TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessส่องเทรนด์การลงทุน : กลยุทธ์การลงทุนเมื่อ FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ส่องเทรนด์การลงทุน : กลยุทธ์การลงทุนเมื่อ FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ในการต่อสู้กับสภาวะเงินเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนกันยายน ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นมาทั้งหมดร้อยละ 3 ตั้งแต่ต้นปี 2565 อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนั้นส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย และส่งผลกระทบต่อผลกำไรที่ลดลงของธุรกิจจำนวนมาก ท่ามกลางสถานการณ์ของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้แบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนที่นักลงทุนสามารถใช้ในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนนี้

หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 75 bps หรือร้อยละ 0.75 เป็นครั้งที่สามจากการขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า “เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อโดยไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 3 ถึงร้อยละ 3.25 ซึ่งถือเป็นการคุมเข้มทางการเงินครั้งรุนแรงที่สุดของเฟดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980”

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เรียกได้ว่าเข้าสู่ภาวะถดถอยเชิงเทคนิค จากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสสอง มีรายงานว่าลดลงร้อยละ 0.9 GDP และลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสแรก ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส ในมุมมองของธนาคารยูโอบีคาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว ตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบตื้น (Shallow recession) เนื่องจากงบดุลของภาคครัวเรือนยังแข็งแรง และหนี้สินที่ยังไม่มากเกินไป การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจไม่รุนแรง สิ่งสำคัญที่สุดคือเราอยู่ในช่วงปลายของวัฏจักรเศรษฐกิจพร้อมกับการเติบโตที่ชะลอตัวลง และถึงเวลาที่เราต้องเตรียมรับมือ และกลยุทธ์การลงทุนเมื่อธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แก่

ลงทุนอย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงเป้าหมายและความเสี่ยงที่รับได้

ขั้นตอนแรกในการลงทุนคือการทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของการลงทุน กำหนดระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ และประเภทผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความเสี่ยง การมีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจนสามารถช่วยกำหนดกรอบเวลาการลงทุน และทราบถึงระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถทนต่อความผันผวนของการลงทุน

กระจายแหล่งรายได้ด้วยสินทรัพย์ที่หลากหลาย

สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ เราคิดว่าตราสารหนี้คุณภาพสูงที่มีการจัดอันดับ BBB ขึ้นไปและออกโดยบริษัทที่มีพื้นฐานที่ดี มีอัตราการกู้ยืมต่ำ และมีแหล่งรายได้จากหลากหลายช่องทางเป็นตัวเลือกที่ดี บริษัทเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีสถานะกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง มีความสามารถในการชำระคืนที่ดีและให้รายได้ที่มั่นคงสำหรับนักลงทุน สินทรัพย์ประเภท อสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ที่ดิน และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) เป็นวิธีการในการกระจายแหล่งที่มาของรายได้ให้กับนักลงทุน ดังนั้นนักลงทุนสามารถพิจารณาสินทรัพย์เหล่านี้นอกเหนือจากตราสารหนี้และตราสารทุนทั่วไปเพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้

ลงทุนเพื่อรับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในระยะยาว

แม้ว่าเศรษฐกิจโลกอาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนในระยะสั้น เช่น การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ หรือความตึงเครียด ความขัดแย้งทางการเมือง นักลงทุนยังสามารถมุ่งเน้นไปที่การลงทุนในโครงสร้างระยะยาวที่มีเสถียรภาพในการเติบโต

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ขอแนะนำ 3 เมกะเทรนด์สำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในปัจจุบันและเป็นพลังขับเคลื่อนโลกแห่งอนาคต

  1. เครื่องมือแห่งอนาคต – เครื่องมือแห่งอนาคตประกอบด้วยการพัฒนาพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเทคโนโลยีที่เร่งการเติบโตของธุรกิจและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจโลก นักลงทุนสามารถพิจารณาลงทุนในเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน ตลอดจนบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการนำระบบ AI มาใช้
  2. การบริโภคแห่งอนาคต – การเปลี่ยนแปลงทางประชากรนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลต่อรูปแบบการใช้จ่ายของคนในรุ่นต่างๆ ปริมาณชนชั้นกลางที่มีความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาจะนำไปสู่ความต้องการสินค้าและบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน บางประเทศกำลังเผชิญกับประชากรสูงอายุ ซึ่งหมายความว่าจะมีการใช้จ่ายสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของคนในรุ่นต่างๆ องค์กรจะต้องปรับกลยุทธ์และลำดับความสำคัญใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นมิลเลนเนียลและเจเนอเรชัน ซึ่งเป็นคนยุคดิจิทัลที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม นักลงทุนสามารถพิจารณาลงทุนในธุรกิจที่เข้าถึงดิจิทัลอย่างยั่งยืน เพื่อได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคนี้
  3. ผู้นำเศรษฐกิจในอนาคต – การแข่งขันเชิงกลยุทธ์ระหว่างผู้นำเศรษฐกิจที่ทรงอำนาจของศตวรรษนี้ – สหรัฐอเมริกาและจีน – มักจะใช้อิทธิพลเหนือกรอบการกำกับดูแล นโยบายเศรษฐกิจ และการปรับเปลี่ยนตลาดของประเทศอื่น ๆ ตลาดการเงินที่มีขนาดใหญ่ของทั้งในสหรัฐอเมริกาและจีน จะสร้างโอกาสให้กับนักลงทุนในการแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนในทั้ง 2 ประเทศ

นักลงทุนต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่รับได้ของตนเองและรักษาพอร์ตการลงทุนที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ด้วยหลักการ Risk-First ของธนาคารยูโอบี จะช่วยให้การลงทุนของนักลงทุนราบรื่นขึ้น โดยแนะนำกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลาย และเหมาะกับความเสี่ยงของนักลงทุนแต่ละราย ก่อนตัดสินใจลงทุนใดๆ ผู้ลงทุนควรตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่ามีความชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากำลังลงทุนและได้พิจารณาปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

WHA GROUP ตั้งเป้าปี 65 โต 20% พร้อมก้าวสู่ TECH COMPANY ในปี 67

กสิกรไทย ประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำสูงสุด 0.50% และไม่ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ