาด 400 Qubit แต่ยังมีความไม่เสถียรค่อนข้างมาก  เพราะฉะนั้น เรียกได้ว่าควอนตั้มมาแล้วประมาณ 50% อีก 50% รอให้เสถียร นอกจากนั้น D-Wave บอกว่ามี 5,000 Qubit, IonQ มี 32 Qubit เป็นบริษัทในตลาดของทางอเมริกา ตัว 32 Qubit อาจจะดูน้อยแต่ว่าคุณภาพสูงมาก ๆ D-Wave 5,000 Qubit อาจจะดูเยอะแต่ว่า คุณภาพ สู้ตัว 32 Qubit ไม่ได้

“ทุกวันนี้เราสามารถใช้งานควอนตัม คอมพิวติ้ง ผ่านคลาวด์ได้ ไม่ว่าจะเป็นของ Microsoft, IBM, Amazon จะชาร์จเป็นต่อชั่วโมง ของ Fujitsu จะมีสิ่งที่เรียกว่า Quantum Inspire Computing คือในขณะที่ควอนตัมยังไม่มาร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็เอา Concept ของควอนตัม คอมพิวติ้ง มารันบนดิจิทัลก่อน เป็น solution ของทั้ง Fujitsu และ Microsoft ซึ่งเป็น Partner มีโปรเจคท์ที่เริ่ม kick-off กับ SCG แล้วด้วย” 

การลงทุนด้านควอนตัม ทั่วโลก ประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ น้อยที่สุดอยู่ที่ประเทศไทย แต่อย่างน้อยก็ยังมีอยู่ 6 ล้านเหรียญ ประเทศจีน 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเยอะที่สุดในโลก Corporate Investment จากภาคเอกชนทั่วโลก ก็เติบโตแบบ Exponential และพบว่ามูลค่าการลงทุนกับกลุ่มควอนตัมสตาร์ตอัพที่ทำฮาร์ดแวร์ค่อนข้างมาก 

ในแง่แอปพลิเคชัน มองผ่านเลนส์ของ Data Analytics ซึ่งมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน  คือ Descriptive Data  Analytics, Predictive Data  Analytics และ Prescriptive Data Analytics 

Descriptive Data Analytics คือการบอกว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น เหมือนทำ BI ทำ Big Data ต่าง ๆ Predictive Data Analytics แอดวานซ์ขึ้นมาหน่อยคือการใช้ AI Machine Learning ในการคาดการณ์ว่าอนาคตมันจะเกิดอะไรขึ้น 

Prescriptive Data  Analytics จะแอดวานซ์ที่สุด คือ การทำ Optimization ถ้ารู้แล้วว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น มันจะมีการ optimize อย่างไร ให้เกิดแล้วดีที่สุด เช่น ในการทำ Production planning รู้ว่า demand – supply จะเป็นอย่างไรในช่วง 3 เดือน 4 เดือนถัดไป การทํา Prescriptive คือ การบอกว่า Production planning ควรจะเป็นอย่างไร หรือการทําโลจิสติกส์ เมื่อรู้แล้วว่าวันนี้ต้องไปส่งของที่ไหนบ้าง ต้องมา optimize ว่าจะต้องใช้เส้นทางไหน ใช้รถกี่คัน ใช้คนขับใครบ้าง หรือว่าการทำไฟแนนซ์ หรืออย่างการทำไฟแนนซ์  Predictive คือการบอกว่า ควอเตอร์หน้าสต็อกตัวนี้จะเป็นอะไรอย่างไร ความเสี่ยงจะเป็นเท่าไร ส่วนที่เป็น Prescriptive คือการบอกว่าจะมีการ Optimize ตัว portfolio อย่างไร นี่คือแกนของ Prescriptive ที่ควอนตัม จะสามารถเข้ามาช่วยให้คำนวณคำตอบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้  

นอกจากนี้ มีรายงานว่าบริษัทมากกว่าครึ่งน่าจะ 80 เปอร์เซ็นต์มีโปรแกรมด้านควอนตั้มคอมพิวติ้งกันหมดแล้ว โดยที่เทรนด์มาในฝั่งของธธนาคารค่อนข้างมาก ทุกธนาคารดัง ๆ ทั่วโลก QTFT เคยร่วมงานกับทาง KBank เมื่อปีที่ผ่านมาในการนำควอนตั้ม อัลกอริทึ่ม มาช่วยในเรื่องของ Loan Collection/Optimization 

เรื่อง Energy ซึ่งมีหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น Solar ที่ทำให้พลังงาน Fluctuate สูงขึ้น เรื่องของแหล่งกักเก็บพลังงานทุกอย่าง ต้องเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกันหมด ควอนตัม คอมพิวติ้ง ก็จะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้ optimize ตัวนี้ตัวอย่างเช่น Report ของไมโครซอฟท์ ซึ่ง predict use case ของตัว Quantum Inspire ซึ่งก็มีการปรับใช้กันแล้ว ทั้งเรื่องของการทำ Load Balancing, Unit Commitment  คือการ Optimize การเดินเครื่องของโรงไฟฟ้า การจัดการไฟล์ที่เรียกว่า System Operator การดีไซน์ material เพื่อให้ได้แบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือการดีไซน์เรื่องของ High Temperature Super conductor ต่าง ๆ 

เรื่องของ EV เอง ทาง Hyundai มีการจับมือกับ IonQ ในการพัฒนาควอนตัม อัลกอริทึ่มที่จะมาใช้ในการดีไซน์ตัวแบตเตอรี่, Ion กับ IBM ก็มีการจับมือ ทำลักษณะคล้าย ๆ กัน หรือว่าทาง Mitsubishiมีการใช้ควันตัม คอมพิวติ้งมาเรื่องของ material design ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  

กลุ่มโลจิสติกส์ DHL Volkswagen BMW ก็ใช้ควอนตัม คอมพิวติ้งในเรื่องของการ optimize ตัว Logistic และ supply chain ในระบบ 

SCG กับ Quantum Computing 

เทคโนโลยีที่หลากหลายของ SCG Explore ทั้งเรื่องของ Energy Transition เรื่องของ EV เรื่องของโลจิสติก สมาร์ทลิฟวิ่ง กรีนโซลูชันต่าง ๆ  ถ้าเปรียบเทียบเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นนักดนตรีหรือเครื่องดนตรี เรียกว่า เครื่องดีดสีตีเป่า มีครบชุด แต่สิ่งที่สำคัญของวงดนตรีคือคอนดักเตอร์ นั่นคือ จริง ๆ แล้ว เทคโนโลยีทั้งหลายนี้ ไม่ใช่ Separate Technology แต่คือ One Technology ที่จะมาสร้างสรรค์ One Experience ให้กับกลุ่มลูกค้าของทาง SCG ให้มีชีวิตหรือว่าการใช้งานที่ดีขึ้น ประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้น 

เทคโนโลยีควอนตัมสามารถออกแบบ คำนวณ และประมวลผลมาเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ สามารถนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตต่าง ๆ และสร้างประโยชน์กับอุตสาหกรรมได้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง ยานยนต์ และธุรกิจสีเขียว ตัวอย่างเช่น โรงงานต้องการไฟฟ้าที่สะอาด แน่นอนว่าไฟตัวนั้นต่อไปก็อาจจะไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องมาจากโรงไฟฟ้าอย่างเดียว อาจจะมาจากบ้านคนที่ติด Solar เป็นระบบ Smart Grid ที่เชื่อมโยงเข้ามาในตัวโรงงาน ตัวโรงงานเองปรับมาใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างเดียวก็อาจจะไม่เพียงพอ ก็ต้องมีเรื่องของการปรับพฤติกรรม การใช้ไฟด้วย ทำอย่างไรถึงจะลดการใช้ไฟ ทำยังไงถึงจะลดพีค ลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น 

เพราะฉะนั้นเรื่องของ Energy Transition มีทั้งเรื่องของ Renewable Energy ด้วย มีเรื่องของ Plant Optimization, Machine Scheduling Optimization ที่จะต้องเกิดขึ้นด้วยในโรงงาน การที่ Optimize การผลิตในโรงงานได้ดีขึ้น หมายความว่า Throughput ของโรงงานจะมีความ Dynamic มากขึ้น ซึ่งจะไปส่งผลกระทบตอระบบโลจิสติกส์ เช่น Warehouse มากขึ้น ตัว Warehouse ต้องมีการ optimize ที่มันล้อกันกับตัวโรงงานมากขึ้น 

พอโรงงานมีการ optimize มากขึ้น ก็จะมาล้อกับระบบโลจิสติกส์ที่จะนำสินค้าออกไปสู่ผู้บริโภคอีกทีหนึ่ง ระบบโลจิสติกส์ต้องเป็นรถ EV เอาพลังงานมาจาก Renewable Energy ทั้งหมดนี้จึงเป็น One Technology อย่าง รถโม่ปูนที่เป็นรถ EV ตอนนี้ทาง CPAC ต้อง optimize รถขนปูน หรือว่า Production planning ต่าง ๆ ต่อไปก็ต้อง optimize ด้วยว่านอกจากรถจะโหลดปูนแล้ว จะต้องโหลดพลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้าเข้ามาในแบตเตอรี่เองด้วย ต้องมีการระบบ optimize แบบใหม่ซึ่งแน่นอนว่าต้องการพลังงานมากขึ้น จะเชื่อมเข้ากับโครงการต่าง ๆ ที่ SCG จัดทำมากขึ้น ทั้งหมดนี้คือเรื่องเดียวกัน 

และควอนตั้มคือเทคโนโลยีที่จะทำให้ SCG สามารถ optimize ทั้งหมดได้ ควอนตัมคือคอนดักเตอร์ที่จะมากำกับแบนด์วงนี้ เริ่มจากตอนแรกมี Data จากทุกภาคส่วน จากการทำ Digital Transformation ต่อไปต้อง optimize เพื่อเล่นเป็นวงดนตรีเดียวกัน และสิ่งที่จะได้คือเป็น End-to-End Supply Chain ที่มีความ Integrate มากขึ้นมีความ Dynamic มากขึ้น สุดท้ายสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ Efficiency ที่สูงขึ้น มีการปล่อย Emission ที่ลดลง แล้วก็มี Resilient ที่สูงขึ้น สำหรับทุก stakeholder ที่เกี่ยวข้อง 

ควอนตัมจึงเปรียบเสมือนผู้เชี่ยวชาญในการที่จะมาสร้างให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Digital Twin for Collective Intelligence  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเต็มไปหมด ทีมที่เกี่ยวข้องเต็มไปหมด แต่ละทีมมีประสบการณ์การทำงานในภาคส่วนของตัวเอง และมี intelligence group เป็นของตัวเอง และก็จะทำให้เกิด integration ที่มันเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นแบนด์เดียวกันได้ มันจะต้องเกิด collective intelligence ซึ่งควอนตัมจะมาช่วยให้เกิด collective intelligence เพื่อ optimize ตัว supply chain ตรงนี้ได้ และควอนตัมคืออนาคตที่ทาง QTFT พร้อมที่จะผลักดันไปสู่ Next Chapter ร่วมกับทาง SCG เพื่อทำให้เกิดโอกาสและภาพของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นในประเทศไทยอีกไม่นาน   

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

โตชิบ้า ยืนยัน ข่าวขายกิจการในต่างประเทศ ไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจในไทย

บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ ส่งจดหมายชี้แจง กรณีที่มีข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก เกี่ยวกับ “บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชัน จำกัด ปิดดีล ขายกิจการมูลค่า 2 ล้านล้านเยน

SCB 10X เปิดเวที Hackathon เฟ้นหาทีมนักพัฒนา ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยบล็อกเชน

เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) เปิดเวที “BANGKOK BLOCKATHON 2023” ภายใต้แนวคิด “Blockchain for the Next Billion Users”

GRAMMY x RS ตั้งบริษัทร่วมทุน เตรียมจัด 3 คอนเสิร์ตใหญ่ ก.ค.- ต.ค. นี้ เมืองทองธานี

GMM MUSIC และ RS MUSIC ประกาศจัดตั้ง กิจการร่วมค้าอะครอสเดอะยูนิเวิร์ส (Across The Universe Joint Venture) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดซีรีส์คอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์

AWS เชื่อมั่นตลาดคลาวด์พุ่งไม่หยุด เล็งเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดส่ง ‘Lift’ ลุย SMB

อัตราการเติบโตของคลาวด์ในประเทศไทย ปี 2023 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่า 30% AWS เชื่อมั่นแผนรับมือที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มคู่ค้า จัดทีมดูแลลูกค้าเฉพาะกลุ่ม

Blendata เปิดบริการ Analytics as a Service ในรูปแบบ Pay Per Use

เบลนเดต้า (Blendata) เปิดตัวบริการใหม่ Analytics as a Service บริการวิเคราะห์ข้อมูลครบวงจร รองรับทุกความต้องการด้าน Data Analytics ในรูปแบบการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก WeChat Pay จัดแคมเปญใหญ่ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผนึก WeChat Pay ผู้ให้บริการ E-Wallet รายใหญ่จากประเทศจีน มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวก รวดเร็ว

ดีป้า จับมือพันธมิตร เปิดตัว Tech Thailand แพลตฟอร์มชุมชนคนสายเทค

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์ฟ็อกซ์ จำกัด ร่วมเปิดตัว Tech Thailand

ธ.กรุงเทพ – AIS เปิดตัวบัตรเดบิต “Be1st Digital AIS POINTS” ยิ่งใช้ ยิ่งได้พ๊อยส์

ธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับ AIS เปิดตัว Be1st Digital AIS POINTS บัตรเดบิตที่จะมาพลิกโฉมประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ของลูกค้า ด้วยสิทธิพิเศษจากคะแนนสะสมของ AIS

กสิกรไทย x ธนาคารแมสเปี้ยน เปิดตัว QRIS – QR Code Payment

ธนาคารกสิกรไทยเปิดตัวบริการ QRIS ระบบชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้าของธนาคารแมสเปี้ยนเป็นบริการแรก หลังเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นรวมเป็น 67.5%

CP LAND แต่งตั้ง กีรติ ศตะสุข นั่งเก้าอี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัทซี.พี. แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP LAND ประกาศแต่งตั้ง กีรติ ศตะสุข ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ (CSO) ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)

MUST READ

กรุงศรี ออโต้ หวังครองใจ Fansumer ด้วยโซลูชันเพื่ออนาคต ชู 3 กลยุทธ์ สร้างสรรค์ชีวิตผู้ใช้รถให้ดีขึ้น

กรุงศรี ออโต้ ประกาศทิศทางธุรกิจปี 2566 ด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ชูโซลูชันเพื่ออนาคต ตอบสนองชีวิตผู้ใช้รถให้ดีขึ้นในทุกวัน อันได้แก่ สร้างฐาน Fansumer

SCB จับมือ fastwork นำโซลูชันด้านการเงินสนับสนุนธุรกิจผู้ประกอบการ

ธนาคารไทยพาณิชย์ จับมือ บริษัท ฟาสต์เวิร์ค เทคโนโลยีส์ จำกัด ศูนย์รวมผู้ประกอบอาชีพอิสระ (ฟรีแลนซ์) ออนไลน์ นำความสามารถด้านเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน

สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ เป็นมากกว่าสถานที่รักษา

โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยพบผู้เสียชีวิตมากถึงปีละ 70,000 ราย การคิดค้นวิธีการรักษาใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

อะโดบี เปิดตัวนวัตกรรมสำหรับ Adobe Experience Cloud ในงาน Adobe Summit 2023

อะโดบี เปิดงาน Adobe Summit 2023 - งานประชุมด้านประสบการณ์ดิจิทัล เปิดตัวนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Adobe Experience Cloud ซึ่งเป็นโซลูชันด้านการจัดการประสบการณ์ลูกค้า และ Adobe Creative Cloud แพลตฟอร์มด้านการสร้างคอนเทนต์ พร้อมเสริมศักยภาพให้แบรนด์ต่าง ๆ ขับเคลื่อนการเติบโตด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม

ซีเมนส์ เตรียมติดตั้งเทคโนโลยีอัตโนมัติ ในโรงงานผลิตยางรถยนต์คอนติเนนทอล

ซีเมนส์ และฝ่ายผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ของคอนติเนนทอล ลงนามข้อตกลงซัพพลายเออร์เชิงกลยุทธ์ โดยบริษัทฯ จะจัดหาระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีขับเคลื่อน เพื่อส่งมอบให้แก่โรงงานผลิตยางรถยนต์ของคอนติเนนทอลทั่วโลก
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น