TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyKBTG ชวนทุกคน Let’s Get M.A.D. เพื่ออยู่รอดและอยู่อย่างผู้ชนะในโลกยุค AI

KBTG ชวนทุกคน Let’s Get M.A.D. เพื่ออยู่รอดและอยู่อย่างผู้ชนะในโลกยุค AI

KBTG เชื่อว่า AI คือหนึ่งในวาระเร่งด่วนของโลกนอกเหนือจาก Climate ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะการมาของ Generative AI ที่เป็น AI ขั้นก้าวหน้าขั้นเบื้องต้นของความสามารถที่ชาญฉลาดที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันไม่ไกลนี้ เป็นเสมือนสัญญาณเตือนถึงสึนามิทางเทคโนโลยีและผลกระทบอันยิ่งใหญ่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทำให้หลายองค์กรใหญ่ทั่วโลกต่างตบเท้าเตรียมตัว ปรับกลยุทธ์ เพื่อแปรความสามารถของ AI ไปสู่ผลกระทบเชิงบวกและเพื่อป้องกันและลดผลกระทบเชิงลบ 

สึนามิ AI ครั้งนี้จะสร้างช่องว่างของความเท่าเทียมในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะระหว่างคน องค์กร และประเทศ ที่ตระรู้ เตรียมการ มีความสามารถ ในการตั้งรับ เรียนรู้ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI กับที่ไม่รู้ ไม่ตระหนัก ไม่มีความสามารถ ให้ถ่างออกจากกันมากยิ่งขึ้น AI Literacy จึงเป็นวาระเร่งด่วน 

KBTG ในฐานะที่ประกาศตัวเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของไทยและปักธงเป็นบริษัท AI-First ขานรับพันธกิจในการเป็นหัวเรือใหญ่ลำหนึ่งที่จะช่วยสร้าง​ AI Literacy ให้กับประเทศไทย ด้วยการปลุกให้ทุกคน ทุกองค์กร ขึ้นมา Let’s Get M.A.D. ไปกับสึนามิในครั้งนี้ 

MAD คือ Machine Learning, AI และ Data/Data Analytics 

ปฐมบทความคิด 

KBTG เชื่อว่า AI กับมนุษย์จะอยู่ร่วมกัน AI เป็นเหมือนสมองที่สองของมนุษย์ที่จะเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพให้มนุษย์อย่างมหาศาล โลกกำลังเข้าสู่ยุค Exponential คือ เติบโตแบบก้าวกระโดด ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะพัฒนาก้าวหน้ามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมาแบบมหาศาล และ AI จะเป็นเหมือนอากาศ มันจะอยู่ทุกที่และมนุษย์จะขาดมันไม่ได้ และเชื่อว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า เด็ก ๆ จะสามารถออกแบบยานอวกาศ หรือตัดต่อยีน หรือสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่คนรุ่นปัจจุบันไม่สามารถทำได้ 

“ในช่วง 10 ข้างหน้าเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นมากสำหรับคนรุ่นลูกรุ่นหลาน วันนี้เพิ่งจะเป็นรุ่งอรุณของยุคใหม่ของ AI ที่ยังทันเวลาที่จะกำหนดอนาคตของ AI ได้”​ เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท KASIKORN Business-Technology Group หรือ KBTG กล่าวด้วยความเชื่อมั่นอย่างหนักแน่น 

เขากล่าวว่า AI มีพัฒนาการมาหลายสิบปี และผ่านยุค AI Winter มาหลายรอบแล้ว รอบล่าสุดคือเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา ที่เป็นยุคที่ทุกคนไม่สนใจ AI เลย คนไปสนใจ blockchain และ cyrpto แต่การมาของ Generative AI ทำให้กระแส AI กลับมา และครั้งนี้เป็นกลับมาที่มี foundation ที่ดี คือมีข้อมูล (data) ที่เกิดขึ้นมากมหาศาลในช่วง 3 ปีของโควิดที่ผู้คนหันมาใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัล อพยพย้ายชีวิตทั้งหมดขึ้นมาบนโลกออนไลน์ ทำให้เกิด data มหาศาล ตัวอย่างเช่น K PLUS เอง เติบโตมหาศาล จนปัจจุบันรองรับธุรกรรมโอน-เติม-จ่าย ทั้งหมด 23 ล้านล้านบาท จัดการกับปริมาณข้อมูลมากกว่า 30% หรือ 1 ใน 3 ของประเทศไทย และเมื่อข้อมูล (Data) คือธัญญาหารของ AI 

หลายบริษัทรวมทั้ง KBank และ KBTG ได้ทำ data-driven transformation ขั้นถัดไปคือการทำ automation คือการทำ automated ในทุกกระบวนการทำงานภายในองค์กร รวมถึงความสามารถในการประมวลขของคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้สามารถดำเนินการประมวลผลข้อมูลเป็นล้านล้านข้อมูลได้แบบสบาย ๆ 

สัตยา นาเดลลา ซีอีโอของไมโครซอฟท์ พูดตั้งแต่ปี 2019 ว่าโลกจะเปลี่ยนจากยุค Mobile-Firtst เป็น AI-First จากนั้นปี 2020 เกิดการระบาดของโควิด 2021-2022 เกิดกระแสการเติบโตของ blockchain และ crypto ทำให้กลบเรื่องของ AI ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างเงียบเชียบ จนปลายปี 2022 การเปิดตัวของ Chat GPT เป็นสัญญาณชัดเจนที่บอกว่า โลกได้เปลี่ยนจากยุค Mobile-First เป็น AI-First แล้ว 

KBank และ KBTG ภูมิใจที่เป็นเบอร์หนึ่งในโลก Mobile-First ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ ว่า K PLUS คือ mobile banking อันดับหนึ่งของประเทศไทยด้วยยอดผู้ใช้งานเกือบ 21 ล้านคน นอกจากนี้ LINE BK มีผู้ใช้มากกว่า 4 ล้านคน ขุนทอง (Khunthong) มีผู้ใช้ 1 ล้านคน เมฆ (MAKE by KBank) ที่มีผู้ใช้มากกว่า 1 ล้านเช่นกัน

KBank และ KBTG วางรากฐานเพื่อก้าวสู่ยุค AI-First ตั้งแต่ปี 2019 ด้วยการประกาศวิสัยทัศน์ Cognitive Banking และจะเป็นธนาคารที่เป็น AI-First จากนั้นเตรียมข้อมูลด้วยการทำ data-driven transformation และ automation ในทุกกระบวนการ อาทิ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร กระบวนการทดสอบซอฟต์แวร์ และกระบวนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อให้เป็นอัตโนมัติทั้งหมด และทำ AI-First transformation ทั้งกระบวนการตั้งแต่การพัฒนาซอฟต์แวร์ กระบวนการทำงาน และการทำการตลาด เรียกได้ว่าตั้งแต่การทำการวิจัยจนถึงการนำไปใช้จริง 

Let’s get M.A.D. 

Let-mad-KBTG

การจะเป็นผู้ชนะในยุค AI-First ได้ หัวใจสำคัญคือ M.A.D. การจะเป็นบริษัท AI-First จะต้อง Let’s get M.A.D. คือจะต้องมี Machine Learning, AI และ Data/Data Analytics บางโจทย์ใช้ Machine Learning บางโจทย์ใช้ AI แต่ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการมีฐานข้อมูลที่แข็งแกร่ง

KBank นำ Machine Learning มาใช้ในแอป K PLUS ทำให้สามารถสร้างฐานลูกค้าสินเชื่อเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาสร้างวงเงินสินเชื่อเพิ่มได้มากกว่า 10,000 ล้านบาท สร้างฐานลูกค้าใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ของธนาคารเพิ่มขึ้น 2 เท่า คิดเป็นรายได้เพิ่ม 450 ล้านบาทในปี 2022 และใช้ในการแนะนำโปรโมชั่นต่าง ๆ ให้ลูกค้า สามารถปิดการขายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าคิดเป็นรายได้เพิ่ม 200 ล้านบาทในปี 2022

KBank นำเทคโนโลยี AI ไปใช้งานแล้วหลายตัว อาทิ เทคโนโลยียืนยันตัวตนของ KBTG (verification technology) ทั้ง Thai ID ORC และ Fraud Detection โดยทำ Car AI ร่วมกับมืองไทยประกันภัย เวลาเคลมประกัน ไม่ต้องรอพนักงานเคลม (ซึ่งต้นทุนค่าพนักงานเคลมมาบริการ 800 บาทต่อการเคลม 1 ครั้ง) ผู้ใช้งานสามารถถ่ายรูปรถยนต์ด้วยตัวเอง และใช้ Car AI ประเมินความเสียหายได้เอง และในปีนี้ทาง KBTG ได้คว้ารางวัล Asian Technology Excellence Awards 2023 สาขา AI ด้าน Car AI​ มาอีกด้วย 

เทคโนโลยี AI Chatbot ซึ่งช่วยทำให้การให้บริการลูกค้าของ Call Center เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้นถึง 80% ของปริมาณการพูดคุยทั้งหมด ทำให้พนักงาน Call Center ประหยัดเวลาไป 300,000 ชั่วโมง ประหยัดเงินไป 130 ล้านบาท

KBTG ได้มีความร่วมมือกับ MIT Media Lab ในการทำวิจัยร่วมกันผลงานวิจัยที่ทำร่วมกันที่ออกมาเป็น proof-of-concept แล้ว คือ Future You (เริ่มทำลองให้ใช้งานในกลุ่มปิด) และคู่คิด K-GPT ซึ่งเป็น Knowledge-based Chat GPT ภาษาไทยที่คาดว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ตลาดในปี 2024 นอกจากนี้ ยังมีการทำวิจัยร่วมกันสร้าง AI Character เพื่อเป็น AI ที่มาช่วนเทรนมนุษย์ รวมถึงทำ Explanable AI หรือ AI ที่อธิบายเหตุผลได้ 

AI จะเข้ามาแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนบุคลากรหรือองค์ความรู้ อาทิ ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ และด้านการเงิน เป็นต้น เป็นการเพิ่มศักยภาพให้หมอหนึ่งคน ครูหนึ่งคน หรือที่ปรึกษาทางการเงิน สามารถให้คำแนะนำกับคนได้มากกว่าเดิมเป็น 10 เท่า

“SME ต่อไปจะสามารถมี CFO ที่เป็น AI ที่คอยให้คำแนะนำได้” 

ข้อมูล (Data) คือพื้นฐานสำคัญของ Machine Learning และ AI ซึ่ง Data ทั้งหมดที่นำมาใช้เทรน AI นั้น ถูก deidentify เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ที่ KBTG ดูแลข้อมูลที่นำไปใช้เทรน AI ตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็น PDPA, Privacy Data และการปกป้องข้อมูลของลูกค้าด้วยมาตรฐานเดียวกับธนาคาร

สร้างระบบนิเวศ AI 

เริ่มจากทำให้ KBTG ให้เป็นบริษัท AI-First ด้วย M.A.D. จากนั้นนำ KBTG ไปทรานส์ฟอร์ม KBank ให้เป็น AI-First Banking ถัดจากนั้นสร้างผลิตภัณฑ์ AI ไปช่วยเหลือลูกค้า สร้าง AI talents และสร้างระบบนิเวศ AI ให้กับประเทศไทยและภูมิภาคนี้ 

“10 ปีข้างหน้า ทุกคนจะต้องเป็นผู้อยู่รอดและเป็นผู้ชนะ คือ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน KBTG มีพันธกิจที่ยิ่งใหญมาก เราเดินไปคนเดียวไม่ได้ เราถึงต้องสร้างระบบนิเวศ ทั้ง KBTG KBank ลูกค้า KBTG ลูกค้า KBank และทั้งประเทศ จะต้องเป็นผู้ชนะและอยู่รอด”​ เรืองโรจน์ กล่าว

สิ่งที่ KBTG ทำต่อเนื่องในการสร้างระบบนิเวศ คือ การพัฒนากำลังคนด้าน AI ด้วยการเปิดคอร์ส Re-skill ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาเปิดคอร์สออนไลน์ 20 คอร์ส มีคนลงเรียน 14,000 คน มีคนดูทั้งหมด 273,000 คน มีจำนวนการ Re-Skill 30,000 ชั่วโมง และมีการเปิด Bootcamp หลายหลักสูตร อาทิ Boot cCamp เรื่อง Cyber Security มีคนสมัครมากกว่า 600 คน 

มีการทำงานร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการสร้างคนรุ่นใหม่สายพันธ์ุ AI ด้วยการสอนแบบ 4P คือ เรียนแบบ Project-based learning เรียนร่วมกันกับเพื่อน (Peer) เรียนอย่างมีความหลงใหล (Passion) และเรียนราวกับเล่น (Play) รวมถึงมีความร่วมมือด้านงานวิจัยร่วมกันกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศชั้นนำ และร่วมมือกับ MIT Media Lab ทำ AI Literacy Guideline ขึ้น สำหรับการศึกษาเพื่อให้คนไทยมีความรู้เท่าทัน AI 

ที่ KBTG มี Center of Excellent ที่ชื่อว่า MAD อยู่ที่ KBTG Labs มีงานวิจัยในสามเรื่อง Machine Learning, AI และ Data Analytics มี PhD มีผลิตภัณฑ์และงานวิจัยหลายต่อหลายชิ้นที่คิดค้นและพัฒนาจากศูนย์นี้ อาทิ AINU, คู่คิด Chatbot K-GPT, MAKE, ขุนทอง, Car AI เป็นต้น และล่าสุดมี AI Venture Builder ที่สร้าง AI Startup อีกด้วย

“เราจะ MAD ไปด้วยกัน เราจะต้องจินตนาการร่วมกัน ร่วมกันค้นหาและสำรวจ ร่วมกันคิด และร่วมกันสร้าง”​ 

ภูมิทัศน์ AI ของ KBTG ตั้งแต่ปี 2019 จนถึงปัจจุบัน มีทั้งเนื้องานที่ทำไปแล้วและกำลังจะทำอีกมากมาย ทั้งการนำ AI มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงกระบวนการทำงานขององค์กร เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งภายใน KBTG และ KBank อาทิ การนำเทคโนโลยี AI ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านการขายและการตลาด (Sales & Marketing) ทั้งการทำ Lead Generation, Product Preference และ Promotion Reference ใช้ในงานด้านเครดิตและความเสี่ยง (Credit&Risk) อาทิ Risk Modeling และ Alternative Scoring รวมถึงการใช้ในส่วนการทำธุรกิจ เช่น E-KYC, Document AI, Car AI, และ ATM Cash Replenishment และใช้ Generative AI Chatbot เพื่อห้บริการลูกค้า เช่น KBank Live LINE BK และ K+ Connect

และยังมีอีกหลายงานมากที่กำลังอยู่ในขั้นของการพัฒนา ทดลอง ทำต้นแบบในการประยุกต์ใช้ AI ในส่วนต่าง  เพื่อสนับสนุน KBANK ให้เป็น AI-First Banking และย้ำบทบาทการเป็น AI-First Company ของ KBTG โดยเฉพาะในส่วนงานยุทธศาสตร์ ​และ Business Intelligence รวมถึง IT Devlopment and O peration และส่วนขยายของงานด้านการพัฒนาผลิตภัตณฑ์​ ปรับปรุงกระบวนการทำงานขององค์กร เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี 

สึนามิ AI 

เกือบทุกอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบของสึนามิ AI โดยเฉพาะอุตสากรรมมีเดีย อินฟลูเอนเซอร์ เอนเตอร์เทนเมนต์ การศึกษา การค้าขาย การให้บริการลูกค้า (ในทุกอุตสาหกรรม) และโลจิสติกส์ แต่ท่ามกลางวิกฤติก็มีโอกาส เรืองโรจน์กล่าวว่า การจะเป็นบริษัท AI-First ได้ จะต้องมี AI-First Mindset เสียก่อน ต้องรู้ว่าการมาของ AI ในครั้งนี้เป็นของจริง ทุกคนและทุกองค์กรมีเวลาเตรียมตัวเพียงแค่ 2 ปีจากนี้ ที่คาดว่าฟองสบู่ Generative AI ซึ่งอยู่ด้านบนสุดของพีรามิด AI Hype ซึ่งคาดว่าจะแตกไม่เกินปี 2024 จากนั้นกระแส AI จะเข้าสู่ของจริง

เรืองโรจน์ กล่าวว่า 90% ของสตาร์ตอัพด้าน Generative AI ทั่วโลกจะเจ๊งไม่เกินปี 2024 เพราะพวกเขาเหล่านั้นไปทำในสิ่งที่ไม่ถนัด คือไปทำ AI ที่แข่งกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ อย่าง Google, Microsoft, Facebook เป็นต้น แต่หลังจากนี้ไปจะเป็นของจริง สตาร์ตอัพที่อยู่รอดและที่จะเกิดใหม่หลังจากนี้จะไปจับมือกับองค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมเฉพาะด้านเพื่อสร้าง AI มาแก้ปัญหา Longtail Problem คือปัญหาเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรมนั้น ๆ อาทิ อุตสาหกรรมชิปปิ้ง ที่ยาก โบราณ และมีเซ็กซี่ มีแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาล 

“สตาร์ตอัพควรจับมือกับผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้เพื่อออกแบบกระบวนการด้วยความเข้าใจอุตสาหกรรมนี้จริง ๆ เพื่อประยุกต์นำเทคโลยี AI มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง”

ท่าในการ Let’s Get M.A.D. ที่จะเห็นในอนาคตอันใกล้นี้ คือสตาร์ตอัพด้าน AI จะจับมือกับธุรกิจตัวจริงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ดู unsexy, very dirty แต่ profitable ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เหมาะสมมากที่จะใช้ AI ร่วมกันสร้างโซลูชันที่แก้ปัญหาใหญ่ ๆ ของอุตสาหกรรมนั้น เพื่อทรานส์ฟอร์มอุตสาหกรรมนั้นสู่ AI-driven Company ในที่สุดนั่นเอง 

มีตัวอย่างสตาร์ตอัพด้าน AI ที่นำข้อมูล 61,000 Data Points มาช่วยพยากรณ์ว่าเครื่องดื่มรสชาติใดในอนาคตจะปัง หรือ Netflix ที่นำ Machine Learning และ Data Analytics มาวางแผนตั้งแต่การเลือกโลโคชันที่ดีที่สุด จากการวิเคราะห์ด้วย AI ว่าหากมีฉากที่นี่แล้วซีรีส์หรือภาพยนตร์นั้นจะได้รับความนิยม มาวางแผนการทำตารางการถ่ายทำ รวมถึงวิเคราะห์ว่าในภาพยนตร์เรื่องต่อไปหากจะให้ in-trend จะต้องมีองค์ประกอบของอะไรบ้าง เป็นต้น 

AI Literacy เป็นอีกสึนามิที่สำคัญของ AI จะเกิดช่องว่างของผู้รู้ เข้าใจ และใช้ AI เป็น กับผู้ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ใช้ AI ไม่เป็น จากการคาดการณ์ของ World Economic Forum ที่ว่าจะมีคนตกงาน 400 ล้านคนทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกันก็มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดจำแหน่งงานใหม่ ๆ 1,000 ล้านคนทั่วโลก เพราะจะเกิดการ re-postion ตำแหน่งงานครั้งใหญ่จากผลกระทบของ AI ดังนั้นแต่ละประเทศ แต่ละองค์กร แต่ละคน ควรเตรียมตัวเอง เตรียมองค์กร และเตรียมประเทศให้พร้อมที่จะขี่สึนามิลูกนี้ แทนที่จะให้สึนามิถาโถมซัดให้หายไป

“ประเทศไทย คนไทย จะต้องเป็นผู้รอด และผู้ชนะในยุค AI ในอนาคตนี้ เรามา Let’s Get M.A.D. ไปด้วยกัน!” เรืองโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย 

#KBTG #KBTGAIFirst #LetsGetMAD #BeyondBanking #AITechnology

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ