TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyHuman-first x AI-first ยุทธศาสตร์ KBTG ในยุค General-Purpose AI Era

Human-first x AI-first ยุทธศาสตร์ KBTG ในยุค General-Purpose AI Era

KBTG เชื่อว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะเป็น General-Purpose Technology หรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลก ที่จะสร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ด้วยความพร้อมที่สั่งสมตลอดการทำทรานส์ฟอร์เมชันในช่วง 5 ปีทีผ่านมาทำให้ KBTG สร้างสิ่งที่เรียกว่า KBTG AI/ML Universe ที่มีทั้งงานงานวิจัยและพัฒนาที่กำลังทำทั้งทำเองและทำร่วมกับพันธมิตรชั้นนำของโลกของ MIT Media Labs ผลิตภัณฑ์ที่กำลังทดสอบทดลองใช้ในเครือธนาคารกสิกรไทยและเครือ KBTG ผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่เชิงพาณิชย์ แล้วรวมถึงการสร้างกำลังคนด้านเทคโนโลยี AI ทั้งใน KBTG เองและในระบบนิเวศที่ทำร่วมกับสถานศึกษาทั้งประเทศ

ปี 2024 คือ จุดเริ่มต้นของเป้าหมายถัดไปของ KBTG ที่ต้องการสร้าง Human-first x AI-first Transformation ให้เกิดขึ้นจริง และถือเป็นเฟสที่สองของการทำทรานส์ฟอร์เมชันของ KBTG ที่ตั้งเป้าจะใช้เวลาอีก 5 ปี เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับธนาคารกสิกรไทย กับ KBTG และกับประเทศไทยโดยรวม 

Human-first x AI-first Transformation

Human-first x AI-first Transformation คือ การมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยี AI โดยเอาคนเป็นศูนย์กลาง ทั้งในมิติของการทำให้คนทำงานโดยใช้ AI และคนทั่วไปที่ใช้บริการต่าง ๆ ที่มี AI เป็นส่วนหนึ่ง ทั้งคนของ KBTG และคนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับ KBTG คือ พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และคนทั่วไป 

กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า KBTG เริ่มทำทรานส์ฟอร์เมชันตั้งแต่ปี 2019 จนถึง ปี 2023 และสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าที่ตั้งไว้ถึง 2 ปี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทรานส์ฟอร์เมชันของโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้สามารถรองรับธุรกรรมที่มีปริมาณคิดเป็น 1.3 เท่าของจีดีพีประเทศไทย มีสัดส่วน 35% ของปริมาณธุรกรรม ในขณะเดียวกันมีลูกค้าถึง 22 ล้านคน เป็นเบอร์หนึ่ง แต่กลับสามารถเป็นธนาคารที่มีเสถียรภาพที่สุด ทั้งผลนี้เป็นผลมาจากการทำทรานส์ฟอร์เมชันตลอด 5 ปีที่ผ่านมา 

แต่ทว่าการทรานส์ฟอร์เมชันเป็นเหมือนการผจญภัยที่ไม่มีที่สิ้นสุด เฟสแรกของการทรานส์ฟอร์เมชัน KBTG ใช้เวลาครึ่งทศวรรษทำเรื่อง AI transformation ใน 3 แกน คือ data-driven transformation, automation first transformation และ AI first transformation และ KBTG กำลังจะเข้าสู่ยุคถัดไปของการทรานส์ฟอร์เมชันเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า Human First, AI Frist KBTG ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อให้คนและ AI สามารถทำงานและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ 

“เราทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็น MIT Media Labs พันธมิตรอื่น และสตาร์ตอัพที่เราไปลงทุนทั่วโลก ที่ลงทุนไปแล้วทั้งหมด 18 ดีล ในเวลาไม่ถึง 1 ปี ใช้เงินไปทั้งหมด 1,000 ล้านบาท

รวมถึงลงทุนใน AI Fund ของ Andrew Ng ซึ่งเป็น 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลของโลกในเรื่อง AI เราจะพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันเพื่อไปสู่ยุคของ Human First, AI First” กระทิง เรืองโรจน์ กล่าว

KBTG ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอีกกว่า 100,000 man-days ซึ่งที่ผ่านมาทำให้ KBTG สร้างเทคโนโลยีได้เร็วขึ้น 2.25 เท่าใน 5 ปี ต่อไปจะเร็วขึ้น 2 เท่าในเวลาแค่ 3 ปี

ยุคถัดไป ถ้าคุณนึกถึง AI คุณต้องนึกถึง KBTG ลูกค้า คู่ค้า ของเราในระดับภูมิภาคเมื่อนึกถึง AI นึกถึงเทคโนโลยีเขาต้องนึกถึง KBTG เช่นเดียวกัน” กระทิง เรืองโรจน์ กล่าว

General-Purpose AI Era 

ผู้นำทั่วโลกเชื่อว่า AI จะเป็น General-Purpose Technology หรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลก ซึ่ง KBTG เชื่อว่าจะต้องเป็นผู้นำด้าน AI เพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าต่อบริษัท สังคม และประเทศชาติ 

AI ได้ถูกยกระดับมาเป็น General-Purpose Technology ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ 

  • เป็นเทคโนโลยีที่มีความสามารถในการพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็วมาก จากวันแรกที่ Google เปิดเผยความรู้เกี่ยวกับ Generative AI ใช้เวลา 6-7 ปีเกิด Chat GPT ป
  • มีการที่ใช้กันอย่างทั่วถึง (pervasivenss) เทคโนโลยี AI มีผู้ใช้ทั่วโลกเป็นพันล้านคน โดย Chat GPT เป็นเทคโนโลยีที่คนใช้ 100 ล้านคนภายใน 2 สัปดาห์ เป็นเทคโนโลยีที่เติบโตแร็วที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ 
  • เป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้งานหลากหลาย (transformative) 

ตอนนี้ AI คือ agenda ระดับโลก ผลกระทบที่เกิดจากการใช้ AI ของโลกตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 17 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งประมาณ 6-7 ล้านล้านดอลลาร์มาจากการใช้ Generative AI

ทุก ๆ ครั้งที่เกิดการอุบัติขึ้นของ General-Purpose Technology โลกจะเปลี่ยนและจะเปลี่ยนโลกในแบบที่ไม่มีวันย้อนกลับ 

  • ประการแรกคือเรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการประมาณการว่าในทศวรรษหน้า AI จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างน้อย 0.4 % ของจีดีพีของโลก ซึ่งจะมีทั้งคนที่ได้และคนที่เสีย จะเกิดการเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจใหม่ ทำให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ มากมายต่อจีดีพี ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อการอยู่ มีสุข และความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้น ๆ 
  • ประการต่อมาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องทักษะ งาน และรายได้ เทคโนโลยีจะสร้างให้เกิดการดิสรัปของงาน แต่เมื่อก่อนสิ่งที่ไฟฟ้า หรือเครื่องจักรเข้ามาเปลี่ยน เป็นการดิสรัปแรงงานที่ต้องใช้คน (Blue Collar) แต่ AI จะเข้ามาดิสรัปทักษะของแรงงงาน White Collar เป็นแรงงานที่มีทักษะความสามารถสูง มีรายงานว่า 80% ของแรงงานในอเมริกา AI จะเข้ามาดิสรัปงาน 10% ส่วนอีก 20% ของคนทั้งหมดจะสามารถนำ AI เข้ามาใช้งานได้ 50% ของงานที่ทำ แปลว่าครึ่งของงานจะถูกใช้ AI แทน 
  • ประการสุดท้าย AI จะเข้ามาเปลี่ยนระบบงาน ตั้งแต่ระดับการทำงาน ระบบกระบวนการ และองค์กรภาพรวม และระหว่างองค์กรที่เป็นระบบนิเวศใหญ่

คำถามคือ ประเทศไทยเตรียมพร้อมแล้วหรือยังกับการอุบัติใหม่ของ General-Purpose Technology ตัวนี้

ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า การที่จะเป็นผู้นำในยุค AI จะต้องมีการอัปเกรดความรู้ มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม สร้างระบบนิเวศที่จะปลดล็อกคุณค่าของ AI และแม้ว่าจะมีความกลัว ความกังวลต่อเทคโนโลยี AI แต่ก็ไม่สามารถหยุดเรียนรู้และพัฒนา AI ได้ ไม่เช่นนั้นจะถูกแซง 

เมื่อเกิดเทคโนโลยีอุบัติใหม่ องค์กรจะต้องมีความสามารถในการ reskill ต้องทำให้คนสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาได้ ซึ่ง KBTG มีการร่วมมือกับสถานศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในประเทศและระหว่างประเทศรวมมากกว่า 20 แห่ง และมีการจ้างงาน AI talent หลายสิบคน และมีการเข้าไปช่วยออกแบบหลักสูตรโดยทำงานกันอย่างใกล้ชิดกับสถานศึกษา

ประการต่อมาคือการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การจะสร้าง AI ได้ จะต้องออกแบบและปรับปรุงเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่การสร้างความสามารถด้านการสร้างสรรค์ ข้อมูล การประมลผลคอมพิวเตอร์​ และกระบวนการ จนถึงการนำ AI เข้ามาใช้ ร่วมกับระบบปัจจุบัน การทดสอบ AI ในการใช้งานใหม่ ๆ การขยายขีดความสามารถของ AI รวมถึงการสร้างรายได้จากเทคโนโลยี AI ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องควบคู่ไปกับการมี ethic มี good governance และการตรวจวัดและประเมินผลอยู่เสมอ 

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการสร้างระบบนิเวศ การสร้างให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในระบบนิเวศร่วมกัน ตั้งแต่ผู้ให้นโยบาย สถานศึกษา นักวิจัย ซึ่ง KBTG มีศูนย์วิจัยขององค์กรที่ทำงานร่วมกับนักวิจัยของภาครัฐและสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด 

ที่ผ่านมา KBTG เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร KBTG เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการพัฒนา AI ภายในองค์กรและนำมาใช้ เป็น AI ที่คนไทยทำคนไทยใช้ นำมาใช้กับธุรกิจธนาคาร เริ่มมีการ platformize และ commercialize ให้กับพาร์ทเนอร์ด้วย ทำให้เกิดเทคโนโลยีที่บอกได้ว่าเป็นของคนไทย สร้างคุณค่าให้กับคนไทย 

ในปี 2017 มีการนำเทคโนโลยี Deep Learning ในการทำ recommendation ส่งผลิตภัณฑ์ด้าน retial หรือ point redeemtion ให้ลูกค้า ธนาคารกสิกรไทยเป็นแบงก์แรก ๆ ที่นำ Deep Learning มาใช้ และในปีเดียวกันยังมีการนำ machine learning มาใช้ในการนำเสนอสินเชื่อที่ถูกต้องให้กับลูกค้าที่ถูกต้องในเวลาที่ถูกต้อง สามารถสร้างยอดการปล่อยสินเชื่อได้ดีขึ้นเป็นหลักพันล้านบาท 

ในปี 2019 มีการนำ NLP เข้ามาใช้ใน KBank Live ซึ่งเป็น chatbot system ของธนาคารกสิกรไทย และมีการนำ facial recognition เข้ามาใช้เป็นแห่งแรก ๆ ในวงการธนาคารไทย ซึ่งทั้ง Thai NLP และ facial recognition  นี้เป็น AI ที่ KBTG พัฒนาขึ้นเอง 

ธนาคารกสิกรไทยและ KBTG เป็นองค์กรแรก ๆ ในประเทศไทยที่เข้าใจความสำคัญของการนำ machine learning มาปรับประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ หรือที่เรียกว่า ML operationalization มีการส่งงานวิจัยด้าน deep[ learning ที่สามารถได้ลงตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติเป็นแห่งแรก ๆ ของธนาคารไทย 

นอกจากนี้ KBTG ยังเข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนด้านการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนโครงการ National Super AI Engineer ซึ่งเป็นโครงการระดับชาติในการสร้างบุคลากรด้าน AI ของประเทศไทย และในปี 2022 KBTG เข้าเป็นสมาชิกของ MIT Medias Lab เพื่อยกระดับการวิจัยด้าน AI ของประเทศไทยให้ไปไกลในระดับโลก

KBTG Labs – KX- KXVC 

KBTG แปลงยุทธศาสตร์มาสู่การลงมือทำด้วยการสร้างระบบนิเวศ AI ตั้งแต่วิจัย จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ และนำออกมาขาย รวมทั้งมีกองทุน VC ที่ลงทุนกับเทคโนโลยี AI ทั่วโลก 

เมื่อวิจัยและพัฒนา AI เสร็จแล้วก็ส่งต่อไปยัง KX ซึ่งเป็น venture builder ที่สามารถนำผลิตภัณฑ์ AI ไปทำเป็นธุรกิจ AI ซึ่งการทำเช่นนี้ได้ KBTG จะต้องนำผลิตภัณฑ์ AI มาทดสอบ ทดลอง เทคโนโลยีกับบริษัทแม่นั่นคือ KBank ซึ่งได้มีการให้โจทย์มาก่อนหน้านี้แล้วเพื่อนำ AI ไปใช้ในการใช้งานจริง 

นอกจากนี้ ยังมีฝั่ง venture capital ที่จะช่วยส่งเสริมการลงทุนในเทคโนโลยี AI ผ่านลงไปที่สตาร์ตอัพ และกองทุนต่าง ๆ ซึ่งเมื่อต่อเชื่อมองคาพยพทั้งหมดที่กล่าวมา KBTG ได้สร้างและร้อยเชื่อมทุกภาคส่วนห่วงโซ่คุณค่าเพื่อทำให้ระบบนิเวศ AI ของประเทศไทยมีประสิทธิภาพและเกิดคุณค่าต่อผู้ใช้งานทุกคน

ผลิตภัณฑ์ AI ของ KBTG ที่สำเร็จออกมาเป็นต้นแบบและเชิงพาณิชย์ คือ FinLearn และ AINU 

เส้นทางการเกิดของ AINU ย้อนหลังไปเมื่อ 7 ปีที่แล้วที่ KBTG ต้องการสร้างขีดความสามารถให้กับธนาคารกสิกรไทยให้มีความน่าเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะในอนาคต digital on-boarding ต้องมา มีการทำลองทำโมเดลในห้องวิจัย ทดลองใช้ในธนาคารกสิกรไทย จนผ่านไป 7 ปี 

AINU มีความสามารถผ่านมาตรฐาน iBeta level 2 ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในเรื่องของเทคโนโลยียืนยันตัวตน และรองรับทั้ง acitve solution และ passive solution เป็น total solution ด้านเทคโนโบยียืนยันตัวตนที่ใช้ AI เป็น 1 ใน 3 ของโลกที่ทำได้ และเป็นที่เดียวและที่แรกของเอเชียที่ได้มาตรฐานนี้ ซึ่ง AINU สามารถยืนยันตัวตนได้ทั้งรูปภาพ (image/photo) ภาพ 2D Mask ภาพ Video Replay และ 3D Mask ซึ่งหากไม่ใช่หน้าคนจริง ๆ ก็สามารถตรวจจับได้ ทำให้เคสของการโกงจะลดลงและหมดไป 

อีกเทคโนโลยีหนึ่งเป็นการทำวิจัยร่วมกับ MIT Media Labs ซึ่ง KBTG สนับสนุนการวิจัยผ่าน KBTG Fellow ซึ่งที่ผ่านมามี Future You และ คู่คิด by K-GPT ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่บริษัทไทยสามารถเข้าไปมีบทบาทในงานวิจัยระดับโลกได้ 

ดร.ทัดพงศ์ กล่าววว่า FinLearn เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก คู่คิด by K-GPT เป็นผู้ช่วยในการเรียนรู้แบบ responsive ที่แตกต่างจากผู้ช่วยอื่น ๆ เป็นผู้ช่วยที่สามารถทำให้นักเรียนเข้าถึงการเรียนรู้ได้ 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ จะเป็นเทคโนโลยีที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ เพราะว่าสามารถเปลี่ยน persona ของ robot นี้ให้เป็น persona ที่เด็กชื่นชอบเพื่อกระตุ้นความสนใจในการเรียน ทั้งหมดจะมีระบบ filter ข้อความที่ไม่เหมาะสม และมีเครื่องมือ feedback เพื่อสร้างให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี มีการทำวิจัยเบื้องต้นและทดลองใช้กับกลุ่มทดลองประมาณ 70 คน ได้ผลที่ดีมาก 

เป้าหมายสูงสุดของ FinLearn คือ การสร้างระบบการเรียนรู้ที่ทำให้การเรียนรู้ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สร้างการเรียนรู้ และสร้างวินัยทางการเงินที่ดีให้กับสังคมไทย และสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้อีกด้วย 

“ถ้าคิดถึง AI อยากให้คิดถึง KBTG เป็นอันดับต้น ๆ AI เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเข้ามาช่วยกัน KBTG เราเชื่อในเรื่องของ Human First, AI First เราอยากไปอยู่ในแถวหน้าของผู้บุกเบิกและของผู้นำเรื่อง AI ในประเทศไทย” ดร.ทัดพงศ์ กล่าวว

KBTG Labs

ดร.มนต์ชัย  เลิศสุทธิวงค์ Principal Research Engineer,  KBTG Labs กล่าวว่า KBTG Labs มี 2 หมวด หมวกแรก คือ เป็นแหล่งที่ผลิตนวัตกรรม การผลิตมีหลายแบบ คือ ผลิตเองทั้งหมดหรือไปร่วมมือกับคนที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น การไปจับมือกับ MIT Media Labs  หมวกที่ 2 เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ เช่น ไปร่วมสร้างหลักสูตร และส่งผู้เชี่ยวชายไปสอนหนังสือ 

“ถ้าจะพูดถึงเรื่อง AI อยากให้พูดถึง KBTG Labs เป็นที่แรก” ดร.มนต์ชัย กล่าว

หากจะกล่าวถึงผลงาน AI ที่โดดเด่นของ KBTG Labs ดร.มนต์ชัย กล่าวว่า คือ

  • เทคโนโลยีที่ใช้ทำ eKYC เช่นการทำ face liveness detection ในการตรวจจับว่าเขาเป็นคนจริงหรือไม่ เป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่ทำได้และได้มาตรฐานระดับโลก เป็นแห่งเดียวในเอเชีย และเป็นอันดับในโลกที่ทำได้ทั้ง active และ passive liveness ซึ่งจัดว่ายากมาก 
  • เทคโนโลยี NLP หรือ Natural Language Processing เป็นเทคโนโลยี AI ที่เข้าใจเสียงว่าพูดว่าอะไร มาใช้งานใน call center 
  • เทคโนโลยีที่ใช้ทำ data analytics การวิเคราะห์ข้อมูลของธนาคารและนำข้อมูลมาสร้างประโยชน์ ทั้งเรื่องการปล่อนสินเชื่อ หรือนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า 

ส่วนผลงานที่กำลังจะออกมาในอนาคต ได้แก่

  • Services ใหม่ ๆ ที่นำ AI มาใช้ เช่น service ที่เน้นการให้บริการผู้ใช้ เอา AI มาช่วยในการขายของให้ลูกค้า ช่วยตัดสินใจ ช่วยนำเสนอในสิ่งที่ลูกค้าอยากจะได้ 
  • การทำเรื่อง large language model คล้าย ๆ Chat GPT แต่เป็นการทำเพื่อให้เข้าใจโดเมนที่เราเป็น expert ในโดเมนของการเงินเราไม่แพ้ใคร 
  • human-AI interaction หมายความว่าจะทำอย่างไรให้คนกับ AI อยู่ร่วมกันได้ คนใช้งาน AI ได้อย่าง smooth เช่น call center ที่เป็น AI แต่คนจะรู้สึกว่าคุยอยู่กับคน 

จาก AI Product สู่ AI Business

ดร.เจริญชัย บวรธรรมรัตน์ Senior Venture Director, KX กล่าวว่า KX เกิดมาเพื่อทำเรื่องของ venture builder คือการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ในกลุ่ม AI ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน KX ดังนั้น KX AI คือ การส่งผ่านคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของ KBTG ไปยังพันธมิตรข้างนอก บทบาทของ KX คือ การนำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าจาก KBTG ไปพัฒนาให้พันธมิตร และสร้างธุรกิจให้กับ KBTG 

“KBTG เราอยากเป็น AI pioneer หลังจากที่เราสร้างผลกระทบให้กับ KBTG และ KBank แล้ว เราถึงนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไปให้กับพันธมิตรของเรา เพราะเราเห็นถึงคุณค่าตรงนั้นแล้ว เราสามารถถ่ายทอดคุณค่านั้นให้กับพันธมิตรของเราได้” ดร.เจริญชัย กล่าว

การสร้างผลิตภัณฑ์ AI ให้กลายเป็นธุรกิจ AI ประกอบด้วย 3P คือ 

  • platform ทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ AI ของ KBTG สามารถเข้า ต่อเชื่อม กับระบบของพันธมิตรต่าง ๆ ให้ใคร ๆ ก็สามารถต่อเขื่อมและใช้งานได้ง่าย 
  • pricing และ business value proposition จะสร้างแรงจูงใจทางธุรกิจอย่างไรให้เกิดความร่วมมือแบบ win-win ระหว่าง KBTG และพันธมิตร แ
  • right player จะเป็นทีมที่เข้ามาสร้างความสามารถในเรื่องของธุรกิจและผลิตภัณฑ์ และการทำให้ผลิตภัณฑ์และธุรกิจเป็นมาตรฐานสากลในหลาย ๆ ด้าน

“ตั้งแต่จัดตั้ง KX มาเมื่อปีก่อน ตอนนี้เรามีผลิตภัณฑ์อยู่ 2 ตัวที่นำเสนอกับพันธมิตรเรา ตัวแรกคือส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำ eKYC หรือเป็นชื่อสินค้าที่เรียกว่า AINU ตัวที่สอง คือ AI ที่เกี่ยวข้องกับ insure-tech ตอนนี้มีพันธมิตรที่สนใจและเริ่มมาดีลธุรกิจอยู่หลายบริษัท” ดร.เจริญชัย กล่าว 

การต่อยอดต่อไปตอนนี้มีทีมงานเพิ่มเติมเข้ามา เพื่อสร้าง new AI และอยู่ในขั้นทำ proof of concept ซึ่งจะทำให้ธุรกิจ AI ของ KBTG ขยายใหญ่ขึ้นและมีความแข็งแรงมากขึ้น 

สำหรับแนวทางที่จะเข้าถึงพันธมิตร คือ SaaS ด้วยสร้างเป็นแพลตฟอร์มขึ้นมา เชื่อมต่อผ่าน interface ทำให้ time to market จากเป็นปี ๆ เหลือเพียง 3 เดือน 

AI Investment

กัมปนาท วิมลโนท Managing Director, KXVC กล่าวว่า KXVC ลงทุนใน 2 แบบ คือ direct investment คือการลงทุนในสตาร์ตอัพโดยตรง กับการลงทุนในกองทุน หรือที่เรียกว่า fund of fund เป็นการลงทุนในกอง VC ทั่วโลก ทั้งนี้ KXVC ฐานอยู่ที่ Southeast Asia เป็นหลัก การจะเข้าถึงดีลที่ดีที่สุดทั่วโลกได้ จำเป็นต้องทำงานร่วมกับ VC fund ทั่วโลก จะเน้นการลงทุนไปที่ US UK ประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นหลัก ที่ผ่านมาในช่วงเริ่มต้น 2 ปีแรก เน้นการลงทุนไปที่ blockchain และ Web3 เป็นหลัก ในปีนี้จะเน้นการลงทุนที่ AI ถึง 70% 

“เราจะเป็น gateway มาที่ Southeast Asia ให้กับ AI ชั้นนำทั่วโลก AI ทั่วโลก สิ่งที่เขาอยากจะได้มากที่สุดคือฐานลูกค้า เราจะลงทุนกับเขา เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของเขา และพาเขาเข้าถึงฐานลูกค้าใน Southeast Asia ทั้งที่เป็น B2B และ B2C รวมถึงฐานลูกค้าของธนาคารกสิกรไทย และเครือของเรา ไม่ว่าจะเป็น KBTG, KBTG Labs หรือ KX”

โฟกัสหลักของ KXVC คือ AI และ deep tech บทบาทของ KXVC คือการเข้าไปถึง AI ผ่านการลงทุนในสตาร์ตอัพโดยตรงและผ่านกองทุน VC ทั่วโลก KBTG ต้องมี VC เพราะต้องออกไปค้นหาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี AI จากทั่วโลก ผ่านเครื่องมือการลงทุน 

ให้มอง AI เป็น 2 มุม คือการสร้างผลิตภัณฑ์ AI และการทำตลาดผลิตภัณฑ์​ AI ตอนนี้ทั่วโลกโดยเฉพาะในอเมริกา คนที่อยู่ในบริษัท AI ลาออกมาทำสตาร์ตอัพด้าน AI เป็นผลมาจาก Open AI ได้ที่รับเงินลงทุนที่สูงมาก ทำให้ VCs ทั่วโลกอัดฉีดเม็ดเงินเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้นวัตกรรมใหม่ 

เทรนด์ที่เห็นชัด ๆ คือ การสร้างโมเดลจะถูกลง เร็วขึ้น แม่นยำมากขึ้น machine learning และ data scientist จะทำงานได้ง่ายขึ้น และทุกคนสามารถจะใช้งานได้โดยง่าย 

“โมเดลไหนใช้งานได้จริง จะต้องมี venture builder ที่จะหยิบเอาเทคโนโลยีไปขาย ไปให้ถึงมือลูกค้า 5 ปีจากนี้โลกจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง AI จะถูกพัฒนาไปอย่างเร็วมาก ทุกคนจะสามารถใช้ประโยชน์จาก AI การพัฒนาเทคโนโลยีจะเร็วขึ้น 10-30 เท่า ในอนาคต AI จะช่วยแนะนำว่าควรสร้างเทคโนโลยีแบบไหน เรียกว่าจะเป็น AI-driven world transformation” กัมปนาท กล่าว

โลกกำลังเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ โดยมีเทคโนโลยี AI เป็น เทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลก KBTG ในฐานะหัวหอกด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย ที่ปักธงเป็นหนึ่งในผู้นำด้าน AI จึงต้องเดินหน้าทรานส์ฟอร์มต่อด้วยอัตราเร็วที่เพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบที่มากขึ้น เชื่อแน่ว่าใน 5 ปีข้างหน้านับจากนี้จะได้เห็นเทคโนโลยี AI จาก KBTG ที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกจิ สังคม และชีวิตคนไทยอีกหลากหลายในตลาด 

#KBTGVision #KBTGInnovation #BeyondAI #BeyondBanking #AI #M.A.D. #KBTGTransformation #KBTGRegional #KBTGAIFirst #KBTGHumanFirst #AIFirst #HumanFirst

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ