TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyทางออกของการแก้ “AI BIAS”

ทางออกของการแก้ “AI BIAS”

AI ได้รับการยกย่องว่า เป็นเครื่องมือที่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงานของมนุษย์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่มนุษย์เราก็ยังมีความกังวลอยู่ดีว่า ทำอย่างไร AI ถึงจะไม่เลือกปฏิบัติหรือมีอคติในการตัดสินใจ เพราะการเรียนรู้ของ AI มีความเป็นไปได้ที่จะถูกป้อนข้อมูลที่จะนำไปสู่การทำให้เกิดการตัดสินใจที่ไม่เป็นกลางหรือที่เรียกว่า “อคติ” ได้

ทำไม AI ถึงมี “อคติ”

สาเหตุที่ทำให้ AI มีอคติมีหลายสาเหตุ บางครั้งเป็นเพราะตัวอัลกอริทึมที่ใช้ในการเรียนรู้และทำการตัดสินใจมีข้อจำกัด เช่น การใช้ข้อมูลที่ไม่ครอบคลุม หรือถูกจำกัดข้อมูลก็ส่งผลให้ AI เกิดการเรียนรู้ที่ผิด ๆ จากข้อมูลเหล่านั้น จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่เป็นธรรมขึ้นมาได้

ตัวอย่างเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว กับการใช้งาน AI ในการรับสมัครงานของ Google ที่ AI เรียนรู้จากข้อมูลการรับคนเข้าทำงานจนเข้าใจไปเองว่าตำแหน่งวิศวกรนั้น ควรเป็นเพศชายเท่านั้น ทำให้ผู้สมัครเพศหญิงถูกปัดตกออกไปจากขั้นตอนการรับสมัครเบื้องต้น จนในเวลาต่อมา Google ก็ต้องยกเลิกการใช้งาน AI ทางด้านนี้ไป เพราะเห็นว่าเกิดความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น

ดังนั้น เรื่องการพัฒนาให้ AI กลายเป็นเป็นเครื่องมือที่ยุติธรรมและไม่มีอคติ จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทีมพัฒนาด้าน AI จะต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของการตั้งค่าเริ่มต้น และการเลือกใช้ข้อมูลในการเรียนรู้ที่มีความถูกต้องและเหมาะกับวัฒนธรรมของคนที่จะเป็นผู้ใช้งาน

AI แต่ละตัวมี “นิสัย” ไม่เหมือนกัน

สาเหตุที่ทำให้ AI แต่ละตัวมีนิสัยที่แตกต่างกันนั้นมีหลายเรื่อง ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาและการเรียนรู้ ย่อมจะส่งผลให้ AI แต่ละตัวมีการประมวลผลที่แตกต่างกันออกไป จนทำให้ AI แต่ละตัวมีคุณสมบัติในการตอบสนองที่แตกต่างกันออกไป

นอกจากนี้ AI ยังสามารถเรียนรู้และปรับปรุงตนเองได้จากการเรียนรู้ข้อมูลที่ได้รับจากผู้ใช้งาน ทำให้ AI มีความแตกต่างตามการเรียนรู้เพิ่มขึ้นไปอีก นี่ยังไม่รวมเรื่องของความแตกต่างของค่าตั้งต้นและข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาของโครงการต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ทำให้ AI แต่ละตัวมีลักษณะหรือ “นิสัย” ที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง

แล้วจะเลือกใช้เอไออย่างไร?

เมื่อเรารู้แล้วว่า AI มี “อคติ” และ “นิสัย” ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้วจะเลือกใช้เอไออย่างไรให้มีความเป็นกลาง หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คืออยากได้ AI นิสัยดีนั่นเอง

การที่จะเลือกใช้ AI ที่เหมาะกับเรา ก่อนอื่นเราก็ต้องรู้ความต้องการของตัวเราเองก่อนว่าจะใช้ AI เพื่ออะไร จากนั้นค่อยไปศึกษาและหาเอาว่ามีตัวไหนที่ตอบโจทย์การใช้งานของเราบ้าง โดยพิจารณาเรื่องของเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของผู้พัฒนารวมถึงตัวอย่างการใช้งานที่มีอยู่เป็นส่วนประกอบ ส่วนเรื่องของคุณภาพก็จะตามมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ายกตัวอย่างเรื่องของแชตบอท แน่นอนว่าเราเป็นคนไทยเราก็ย่อมจะมีความต้องการในเรื่องของแชตบอทที่เก่งภาษาไทย และควรจะเป็น AI ที่เข้าใจหรือเรียนรู้จากข้อมูลของคนไทยเป็นความต้องการแรก

ส่วนเรื่องอคติของ AI นั้นคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการเปรียบเทียบ อย่างเรื่องของแชตบอทเชื่อว่าพวกเราเองก็พอที่จะทำการเปรียบเทียบเองได้ ยกตัวอย่างการพัฒนาแชตบอทของธนาคารต่าง ๆ พวกเราหลายคนคงจะได้ทดลองใช้กันมาบ้างแล้ว น่าจะพอทราบแล้วว่าแชตบอทของธนาคารไหนรุ่งและของธนาคารไหนเป็นง่อย อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า มาที่ไปของการพัฒนาแชตบอทแต่ละตัวนั้นมีความแตกต่างกัน แต่เอาเข้าจริง ๆ การที่เปรียบเทียบที่ถูกต้องควรจะทำการเปรียบเทียบกันเองในระบบเดียวกันมากกว่า

ทางออกเรื่องอคติของ AI

คงจะดีไม่น้อยถ้าหากจะมี AI ที่มีความคิดความอ่านแตกต่างกันมาทำงานอยู่ในระบบเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อเราทำการรป้อนคำถาม คำถามของเราจะถูกส่งไปยัง AI 2 ตัวที่มีความคิดความอ่านแตกต่างกันพร้อมกัน แล้วแต่ละตัวก็จะให้คำตอบตามความถนัดและตามข้อมูลที่มันได้เรียนรู้มา

ยกตัวอย่างให้เพื่อที่จะเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ให้นึกถึงตอนที่เราใช้ความคิด หากเราให้น้ำหนักไปที่การใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าคำตอบที่เราได้รับก็จะเต็มไปด้วยตรรกะและเหตุผล แต่ถ้าหากเราให้น้ำหนักไปที่สมองซีกขวาคำตอบที่ได้ก็จะเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

เมื่อนำแนวคิดที่คล้ายกันนี้มาทำการพัฒนา AI ก็จะทำให้เรื่องของอคติลดน้อยลงไป เพราะคำตอบที่ได้จะไม่ได้มีเพียงคำตอบเดียวทางเลือกเดียวอีกต่อไป การให้คำตอบที่แตกต่างกันเป็นการเปิดโอกาสให้เราเองเป็นผู้เลือกและทำการตัดสินใจเอง และข่าวดีก็คือมีการพัฒนาเอไอแชทบอทในลักษณะนี้ขึ้นมาแล้ว

AI ที่คิดพร้อมกัน 2 ด้าน

AI ที่สามารถทำงานแบบนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ KBTG และ  MIT Media Lab ที่ทำการสร้างเทคโนโลยีเอไอที่จะมาทำการเสริมสร้างศักยภาพของคนที่ชื่อว่า “คู่คิด”

ผลงานนี้เป็นการนำเอาเทคโนโลยีด้าน Advanced AI มาเพื่อสร้างการใช้งานด้านภาษาไทย โดยทำการพัฒนาต่อยอดมาจาก GPT แต่ได้ทำการเพิ่มข้อมูลสำหรับการเรียนรู้แบบเฉพาะเจาะจงใน 3 เรื่องสำคัญอย่าง เรื่องของภาษาและวัฒนธรรม (Language Specific Knowledge) เรื่องของความเข้าใจในความรู้เฉพาะด้าน (Specific Domain Knowledge) และเรื่องของความเข้าใจในจิตวิทยาและพฤติกรรมของมนุษย์ (Human-Centered Knowledge) แล้วกำหนดให้สามารถทำการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ในมุมมองที่แตกต่างกันพร้อมกัน

“คู่คิด” ที่คิดเป็นคู่

“คู่คิด” เป็นแชตบอทที่ใช้ตัวละครที่ทำการพูดคุยกับเราเป็นช้างหน้าตาน่ารัก 2 ตัว

ช้างสีฟ้าชื่อคะน้ามีบุคลิกคล้ายกับคนที่กล้าแสดงออก มีจินตนาการสูง มีความอยากรู้อยากเห็น และรักการผจญภัย ส่วนช้างอีกตัวมีสีชมพูชื่อคชามีบุคลิกคล้ายกับคนเที่มีตรรกะดี มีระเบียบแบบแผน และมีความระมัดระวังเรื่องความเสี่ยง

อย่างที่กล่าวถึงไปแล้วว่าข้อมูลที่ใช้ในการสอน AI ทั้งสองตัวนี้เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสูง และผ่านการตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งยังมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล และที่สำคัญเป็นการพัฒนาบนหลักภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย

ดังนั้น เราจะได้คุยกับแชตบอทตัวนี้ได้เหมือนกับการพูดคุยกับเพื่อนที่เป็นคนไทยจริงๆ นี่คืออีกหนึ่งความตั้งใจในการทำเรื่อง Human-AI Augmentation ของ KBTG ซึ่งตอนนี้ “คู่คิด” กำลังอยู่ในขั้นตอนของการทดสอบและพัฒนา แต่เชื่อว่าเรากำลังจะได้ใช้งานกันในเร็ว ๆ นี้

หนึ่งคำถามหลายคำตอบดีอย่างไร?

การที่เราทำการป้อนคำถามให้กับ AI แล้วได้คำตอบกลับมามากกว่า 1 ตอบเป็นเรื่องที่ดี เพราะนี่จะเป็นการช่วยเสริมสร้างความหลากหลายและความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาให้กับคนถาม นอกจากนี้การมีคำตอบที่หลากหลายยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเลือกคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาที่กำลังถูกพูดถึง นอกจากจะเป็นการเพิ่มทางเลือกของคำตอบให้กับเราแล้ว ตัว AI เองก็จะได้รับการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการตอบคำถามให้หลากหลายและตรงกับความต้องการของเราได้ดียิ่งขึ้น และแน่นอนว่าวิธีการพัฒนา AI ในรูปแบบนี้จะทำให้เรามีความมั่นใจเพิ่มขึ้นในเรื่องอคติของ AI ว่า เรื่องนี้กำลังได้รับการแก้ไขแล้ว

สุดท้ายแล้ว AI จะช่วยให้เราทำได้พัฒนาการตัดสินใจให้ดีขึ้น ผ่านการสร้างคำตอบในรูปแบบต่าง ๆ และมีแนวโน้มว่าจะทำให้พวกเรามีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะเมื่อมีคำตอบมากกว่าหนึ่งคำตอบ อย่างน้อยก็จะทำให้เราฉุกคิดผ่านมุมมองของคำตอบเหล่านั้น และไม่ว่า AI จะสามารถให้คำตอบที่หลากหลายมากขึ้นเพียงใดก็ตาม สุดท้ายคนที่จะต้องทำการตัดสินใจเลือกทางออกของคำตอบก็คือตัวเราอยู่ดี

Revolution of Generative AI เมื่อ AI พลิกโฉมโลกการทำงาน

จับเข่าคุยกับ ChatGPT แล้วคุณจะรักเขามากกว่าที่คิด

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ