TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologySHOPLINE แนะทางรอดเอสเอ็มอีไทย มอง “อี-คอมเมิร์ซ” เติบโตแรงท่ามกลางวิกฤติ

SHOPLINE แนะทางรอดเอสเอ็มอีไทย มอง “อี-คอมเมิร์ซ” เติบโตแรงท่ามกลางวิกฤติ

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ส่งผลกระทบหนักต่อเศรษฐกิจและผู้ประกอบธุรกิจโดยเฉพาะกับเอสเอ็มอี แต่ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหรือถูกบังคับทางอ้อมให้ต้องเปลี่ยนแปลง บวกกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เป็นตัวเร่งทำให้ตลาด อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด กลายเป็นโอกาสในท่ามกลางวิกฤติที่ทุกธุรกิจต้องรีบคว้าเอาไว้

ไม่เพียงเท่านั้น อีคอมเมิร์ซ จะเป็นแนวทางหลักที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน ผลักดันให้เอสเอ็มอีสามารถหลุดพ้นจากวิกฤต ขณะที่ SHOPLINE คือ ผู้นำระบบจัดการร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเซียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจร (Global Smart Commerce Enabler) เบอร์หนึ่งในเอเชีย ที่สามารถสนับสนุนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดอีคอมเมิร์ซ ตลอดจนเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งภายหลังโควิด-19 สิ้นสุดลง

นับตั้งแต่ปลายปี 2562 ที่ผ่านมา ทั่วโลกถูกโจมตีด้วยเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงเศรษฐกิจไทยที่พบว่า จีดีพี ปี 2563 ติดลบสูงถึง 6.1% ต่ำสุดในรอบ 22 ปี ส่วนคาดการณ์ปี 2564 เดิมคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาได้เป็นบวกราว 2.5 – 3.5% (โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) แต่การระบาดใหญ่รอบที่ 3 ตั้งแต่ต้นปี ทำให้มีการปรับลดคาดการณ์ลง เหลือเพียง 1.5 – 2.5% ขณะที่ภาคเอกชนมองตัวเลขที่ต่ำกว่านั้นหรือปีนี้ทั้งปีอาจะไม่เติบโตเลย นั่นสะท้อนถึงผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก(เอสเอ็มอี) ที่มีเงินทุนค่อนข้างจำกัด ซึ่งหากไม่สามารถประคองตัวให้อยู่รอดผ่านพ้นวิกฤติไปได้ อาจต้องมีล้มหายตายจากกันไปไม่มากก็น้อย

เอสเอ็มอีถือเป็นรากฐานของเศรษฐกิจไทย มีสัดส่วนต่อจีดีพีมากกว่า 30-40% แต่ก็เป็นด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตก่อนธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะโควิด-19 บังคับให้ผู้คนต้องเว้นระยะห่าง งดการเดินทางหรือไปมาหาสู่กัน งดกิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบเดิม ๆ เกือบจะทุกอย่าง ผู้คนได้แต่ใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน ลดการใช้จ่ายลง ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กที่เคยเฟื่องฟูต้องหยุดชะงักลง 

แต่ในท่ามกลางวิกฤติ กลับพบว่ามีบางธุรกิจที่ยังเติบโตได้ดีและโดดเด่นมากขึ้นด้วยการทำตลาดออนไลน์ เพราะการที่ผู้คนอยู่บ้านมากขึ้น วิถีการใช้ชีวิตจึงเปลี่ยนไป มีประสบการณ์มากขึ้นกับการใช้ชีวิตผ่านเทคโนโลยีที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนการซื้อสินค้าทางออนไลน์ จึงเห็นได้ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั่วโลกซึ่งเติบโตต่อเนื่องอยู่แล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ยิ่งเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากวิกฤติโควิด-19 เป็นตัวเร่ง ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ระบบการชำระเงินสะดวกมากขึ้นและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น การจัดส่งสินค้าทำได้รวดเร็วขึ้น

เห็นได้จากปี 2563 ที่ผ่านมาตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเติบโตสูงถึง 81% (ที่มา :ไพร้ซซ่า) ด้วยมูลค่า 294,000 ล้านบาท สูงกว่าที่คาดไว้เดิมที่ 220,000 ล้านบาท

สะท้อนว่าการซื้อสินค้าออนไลน์คือคำตอบของผู้บริโภคในยุควิถีชีวิตใหม่ และจะเป็นทางรอดสำหรับผู้ประกอบธุรกิจรวมถึงเอสเอ็มอี

สำหรับการเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายแนวทาง แต่วิธีการที่ดีที่สุดมีให้เลือกเพียงไม่กี่อย่าง และหนึ่งในนั้นคือการมี เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจคือ ช่วยให้ธุรกิจสามารถรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมไว้ได้แม้อยู่ในท่ามกลางวิกฤต เช่น วิกฤติโควิดที่ทำให้หลายกิจการอาจต้องปิดร้านหรือหยุดการดำเนินธุรกิจเป็นการชั่วคราว แต่หากมีร้านค้าออนไลน์จะช่วยให้ธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไปได้และเก็บรักษาลูกค้าเดิมให้ยังคงซื้อสินค้า และยังช่วยให้ธุรกิจโดดเด่นอยู่เหนือคู่แข่งและมีโอกาสขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพราะเมื่อผู้บริโภคไม่สามารถออกไปซื้อสินค้านอกบ้านได้ หรือไม่สามารถหาซื้อสินค้าที่ใช้อยู่เป็นประจำไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมองหาทางเลือกใหม่ ๆ ทดแทน จุดเด่นข้อสุดท้ายคือ เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซช่วยให้การใช้งบเป็นไปอย่างคุ้มค่า และสามารถปรับขนาดการใช้งบได้ตามความต้องการของธุรกิจเอง

ปัจจุบันการสร้างร้านค้าออนไลน์สามารถทำได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อ 4-5 ปีก่อน และยังมีบริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซได้รวดเร็ว ที่สำคัญคือคุ้มค่า ซึ่งโดยทั่วไปกระบวนการสร้างร้านค้าออนไลน์จะประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้

1. เลือกผู้ช่วยสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ซึ่งปัจจุบันมีตัวเลือกมากมายรวมทั้ง SHOPLINE            

2. ในกรณีที่ยังไม่มีเว็บไซต์ ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกชื่อโดเมน ซึ่งควรเป็นชื่อธุรกิจหรือที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

3.  เลือกธีม ซึ่งหมายถึงรูปลักษณ์โดยรวมของเว็บไซต์

4. สร้างหน้าสำหรับสินค้า ควรจัดเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน พร้อมคำอธิบายเกี่ยวกับตัวสินค้านั้น ๆ รวมถึงการใช้ภาพถ่ายผลิตภัณฑ์อย่างมืออาชีพ

5.  นอกจากหน้าสำหรับผลิตภัณฑ์แล้ว ยังมีหน้าอื่น ๆ ที่สำคัญด้วยเช่นกัน คือหน้าแรก หน้าเกี่ยวกับเรา และหน้าสำหรับช่องทางการติดต่อ

6. ตั้งค่าการชำระเงิน หรือขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า รวมถึงข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับบัญชีธนาคารเพื่อให้แพลตฟอร์มสามารถส่งเงินให้ได้

7. ซื้อใบรับรอง SSL ซึ่งเปรียบเสมือนบัตรประจำตัวประชาชนออนไลน์ที่ระบุว่า เว็บไซต์นี้ปลอดภัยจากภัยคุกคาม เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจะมีความปลอดภัยสูงสุด

8. เปิดตัวร้านค้าอีคอมเมิร์ซ โดยเมื่อทำตามขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จสิ้นแล้ว ก็สามารถนำเสนอร้านค้าออกสู่สาธารณะได้ ตลอดจนการโปรโมทสินค้าไปยังกลุ่มลูกค้า

ทั้งนี้ สำหรับ SHOPLINE คือ ผู้นำระบบจัดการร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเซียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจร (Global Smart Commerce Enabler) เบอร์หนึ่งในเอเชีย เป็นสตาร์ตอัพมาแรงสัญชาติฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จในการขยายการให้บริการในหลายประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน, ฮ่องกง, มาเลเซีย, เวียดนาม, จีน, สิงคโปร์ รวมถึงประเทศไทย โซลูชั่นของ SHOPLINE มีทั้งแบบที่ช่วยให้ร้านค้าและธุรกิจสามารถสร้างเว็บไซต์และออกแบบเว็บไซต์ของตัวเองได้อย่างง่ายดาย ภายใต้งบประมาณและทรัพยากรที่มีจำกัด สามารถเลือกตั้งค่าได้เองตามความต้องการของร้านค้าและธุรกิจ และมีระบบเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ อาทิ Google, Facebook, LineOA และอื่น ๆ

ที่ผ่านมา SHOPLINE สนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจจำนวนมากโดยเฉพาะเอสเอ็มอีประสบความสำเร็จในตลาดอีคอมเมิร์ซมาแล้ว ซึ่งไม่เพียงช่วยให้รักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้ แต่ยังช่วยให้ขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ ทั้งในและต่างประเทศ นำไปสู่การสร้างรายได้ที่เติบโต และก้าวไปข้างหน้าด้วยการสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งภายใต้เทรนด์ธุรกิจใหม่ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนอีกด้วย

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า อีคอมเมิร์ซ จึงเป็นทางเลือกและทางรอดที่ดีที่สุดในเวลานี้สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องเร่งเข้าไปจับจองพื้นที่ในตลาดออนไลน์ที่เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทุกขนาด ไม่เพียงช่วยให้ธุรกิจเติบโตในท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 และวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังไม่รู้ว่าจะลากยาวไปอีกนานเพียงใดเท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันในอนาคตที่โลกธุรกิจกับโลกเทคโนโลยีรวมเข้าไปเป็นเรื่องเดียวกัน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ