TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกColumnistบำนาญของคนมีบ้าน

บำนาญของคนมีบ้าน

ช่วงเวลาหลังสงกรานต์ มีการทำนายกันว่าภาวะ ”เงินฝืด” จะสูงมาก จากหลาย ๆ ปัญหาไม่ว่าจะจากภาวะสงครามความขัดแย้งทั้งที่อยู่ใกล้-ไกลประเทศเรา ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เสถียร ภาระหนี้สินครัวเรือนของเราที่สูง กระทบการดำรงชีวิต ราคาสินค้า/บริการมีการปรับตัวสูงขึ้น กระทบรายได้ เกิดภาวะเงินไม่พอใช้จ่ายและกระทบภาระหนี้สินที่สูงอยู่แล้ว ยิ่งสูงขึ้นไปอีก หลายคนประสบปัญหาล้มละลาย โดยเฉพาะกับคนสูงอายุที่ปกติไม่มีรายได้อยู่แล้ว แต่เผชิญปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

เราจะอยู่กันอย่างไร ถ้ามีบำเหน็จบำนาญเหมือนข้าราชการ หรือมีเงินจากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Providence Fund) จากภาคเอกชน ก็พอจะมีค่าใช้จ่ายอยู่บ้าง จะพอหรือไม่พอในการดำรงชีวิตก็อีกเรื่องหนึ่ง ก็ประหยัดในการใช้ชีวิตกันไป ถ้าไม่มีหนี้สินก็โชคดี แต่ถ้ามีก็เครียดกันเลยทีเดียว

ในปัจจุบัน เริ่มมีการพูดถึงกันบ้างแล้ว กับแนวคิดเรื่องการเอาที่อยู่อาศัยมาเป็นบำนาญในการใช้ชีวิต หรือ Reverse Mortgage        

Reverse Mortgage หรือสินเชื่อบ้านผู้สูงอายุ คือรูปแบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบย้อนกลับ โดยธนาคาร (เท่าที่ทราบตอนนี้มีอยู่ 2 แห่งคือ ออมสินและอาคารสงเคราะห์) ที่เราติดต่อขอสินเชื่อประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อบ้าน โดยจะนำเงินที่ตกลงกันเข้าบัญชีผู้กู้ให้ทุกเดือน ซึ่งต่างจากการซื้อขายบ้านทั่วไป ที่จะได้เป็นงวด และเมื่อครบกำหนดงวดสุดท้าย บ้านที่ใช้ค้ำประกันจะตกเป็นของธนาคารไป

เป็นสินเชื่อสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี แต่ไม่เกิน 85 ปี โดยจะต้องเป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภาระจำนองเป็นหลักประกัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต โดยข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารอาคารสงเคราะห์ จะกำหนดระยะเวลาการกู้อย่างน้อย 6 เดือน สูงสุดไม่เกิน 25 ปี โดยกำหนดวงเงินสูงสุดต่อหลักประกันไม่เกิน 10 ล้านบาท

เหมาะกับใคร เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่มีเงินใช้สอย (หรือไม่พอ) ยามเกษียณ โดยที่ยังสามารถอาศัยอยู่ได้ จนกว่าชีวิตจะหาไม่ แต่…ต้องมีบ้านของตนเอง(และต้องไม่มีภาระ)

แต่ถ้าหากชีวิตยังมีหนี้สินอยู่ การจัดการแก้ปัญหาหนี้สินก็เป็นอีกวิบากกรรมที่คนไทยยังต้องเผชิญอยู่ หากใครผ่านพ้นไปได้ ก็ถือว่าโชคดี บางคนถึงกับสาปส่งไปเลยว่าจะไม่ก่อหนี้ เพราะเข็ดแล้วจริง ๆ

สูตรการจัดการปัญหาหนี้ ตามตำราที่รับช่วงกันมามักจะเริ่มต้นด้วยการทำบัญชีกระแสเงินสด ซึ่งเป็นการบอกสถานะบุคคลของแต่ละคนว่ามีรายได้เท่าไร มีรายจ่ายและมีหนี้สินอยู่เท่าไร แยกเป็นหนี้ประเภทไหนบ้าง เมื่อรู้จำนวนทรัพย์สินหนี้สินแล้ว หักกลบลดหนี้แล้วเหลือมากน้อยเท่าไร ก็จะมาที่การบริหารจัดการหนี้สิน

ซึ่งการบริหารหนี้ของเรานั้น ถ้าสามารถรวมหนี้หลายรายการให้มารวมเป็นก้อนเดียว  พร้อม ๆ กับการเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นสถาบันการเงิน เพื่อขอพักชำระหนี้ หรือขอจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย หรือขอลด

งวดผ่อนชั่วคราว ซึ่งรายละเอียดขึ้นอยู่กับการเจรจาและมาตรการต่าง ๆที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกับสถาบันการเงินออกมาเพื่อลดปัญหา

หลังจากนั้น ก็ต้องมาพิจารณาแล้วว่าเมื่อเจรจากับสถาบันการเงินแล้ว ก็ต้องมาปรับปรุงบัญชีรับจ่ายล่วงหน้าว่าจะเคลียร์อย่างไร ต้องลดรายจ่ายอย่างไร ตรงไหนบ้าง หรือจะมีข่าวดีว่าสามารถหารายได้เพิ่มจากตรงไหนได้อีกที่จะสามารถบาลานซ์บัญชีรับจ่าย

ไม่ว่าจะมีข่าวดีเรื่องการเพิ่มรายได้เข้ามาหรือไม่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดรายจ่ายเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างมากเสียด้วย

จากประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายสิบปี มองว่าระหว่างการเพิ่มรายได้กับการลดรายจ่าย การลดรายจ่ายเป็นเรื่องที่ยากที่สุด และเป็นเรื่องที่พึ่งพาตัวเองมากที่สุด และเป็นเรื่องที่ขอความช่วยเหลือได้ยากเสียด้วย

ยิ่งในโลกปัจจุบันที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน ขึ้นต้นลงท้ายด้วยการเสียเงินไปจนหมดสิ้นแล้ว เรื่องจำเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยเริ่มจะแยกไม่ออกเสียแล้ว การจะบริหารหนี้สินให้ได้ผลนั้น คุณจะขาดคำสองคำที่ว่านี้ไม่ได้เลย คือคำว่า อดทน และอดออม

ไม่เป็นเรื่องแปลกใจหากคนรุ่นหนุ่มสาว มองการรายได้มาก ๆและเร็วเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อจะได้ชื่อว่าเป็นความสำเร็จ เพราะคนรุ่นใหม่รายล้อมด้วยรายจ่ายเต็มไปหมด เพราะฉะนั้น การสร้างเงินออมจากสมการ

รายได้ – เงินออม =รายจ่าย ยังเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อจะมีเงินออมมาจำแนกเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน และเพื่อการลงทุน

อย่าประมาทกับการใช้ชีวิตเลย เรายังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เราน่าจะมีประสบการณ์ชีวิตกันมาแล้ว ไม่ว่าเรื่องโรคระบาดอย่างโควิด หรือการเข้ามาของยุคเอที่ปรับเปลี่ยนอย่างฉับพลัน หรือสงครามความขัดแย้ง หรือแม้แต่โลกเดือดที่ทำให้เราต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกมากมาย

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

BORN TO BE หรือ LIKE TO BE

ชีวิตที่ไม่มีเป้าหมาย ก็เป็นได้แค่ “ความฝัน”

ผมทำเวลาหล่นหาย … เมื่อคุณควบคุมไม่ได้ คุณก็ต้อง “ตั้งรับ” ให้ได้

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ