TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistSCBX หัก Bitkub ใครได้ ใครเสีย ใครเจ็บ

SCBX หัก Bitkub ใครได้ ใครเสีย ใครเจ็บ

ก่อนหน้านี้สถานการณ์ระหว่าง SCBX กับฺB itkub เริ่มมีเค้าลางว่าจะไปกันไม่รอด ซึ่งเริ่มชัดขึ้นโดยเมื่อวันที่ 7 ก.ค.นี้มีการส่งสัญญาณจากทาง SCBX ว่าจะขอดีเลย์การลงทุนนี้ไปก่อน เท่ากับเป็นการเตือนว่าแผนที่ SCBX ที่จะเข้าไปถือหุ้นใน BitKub คงไม่ไปต่อค่อนข้างแน่ 

ในที่สุดวันนั้นก็มาถึงเมื่อ SCBX แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัท เอสซีบี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ได้ขอยกเลิกธุรกรรมการซื้อขายหุ้น ระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ (SCBS) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย กับบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด มีผลตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2565

ทั้งนี้ SCBX แจงเหตุผลว่า “Bitkub  Online” ยังมีประเด็นคงค้างที่ต้องดำเนินการหาข้อสรุปตามคำแนะนำและคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องระยะเวลาหาข้อสรุป ผู้ซื้อผู้ขายจึงตกลงร่วมกันยกเลิกข้อตกลงซื้อขายหุ้น

เรื่องนี้กลายเป็น “ทอล์ค ออฟ เดอะทาวน์” อาจเป็นเพราะว่าดีลนี้มีมูลค่าสูงถึง 17,850 ล้านบาท โดยไทยพาณิชย์ถือเป็นธนาคารชั้นนำของไทย ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นสตาร์ตอัพดาวรุ่งพุ่งแรงเป็นยักษ์ใหญ่” “แพลตฟอร์มการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี” ที่มีสัดส่วนตลาด 90% งานนี้จึงเป็นการจับคู่ระหว่างเก่งใหญ่กับเก่งเล็ก

กล่าวสำหรับ Bitkub ต้องบอกว่าเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงจริง ๆ เพราะใช้เวลาแค่ไม่กี่ปีก็สร้างบริษัทให้มีชื่อเสียงและทำกำไรได้มาหาศาล โดยบริษัทตั้งในปี 2018 ตอนนั้นคนไทยยังไม่ค่อยรู้จักคริปโทเคอร์เรนซีเท่าใดนัก กระทั่งในปี 2021 ราคาเหรียญบิตคอยน์ในตลาดโลกพุ่งสูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อ 1 เหรียญบิตคอยน์ ทำให้คนไทยเริ่มหันมาสนใจที่จะซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีกันมากขึ้น ส่งผลให้ในปีนั้น Bitkub โตกระฉูด 1,000% มีรายได้ถึง 4,000 ล้านบาท

จะว่าไปแล้ว ตอนแรก ๆ บรรดาสถาบันการเงินต่างๆไม่ได้สนใจจะเข้ามาในธุรกิจนี้เท่าใดนัก แต่เมื่อเห็นการเติบโตของ Bitkub ก็พากันเริ่มหันมามองและสนใจอยากจะเข้ามาบ้าง จึงเป็นที่มาของคณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ มีมติเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 64 อนุมัติการเข้าทำสัญญาซื้อหุ้นบริษัท Bitkub Online ผู้ให้บริการศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ในสัดส่วน 51% ของทุนจดทะเบียน วงเงิน 17,850 ล้านบาท

ความฝันที่ Bitkub จะเป็น “สตาร์ทอัตระดับยูนิคอร์น” เริ่มเป็นความจริง นอกจาก Bitkub จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มในการเทรดคริปโทเคอร์เรนซีแล้ว บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัดยังได้ออกเหรียญของตัวเองชื่อ KUB Coin อีกด้วย

ทันทีที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาร่วมกันส่งผลให้ราคาหุ้นของไทยพาณิชย์ และราคาของเหรียญของ Bitkub ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคา KUB Coin ก็พุ่งจาก 30 บาทต่อเหรียญ และมาอยู่จุดสูงที่สุด 580 บาทต่อเหรียญ ก่อนที่จะมีสัญญาณร้ายตามมาเป็นระลอกตั้งแต่ สงครามรัสเซียกับยูเครน เศรษฐกิจโลกโดนหางเลขทั้งที่เพิ่งจะโงหัวฟื้นตัวหลังจากโควิดเริ่มคลี่คลาย ธนาคารกลางสหรัฐประกาศขึ้นดอกเบี้ยแก้ปัญหาเงินเฟ้อ และการล่มสลายของเหรียญลูนา ก่อนหน้านี้

ทั้งหลายนี้ล้วนเป็นปัจจัยลบส่งผลให้ราคาบิตคอยน์ดิ่งลงเหว รวมถึง KUB Coin ด้วย อีกทั้งปัจจัยลบในประเทศก็เริ่มถามโถมเข้าใส่ เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ PROEN ขอยกเลิกการลงทุนในเหรียญ KUB จำนวน 250,000 เหรียญ วงเงินลงทุน 72 ล้าน เพราะกังวลในความผันผวนของราคาเหรียญ

ขณะที่ “Bitkub” ก็สะดุดขาตัวเอง โดนก.ล.ต. ลงโทษทางแพ่ง กรณีเจ้าหน้าที่บริษัทสร้างปริมาณเทียมสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท Bitkub Online

จากปัจจัยลบรุมเร้า ทำให้ภาวะตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่ SCBX ประกาศซื้อเมื่อปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันตลาดก็ปรับตัวแย่ลงเรื่อย ๆ จนนำไปสู่การตัดสินยกเลิกธุรกรรมดังกล่าว

แต่ที่น่าสังเกต คือ หลังจากที่ SCBX ถอนตัวจากการซื้อ Bitkub ในวันเดียวกันนั้นเอง เว็บไซต์ของ ก.ล.ต. ประกาศ ว่า SCBX เริ่มประกอบธุรกิจ เปิดกระดานซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของตัวเองอย่างเป็นทางการ นั่นเท่ากับว่า SCBX เปลี่ยนสถานะหุ้นส่วนของ Bitkub มาเป็นคู่แข่งอย่างมิอาจปฏิเสธได้

ประเด็นนี้ทำให้ในโลกออนไลน์ตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงเวลาที่ดีลกันเป็นระยะเวลา 10 เดือน ช่วงนั้น SCBX ที่ทำการตรวจสอบธุรกิจ ได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงนวัตกรรมจาก Bitkub แล้วและประเมินว่า SCBX น่าจะเก็บเงินไว้เอามาลงทุนลุยธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเอง ผ่านทางบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) เพราะเชื่อว่าน่าจะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการเข้าไปถือหุ้น Bitkub ขณะที่ความน่าเชื่อถือก็มี เพราะ SCB ที่เป็นทั้งธนาคาร และ SCBX ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์

ขณะที่เส้นทางการ Bitkub แม้ไม่มีทางลัดการเป็นยูนิคอร์นด้วยการขายหุ้นแล้ว พวกเขาจะยังเติบโตต่อไปได้เพียงแต่รอจังหวะเวลา เมื่อคริปโทเคอร์เรนซีผ่านพ้นช่วงขาลง อีกอย่างธุรกิจ Bitkub เป็นคนกลางที่มีรายได้จาก “ค่าต๋ง” ไม่ต้องลงทุน ที่ผ่านมามีเงินตุนไว้ในกระเป๋าไว้หลายพันล้านบาท รวมมูลค่าเหรียญที่ขายออกไปอีกจำนวนมหาศาล ยังถือว่ามีสายป่านยาวต่ออายุธุรกิจได้อีกหลายปี 

คนที่เสียหายจริง ๆ หนีไม่พ้นบรรดา “แมงเม่า” ทั้งหลายที่โดดเข้ามาเล่นและยังขายออกไม่ทัน ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย มีนักเก็งกำไรคนรุ่นใหม่แห่เข้าไปเล่นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ขาดทุนอย่างหนัก คนกลุ่มนี้คือคนที่เจ็บหนักที่สุด คงจะต้องกัดฟันอดทนรอจนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย

จะโทษใครไม่ได้เพราะการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ