TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessK Climate Transition กองทุนลดโลกร้อน “ลงทุนอย่างยั่งยืน สร้างโลกยั่งยืน”

K Climate Transition กองทุนลดโลกร้อน “ลงทุนอย่างยั่งยืน สร้างโลกยั่งยืน”

เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง (KBank Private Banking) เปิดตัวกองทุน K Climate Transition กองทุนที่คำนึงถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกองทุนแรกและหนึ่งเดียวของไทย ที่มุ่งเน้นลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวจากธุรกิจหลากหลายทั่วโลก

-ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจฟื้นตัวลักษณะ U-Shaped ขณะที่ปรับจีดีพีปีนี้หดตัว 10%
-กสิกรไทย เปิดตัว MAKE by KBank โมบายแบงกิ้งของคนรุ่นใหม่

โลกมีโดยเป้าหมายร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 50% ภายในปี 2030 นั่นหมายถึง โอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 5.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี หรือ 173 ล้านล้านบาทต่อปี ไปจนถึงปี 2030 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า 

เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่การปฏิวัติเพื่อความยั่งยืน (The Sustainability Revolution) และเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบที่สามารถสร้างความเติบโตโดยไม่ทิ้งร่องรอยความเสียหายให้กับโลก เพื่อมุ่งสู่ CLIC Economy (Circular, Lean, Inclusive และ Clean) ซึ่ง Circular คือ การใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน Lean คือ การลดความสูญเปล่าหรือใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า Inclusive คือ ความเท่าเทียมกันทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และ Clean คือ เศรษฐกิจบนสิ่งแวดล้อมสะอาด

ลงทุนอย่างยั่งยืน สร้างโลกยั่งยืน

การปฏิวัติครั้งนี้จะแบ่งแยกระหว่างธุรกิจที่เป็นผู้ชนะหรือกลุ่มที่ตระหนักและปรับตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจใหม่ได้ และผู้แพ้หรือกลุ่มที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะถูกจำกัดการดำเนินธุรกิจ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ได้รับการยอมรับในกลุ่มผู้บริโภค และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในที่สุด 

ทุกคนสามารถสร้างโลกที่ยั่งยืน ผ่านการลงทุนอย่างยั่งยืน

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า แนวโน้มด้านความยั่งยืนถือเป็นโอกาสสำคัญอย่างยิ่งของนักลงทุนในการสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสร้างโลกที่ยั่งยืนผ่านการลงทุนที่ยั่งยืนได้

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย

ทั้งนี้ มิติด้านความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนภูมิทัศน์ของการลงทุน คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Transition) เนื่องจากมีผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและเพิ่มความเสี่ยงแก่ธุรกิจที่ยังคงอิงกับอุตสาหกรรมหนักแบบเก่าอย่างมหาศาล ขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสเติบโตให้ธุรกิจในรูปแบบใหม่อย่างไร้ขีดจำกัดเช่นกัน

กองทุน K Climate Transition กองทุนที่คำนึงถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกองทุนแรกและหนึ่งเดียวของไทย

“โลกกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ และภาคการลงทุนจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) พร้อมขับเคลื่อนภาคการลงทุนไทยสู่ความยั่งยืนทั้งในมิติของกระบวนการและเป้าหมาย”

ผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองและการทำลายสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน (Climate Change) ที่ผ่านมา กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สูงสุด 4 อันดับแรก ได้แก่ ระบบการผลิตไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม การเดินทางและคมนาคมขนส่ง และกระบวนการผลิตอาหาร

หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกปล่อยออกมาในอัตราเดิมไปจนปี 2100 อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น 3-6 องศาเซลเซียส ซึ่งตามข้อตกลงปารีส จะต้องสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยและการมีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนกระจก (Net-zero) เพื่อหยุดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2050 หากทำสำเร็จ ความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะลดลง 10 เท่า

จิรวัฒน์ กล่าวว่า รูปแบบการดำเนินเศรษฐกิจที่สร้างความเติบโต โดยเน้นการผลิตและการบริโภคที่ใช้ทรัพยากรมหาศาล ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาวะแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกปล่อยออกมาในอัตราเดิมไปจนถึงสิ้นศตวรรษนี้จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันถึง 550 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่าขนาดเศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี 2019  ถึง 7 เท่า

ทั้งนี้ การบรรลุเป้าหมายในการลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกต้องอาศัยทั้งการสร้างสรรค์เทคโนโลยีสะอาด ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมหนักที่ยังมีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนมากขึ้น

โดยมีแรงขับเคลื่อนหลัก 4 ประการ คือ

  • นโยบายจากภาครัฐ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในทางสะอาดและควบคุมธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon credit) ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น
  • ผู้บริโภค ที่มีความตระหนักรู้ต่อสถานการณ์และหลีกเลี่ยงการใช้สินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและมีราคาถูกลง เอื้อให้ธุรกิจสามารถสร้างกำไรไปพร้อม ๆ กับความยั่งยืนได้
  • เงินของนักลงทุน ที่จะสนับสนุนบริษัทที่มุ่งสู่ความยั่งยืน

ลอมบาร์ด โอเดียร์ (Lombard Odier) ผู้ให้บริการไพรเวทแบงก์ระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 220 ปี  พันธมิตรของ KBank Private Banking ได้แบ่งธุรกิจที่มีศักยภาพไว้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

ธุรกิจผู้ชนะในโลกที่มีการจำกัดปริมาณคาร์บอน (Carbon-constrained world) ได้แก่ ธุรกิจที่ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Solution provider) โดยตรง เช่น พัฒนาซอฟต์แวร์ให้การใช้ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

ธุรกิจผู้ชนะในโลกที่ได้รับความเสียหายจากคาร์บอน (Carbon-damaged world) ได้แก่ กลุ่มธุรกิจที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากภาวะโลกร้อน เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงแข็งแรงขึ้น และธุรกิจที่วิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงด้านการเงินจากปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น 

เปิดกองทุน K Climate Transition

KBank Private Banking มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ผ่านการบริการบริหารความมั่งคั่งครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการนำตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลกมาประยุกต์และถ่ายทอดแก่ลูกค้า และเปิดโอกาสในการลงทุนเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ยั่งยืนในระดับสากล

ซึ่งล่าสุดได้เปิดกองทุน K Climate Transition มีการลงทุนในหุ้นประมาณ 40 – 50 ตัว บริหารจัดการกองทุนโดย Lombard Odier เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ LO Funds – Climate Transition , (USD), I Class A (กองทุนหลัก) โดยเป็นกองทุนที่คำนึงถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกองทุนแรกและหนึ่งเดียวของไทย มุ่งเน้นลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาใกล้ตัวและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวจากธุรกิจหลากหลายทั่วโลก

โดยกองทุน Climate transition ของ Lombard Odier ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ 16 มีนาคม 2020 มีมูลค่ากองทุนรวม 440 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีผลตอบแทนนับจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) เป็นบวกที่ 40% ผู้จัดการกองทุนหลักมีประสบการณ์ทำงานในการบริหารทุนในธีมนี้มา 18 ปี และสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนส่วน (Alpha) เฉลี่ยเหนือตลาด 2.5 – 3% ต่อปี

สำหรับ AUM ในครึ่งปีแรกของ KBank Private Banking ยังคงที่ มีมูลค่ารวมประมาณ 750,000 ล้านบาท โดยสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย YTD เป็นบวกเล็กน้อย ในขณะที่ลูกค้าที่รับความเสี่ยงได้สูง มีผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 4%

ที่ผ่านมา บริษัทนำเสนอกองทุนภายใต้ธีมความยั่งยืนแก่ลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง เช่น K-HIT และ K-CHANGE

กองทุน K-CHANGE เน้นลงทุนในธีมธุรกิจที่สร้างผลกระทบเชิงบวกในหลายมิติ เช่น สุขภาพ และความเท่าเทียม มีผลตอบแทน YTD +49% มูลค่ากองทุนรวมประมาณ 2,700 – 2,900 ล้านบาท

กองทุน K-HIT เน้นลงทุนในเมกะเทรนด์ของโลก เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ยานยนต์แห่งอนาคต และเทคโนลยีสุขภาพ มีผลตอบแทน YTD +15% มูลค่ากองทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท
กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ เน้นลงทุนในเอเชีย เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีมูลค่ากองทุนรวม 3,600 ล้านบาท

“เราเชื่อว่าธุรกิจที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีและยั่งยืนกว่าธุรกิจที่เมินเฉยสิ่งเหล่านี้ โดย K Climate Transition จะเปิดขาย IPO ครั้งแรกในช่วงวันที่ 1 ถึง 15 กันยายน นี้”

นอกจากนี้ KBank Private Banking ยังได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ ‘Sustainability Revolution: A Call for Action’ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง มร. อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 45 และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2007 มาร่วมในการสร้างความตระหนักรู้และขับเคลื่อนโลกเพื่อความยั่งยืน

Green DNA

ทั้งนี้ ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า นอกจากโควิด-19 ปัญหาใหญ่ระดับโลกที่มีผลกระทบใกล้ตัวเรา คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเฉียบพลัน (Climate Change) ปี 2015-2016 ภัยแล้งทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 2 ล้านไร่ และในปี 2019-2020 ความเสียหายเบื้องต้นเกิดขึ้นกว่า 1 ล้านไร่แล้ว และระดับน้ำทะเลของไทยในช่วงปี 1993-2008 ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ประชากรของไทยกว่า 6-7 ล้านคนอาศัยในพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ในช่วง 11 ปี จาก ปี 2005 – 2016 มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก รวมกกว่า 925 ตารางกิโลกเมตร

ขัตติยาอินทรวิชัยประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย

อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยเพิ่มขึ้นตลอด ในปี 2019 อุณหภูมิเฉลี่ยในประเทศไทยสูงที่สุดในรอบ 69 ปี ปลาและพืชมากกว่า 200 สายพันธุ์มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ประเทศไทยในฐานะประเทศเกษตรกรรมจะได้รับผลกระทบจาก Climate Change โดยตรง

ซึ่ง Climate Change เป็นปัญหาใกล้ตัว และต้นเหตุ คือ การปล่อยก๊าเรือนกระจก ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่การผลิต การเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ หรือแม้แต่การบริโภค แค่ใช้ชีวิตตามปกติก็มีส่วนที่สร้างก๊าซเรือนกระจกขึ้นมาแล้ว ในปี 2010 ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับที่ 22 ของโลก สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ปี 2016 ประเทศไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวมากกว่าเวียดนามเกือบเท่าตัว สัดส่วนพื้นที่ป่าทั้งหมดของไทยอยู่ที่ 32% ในขณะที่เวียดนามและมาเลเซียอยู่สูงกว่าไทย อยู่ที่ 48% และ 68% ตามลำดับ

“ในฐานะพลเมืองของโลก ในฐานะประชาชนคนหนึ่งของไทย ในฐานะนักธุรกิจ และนักลงทุน เราสามารถจะทำอะไรเพื่อมีส่วนช่วยเหลือโลกได้บ้าง สำหรับธนาคารกสิกรไทย เรามองตัวเองว่าเป็นฟันเฟืองของระบบเศรษฐกิจ หน้าที่ไม่ใช่แค่ทำธุรกิจ แต่ต้องช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งคำว่า ยั่งยืน มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ด้านธุรกิจ นอกจากทำหน้าที่สร้างกำไรให้ผู้ถือหุ้นแล้ว ยังต้องดูแลสังคม พนักงาน และสิ่งแวดล้อมด้วย รวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ประชาชน ประเทศชาติ และคนรุ่นหลังให้สามารถมีคุณภาพชีวิตไม่ด้อยไปกว่าปัจจุบัน

ช่วงโควิด-19 ธนาคารยอมลดกำไรลงเพื่อช่วยเหลือพนักงานและลูกค้า เพื่อลดปัญหาสังคมและช่วยประเทศให้รอด เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ผลกำไรก็จะกลับมา เพราะลูกค้าและพนักงานยังอยู่ ซึ่งการรักษาสมดุลนี้ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาความยั่งยืน เพราะเชื่อว่า ความยั่งยืน ไม่ใช่หน้าที่ที่ต้องทำ แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ

“เราสร้างจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร และเรียกว่า Green DNA งานนี้แสดงให้เห็นว่าเราให้ความสำคัญกับ Climate Change และการสร้างโลกที่ยั่งยืน”

มร. อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 45 และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2007 กล่าวในงานสัมมนาในหัวข้อ ‘Sustainability Revolution: A Call for Action’ จัดโดย KBank Private Banking ว่า ชั้นบรรยากาศของโลกเหลือบางมาก และมนุษย์กำลังใช้พื้นที่บาง ๆ นี้เป็นที่ทิ้งขยะขนาดใหญ่ถึง 150 ล้านตัน

มร. อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 45 และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2007

สิ่งที่ต้องการ คือ ผู้นำที่มีความตั้งใจที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ที่ผู้ลงทุนและผู้นำทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทสำคัญมาก เพราะข้อตกลงปารีสที่มีการลงนามตั้งแต่ปี 2015 ถือเป็นความก้าวหน้าที่ชัดเจน

นักลงทุนมีความสำคัญอย่างมาก และกำลังคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องย้ายการลงทุนจากบริษัทที่ส่งผลต่อการเกิด climate change สู่โอกาสอื่นที่จะหาเงินและเร่งการเปลี่ยนตรงนี้

ปี 2019 ประมาณ 80% ของการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกมาจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ มีราคาถูกลงเรื่อย ๆ ซึ่งเมื่อก่อนแพงกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมัน และถ่านหิน

คนเริ่มสนใจรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เชื่อว่าในอีก 2 ปีข้างหน้ารถพลังงานไฟฟ้าจะมาแทนรถที่ใช้น้ำมัน มีอีกหลายอย่างที่เป็นความก้าวหน้าการปฏิวัติเชิงความยั่งยืน โลกนี้อยู่ในช่วงต้น ๆ ที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติและความยั่งยืน ซึ่งจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเทียบเท่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI หรือ machine learning และเทคโนโลยีอื่น ๆ ทำให้นักธุรกิจสามารถจัดการอะตอม อิเล็กตรอน และโมเลกุลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน มีโอกาสใช้การปฏิวัติให้เกิดการยั่งยืน ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ผลิตออกมา ลดให้โลกถูกทำลาย ให้โลกกลับมาสู่จุดสมดุลระหว่างความศิวิไลซ์ และระบบนิเวศวิทยาของโลก

“ผมเชื่อย่างแท้จริงว่าเรามีความสามารถในการที่จะเปลี่ยนผ่านไปได้อย่างสำเร็จแน่นอน เราต้องมุ่งไปสู่เศรษฐกิจที่หมนุเวียนได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการลดของเสีย และนำของต่าง ๆ กลับมาใช้ และต้องหาวิธีที่จะปฏิวัติให้เกิดการผลิตซ้ำได้ ลดการผลิต ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เปลี่ยนวิธีทำเกษตรกรรม ซึ่งทำให้พื้นดินมีความสมบูรณ์มากขึ้น”

นักลงทุนและผู้นำทางเศรษฐกิจมีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืน รัฐบาลต้องเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งภาคธุรกิจและภาคธนาคารต้องลงทุนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสำคัญและเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ

มร.ฮูเบิร์ต เคลเลอร์ หุ้นส่วนผู้จัดการ ลอมบาร์ด โอเดียร์ กรุ๊ป และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุน ลอมบาร์ด โอเดียร์ กล่าวว่า ลอมบาร์ด โอเดียร์ กรุ๊ป เป็นองค์กรลงทุน บริษัทที่ทำการลงทุน มีงบประมาณ 300,000 ล้านเหรียญฯ สำหรับลูกค้าทั้งเอกชนและสถาบันลงทุน ทำงานในฐานะธนาคาร เป็นบริษัทเอกชนมามากกว่า 2 ศตวรรษ ความยั่งยืนถือเป็นส่วนสำคัญมากในการลงทุนขององค์กร

มร.ฮูเบิร์ต เคลเลอร์ หุ้นส่วนผู้จัดการ ลอมบาร์ด โอเดียร์ กรุ๊ป และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุน ลอมบาร์ด โอเดียร์

“เราเชื่อเสมอว่าบริษัทที่มีรูปแบบการลงทุนแบบยั่งยืน และการจัดการธุรกิจแบบยั่งยืนเท่านั้นจึงจะสามารถมีกำไรได้อย่างยาวนาน รูปแบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงทีเพื่อที่จะสามารถเติบโตและมั่งคั่งได้แต่ต้องไม่ส่งผลอะไรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับธนาคารกสิกรไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีความคิดเหมือนกันเรื่องความยั่งยืนและโอกาสในการลงทุนจากประเด็นความยั่งยืน”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ETDA ประกาศบทบาท “ผู้กำกับดูแลธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์”
-ซีพีแรม ร่วมกับ มีเดียอาตส์ มจธ. เดินหน้าชวน นร.- นศ. สร้างพลัง “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste”
-ฟูจิตสึ ประกาศวิสัยทัศน์ พร้อมเป็นบริษัทที่มุ่งเน้น Digital Transformation
-เอ็นทีที ประเทศไทย บุกตลาดคลาวด์ พร้อมให้บริการดิจิทัลโซลูชั่นครบวงจร

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ