TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistทบทวนวางแผนการลงทุนปีเสือ

ทบทวนวางแผนการลงทุนปีเสือ


ในการลงทุนมีกิจกรรมหนึ่งที่นักลงทุนควรพิจารณาและทำกันอย่างสม่ำเสมอ นั่นก็คือการทบทวนวางแผน และตรวจสอบสถานการณ์การลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาตรวจสอบว่า ในแต่ละช่วงหรือแต่ละปีมีประเด็นหรือปัจจัยอะไรที่เกิดขึ้นไปแล้ว หรือกำลังจะเกิดขึ้นบ้างที่จะส่งผลบวก และอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลลบต่อการลงทุน เพื่อจะได้นำข้อมูลเหล่านั้น มาใช้ในการวางแผนจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในช่วงปีใหม่ของแต่ละปีก็ถือว่า เป็นช่วงจังหวะดีที่เราจะมาพิจารณากันว่า มีปัจจัยอะไรที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุน เพื่อให้นักลงทุนควรพิจารณาวางกลยุทธ์ในการที่จะวางเงินให้ทำงานได้อย่างเหมาะสมในแต่ละปี

เริ่มต้นปี 2565 มีหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับการลงทุน ปัจจัยแรก ๆ ที่ทุกคนนึกได้คือ สถานการณ์โควิด-19 ที่ทอดยาวมามากกว่าที่คิด โดยคาดกันไว้ว่าจะสงบในปี 2564 แต่ก็มีการกลายพันธุ์เป็นปัจจัยให้ยืดเยื้อกว่าที่คาดกัน แต่แนวโน้มที่ดีขึ้นในปีนี้คือ ประชากรได้รับวัคซีนกันทั่วถึงมากขึ้น และโรคไม่รุนแรงมีแนวโน้มกลายเป็นโรคประจำถิ่นเหมือนไข้หวัดทั่วไป ถือว่าเป็นข่าวดี ส่งผลให้ตลาดฟื้นตัวได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา

ขณะที่การเปิดเมืองทำได้มากขึ้น และเศรษฐกิจโลกโดยรวมค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นมาได้ โดยในปีนี้เศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตต่อ แต่อัตราการเติบโตจะน้อยลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯและยุโรป ซึ่งเป็นปกติที่ช่วงแรกของการฟื้นตัวอัตราการเติบโตจะสูงจากฐานที่ต่ำ

ปัจจุบันเราผ่านจุดฟื้นตัวมาแล้ว เข้าสู่จุดที่เรียกว่า “Mid Cycle” หรือช่วงเศรษฐกิจปกติการเติบโตกลับมาปกติ หรือที่นักวิเคราะห์มักจะเรียกว่า Normalize ช่วง Mid Cycle เศรษฐกิจจะยังเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยหากแบ่งวัฏจักรเศรษฐกิจจะแบ่งได้ 4 ช่วงคือ ช่วงฟื้นตัว (Recovery), ช่วงกลางเศรษฐกิจ (Mid Cycle), ช่วงปลายวัฏจักร (Late Cycle) และช่วงถดถอย (Recession) โดยช่วงกลางหรือ Mid Cycle เป็นช่วงที่ยาวที่สุด เมื่อเทียบกับช่วงเศรษฐกิจอื่น ๆ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเดินหน้าไปตามปกติ การลงทุนในหุ้นยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีอยู่ แต่อาจไม่เร่งแรงเหมือนช่วงฟื้นตัว

ภาพแสดงวัฏจักรเศรษฐกิจที่แสดงให้เห็นว่าหลายๆประเทศยังอยู่ในช่วง Mid Cycle

แหล่งที่มา : Fidelity Investmemts ข้อมูล ณ วันที่ 5 มกราคม 2565

การฟื้นตัวครั้งนี้เรื่องที่ส่งผลตามมาคือ เมื่อเศรษฐกิจเดินหน้าความต้องการสินค้าและบริการที่มากขึ้น ทำให้เกิดเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เมื่อเศรษฐกิจเดินหน้า ธนาคารกลางแต่ละประเทศก็ต้องมาชั่งใจกันแล้วว่า มาตรการผ่อนปรนต่าง ๆ ที่ออกไปทั้งอัดฉีดสภาพคล่อง และการลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำยังมีความจำเป็นอีกหรือไม่ เพราะถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัวยังใช้นโยบายผ่อนปรนเหมือนช่วงก่อนหน้าจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจทวีความร้อนแรง, เงินเฟ้อจะยิ่งเร่งตัว, ราคาสินค้าและสินทรัพย์ยิ่งปรับเพิ่มขึ้นเป็นฟองสบู่ได้

เหล่านี้ก็เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นและคงต้องติดตามในการลงทุนปีนี้ โดยประเด็นที่ตลาดกังวลกันคือ เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเราก็ต้องมองไปว่าจะขึ้นแบบไหน เร่งตัวมากน้อยเพียงใด โดยดูประมาณการ จาก Dot Plot แสดงให้เห็นว่าปี 2565 Fed มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ครั้งละ 0.25% จำนวน 3-4 ครั้ง สิ้นปีอยู่ที่ 1% และปี 2566 ขึ้นอีก 3-4 ครั้ง สิ้นปี 2566 ที่ 2% และหลังจากนั้นจะขึ้นไปได้อีก โดยไปอยู่ที่ 2.5% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับช่วงก่อนโควิด-19 นี่เป็นประมาณการในปัจจุบัน ส่วนที่เกิดขึ้นจริงอาจเร็ว ช้า หรือมากกว่านี้ได้ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ที่นักลงุทนต้องคอยติดตาม เพื่อจะได้มาปรับแผนการลงทุนให้เหมาะสมได้

ทั้งนี้หากดอกเบี้ย Fed ปรับขึ้นเร็วและถี่กว่าที่คาดแล้ว อาจเกิด Surprise ทางด้านลบได้ว่า เงินเฟ้อสูงและอยู่นานกว่าคาด ซึ่งถ้าดอกเบี้ยที่สูงแล้วภาคธุรกิจรับกันไม่ทันก็ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจได้ และนอกจากนี้การที่ดอกเบี้ยปรับขึ้นก็เป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนกลับเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบันที่ค่อนข้างต่ำ นั่นหมายความว่าจะเกิดการปรับพอร์ตการลงทุนเม็ดเงินจากตลาดหุ้นจะย้ายไปในตลาดตราสารหนี้ได้

“ช่วงที่ Mid Cycle เศรษฐกิจเติบโต, ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น การลงทุนในหุ้นก็ยังคงเป็นทางเลือกที่ดี แต่เราต้องมีการจัดพอร์ตที่เหมาะสม โดยควรเป็นหุ้นที่ยังคงเติบโตได้, มีกระแสเงินสด, สามารถจ่ายปันผลได้ และ Valuation ไม่สูงจนเกินไป หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น “หุ้นที่เน้นคุณค่า” หรือ Value stock มากขึ้น สินทรัพย์ที่ราคาสูงมาก ๆ แต่สร้างกระแสเงินสดได้น้อยหรือไม่มีเลยแบบนี้ ก็จะเหนื่อยหน่อย เพราะมีคู่แข่งคือ ดอกบี้ยที่สูงขี้นจูงใจให้คนไปลงทุนในตราสารหนี้ สถานการณ์อย่างนี้นักลงทุนควรปรับพอร์ต โดยผสมหุ้นหรือกองทุนที่เป็น Value มากขึ้นมีการเติบโตและอัตราเงินปันผลที่เหมาะสม ส่วนหุ้นเติบโตอย่างหุ้นเทคฯ ที่มูลค่าแพงคาดหวังกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไกล ๆ ปันผลน้อยหรือไม่มี ก็คงต้องลดสัดส่วนลงไปบ้างหลังจากขึ้นมาได้ดีในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา โดยความผันผวนเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ Fed คงจะมีไปสักพักจนกว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกแล้วสถานการณ์ความผันผวนน่าจะเบาลง”

ในเรื่องการลงทุนก็มีเรื่องราวให้ติดตามอยู่ตลอด โดยหากใครชื่นชอบการลงทุนก็จะสนุกกับการติดตามข่าวสาร และการวิเคราะห์ เพื่อนำมาสร้างพอร์ตการลงทุนให้กับตัวเอง นอกจากนี้ยังสามารถนำความชอบและความรู้ด้านการลงทุนมาส่งต่อหรือให้คำแนะนำกับคนอื่นได้ ปัจจุบันมีอีกสายงานหนึ่งซึ่งเหมาะกับท่านที่มีความรู้ด้านการลงทุน หรือชอบให้ความรู้คำแนะนำด้านการลงทุนกับผู้อื่นและชอบความเป็นอิสระ ทักษะเหล่านี้สามารถนำมาต่อยอดในสายอาชีพ “ผู้แนะนำลูกค้า” ซึ่งตอบโจทย์คนยุคปัจจุบันที่ต้องการสร้างรายได้เพิ่มเติม, ไม่ต้องการพึ่งพารายได้เพียงแหล่งเดียว และชอบความอิสระในการทำงาน ผ่านระบบออนไลน์ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถสร้างรายได้ที่ดีได้

ปัจจุบันหลักทรัพย์บัวหลวง ได้แตกไลน์ธุรกิจใหม่ จับเทรนด์ Collaborative Economy ด้วยการเปิดธุรกิจ “ผู้แนะนำลูกค้า” (IBA) ในชื่อ “Freedom Advisor by Bualuang Securities” เพื่อนำร่องสร้างผู้แนะนำการลงทุนอิสระชั้นนำของเมืองไทย โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่สนใจเรื่องการลงทุน และมีใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไปมาร่วมอาชีพอิสระที่สร้างรายได้อย่างมั่นคงและช่วยสร้างฐานผู้ลงทุนใหม่ ผ่านการทำงานร่วมกับหลักทรัพย์บัวหลวง ในฐานะบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำของประเทศ ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เหมาะกับ “คนรุ่นใหม่” ที่มีเทรนด์การทำงานแบบอิสระ

หน้าที่หลักคือ แนะนำลูกค้า เพื่อเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และใช้บริการกับเรา, เผยแพร่ข้อมูลด้านการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ และร่วมในการดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ในช่วงแรกผู้แนะนำลูกค้าสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์กองทุนรวม และบริการจัดกองทุนส่วนบุคคล เพื่อช่วยสร้างแผนการลงทุนให้กับลูกค้า ในแง่ของสิทธิประโยชน์ นอกจากผู้แนะนำลูกค้าจะได้รับค่าตอบแทนจากการแนะนำลูกค้าแล้วยังได้รับการอบรมให้ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์ลงทุน จากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ของบริษัท และได้รับการสนับสนุนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยสนับสนุน ทั้งนี้บทความดังกล่าวเรียบเรียง โดยทีมตราสารการเงิน หลักทรัพย์บัวหลวง สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้แนะนำลูกค้ากับหลักทรัพย์บัวหลวง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0-2618-1188 หรือ E-mail : [email protected]

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

LINE ผลักดัน SME ไทยทั่วประเทศสร้างธุรกิจโตด้วยดิจิทัล ผ่านโค้ชในภูมิภาคที่มีความเชี่ยวชาญระดับท้องถิ่น

แม็คโคร เดินหน้าสนับสนุน SMEs ไทย ดันแพลตฟอร์มแห่งโอกาส ขยายตลาดสู่อาเซียน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ