TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Life โรเบิร์ต วอลเทอร์ส เผย 73% ของพนักงานพร้อมหางานใหม่ หากเงินเดือนที่ปรับขึ้นต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ

โรเบิร์ต วอลเทอร์ส เผย 73% ของพนักงานพร้อมหางานใหม่ หากเงินเดือนที่ปรับขึ้นต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ

โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ที่ปรึกษาด้านการจัดหางานระดับโลกได้เปิดเผยผลสำรวจอัตราเงินเดือนประจำปี 2566 ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งที่ 24 ซึ่งมีการวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้และมีข้อมูลเทียบเคียงเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเดือนในตลาดแรงงาน  ผลสำรวจดังกล่าวยังได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดการจ้างงานในประเทศไทยระหว่างปี 2565 และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2566

ประเด็นสำคัญจากรายงานนี้ชี้ให้เห็นว่าพนักงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดการจ้างงานพร้อมผลตอบแทนที่น่าจูงใจจากบริษัทต่าง ๆ ในขณะเดียวกันนายจ้างจะต้องปรับค่าตอบแทนและสวัสดิการให้แข่งขันได้เพื่อรักษาการจ้างงานในกลุ่มพนักงานที่มีจำนวนน้อยเหล่านี้ไว้ให้ได้

ในปี 2566  ผู้ย้ายงานใหม่ที่มาพร้อมทักษะที่พร้อมเริ่มงานจะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นประมาณ 15-30%   ในขณะเดียวกัน เด็กจบใหม่หรือผู้สมัครที่มีศักยภาพโดดเด่นอาจจะคาดหวังเงินเดือนปรับสูงขึ้นได้ถึง 15%  ในส่วนของพนักงานทั่วไปในบริษัท เงินเดือนจะปรับขึ้นเฉลี่ย 2-5% และ 10-15% สำหรับผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง

จำนวนบุคลากรที่มีทักษะตามที่ตลาดต้องการ ไม่เพียงพอกับความต้องการอันมหาศาลในปี 2566

“การแข่งขันเพื่อแย่งชิงพนักงานมีความดุเดือดมากขึ้นในปี 2566 เนื่องจากความไม่สมดุลของตำแหน่งงานที่ว่างกับจำนวนพนักงานที่มีอยู่ในท้องตลาด นอกจากนี้กลุ่มพนักงานชาวต่างชาติได้เดินทางกลับประเทศไปในช่วงการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการพนักงานสะสมมาตั้งแต่ปี 2564 และ 2565 ในขณะที่ตัวเลขของผู้หางานยังคงเท่าเดิม” ปุณยนุช ศิริสวัสดิ์วัฒนา ผู้จัดการโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประจำประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติม

ปุณยนุช กล่าวเสริมว่าหลายบริษัทได้ยื่นข้อเสนอสวนกลับเพื่อรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ซึ่งส่งผลให้ผู้สมัครมีความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากบริษัทที่ต้องการตัวก็เต็มใจที่จะจ่ายมากขึ้นเพื่อแย่งชิงตัวมาให้ได้  ปัจจุบัน พนักงานคิดไตร่ตรองมากขึ้นในการเปลี่ยนงาน และให้ความสำคัญกับเวลาที่ใช้กับครอบครัวและเพื่อนฝูงใกล้เคียงกับเวลางานซึ่งส่งผลต่อตลาดการจ้างงานโดยรวม

การจ้างงานยังคงดำเนินต่อไปแม้จะมีการแข่งขันแย่งชิงพนักงานที่ดุเดือด โดยกลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยี การขายและการตลาดจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ    นอกจากนี้ ยังมีการเติบโตในประเด็นเรื่องความยั่งยืนที่ในปี 2565 เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งได้จัดตั้งแผนกและริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ที่มุ่งเน้นไปทางแนวทางปฏิบัติ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตต่อไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

อัตราเงินเฟ้อ กดดันให้บริษัทต้องจัดแพ็คเกจเงินเดือน ให้สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างในตลาดในปี 2566

แรงกดดันจากเงินเฟ้อกำลังมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจขึ้นค่าจ้างของนายจ้างกว่า 72% โดยค่าครองชีพเป็นประเด็นสำคัญในปี 2566  ในทางกลับกัน พนักงานกว่า 82% คาดหวังว่านายจ้างจะพิจารณาถึงค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อประเมินการเพิ่มเงินเดือนหรือโบนัสในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งพนักงานเกือบ 73% จะหางานใหม่หากการขึ้นเงินเดือนไม่สูงกว่าระดับเงินเฟ้อ

ในประเด็นดังกล่าว  บริษัทกว่า 92% ที่ทำแบบสำรวจมีแนวโน้มที่จะปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในระดับผู้จัดการและระดับผู้บริหาร  ส่วนใหญ่คาดว่าการเพิ่มเงินเดือนจะอยู่ระหว่าง 1-5% ในขณะที่กว่า 27% ของพนักงานระดับผู้จัดการมีแนวโน้มที่จะได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนขึ้นในอัตราระหว่าง 6-10%

การรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัทเป็นสิ่งที่นายจ้างให้ความสำคัญในตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูง

บริษัทกว่า 84% กังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนทักษะและความสามารถเฉพาะในกลุ่มธุรกิจของตน มากกว่า 77% มองว่าการขาดแคลนนี้อยู่ในระดับตำแหน่งงานอาวุโส/หัวหน้าทีมและระดับผู้จัดการ  การสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า 9 ใน 10 ของบริษัทกำลังเน้นเพิ่มทักษะของพนักงานภายในที่มีอยู่โดยส่วนใหญ่จะเน้นการฝึกอบรมภายในบริษัท   มากกว่า 79% ของบริษัทมีกลยุทธ์ในการรักษาพนักงานไว้ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงการเรียนรู้และการพัฒนาที่ดีมากขึ้น และนโยบายการทำงานแบบไฮบริด ควบคู่กับการปรับสวัสดิการและการดูแลด้านความเป็นอยู่ที่ดี ตลอดจนการทบทวนอัตราค่าตอบแทนและการเลื่อนตำแหน่งนอกเหนือจากช่วงเวลาปกติ สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเกือบ 40% ของพนักงงานที่มีทักษะที่อยู่ในตำแหน่งปัจจุบันกำลังมองหาโอกาสใหม่ ๆ โดยกว่า 53% ให้เหตุผลเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน

ความคาดหวังในการขึ้นเงินเดือนที่สูงเกินไปถือเป็นอุปสรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในการหาพนักงานของบริษัทกว่า 62% นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคอื่น ๆ ได้แก่ การขาดประสบการณ์ในอุตสาหกรรมและคุณสมบัติเชิงทักษะและเทคนิค และการแข่งขันที่สูงในการแย่งชิงผู้สมัคร

ปุณยนุช เน้นย้ำว่าบริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการรักษาพนักงานไว้ “เนื่องจากความต้องการบุคลากรจะเกินอุปทานเสมอ สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่าการสรรหาบุคลากรใหม่นั้นมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการรักษาพนักงานที่มีอยู่ ดังนั้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป้าหมายพนักงานต้องไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายองค์กร และทำให้พวกเขารู้สึกมีคุณค่า ได้รับความท้าทายใหม่และมีแรงจูงใจที่จะอยู่ต่อ”

พนักงานให้ความสำคัญกับเป้าหมายงานที่ชัดเจน

การไตร่ตรองมากขึ้นในการย้ายงานหลังยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาพร้อมกับการให้ความสำคัญของคุณภาพชีวิตของครอบครัวและการเข้าสังคมพบปะเพื่อนฝูงเหนือการทำงาน พนักงานมองหาเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนขึ้นและได้ทำงานที่มีความพึงพอใจ รวมถึงความยืดหยุ่นในการทำงาน สามอันดับแรกที่พนักงานให้ความสำคัญต่อนายจ้างมากที่สุด ได้แก่ เพื่อนร่วมงานและวัฒนธรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้ทำงานได้ดีที่สุด (47%) การทำงานที่ยืดหยุ่น (40% ) นอกเหนือจากค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่แข่งขันได้ที่อยู่ในอันดับแรก (59%)

“เราได้เห็นแนวโน้มนี้เกิดขึ้นแล้วในปี 2565 โดยพนักงานบางส่วนได้ลาออกจากบริษัทที่มีรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดเพื่อไปเข้าบริษัทที่ให้ความยืดหยุ่นอย่างเต็มที่ในตารางการทำงาน ซึ่งสวนทางกับความคาดหวังและต้องการของบริษัทที่อยากให้พนักงานมาทำงานในออฟฟิศเป็นเวลาสองหรือสามวันต่อสัปดาห์ ปัจจุบันหาพนักงานที่เต็มใจทำงานประจำในออฟฟิศได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ” ปุณยนุช กล่าวเสริม

การบริหารที่เปิดกว้างและมีประสิทธิภาพ ความมั่นคงในงาน และบริษัทที่ให้ความสำคัญและปฏิบัติตามความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกก็เป็นสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญเช่นกัน

ทักษะการทำงานที่เป็นที่ต้องการสูงสุดและขาดแคลนในปี 2566

เมื่อมองไปในอนาคต บริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับทักษะทางเทคนิคด้านเทคโนโลยี เช่น ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ในขณะที่ประเทศกำลังก้าวไปสู่การเป็นประเทศดิจิทัลอย่างเต็มตัว ทั้งนี้ ความต้องการทักษะแบบไฮบริดและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียังเป็นที่ต้องการ ในขณะที่พนักงานยังคงมุ่งมั่นที่จะยกระดับความสามารถตนเอง เปิดรับการเรียนรู้ และติดตามเทรนด์และเทคโนโลยีอยู่สม่ำเสมอจะเป็นที่ต้องการเช่นกัน  พนักงานที่มีทักษะการเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและมีความสามารถในการโค้ชผู้จัดการและทีมจะเป็นที่ต้องการสูงเช่นเดียวกัน เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ต้องการทดแทนตำแหน่งอาวุโสที่ว่างลง หลังยุคการแพร่ระบาด พนักงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง มีความยืดหยุ่น และความฉลาดทางอารมณ์จะเป็นที่ต้องการสูง

“การแย่งชิงพนักงานจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในปี 2566 เนื่องจากคนรุ่นใหม่จำนวนมากต้องการทำธุรกิจของตนเอง และมักจะลาออกก่อนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับกลาง” ปุณยนุช กล่าว

สรุปผลสำรวจเงินเดือนปี 2566 ข้อมูลเชิงลึกสำหรับประเทศไทย:

  • พนักงานสามารถคาดหวังการขึ้นเงินเดือนสูงถึง 30% ในประเทศไทยในปี 2566 (2-5% สำหรับพนักงานปัจจุบัน สูงสุด 15% สำหรับการเลื่อนตำแหน่งงาน และสูงสุด 30% สำหรับผู้ย้ายงานด้วยชุดทักษะแบบพร้อมใช้งาน)
  • พนักงาน 50% คาดหวังว่าจะได้ขึ้นเงินเดือนระหว่าง 6-10%
  • มากกว่า 62% ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าการขึ้นเงินเดือนมีแนวโน้มสูง
  • เกือบ 57% มองว่าการเปลี่ยนงานไม่ถูกกระทบจากความกังวลของภาวะเศรษฐกิจถดถอยและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ถึงแม้ว่าความมั่นคงในหน้าที่การงานจะมีความสำคัญมากขึ้นก็ตาม
  • เกือบ 73% จะหางานใหม่หากการขึ้นเงินเดือนไม่สูงกว่าระดับเงินเฟ้อ
  • ผู้ที่มีคุณลักษณะไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค มีความฉลาดทางอารมณ์ และความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่ท้าทายจะเป็นที่ต้องการของนายจ้างหลังการแพร่ระบาด
  • สภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความยืดหยุ่น และความพอใจในงานที่ทำ เป็นสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญพนักงาน  การปฏิบัติตามความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก
  • ความสามารถในการยกระดับทักษะและความเข้าใจเทรนด์เทคโนโลยีเป็นเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัครที่สำคัญสำหรับบริษัทต่าง ๆ
  • ธุรกิจบางแห่ง โดยเฉพาะในภาคการธนาคารและการเงิน ประสบกับอัตราการลาออกที่สูงขึ้นหลังการเปิดประเทศในปี 2565 และความท้าทายที่สำคัญในการดึงดูดผู้มีความสามารถรุ่นใหม่ คือ การย้ายออกจากภาคการธนาคารไปสู่การทำงานในแวดวงสตาร์ตอัพและอีคอมเมิร์ซ

แบบสำรวจเงินเดือนประจำปีของโรเบิร์ต วอลเทอร์ส เป็นแนวทางสำหรับทั้งนายจ้างและพนักงานในตลาดแรงงานทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเชื่อถือได้และมีข้อมูลเทียบเคียงแนวโน้มเงินเดือนในตลาดแรงงาน  ผลสำรวจดังกล่าวยังได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญในการจ้างงาน และการคาดการณ์เงินเดือนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และแต่ละบทบาท นอกจากนี้ยังมีข้อมูลด้านทักษะที่คาดว่าจะเป็นที่ต้องการในปีหน้าอีกด้วย

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เผยแนวทางพัฒนา “การเข้าถึงบริการทางการเงิน” บน “Digitalization” และ “Literacy” 2 ฟันเฟืองสำคัญ

“พิชิตก๋วยเตี๋ยวชามใหญ่สุดในไทย โหดจริงยิ่งกว่าโอ่งมังกร!!!” ขึ้นแท่นวิดีโอที่ได้รับความนิยมสูงสุดบน YouTube

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

AGS ร่วมกับ DIPT ติดปีกสินค้าไทย ขายออนไลน์ข้ามพรมแดนกับ Amazon

อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ร่วมกับ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เสริมศักยภาพภาคธุรกิจให้ได้รับประโยชน์จากขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ

สปสช. จับมือกรุงเทพมหานคร ใช้เทคโนโลยีจัดสรรสถานพยาบาลให้ผู้มีสิทธิบัตร

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จัดสรรสถานพยาบาลประจำแก่ผู้มีสิทธิบัตรทองที่ยังไม่มีสถานพยาบาลประจำ 1.9 แสนคน

มาม่า โอเค เปิดตัว 2 รสชาติใหม่ ใช้ CHAT GPT ช่วยคิดไอเดียโฆษณา หวังเจาะกลุ่ม Gen Z

บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดตัวมาม่า โอเค 2 รสชาติใหม่ รสหม่าล่าเนื้อ และ เห็ดทรัฟเฟิล นำ CHAT GPT ต่อยอดไอเดียจัดทำเป็นภาพยนตร์โฆษณา

โตชิบ้า ยืนยัน ข่าวขายกิจการในต่างประเทศ ไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจในไทย

บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ ส่งจดหมายชี้แจง กรณีที่มีข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก เกี่ยวกับ “บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชัน จำกัด ปิดดีล ขายกิจการมูลค่า 2 ล้านล้านเยน

SCB 10X เปิดเวที Hackathon เฟ้นหาทีมนักพัฒนา ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยบล็อกเชน

เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) เปิดเวที “BANGKOK BLOCKATHON 2023” ภายใต้แนวคิด “Blockchain for the Next Billion Users”

GRAMMY x RS ตั้งบริษัทร่วมทุน เตรียมจัด 3 คอนเสิร์ตใหญ่ ก.ค.- ต.ค. นี้ เมืองทองธานี

GMM MUSIC และ RS MUSIC ประกาศจัดตั้ง กิจการร่วมค้าอะครอสเดอะยูนิเวิร์ส (Across The Universe Joint Venture) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดซีรีส์คอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์

AWS เชื่อมั่นตลาดคลาวด์พุ่งไม่หยุด เล็งเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดส่ง ‘Lift’ ลุย SMB

อัตราการเติบโตของคลาวด์ในประเทศไทย ปี 2023 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่า 30% AWS เชื่อมั่นแผนรับมือที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มคู่ค้า จัดทีมดูแลลูกค้าเฉพาะกลุ่ม

Blendata เปิดบริการ Analytics as a Service ในรูปแบบ Pay Per Use

เบลนเดต้า (Blendata) เปิดตัวบริการใหม่ Analytics as a Service บริการวิเคราะห์ข้อมูลครบวงจร รองรับทุกความต้องการด้าน Data Analytics ในรูปแบบการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก WeChat Pay จัดแคมเปญใหญ่ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผนึก WeChat Pay ผู้ให้บริการ E-Wallet รายใหญ่จากประเทศจีน มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวก รวดเร็ว

ดีป้า จับมือพันธมิตร เปิดตัว Tech Thailand แพลตฟอร์มชุมชนคนสายเทค

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์ฟ็อกซ์ จำกัด ร่วมเปิดตัว Tech Thailand

MUST READ

พลิกมุมคิด “การจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ท” ฉบับวีเอ็มแวร์

ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

นิสสัน ส่ง คิกส์ อี-พาวเวอร์ รุ่นปี 2023 – เทอร์ร่า สปอร์ต พร้อมแคมเปญช่วย ออกรถใหม่ได้ทันใจ ใน Motor Show 2023

นิสสันเผยโฉม นิสสัน คิกส์ อี-พาวเวอร์ รุ่นปี 2023 และเทอร์ร่า สปอร์ต พร้อมทัพรถยนต์ครบทุกรุ่นรวมถึงโปรโมชั่นหลากหลาย ในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2023

กสิกรไทย x ธนาคารแมสเปี้ยน เปิดตัว QRIS – QR Code Payment

ธนาคารกสิกรไทยเปิดตัวบริการ QRIS ระบบชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้าของธนาคารแมสเปี้ยนเป็นบริการแรก หลังเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นรวมเป็น 67.5%

AWS เปิดตัว AWS Lift โปรแกรมที่ช่วย SMB ไทย ปรับธุรกิจสู่รูปแบบดิจิทัล ให้เครดิตใช้ฟรี 1 ปี

Amazon Web Services (AWS) ประกาศ เปิดตัว AWS Lift ในประเทศไทย ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMB)

ยูนิเวนเจอร์ จับมือ ทีซีซีเทค ยกระดับองค์กรสู่ data-driven organization

ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดโครงการจัดการวางระบบ SAP ภายใต้ชื่อ “BetterV Project” มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างจุดเปลี่ยนและเสริมศักยภาพให้กับยูนิเวนเจอร์ที่มีหลากหลายธุรกิจ
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น