TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessEVAT จับมือเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า เชื่อมต่อการใช้งานร่วมกัน

EVAT จับมือเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า เชื่อมต่อการใช้งานร่วมกัน

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือพันธมิตรเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าอีก 12 หน่วยงาน เพื่อการเชื่อมต่อการใช้งานร่วมกันของแต่ละเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) พร้อมเปิดตัวแผนที่  EV charging station map ที่รวมทุกพิกัดของทุกสถานีอัดประจุไฟฟ้าในกลุ่ม Charging Consortium บนเว็บไซต์สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เป็นครั้งแรก

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT ) พร้อมด้วย 12 หน่วยงาน ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท อรุณ พลัส จำกัด บริษัท ปตท. นํ้ามัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จํากัดบริษัท ชาร์จแมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท โชเซ่น เทคโนโลยี จํากัด บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด และบริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน เพื่อการเชื่อมต่อการใช้งานของแต่ละเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเเบบปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าเเบบแบตเตอรี่ (BEV) ในประเทศไทย 

โดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า เเละเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ มีความประสงค์จะเข้าทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อ ดำเนินการและประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าและแสวงหา แนวทางความร่วมมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ตกลงทำบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และเพื่อให้สามารถใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าได้ในทุกเครือข่ายฯ และมีระบบการ ให้บริการที่เป็นมาตรฐาน เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางในความร่วมมือเพื่อให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า สามารถใช้เครื่องมือ เช่น บัตร หรือ QR code โปรแกรม หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ข้ามเครือข่ายๆ โดยไม่ จํากัดเฉพาะของเครือข่าย ในเครือข่ายหนึ่งเท่านั้น เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยง ระบบการเก็บค่าบริการจากผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้บริการต่าง เครือข่ายๆ ที่สามารถบริหารจัดการทั้งรายรับและรายจ่ายให้กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างเป็นธรรม

นอกจากนี้ ภายในงานกลุ่ม Charging Consortium ของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ยังได้เปิดตัว EV charging station map กลาง ที่รวบรวมโลเคชั่น ของทุกสถานีอัดประจุไฟฟ้าในกลุ่ม Charging Consortium บนเว็บไซต์ http://www.evat.or.th

ที่มา: สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย

ดร. มัณฑนา รังสิโยภาส เลขาธิการสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า (EVAT) กล่าวว่า กลุ่ม Charging Consortium ภายใต้สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ได้ดำเนินการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เป็นผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ ซึ่งจุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มดังกล่าวนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อีกทั้งในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เริ่มเห็นการเติบโตของจำนวนผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าอย่าง สถานีอัดประจุไฟ้ฟ้าก็เติบโตไปในทิศทางเดียวกันด้วย

ทั้งนี้บันทึกข้อตกลงร่วมกันฉบับดังกล่าวนี้ มีผลบังคับใช้นับจากวันที่ลงนามกับทุกฝ่ายเป็นระยะ เวลา 2 ปี 

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ในฐานะประธานคณะฯ ได้มอบหมายให้  5 หน่วยงาน อันได้เเก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) การไฟฟ้านครหลวง (MEA) บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เเละ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) (EA) พัฒนาและบริหารจัดการแพลตฟอร์มกลางของสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้สถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีการนำร่องในการเชื่อมโยงข้อมูลสถานีอัดประจุไฟฟ้า กลุ่มแรก ในเดือนสิงหาคม 2565 โดยมีรูปแบบเป็นไปตามแนวทางที่กลุ่ม EV Charging Consortium ทำการศึกษาและพัฒนาก่อนหน้านี้ และจะมีการต่อยอดเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ของกลุ่มต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ได้มีการเปิดตัว เว็บไซต์กลางที่รวบรวบ สถานีอัดประจุไฟฟ้าจากทุกค่าย ที่ตั้งอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย ไว้ในเว็บไซต์เดียว  ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านเว็บไซต์สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ทำให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถวางแผนการเดินทางได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งปี 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การเกิดการใช้การผลิต การพัฒนาและวิจัยด้านยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย โดยได้รับความร่วมมือจากทางนักวิชาการ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน 

ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 340 หน่วยงาน สมาคมมีกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เป็นการช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศ ในภาคการขนส่ง ที่มีปัญหาการจราจร 

นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังมีหน้าที่ในการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐเพื่อส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งสมาคมยานยนต์ต่าง ๆ ทำให้ด้านการสัมมนาทางวิชาการและการจัดการแข่งขันจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคตเพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ให้กับนิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยต่อไปในอนาคต 

ปี 2565 ข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า ในช่วงไตรมาสแรกพบว่า รถยนต์ไฟฟ้ามีอัตราการเติบโตสูงถึง 124 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้านั้น โดยมียอดจดทะเบียนสะสมของรถยนต์ไฟฟ้าในช่วง 3 เดือนแรกอยู่ที่ 1,270 คัน ส่วนการจดทะเบียนของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้พบว่ามีอัตราการเติบโตถึง 104% ด้วยกัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้านั้น โดยมียอดจดทะเบียนสะสมของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าถึง 1597 คัน 

ด้วยเหตุนี้การเติบโตของเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่จำนวนของสถานีให้บริการ ที่ต้องเติบโตให้ทันความต้องการของผู้ใช้งาน แต่ในด้านการใช้งานที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย ข้ามเครือข่ายได้ก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจอันสำคัญของสมาคมฯ และเป็นที่มาของโครงการ Charging Consortium 

ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อเชื่อมต่อการใช้งาน ร่วมกันของแต่ละเครือข่าย สถานีอัดประจุไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้าเเบบปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าเเบบแบตเตอรี่ (BEV) โดยสมาคมยานยนต์และ 12 เครือข่ายพันธมิตร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถานีอัดประจุไฟฟ้า มุ่งเน้นประโยชน์สูงสุด ของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า และเพื่อให้สามารถใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าได้ ทุกเครือข่าย รวมทั้งกำหนดแนวทางให้สามารถใช้เครื่องมือ เช่นบัตร  QR โปรแกรม อุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ข้ามเครือข่าย โดยไม่จำเพาะเฉพาะเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งเท่านั้น และเพื่อบริหารจัดการทั้งรายรับและรายจ่าย ให้กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างเป็นธรรม 

ฉันทกร เดวิชญ์ กริดวิชญยาการ กรรมการและประธานคณะทำงานข้อมูลผู้ใช้และนโยบายส่งเสริมการใช้ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า ภาพรวมสถานะปัจจุบัน ข้อมูลผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ปัจจุบันประเทศไทยมีรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นรุ่น แบตเตอรี่ 100% มากกว่า 22 รุ่น ที่ขายอยู่ในท้องตลาด รุ่นมีการกระจายตัวหนาแน่นเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาประมาณ 1-2 ล้านบาท ส่วนลักษณะรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็น Luxury Car มีจำหน่ายด้วยเหมือนกันแต่มีปริมาณที่น้อย

รถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่น มีข้อมูลประเทศต้นทาง ภาษีนำเข้า รวมถึงราคา ที่แตกต่างกัน ทำให้มี ตัวหัวจ่าย ส่วนใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้าหัวจ่ายเป็นประเภท AC Type 2, DC CHAdeMO และมี DC CSS 2

ยอดคนที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าและจดทะเบียน ยอดรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนใหม่ 

เนื่องจากว่าปี 2018-2019 กรมขนส่งอาจจะยังไม่ได้มีการแยกประเภทอย่างชัดเจน แต่ในปี 2020 กรมขนส่งมีการแยกประเภททำให้เห็นข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น และพบว่ายอดจดทะเบียนใหม่มีการก้าวกระโดด มีการจดทะเบียนใหม่รถยนต์ไฟฟ้าที่สูงมาก แต่ยังถือว่าน้อย 

อัตราการเติบโตของการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีการเติบโตโดยตามเทคโนโลยี ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตที่ช้ากว่าต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 5 ปี

“ถ้าเราปล่อยให้ตลาดเติบโตไปโดยที่ไม่มีการกระตุ้น หรือไม่มีนโยบายต่าง ๆ ตลาดจะเติบโตตามธรรมชาติ ถ้าอยากเห็นการเติบโตที่หักศอกต้องมีมาตรการสนับสนุนที่ทำให้ประชาชนทั่วไปเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เป็นโจทย์ที่ทางรัฐ ต้องหาวิธีการดำเนินการ”

ที่ผ่านมารัฐบาลมีมาตรการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งในฝั่งของผู้ผลิต และผู้ใช้ เพื่อให้เกิดการใช้งานที่พิ่มากขึ้น ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า สถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือสถานนีชาร์จไฟ (Charing Station) เป็นอีกสิ่งที่มีความสำคัญ

ปัจจุบันมี สถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือสถานนีชาร์จไฟ (Charing Station) รวม 855 สถานี มีหัวจ่ายที่เป็น DCCS หรือหัวใจไฟฟ้าชนิดรวดเร็วถึง 800 กว่าหัวจ่ายจากจำนวนรวม 2,000 กว่า

เป้าหมายปี 2025 จะต้องมีจำนวนรถอีวีสะสมประมาณ 400,000 กว่าคัน และมีสถานีชาร์จรวมประมาณ 2,200-4,000 สถานีชาร์จ 

สมาคมฯ มีการรวบรวมสถานีของ Operator ทั้งหมดนำมาจัดสร้างเป็น EV Station Mapping บนแผนที่ภูมิศาสตร์ ประชาชนสามารถวางแผนการเดินทางได้ สามารถเลือกดูได้สถานีชาร์จของผู้ให้รบริการรายไหน ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง และแต่ละที่มีหัวชาร์จประเภทใด จำนวนกี่หัวชาร์จ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานได้ 

แลกเปลี่ยนข้อมูลของสถานีทั้งหมดสู่สาธารณะ หมายความว่าทุก operator ที่อยู่ในโครงการ เป็น Operator ที่มีสถานีสาธารณะ สามารถให้ทุกคนใช้งานได้ ซึ่งู้ใช้สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://www.evat.or.th/17351554/charging-consortium

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ