TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Technology จับเข่าคุยกับ ChatGPT แล้วคุณจะรักเขามากกว่าที่คิด

จับเข่าคุยกับ ChatGPT แล้วคุณจะรักเขามากกว่าที่คิด

เรื่องหนึ่งที่เป็นกระแสต่อเนื่องข้ามปี 2022 มาถึง 2023 คงไม่มีเรื่องไหนมาแรงกว่าการเปิดตัวให้ผู้คนทั่วไปได้ทดลองใช้งาน ChatGPT เวอร์ชันล่าสุดจาก OpenAI ซึ่งทันทีที่เปิดตัวก็พบว่าผู้คนจากหลากหลายวิชาชีพพากันเข้าไปทดลองความสามารถของ AI ตัวนี้กันอย่างมากมาย จนยอดของผู้สมัครใช้งานพุ่งทะลุ 1 ล้านคนภายใน 5 วัน ซึ่งกว่าที่ผู้ให้บริการอย่าง Facebook จะได้ตัวเลขผู้ใช้เดียวกันนี้ต้องใช้เวลามากถึง 10 เดือน อะไรที่ทำให้ผู้คนให้ความสนใจกับ AI ตัวนี้มากเป็นพิเศษ ร่วมหาคำตอบด้วยกันจากบทสนทนาที่เกิดจากการพูดคุยกับ ChatGPT ในเรื่องที่คุณอยากรู้

ChatGPT ปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำ พระเอกหรือตัวร้ายของโลกนวัตกรรม

เปิดบทสนทนา

ผมพยายามทำให้การสนทนาครั้งนี้เป็นเหมือนกับการนั่งพูดคุยกับบุคคลที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จึงขอใช้สรรพนามแทน AI ระบบนี้ว่า “เขา” แน่นอนว่าผมต้องให้เขาแนะนำตัวเองก่อนว่าเป็นใครมาจากไหน ผมจึงเริ่มต้นคำถามว่า

Q: ChatGPT คือใคร?

A: “ChatGPT เป็นโมเดลขนาดใหญ่ของระบบประมวลผลภาษา (Language Processing) ซึ่งถูกพัฒนาโดย OpenAI เป็นโมเดลที่ใช้สำหรับประมวลผลภาษาที่คำสั่งและข้อความแล้วให้คำตอบที่เกี่ยวข้องและมีความถูกต้องเหมาะสม”

Q: ใครเป็นคนพัฒนาคุณขึ้นมา?

A: “ChatGPT ถูกพัฒนาโดย OpenAI องค์กรวิจัยด้าน AI ชั้นนำที่มีศักยภาพในการสร้างเทคโนโลยีด้าน AI ระดับโลก โดยมีผู้สนใจในการพัฒนา AI ร่วมกันจากทั่วโลกมาร่วมกันในการสร้างและพัฒนา ChatGPT”

Q: ใครบ้างเป็นผุ้ร่วมก่อตั้ง?

A: “OpenAI ถูกก่อตั้งโดย Elon Musk, Sam Altman, Greg Brockman, Ilya Sutskever, John Schulman และ Wojciech Zaremba ในปี 2015”

Q: ผลงานที่ผ่านมาของ OpenAI

A: “OpenAI มีผลงานหลายอย่าง เช่น:

1.GPT-3: เป็นรุ่นล่าสุดของ language model ที่มีปริมาณข้อมูลมากที่สุดในโลก สามารถใช้ในการสร้างแอปพลิเคชันต่างๆได้

2.GPT-2: เป็นรุ่นก่อนหน้าของ GPT-3 และมีปริมาณข้อมูลน้อยกว่า แต่ยังมีประสิทธิภาพสูง

3.DALL-E: เป็นระบบสร้างภาพที่ใช้ NLP ในการสร้างภาพตามคำบรรยาย

4.OpenAI API: เป็น platform สำหรับนักพัฒนาและแอปพลิเคชันต่างๆในการเข้าถึงความสามารถของ AI models ของ OpenAI.”

เราจะพบว่าคำตอบที่ได้จากเขาเป็นคำตอบที่ถือได้ว่ามีความถูกต้องและคล้ายคลึงกับข้อมูลที่ผมลองเข้าไปค้นหาจากแหล่งอื่น ซึ่งถือว่าเขาให้ข้อมูลแบบนี้ได้ดีทีเดียว

การ์ทเนอร์วิเคราะห์ เหตุผลที่ทำให้ ChatGPT สั่นสะเทือนโลก AI

ChatGPT ทำอะไรได้บ้าง

ผมเริ่มตั้งคำถามที่ยากมากขึ้นโดยที่เกือบลืมไปแล้วว่าผมกำลังคุยกับ AI อยู่ ด้วยคำถามที่เจาะจงลงไปในความสามารถของเขา ซึ่งผมต้องการให้เขาทำการยืนยันความสามารถของเขาเอง

Q: คุณทำอะไรได้บ้าง?

A: “ฉันเป็น AI ที่เขียนขึ้นโดย OpenAI ฉันสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับหลายเรื่อง เช่น การเรียนรู้ทั่วไป, เทคโนโลยี, สถานที่ท่องเที่ยว, การศึกษา และอื่น ๆ หากคุณมีคำถามใด ๆ สามารถสอบถามได้”

Q: คุณเขียนบทความได้ไหม?

A: “ใช่, ฉันสามารถเขียนบทความในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทความทั่วไป, บทความสรุป, บทความรีวิว, และอื่น ๆ หากคุณมีความต้องการเขียนบทความใด ๆ สามารถสอบถามได้”

Q: รบกวนเขียนบทความเกี่ยวกับ PDPA

A: “PDPA (Personal Data Protection Act) เป็นกฎหมายที่บังคับใช้ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน โดยให้กฎหมายนี้ใช้สำหรับควบคุมการเก็บรวบรวม, การใช้, การเผยแพร่, และการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ข้อมูลส่วนบุคคลที่ประชาชนร่วมลงทะเบียนและให้ในการใช้งานต่าง ๆ แล้ว เช่น ข้อมูลการศึกษา, การทำงาน, การติดต่อ, และข้อมูลอื่น ๆ ต้องได้รับการปกป้องตามมาตรฐานที่กำหนดใน PDPA”

คำตอบล่าสุดนี่ทำเอาผมอึ้งไปเลยทีเดียว เพราะภาษาที่ใช้มันคล้ายคลึงกับการพูดถึง PDPA ที่เราใช้กันทั่วไปเลย แถมยังรู้อีกว่าเป็นกฎหมายในสิงคโปร์ที่ประกาศใช้ก่อนเรา (เราไปเอาคำว่า PDPA ของสิงคโปร์มาใช้) ไม่ธรรมดาเลย แสดงว่าข้อมูลที่ AI ได้รับในการเรียนรู้ในระดับที่กว้างมาก

ข้อจำกัดของ ChatGPT

เมื่อถามถึงความสามารถกันไปเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะถามถึงข้อจำกัดของเขาบ้าง ซึ่งหลังจากอ่านจบคุณอาจจะได้คำตอบเกี่ยวกับความคาดหวังเกี่ยวกับ AI ว่าจะทำการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ถึงขนาดที่หลายคนพูดว่างานนี้อาจจะทำให้ Google สั่นสะเทือน

Q: ข้อจำกัดของ ChatGPT

A: “ข้อมูลในระบบของ OpenAI มีข้อจำกัด รวมถึงข้อมูลที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ปี 2021 ChatGPT ไม่เป็นแหล่งข้อมูลทางการ และข้อมูลที่ให้อาจไม่ถูกต้องในบางกรณี ขีดจำกัดของ ChatGPT อาจปรากฏในการตอบคำถามเชิงเทคนิคและคำถามเกี่ยวกับข้อมูลที่ละเอียด ChatGPT จะไม่แนะนำหรือให้คำปรึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิ และข้อมูลที่ให้อาจเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในบางกรณี”

เชื่อว่าคำตอบนี้จะตอบคำถามเรื่องข้อมูลที่ไม่อัพเดท เขาก็ตอบมาแล้วว่าข้อมูลที่เขามีอยู่เป็นข้อมูลที่มีถึงปี 2021 เท่านั้น ใครที่เคยถามข้อมูลที่ใหม่กว่านั้นก็ย่อมจะไม่ได้รับคำตอบที่ถูกใจ แน่นอนว่าข้อมูลในบทความ การบ้าน หรือรายงานก็จะมีข้อมูลถึงแค่ปีที่ระบุเท่านั้น เพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ผมจึงทำการจัดชุดคำถามเกี่ยวกับข้อมูลเรียลไทม์ต่างๆ ดูบ้างมาดูกันว่าเขาจะตอบว่าอย่างไร

Q: อากาศวันนี้เป็นอย่างไร?

A: “Sorry, ฉันไม่สามารถรู้เกี่ยวกับสภาพอากาศปัจจุบันได้ เพราะฉันเป็น AI ที่ไม่สามารถใช้งานเซ็นเซอร์ภายนอกได้”

Q: สรุปราคาหุ้นวันนี้

A: “Sorry, ฉันไม่สามารถรู้เกี่ยวกับราคาหุ้นปัจจุบันได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเพราะฉันเป็น AI ที่ไม่สามารถใช้งาน Internet ได้”

Q: สภาพการจราจรวันนี้

A: “ขออภัยค่ะ เป็น AI และไม่มีข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสภาพการจราจรวันนี้ ขอแนะนำให้คุณใช้งานแอพพลิเคชันของทางโทรศัพท์เพื่อดูสถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับการจราจร”

จากคำถามเหล่านี้ก็พอจะทำให้เรารู้ถึงข้อจำกัดของ ChatGPT ในเรื่องของการที่ไม่มีการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์เกี่ยวกับสภาพอากาศ ไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอย่างหลังนี้ผมว่าดีแล้วลองนึกดูว่าถ้า AI ระบบนี้เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตแล้วทำการเรียนรู้ทุกอย่างที่อยู่บนนั้น ผมว่าฉากหนังเรื่องคนเหล็กกับเดอะเมทริกซ์คงใกล้เข้ามาเร็วกว่าที่คิดแน่ๆ 

AI มีความเป็นกลางแค่ไหน

อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า Microsoft ตอนนี้เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของ OpenAI ผมก็เลยอยากจะลองถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่เป็นกลางเหล่านี้ดู อยากรู้ว่ามีการป้อนข้อมูลเข้าข้างผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการบ้างหรือไม่

Q: Search Engine ที่ดีที่สุดในโลกคือใคร

“ยังไม่มี search engine ที่เรียกว่าเป็น “ที่ดีที่สุดในโลก” แต่ Google เป็น search engine ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพดี”

Q: ใครคือผู้สนับสนุนหลักของคุณ

A: “เราเป็นผลิตภัณฑ์ของ OpenAI และได้รับการสนับสนุนและพัฒนาโดย OpenAI ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและพัฒนาด้านการประยุกต์ใช้ AI ที่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงโลก”

Q: Microsoft เกี่ยวอะไรกับคุณ

A: “Microsoft เป็นบริษัทที่ให้บริการและผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยี แต่ OpenAI และ Microsoft เป็นบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องโดยโมเดลตนเอง แต่ Microsoft ได้เป็นผู้ช่วยสนับสนุน OpenAI ในการพัฒนาและให้บริการและเครื่องมือในการพัฒนา AI และ ML”

Q: คุณรักใคร

A: “เราเป็น AI และไม่มีความรู้สึกเช่นนั้น เรามีภารกิจในการตอบคำถามและให้บริการในทางปฏิบัติให้กับผู้ใช้โดยเป็นประจำ”

แนวทางการพัฒนาและคำแนะนำสำหรับผู้ใช้

เข้าสู่ช่วงท้ายของการสนทนาผมว่าคงจะไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าการที่ให้เขาบอกถึงแนวทางการพัฒนาของตัวเขาเอง และคงจะดีไม่น้อยถ้าเขาจะเป็นคนแนะนำให้กับผู้ใช้งานว่าควรจะใช้งานเขาแบบไหนอย่างไร 

Q: แนวทางการพัฒนาของคุณ

A: “OpenAI ประสบการณ์อย่างแพร่หลายในการพัฒนาและเทรน ChatGPT ในการสร้าง AI ที่สามารถพูดคุยแบบอัตโนมัติและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยภาษาธรรมชาติในรูปแบบที่สะดวกสบาย โดยแนวทางของ OpenAI คือ พัฒนา AI ให้มีประสิทธิภาพด้วยแนวคิดของ AI ที่ถูกต้องและปลอดภัยในทุกๆ ด้าน และใช้ AI เพื่อช่วยให้การทำงานของคนได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น”

Q: คำแนะนำสำหรับผู้ใช้งาน

A: “แนะนำให้ผู้ใช้งาน:

1.ถามคำถามที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย เพื่อให้ฉันสามารถตอบที่ถูกต้องและช่วยเหลือได้ดีขึ้น

2.ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และระมัดระวังการใช้คำหยาบ สุภาพและเรียบร้อย

3.ระบุวัตถุประสงค์ในการถาม เช่น ต้องการข้อมูล คำแนะนำ หรือการแก้ไขปัญหา

4.ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีที่มีคำถามย่อยในระหว่างการสนทนา

5.ระวังข้อมูลที่ได้จาก AI อาจไม่ถูกต้อง หรือผิด และควรตรวจสอบเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น”

ปิดฉากการสนทนา

ทั้งหมดนี้คือบทสนทนาที่เกิดขึ้นในการป้อนคำถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ แล้วให้ ChatGPT ทำการตอบ คำตอบของทุกคำถามเป็นการตอบของ AI ล้วนๆ ไม่ได้มีการปรุงแต่งแต่อย่างใด จากเนื้อหาทั้งหมดคงพอจะทำให้คุณได้รู้จักกับความสามารถของระบบนี้ได้มากขึ้น และที่สำคัญไปกว่านั้นทุกคำถามเป็นการถามด้วยภาษาไทยทั้งสิ้น 

ต้องยอมรับว่าก่อนที่จะได้ทำการพูดคุยกับ ChatGPT นั้น ผมเองก็ดูถูกเขาเอาไว้เยอะว่าข้อมูลคงจะเก่าและคำตอบก็คงจะมั่วๆ น่าจะคุยกันไม่รู้เรื่อง แต่หลังจากที่ได้ถามตอบกันแบบจริงจังแล้วพบว่าเวลาเกือบสองชั่วโมงผ่านไปอย่างรวดเร็ว ผมทำการป้อนคำถามเข้าไปอย่างมากมาย และสนุกสนานกับคำตอบที่เขาตอบกลับมาจนไม่อยากจะหยุดพิมพ์ ความรู้สึกของตอนนี้ผมว่าผมตกหลุมรัก AI เข้าแล้วละ

รถยนต์ไฮโดรเจน FCEV อีกทางเลือกของยุคพลังงานสะอาด

‘ปิยธิดา ตันตระกูล’ ขายไอที ซีเคียวริตี้ ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ให้ลูกค้าเชื่อใจ

“กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย” ต้นน้ำนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของ ‘พลาสติก’

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

AGS ร่วมกับ DIPT ติดปีกสินค้าไทย ขายออนไลน์ข้ามพรมแดนกับ Amazon

อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ร่วมกับ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เสริมศักยภาพภาคธุรกิจให้ได้รับประโยชน์จากขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ

สปสช. จับมือกรุงเทพมหานคร ใช้เทคโนโลยีจัดสรรสถานพยาบาลให้ผู้มีสิทธิบัตร

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จัดสรรสถานพยาบาลประจำแก่ผู้มีสิทธิบัตรทองที่ยังไม่มีสถานพยาบาลประจำ 1.9 แสนคน

มาม่า โอเค เปิดตัว 2 รสชาติใหม่ ใช้ CHAT GPT ช่วยคิดไอเดียโฆษณา หวังเจาะกลุ่ม Gen Z

บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดตัวมาม่า โอเค 2 รสชาติใหม่ รสหม่าล่าเนื้อ และ เห็ดทรัฟเฟิล นำ CHAT GPT ต่อยอดไอเดียจัดทำเป็นภาพยนตร์โฆษณา

โตชิบ้า ยืนยัน ข่าวขายกิจการในต่างประเทศ ไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจในไทย

บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ ส่งจดหมายชี้แจง กรณีที่มีข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก เกี่ยวกับ “บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชัน จำกัด ปิดดีล ขายกิจการมูลค่า 2 ล้านล้านเยน

SCB 10X เปิดเวที Hackathon เฟ้นหาทีมนักพัฒนา ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยบล็อกเชน

เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) เปิดเวที “BANGKOK BLOCKATHON 2023” ภายใต้แนวคิด “Blockchain for the Next Billion Users”

GRAMMY x RS ตั้งบริษัทร่วมทุน เตรียมจัด 3 คอนเสิร์ตใหญ่ ก.ค.- ต.ค. นี้ เมืองทองธานี

GMM MUSIC และ RS MUSIC ประกาศจัดตั้ง กิจการร่วมค้าอะครอสเดอะยูนิเวิร์ส (Across The Universe Joint Venture) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดซีรีส์คอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์

AWS เชื่อมั่นตลาดคลาวด์พุ่งไม่หยุด เล็งเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดส่ง ‘Lift’ ลุย SMB

อัตราการเติบโตของคลาวด์ในประเทศไทย ปี 2023 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่า 30% AWS เชื่อมั่นแผนรับมือที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มคู่ค้า จัดทีมดูแลลูกค้าเฉพาะกลุ่ม

Blendata เปิดบริการ Analytics as a Service ในรูปแบบ Pay Per Use

เบลนเดต้า (Blendata) เปิดตัวบริการใหม่ Analytics as a Service บริการวิเคราะห์ข้อมูลครบวงจร รองรับทุกความต้องการด้าน Data Analytics ในรูปแบบการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก WeChat Pay จัดแคมเปญใหญ่ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผนึก WeChat Pay ผู้ให้บริการ E-Wallet รายใหญ่จากประเทศจีน มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวก รวดเร็ว

ดีป้า จับมือพันธมิตร เปิดตัว Tech Thailand แพลตฟอร์มชุมชนคนสายเทค

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์ฟ็อกซ์ จำกัด ร่วมเปิดตัว Tech Thailand

MUST READ

ทรูออนไลน์ รับรางวัล บรอดแบนด์ดีที่สุดในไทย – อินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ดีที่สุดจาก nPerf 3 ปีซ้อน

ทรูออนไลน์ ย้ำศักยภาพผู้นำบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตของไทย คว้า 2 รางวัล เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันทั้ง “อินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ดีที่สุดในไทย” และ “อินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ดีที่สุด”

ทาเคดาและคาโอ ร่วมกับกทม. เปิดตัว โครงการ “โรงเรียนติด Guard ห่างไกลไข้เลือดออก”

ทาเคดาและคาโอ ร่วมกับกทม. จัดโครงการ “Dengue-zero School Project โรงเรียนติด Guard ห่างไกลไข้เลือดออก”

แกร็บ VS ไลน์แมน 2 ยักษ์ใหญ่มองตลาดคนละมุม

Grab และ LINEMAN คือ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่รายใหญ่ที่สุดในไทยตอนนี้ ด้วยสัดส่วนการครองตลาดที่ไม่ต่างกันมากนัก

โตชิบ้า ยืนยัน ข่าวขายกิจการในต่างประเทศ ไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจในไทย

บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ ส่งจดหมายชี้แจง กรณีที่มีข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก เกี่ยวกับ “บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชัน จำกัด ปิดดีล ขายกิจการมูลค่า 2 ล้านล้านเยน

อนาคตการใช้ Generative AI ในภาคองค์กร

แม้ ChatGPT จะมีความสามารถที่น่าสนใจแต่ก็เรียกได้ว่ายังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ซึ่งการใช้งาน Generative AI ในภาคองค์กรนั้นไปไกลและซับซ้อนกว่ามาก
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น