TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Interview Revolution of Generative AI เมื่อ AI พลิกโฉมโลกการทำงาน

Revolution of Generative AI เมื่อ AI พลิกโฉมโลกการทำงาน

นับแต่บริษัท OpenAI เปิดตัวแชตบอท ChatGPT ให้คนทั่วไปเข้าใช้งานได้ฟรี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ปี 2022 มีผู้คนทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาทดลองใช้มากกว่า 1 ล้านคนภายในเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ กระแสตื่นตัวกับแอปพลิเคชันที่พัฒนาจากเทคโนโลยี AI นี้ก็พุ่งสูงมากเป็นประวัติการณ์ และยิ่งร้อนแรงขึ้นเมื่อไมโครซอฟท์ประกาศเปิดตัว Bing เวอร์ชั่นใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ที่อยู่เบื้องหลัง ChatGPT ความสนใจมิได้มุ่งหมายเพียงเรื่องความสามารถที่เหนือความคาดหมายของมันเท่านั้น หากยังก่อความรู้สึกกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย

The Story Thailand ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี ในฐานะที่ท่านเป็นนักวิชาการทางด้านไอที และเป็นคนหนึ่งที่สนใจและนำเอา ChatGPT มาใช้อย่างจริงจัง เราอยากหาคำตอบว่าทำไม ChatGPT ถึงได้สร้างความตื่นตัวให้กับผู้คนมากมายขนาดนี้ AI กำลังส่งผลกระทบกับพวกเราในแง่มุมไหนบ้าง มนุษย์เราจะเรียนรู้การใช้งานและอยู่ร่วมกับมันอย่างไร อาชีพไหนบ้างที่จะต้องทำการปรับตัวครั้งใหญ่ ระบบการศึกษาของเราจะต้องเตรียมตัวรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร ทั้งหมดที่กล่าวมาคือเรื่องราวที่เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบในการพูดคุยครั้งนี้

ชวนส่อง ChatGPT รุ่นอัปเกรดล่าสุด GPT-4 แชตบอทเอไอ กับความสามารถใกล้มนุษย์ไปอีกขั้น

จับเข่าคุยกับ ChatGPT แล้วคุณจะรักเขามากกว่าที่คิด

Generative AI ที่ถูกใจคนทั้งโลก

ดร.ธนชาติ บอกว่า AI ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่มนุษย์คุ้นเคยกับมันมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ในเรื่องของการ classify ที่เป็นการจดจำข้อมูลทำการเปรียบเทียบตัดสินใจถูกผิด อย่างการจดจำใบหน้า การอ่านลายนิ้วมือ และการวินิจฉัยโรค แต่มาถึงยุคที่ AI สามารถสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาได้เอง ทำให้เราตื่นเต้นกับคำว่า Generative AI ขึ้นมา ซึ่งความสามารถของ AI ชนิดนี้คือสามารถสร้างคอนเทนต์ใหม่จากข้อมูลที่ได้รับการเรียนรู้ ซึ่งมนุษย์เองก็ไม่คาดคิดกันมาก่อนว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นได้เร็วขนาดนี้ 

“ตอนนี้เองใน Amazon book store ก็มีหนังสือที่เขียนโดย ChatGPT วางขายอยู่เรียบร้อยแล้ว นี่ถือเป็น revolution ของ AI กันเลยทีเดียวเพราะมันทำในสิ่งที่เราไม่คาดคิดว่ามันจะทำได้”

ChatGPT มีความแตกต่างเพราะมันสร้างคำตอบจากข้อมูลที่ได้รับการฝึกฝนให้เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมี AI ตัวไหนที่ได้รับปริมาณข้อมูลในการเรียนรู้ที่มีจำนวนมากเท่าที่ ChatGPT ได้รับมาก่อน และการที่ได้รับการเรียนรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลนี่เองที่ทำให้มันมีความสามารถในการ create content ขึ้นมาได้ ตรงนี้เองน่าจะเป็นจุดหนึ่งที่ถูกใจคนจำนวนมาก นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบที่คล้ายกับการพูดคุยกันระหว่างคนกับ AI

ผลลัพธ์ที่ดีมาจากการ Prompt เป็น

การใช้งาน Generative AI ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและตรงความต้องการจะขึ้นอยู่ที่การถาม หรือที่เราเริ่มจะคุ้นเคยกับคำว่า Prompt นั่นเอง นั่นก็คือเรื่องของการป้อนคำถามเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ

“เราอยากได้อะไรก็ต้องถามให้เป็นจึงจะได้คำตอบ ถ้าถามแบบมั่ว ๆ ก็จะได้คำตอบที่ไม่ค่อยถูกใจกลับมา ซึ่งตรงนี้จะแตกต่างจากการใช้ search engine ซึ่งเป็นการรวบรวมคอนเทนต์ที่มีอยู่แล้วมาแสดงผลตามความต้องการของเรา”

“ใครที่ไม่ได้จริงจังกับการใช้งานก็มักจะมาพร้อมกับเสียงบ่นว่า AI มันตอบอะไรกลับมาก็ไม่รู้ พิมพ์ยังไม่จบเรื่องก็หยุด ไม่เห็นจะได้เรื่องเลย”

ดังนั้นคำตอบของเรื่องจึงอยู่ที่ผู้ใช้งานเองก็ต้องเรียนรู้ที่จะถามให้เป็น ถ้าคำตอบที่ได้กว้างเกินไปก็ต้องขอให้มันขยายความ หรือถ้ามันยังเขียนไม่จบก็ขอให้มันเขียนต่อจนเป็นที่พอใจ ซึ่งข้อจำกัดนี้ทำให้มีอาชีพใหม่ที่เรียกว่า Prompt Engineer เกิดขึ้น 

“เมื่อมี Generative AI เกิดขึ้นมา ก็มีอาชีพใหม่เกิดขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน เรากำลังต้องการคนที่ป้อนคำถามเพื่อให้ AI สร้างสิ่งที่ตรงกับความต้องการที่สุดออกมา จะว่าไปแล้วอาชีพนี้ก็อาจจะไม่ใหม่แล้วเพราะหนังสือเกี่ยวกับการเขียน Prompt นั้นก็มีออกมามากมายหลายเล่มแล้ว”

อาชีพที่จะถูก Generative AI สั่นคลอน

การที่มันมาพร้อมกับคุณสมบัติของการสร้างเนื้อหา ทำให้อาชีพที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการ create ทั้งหลายจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับผลกระทบ แน่นอนว่าตอนนี้มันทำการสร้างเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร อาชีพที่เกี่ยวกับการเขียนจะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบก่อน

“มันจะไม่ใช่การถูก disrupt เลยทันที แต่จะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน นักเขียนเองก็จะถือว่ามีผู้ช่วยที่ทำหน้าที่ในการสร้างเนื้อหาที่มีข้อมูลที่นักเขียนอยากได้ แต่สุดท้ายทักษะระดับสูงของนักเขียนเองต่างหากที่จำเป็นในขั้นตอนสุดท้าย ไม่ว่า AI จะสร้างเนื้อหาแบบไหนออกมาคนก็ต้องทำหน้าที่ในการตัดสินใจว่าจะให้มันเป็นแบบไหนอยู่ดี

เขากลับเห็นว่าเราควรจะมอง Generative AI ในมุมที่มันทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยมนุษย์มากกว่า ดังนั้นคนเราเองก็ต้องพัฒนาให้ตัวเองเก่งขึ้น ไม่ควรห่วงกังวลหรือเอาแต่กลัวว่าจะถูก AI มาแทนที่ ดังกรณีอาชีพนักเขียนจำเป็นต้องมีทักษะสำคัญของการเขียน ไม่ว่าจะเป็นการเรียบเรียงหรือการนำเสนอที่ให้ชวนติดตาม

“เขียนอย่างไรให้สนุกก็ยังเป็นสิ่งที่ AI ทำไม่ได้ ยังไงก็ต้องเป็นคนเขียน คนจะต้องไปพัฒนาในส่วนที่ AI ทำไม่ได้นั่นจะทำให้คนเก่งขึ้น ส่วนใครที่ไม่เก่งทำได้แค่งานธรรมดาที่อยู่ในระดับเดียวกับที่ AI ทำได้คนแบบนี้ก็จะถูก disrupt ออกไป”

ซึ่งเขาเห็นว่าเรื่องนี้จะเกิดกับทุกอาชีพ Generative AI จะทำให้ช่องว่างระหว่างคนเก่งกับคนไม่เก่งกว้างขึ้น คนที่เก่งอยู่แล้วและรู้จักใช้ AI ก็จะยิ่งไปไกลและเร็วกว่าคนไม่เก่ง ส่วนคนไม่เก่งถ้ายังไม่รู้จักใช้ AI ก็จะยิ่งแย่ไปใหญ่ หากไม่อยากถูก Generative AI ทำการ disrupt คนก็ต้องไม่ทำงานในระดับพื้น ๆ อีกต่อไป

เช่นเดียวกับทางด้านการศึกษาก็จะได้รับผลกระทบแบบเดียวกัน ทำให้การเรียนการสอนต้องปรับตัว โดย ดร.ธนชาติ ซึ่งมีประสบการณ์เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยและเกี่ยวข้องกับการจัดฝึกอบรมความรู้ด้านไอทีมายาวนานมีข้อเสนอแนะว่า

“เราไม่ควรห้ามใช้ AI ในการการเรียนการสอน แต่เราควรจะไปเพิ่มเรื่องของการสอนให้เด็กใช้ AI ให้เป็น สอนให้เด็กรู้จักวิธีการแยกแยะให้ออกว่าอะไรดีไม่ดี สอนเรื่องวิธีการแก้ปัญหาไม่ใช่สอนให้ทำการเรียนรู้แบบก๊อบปี้แล้ววาง” 

“บางทีก็ไปกลัวว่าเด็กจะไม่เขียนโค้ดเอง ไปใช้ AI เขียนให้ แต่อย่าลืมว่าการที่จะเขียนโค้ดของระบบขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนก็ยังต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในระดับสูงของคน มองกลับกันถ้าใช้มันให้เป็นจะเป็นการลดระยะเวลาในการเรียนรู้ด้วยซ้ำ”

เขาแนะนำว่าสิ่งสำคัญที่จะต้องเพิ่มเติมให้กับเด็กรุ่นใหม่ควรจะเป็นเรื่องของ creativity, sense, emotion หรือเรื่อง soft Skill ซึ่งสิ่งเหล่านี้ AI ทำแทนมนุษย์ไม่ได้

“สิ่งพื้นฐานที่จำเป็นก็ยังต้องเรียนต้องมี เด็กต้องสามารถแยกแยะความถูกต้องของข้อมูลให้เป็น ต้องรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าไม่สอนเรื่องเหล่านี้ในอนาคตประเทศเราจะมีปัญหาได้ เพราะสุดท้ายคนต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าอะไรจริงไม่จริง อะไรดีไม่ดี ยังไงเรื่องของ soft skill ก็ต้องสอน การศึกษาต้องปรับเรื่องการท่องจำต่าง ๆ อาจจะต้องลดน้อยลงไป แต่การสอนให้เด็กรู้และเขียนภาษาไทยได้พูดไทยได้ก็ยังจำเป็น การให้เด็กรู้วิธีค้นหาข้อมูลที่ถูกต้องก็ยังต้องมี หลักการค้นข้อมูลการรู้จักแหล่งที่มาของข้อมูลยังต้องทำ”

อันตรายเมื่อเชื่อม AI เข้ากับอินเทอร์เน็ต

“ทุกวันนี้มันก็อันตรายอยู่แล้ว ถ้าเราไม่รู้จักแยกแยะว่าอะไรจริงไม่จริง เราต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่องพื้นฐานอย่างของฟรีไม่มีในโลก อะไรที่อ้างว่าฟรีบนอินเทอร์เน็ตมักจะมาพร้อมกับอะไรบางอย่างอยู่เสมอ ทุกวันนี้โซเชียลมีเดียก็ทำการมันล้างสมองคนได้หากเราไม่รู้จักแยกแยะ โดยเฉพาะคนที่เลือกเสพข้อมูลข่าวสารจากแพลตฟอร์มเดียวและยึดแพลตฟอร์มนั้นเป็นหลัก อันนี้เป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะ AI ของแพลตฟอร์มเหล่านั้นต่างก็พยายามจะนำเสนอเฉพาะเรื่องที่คุณสนใจ”

ดร.ธนชาติ ให้คำตอบแบบตรงไปตรงมาทันทีที่สอบถามความเห็นเกี่ยวกับอันตรายของการเชื่อม AI เข้ากับบริการบนอินเทอร์เน็ตที่กำลังเกิดขึ้น โดยชี้ให้เห็นว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ปัญหาของเทคโนโลยี

“AI ไม่ผิดหรอก ผิดที่คนไม่รู้จักแยกแยะมากกว่า ตอนนี้ใน Google เองก็มีเฟคนิวส์จำนวนมากมาย ถ้าเราแยกแยะไม่ได้มันก็อันตราย เพราะวันนี้ AI มันสร้างคนที่ไม่มีตัวตนจริง ๆ ขึ้นมาได้แล้ว Generative AI มันกำลังจะพร้อมทำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นงานเขียน ภาพวาด เพลง และแน่นอนตัวตนของคนที่ไม่มีจริงบนโลกใบนี้”

เกิดอาชีพใหม่ที่เราไม่เคยรู้จัก

ข้อมูลจาก The Next Era of Human-Machine Partnership คาดการณ์ว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ของอาชีพที่มีอยู่ในปี 2030 คืออาชีพใหม่ที่ยังไม่มีใครเคยรู้จักมาก่อน ซึ่งเรื่องนี้ก็เข้าใจได้เพราะเราเองก็ได้เห็นเรื่องแบบนี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอย่าง Youtuber การขายของผ่านการ Live การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านอีกต่อไป อาชีพใหม่อย่าง Food Driver หรือการปรับตัวของสื่อที่คน ๆ เดียวก็ทำสำนักข่าวได้

“นี่เพิ่งเป็นแค่จุดเริ่มต้นของ Generative AI เท่านั้นเอง เรายังคาดไม่ได้หรอกว่าจะต้องเจอกับอะไร กว่าจะถึงยุคที่ AI กลายเป็นเรื่องพื้นฐานหรือที่เรียกว่า General AI น่าจะอีกสักประมาณ 10 ปี หรืออาจจะเกิดขึ้นเร็วกว่านั้นก็ได้” ดร.ธนชาติกล่าวกับ The Story Thailand ในท้ายที่สุด

การ์ทเนอร์วิเคราะห์ เหตุผลที่ทำให้ ChatGPT สั่นสะเทือนโลก AI

ChatGPT ปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำ พระเอกหรือตัวร้ายของโลกนวัตกรรม

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

โตชิบ้า ยืนยัน ข่าวขายกิจการในต่างประเทศ ไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจในไทย

บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ ส่งจดหมายชี้แจง กรณีที่มีข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก เกี่ยวกับ “บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชัน จำกัด ปิดดีล ขายกิจการมูลค่า 2 ล้านล้านเยน

SCB 10X เปิดเวที Hackathon เฟ้นหาทีมนักพัฒนา ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยบล็อกเชน

เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) เปิดเวที “BANGKOK BLOCKATHON 2023” ภายใต้แนวคิด “Blockchain for the Next Billion Users”

GRAMMY x RS ตั้งบริษัทร่วมทุน เตรียมจัด 3 คอนเสิร์ตใหญ่ ก.ค.- ต.ค. นี้ เมืองทองธานี

GMM MUSIC และ RS MUSIC ประกาศจัดตั้ง กิจการร่วมค้าอะครอสเดอะยูนิเวิร์ส (Across The Universe Joint Venture) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดซีรีส์คอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์

AWS เชื่อมั่นตลาดคลาวด์พุ่งไม่หยุด เล็งเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดส่ง ‘Lift’ ลุย SMB

อัตราการเติบโตของคลาวด์ในประเทศไทย ปี 2023 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่า 30% AWS เชื่อมั่นแผนรับมือที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มคู่ค้า จัดทีมดูแลลูกค้าเฉพาะกลุ่ม

Blendata เปิดบริการ Analytics as a Service ในรูปแบบ Pay Per Use

เบลนเดต้า (Blendata) เปิดตัวบริการใหม่ Analytics as a Service บริการวิเคราะห์ข้อมูลครบวงจร รองรับทุกความต้องการด้าน Data Analytics ในรูปแบบการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก WeChat Pay จัดแคมเปญใหญ่ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผนึก WeChat Pay ผู้ให้บริการ E-Wallet รายใหญ่จากประเทศจีน มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวก รวดเร็ว

ดีป้า จับมือพันธมิตร เปิดตัว Tech Thailand แพลตฟอร์มชุมชนคนสายเทค

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์ฟ็อกซ์ จำกัด ร่วมเปิดตัว Tech Thailand

ธ.กรุงเทพ – AIS เปิดตัวบัตรเดบิต “Be1st Digital AIS POINTS” ยิ่งใช้ ยิ่งได้พ๊อยส์

ธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับ AIS เปิดตัว Be1st Digital AIS POINTS บัตรเดบิตที่จะมาพลิกโฉมประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ของลูกค้า ด้วยสิทธิพิเศษจากคะแนนสะสมของ AIS

กสิกรไทย x ธนาคารแมสเปี้ยน เปิดตัว QRIS – QR Code Payment

ธนาคารกสิกรไทยเปิดตัวบริการ QRIS ระบบชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้าของธนาคารแมสเปี้ยนเป็นบริการแรก หลังเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นรวมเป็น 67.5%

CP LAND แต่งตั้ง กีรติ ศตะสุข นั่งเก้าอี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัทซี.พี. แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP LAND ประกาศแต่งตั้ง กีรติ ศตะสุข ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ (CSO) ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)

MUST READ

ปฏิรูปการดำเนินงานในโรงงานด้วย AI

AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีมานานนับศตวรรษแล้ว อย่างไรก็ตาม เราได้เห็นถึงปัจจัยสำคัญบางประการที่ทำให้เทคโนโลยีนี้กลับมาอยู่ในกระแสความสนใจ

Harbour.Space University เปิดตัวทุน ป.ตรี และ ป.โท Women in Tech

Harbour.Space University ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกาศมอบทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท Women in Tech ส่วนหนึ่งของแคมเปญ #EmbraceEquity

มาเซราติ เผยโฉม ‘MC20 Cielo’ ซูเปอร์คาร์รุ่นล่าสุด ครั้งแรกใน APAC ที่งานมอเตอร์โชว์

มาเซราติ ประเทศไทย เผยโฉมซูเปอร์คาร์รุ่นใหม่ล่าสุด เอ็มซี 20 เชียโล พร้อมขุมพลัง Nettuno V6 เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

AWS เชื่อมั่นตลาดคลาวด์พุ่งไม่หยุด เล็งเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดส่ง ‘Lift’ ลุย SMB

อัตราการเติบโตของคลาวด์ในประเทศไทย ปี 2023 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่า 30% AWS เชื่อมั่นแผนรับมือที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มคู่ค้า จัดทีมดูแลลูกค้าเฉพาะกลุ่ม

เหลียวหลังแลหน้า Swedish Model บทเรียนการจัดการป่าอย่างยั่งยืนจากสวีเดน “ตัดไม้ แต่ได้ป่า”

สวีเดน คือ ประเทศแห่งการส่งออกไม้เศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก มูลค่ารวมกว่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ด้วยการใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ (Forestry Act) ถ้าตัดต้นไม้หนึ่งต้น ต้องปลูกเพิ่มอย่างน้อยสามต้น เป็นที่มาของวลีที่ว่า ตัดไม้ แต่ได้ป่า
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น