TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessชวนทุกคนมองแคมเปญ 10 ปี Sea (ประเทศไทย) กับการเล่า “สตอรี่ความสุข” ของคนไทยแบบเรียล ๆ

ชวนทุกคนมองแคมเปญ 10 ปี Sea (ประเทศไทย) กับการเล่า “สตอรี่ความสุข” ของคนไทยแบบเรียล ๆ

หากเอ่ยถึง Garena คอเกมรู้จักดี หากเอ่ยถึง Shopee คนไทยไม่มีใครไม่รู้จักอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มนี้ ส่วนบริการการเงินดิจิทัลของ SeaMoney ก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น แม้ทั้งสามแบรนด์ผลิตภัณฑ์จะเดินเข้าสู่สังคมไทยต่างกันหลายปี แต่ต่างได้รับการต้อนรับจากผู้บริโภคชาวไทยเป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่า ทั้งสามแบรนด์อยู่ภายใต้เครือ Sea

ก่อนหน้านี้ เราอาจไม่ค่อยได้เห็น Sea ออกมาสื่อสาร หรือพูดคุยกับผู้บริโภคโดยตรงเท่าไรนัก ด้วยความเป็น Corporate Brand ที่ถูกวางให้เป็นร่มใหญ่ที่ครอบทั้งสามธุรกิจ แต่เมื่อกลางปี 2565 ที่ผ่านมา เราได้เห็นแคมเปญสื่อสารจาก Sea (ประเทศไทย) ในโอกาสครบรอบปีที่ 10 ของการดำเนินงานในประเทศไทย จึงเป็นความน่าสนใจที่อยากหยิบมาพูดคุยในวันนี้

ก่อนจะพูดถึงแคมเปญครบรอบ 10 ปี มาทำความรู้จักกับ Sea กันอีกครั้งหนึ่ง ย้อนไปเมื่อปี 10 ปีที่แล้ว Sea Limited ขยายธุรกิจมายังประเทศไทย ด้วยพันธกิจของบริษัทในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและพัฒนาการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยด้วยเทคโนโลยีเริ่มจากธุรกิจดิจิทัลเอนเตอร์เทนเมนท์ในปี 2555 ต่อมาในปี 2557 จึงเริ่มให้บริการธุรกิจการเงินดิจิทัลและเริ่มดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปี 2558

3 ธุรกิจหลักของ Sea (ประเทศไทย):

  • ธุรกิจดิจิทัลเอนเตอร์เทนเมนท์ (Digital Entertainment) ผ่านการีนา (Garena) ผู้พัฒนาและให้บริการเกมออนไลน์ชั้นนำระดับโลก 
  • ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ผ่านช้อปปี้ (Shopee) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน 
  • ธุรกิจการเงินดิจิทัล (Digital Finance) ผ่านซีมันนี่ (SeaMoney) ผู้ให้บริการดิจิทัลเพย์เมนต์และการเงินดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ปัจจุบันทั้ง 3 ธุรกิจให้บริการและได้แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทยหลายล้านคน   

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี Sea (ประเทศไทย) จึงส่งแคมเปญและกิจกรรมหลากหลาย ชวนคนไทยมาร่วมสนุกและมองย้อนถึงประสบการณ์ตลอด 10 ปี ที่บริการต่าง ๆ ของ Sea ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนไทยและช่วยเสริมไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของผู้ใช้งาน ภายใต้แนวคิด “10 ปี Sea (ประเทศไทย) เทคโนโลยีเพื่อชีวิตดิจิทัล” 

ภายใต้สื่อโฆษณาที่เผยแพร่ออกไปในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสื่อ Out of Home และสื่อวิดีโอบนโลกออนไลน์ ล้วนต้องการสื่อให้เห็นว่า Sea (ประเทศไทย) คือ “เพื่อน” ผู้เปิดโอกาสให้คนไทยในฐานะผู้ใช้บริการใด ๆ ของ Sea ประเทศไทย มีชีวิตที่ดีขึ้น ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และมีความสุขจากประสบการณ์การใช้งานหรือสิ่งเล็ก ๆ ที่อยู่ในบริการของ Sea (ประเทศไทย) ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม การซื้อขายออนไลน์ หรือการจ่ายเงินด้วย Mobile Wallet

อาทิ คลิปวิดีโอบอกเล่าโมเมนต์ดี ๆ ที่เกิดขึ้นจริงของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มทั้งสามของ Sea แทนที่จะมุ่งนำเสนอความสำเร็จทางธุรกิจ เพราะ Sea (ประเทศไทย) ไม่เพียงต้องการฉลองการครบรอบ 10 ปี แต่ยังต้องการฉลองให้กับการเดินทางร่วมกันของ Sea และผู้ใช้งานแพลตฟอร์มทุกคน

การีนา: บอกเล่าเรื่องราวมิตรภาพระหว่างเกมเมอร์รุ่นพี่-รุ่นน้อง สะท้อนภาพการเชื่อมโยงที่การีนาได้พาผู้คนหลากหลายมารวมตัวกันในคอมมูนิตี้เกมและทุกคนสามารถสนุกได้ด้วยกันในเกม

ช้อปปี้: เล่าผ่านเรื่องราวใกล้ตัวของแม่ค้าบนช้อปปี้ ทำให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขายบนแพลตฟอร์ม ที่ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการซื้อขายที่สะดวกสบาย แต่ยังช่วยส่งต่อความรู้สึกดี ๆ ให้แก่กันระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย

ซีมันนี่: พูดถึงเรื่องราวน่ารัก ๆ ของน้องพนักงานร้านกาแฟและพี่ลูกค้า ที่ไม่รู้จักกันมาก่อน แต่ได้พูดคุยและมอบรอยยิ้มให้กัน ระหว่างน้องพนักงานช่วยเหลือพี่ลูกค้าที่สัมผัสประสบการณ์การชำระเงินดิจิทัลเป็นครั้งแรก

จะเห็นว่าการเล่าเรื่องนั้นไม่ได้โฟกัสที่การเฉลิมฉลองการครบรอบ 10 ปีของ Sea (ประเทศไทย) เท่านั้นแต่ยังเป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ดีและความรู้สึกดีที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานคนไทยอีกด้วยซึ่งถือเป็นการหยิบเรื่องราว”​ ของแบรนด์มาสื่อสารในมุมมองของผู้บริโภคได้อย่างน่ารักและลงตัว ทั้งยังทำให้แต่ละคนหันกลับมาย้อนมองเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองจากการใช้บริการต่าง ๆ ของ Sea (ประเทศไทย) และความสัมพันธ์ดี ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ด้วย   

นอกจากการสร้างการตระหนักรู้แล้ว Sea (ประเทศไทย) ยังออกโซเชียลมีเดียแคมเปญที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคมามีส่วนร่วมกับแบรนด์ในโอกาสการครบรอบ 10 ปี อีกด้วย โดยทำ Instagram Filter และ Facebook Filter ออกมาชวนทุกคนแปลงโมเมนต์ให้เป็นมีม (Meme) เมื่อเปิด Filter ก็จะได้รับโจทย์สนุก ๆ ให้แสดงสีหน้าตามโมเมนต์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเวลาใช้งานแอปฯ ของ Sea (ประเทศไทย) ไม่ว่าจะเป็นการีนา ช้อปปี้ หรือช้อปปี้เพย์จากซีมันนี่ 

เจ้า Filter ตัวนี้นับเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ที่ได้ผลตอบรับค่อนข้างดีเนื่องจากมีความเรียลและความสนุก เนื่องจากโจทย์ใน Filter นั้น ชวนให้เราแชร์โมเมนต์แห่งความสุขแบบเรียล ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกมาผ่านรอยยิ้มเท่านั้น แต่แสดงออกมาได้ผ่านสีหน้าหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหน้ายู่ยี่เวลาลุ้นว่าจะเล่นเกมชนะหรือไม่ หรือหน้าฟินเวลาได้ช้อปปี้เพย์ช่วยเปย์ส่วนลด หรือตาลุกวาวเวลาได้ของ Flash Sale บนช้อปปี้ เป็นต้น

ถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่ที่ Corporate Brand อย่าง Sea จะมาทำ Engagement Campaign แบบนี้ ซึ่งตัว Filter นี้ก็ได้รับการตอบรับที่ดีมากเกินคาด โดยในช่วงเวลาแค่เดือนกว่าหลังจากปล่อยฟิลเตอร์ออกมาปลายเดือนมิถุนายน 2565 ก็ได้รับความสนใจจากชาวโซเชียลไปกว่า 380,000 ครั้ง

นับว่าแคมเปญ 10 ปี Sea (ประเทศไทย) ได้ฉายภาพความสนุกของคนไทยที่ Sea (ประเทศไทย) ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตยุคดิจิทัล และได้เดินหน้าพัฒนาประสบการณ์ดี ๆ ให้กับคนไทยมาตลอดทศวรรษ พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่หยุดพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีเพื่ออยู่และเดินเคียงข้างไปกับคนไทยไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องต่อไป ในอนาคต Sea (ประเทศไทย) และบริษัทลูกทั้ง 3 บริษัท จะมีอะไรแปลกใหม่มาให้เรารับชมอีก คงต้องติดตามกันต่อไป

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ