TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistชีวิตที่ไม่มีเป้าหมาย ก็เป็นได้แค่ "ความฝัน"

ชีวิตที่ไม่มีเป้าหมาย ก็เป็นได้แค่ “ความฝัน”

ทุกวันนี้มีความแตกต่างระหว่างวัย สูงเหลือเกิน จนไม่แน่ใจว่าชีวิตในวัยเด็กของตัวเอง จะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเหมือนเด็กสมัยนี้หรือเปล่า เมื่อมองย้อนกลับไป ในยุคที่เป็นวัยรุ่น เติบโตมากับสังคมที่เบ่งบาน พวกเราเป็นเด็กที่เข้ามัธยมต้นช่วงปี 2516 หัวเลี้ยวหัวต่อกับการแสดงความคิดเห็น จนเข้าปี 2519 ที่มีการใช้ความรุนแรงในการปราบปราม ไล่ไปถึงพ.ศ. 2535 เป็นการเริ่มด้วยความขัดแย้งและจบลงด้วยความรุนแรง (ที่ยังไม่จบสิ้น เพราะหลังจากปีพ.ศ.ดังกล่าว เราก็เผชิญกับความขัดแย้งทางความคิด และจบลงด้วยความรุนแรง เป็นระยะ ๆ)

เราผ่านประสบการณ์ความขัดแย้งมาตลอด จนรู้สึกว่ามันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนแยกคนในสังคมเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่เรียกว่าคนรุ่นใหม่ กับคนรุ่นใหญ่ ซึ่งวันนี้ไม่ได้เอาเรื่องอายุมาเกี่ยวข้องโดยตรง แต่นับจากวิธีการคิด การใช้ชีวิตเป็นตัวกำหนด

ตัวอย่างของความแตกต่างระหว่าง ‘คนรุ่นใหญ่’ กับ ‘คนรุ่นใหม่’

คนรุ่นใหญ่จะมีประสบการณ์ (บาดแผล) บางคนเต็มหลังเลย ทำให้เกิดความระมัดระวังจนกลายเป็นความระแวง ขณะที่คนรุ่นใหม่ ที่มีแผ่นหลัง (ประสบการณ์) เกลี้ยงเกลา จึงไม่กลัว จนบางทีก็กลายเป็นความบ้าบิ่น ทำให้มีความแตกต่างกันในแง่วิธีการใช้ชีวิต การหารายได้ ขึ้นอยู่กับการกำหนดเป้าหมาย/ความหมายของชีวิต

ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นไหน สิ่งที่ต้องมีเหมือนกันคือคุณต้องสร้างเงินออม (แน่นอน! มันคือเม็ดเงินที่ไม่ใช่เกิดจากเงินที่เหลือใช้ แต่เป็นเงินที่ต้องใจเก็บ :วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ CFP) เพื่อที่เป็นก้าวแรกสำหรับการสร้างเงินสำรองฉุกเฉิน หลังจากนั้นจึงเป็นเงินสำหรับการลงทุน อย่าลับกันนะ เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตเรา

การที่มีเงินสำรองฉุกเฉินก็คล้าย ๆ กับการมี Cash Flow ในองค์กรธุรกิจ ที่เป็นกระแสเงินสดให้พอใช้ในการดำเนินกิจการ เงินสำรองฉุกเฉิน เป็นเงินสดหรือสามารถเบิกถอนได้ง่าย เพื่อเป็นทุนสำรองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินกับชีวิต อาจจะเป็นช่วงตกงานกะทันหัน หรือขาดเงินสดหมุนเวียนกระทันหันในกรณีที่มีกิจการ วิธีการสร้างเงินสำรองฉุกเฉิน ที่นิยมกันก็คือเอารายจ่ายในแต่ละเดือนขึ้นมาตั้ง แล้วคูณด้วยจำนวนเดือน หากเป็นพนักงานที่ทำงานในองค์กรต่าง ๆ ก็ซัก 3เดือน แต่ถ้าเป็นพนักงานอาชีพอิสระ ก็น่าจะมีซัก 6 เดือนขึ้นไปถึง 12 เดือน

การสร้างเงินสำรองฉุกเฉิน เป็นสิ่งแรกที่ควรจะทำก่อนคิดจะลงทุน ผู้เขียนเคยเจอกรณีศึกษาของคนทำธุรกิจเกี่ยวกับแฟรนไชส์ค้าปลีก ที่มีถึง 2 สาขา แต่เป็นหนี้สินมากมาย จากหนี้บัตรกดเงินสด บัตรเครดิตผ่อนจ่ายขั้นต่ำไม่สิ้นสุด จนเกิดความเครียด ไม่เป็นอันทำมาหากิน เนื่องจากเมื่อมีรายได้จากธุรกิจที่ตนดำเนินการ กลับเอาผลกำไรที่เกิดขึ้นไปลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้น (เก็งกำไรตามการชักชวนของเพื่อนว่าจะได้กำไร) ซื้อหน่วยลงทุน (ที่คิดว่าจะขายเมื่อได้ผลตอบแทนที่พอใจ) แต่ใครจะคิดเมื่อเกิดโควิดติดต่อกัน 2-3 ปี ยอดขายที่คาดหวังไว้ไม่เป็นไปตามเป้า ประสบปัญหาขาดทุนในแต่ละเดือนจนต้องแก้ปัญหาด้วยการเอาเงินในบัตรกดเงินสดมาหมุนก่อน ทั้งที่ดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตทั้งหลาย อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ เกือบ 20% ต่อปี และเมื่อมีปัญหาต้องหมุน

เงินสดออกมาใช้มากขึ้น ก็ต้องใช้วิธีจ่ายขั้นต่ำไปก่อน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และปัญหาเฉพาะหน้าก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาจนกระทบการทำงาน

ปัญหาหนี้ เป็นอุปสรรคที่สำคัญของการดำรงชีวิต และแน่นอนเป็นอุปสรรคของการวางแผนการเงินที่ทำให้การวางแผนเกษียณทำได้ช้า หรือบางคนทำไม่ได้เลย การมีเงินสำรองฉุกเฉินจึงเป็นเป้าหมายแรกสำหรับการกำหนดเป้าหมายของคุณ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใหญ่หรือรุ่นใหม่ ที่หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้จากการหมุนเงินไม่ทัน

การกำหนดเป้าหมาย เป็นวิธีการสำคัญที่จะทำให้ฝันเป็นจริงได้ เพราะหากคุณอยากมีชีวิตในช่วงที่ไม่อยากทำงานประจำ แต่อยาก…

  • มีอิสระในการดำเนินชีวิต สามารถออกท่องเที่ยวไปทั่ว
  • งานอดิเรกที่ไม่พูดเรื่องรายได้  แต่เป็นงานที่ทำแล้วมีความสุข (แต่ถ้ามีรายได้ขึ้นมาก็วิเศษสิคุณ!)
  • มีเงินให้ใช้แบบ Passive Income ที่ไม่เครียด
  • อาชีพใหม่ ร้านกาแฟ สวนเกษตร (อาชีพสุดฮิตที่อยู่ในความฝันของคนวัย4-50)

ฯลฯ

ก็ต้องออกแบบเป้าหมายของคุณให้ได้ตั้งแต่เมื่อยังอยู่ในวัยทำงาน เพราะหากคุณมีเป้าหมายแล้ว วิธีการจะถูกกำหนดออกมาเอง แต่ถ้าคุณไม่มี สิ่งที่คิดวาดหวัง ก็เป็นได้แค่ความฝันไปวัน ๆ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจของผู้เขียน

BORN TO BE หรือ LIKE TO BE

การบริหารชีวิตให้มี “ความสุข” ด้วย “สำเร็จ” ด้วย นั้นเป็นเรื่องยาก แต่ทำได้

อย่าให้สายเกินไป … ประสบการณ์ล้มเหลวของคนอื่น คือบทเรียนที่ไม่ต้องลองอีก

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ