TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistรัฐบาลไทยเตรียมความพร้อมรองรับรุ่นใหญ่วัยเก๋าหรือยัง

รัฐบาลไทยเตรียมความพร้อมรองรับรุ่นใหญ่วัยเก๋าหรือยัง

ประชากรไทย มีจำนวน 66.19 ล้านคน (ข้อมูลสิ้นปี พ.ศ. 2563) ปี พ.ศ. 2564 นี้ เป็นปีที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ (Aged society) ตามเงื่อนไขขององค์การสหประชาชาติ ที่ว่ามีจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% (ประมาณ ไม่น้อยกว่า 13 ล้านคน) ของประชากรทั้งประเทศ และเชื่อว่าภายในปี พ.ศ.2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึง มีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ

จังหวัดที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุด ในประเทศ ได้แก่

อันดับ 1 กรุงเทพมหานคร มีผู้สูงอายุ รวม 1,063,871 คน เป็นผู้ชาย 441,903 คน ผู้หญิง 621,968 คน

อันดับ 2 นครราชสีมา มีผู้สูงอายุ รวม 453,388 คน เป็นผู้ชาย 202,231 คน ผู้หญิง 251,157 คน

อันดับ 3 เชียงใหม่ มีผู้สูงอายุ รวม 333,692 คน เป็นผู้ชาย 149,919 คน ผู้หญิง 183,773 คน

อันดับ 4 ขอนแก่น มีผู้สูงอายุ รวม 312,933 คน เป็นผู้ชาย 141,834 คน ผู้หญิง 171,099 คน

อันดับ 5 อุบลราชธานี มีผู้สูงอายุ รวม 276,628 คน เป็นผู้ชาย 127,031 คน ผู้หญิง 149,597 คน

ส่วนจังหวัดที่มีจำนวนผู้สูงอายุน้อยที่สุด (นับจำนวนคน) ได้แก่ 

อันดับ 1 ระนอง มีผู้สูงอายุ รวม 26,964 คน เป็นผู้ชาย 12,716 คน ผู้หญิง 14,248 คน

อันดับ 2 แม่ฮ่องสอน มีผู้สูงอายุ รวม 33,067 คน เป็นผู้ชาย 16,206 คน ผู้หญิง 16,861 คน

อันดับ 3 ตราด มีผู้สูงอายุ รวม 39,413 คน เป็นผู้ชาย 18,096 คน ผู้หญิง 21,317 คน

อันดับ 4 สตูล มีผู้สูงอายุ รวม 40,896 คน เป็นผู้ชาย 18,586 คน ผู้หญิง 22,310 คน

อันดับ 5 สมุทรสงคราม มีผู้สูงอายุ รวม 43,019 คน เป็นผู้ชาย 17,776 คน ผู้หญิง 25,243 คน

ประชากรไทย ส่วนใหญ่ แก่ก่อนรวย และป่วยก่อนตาย จะเห็นได้จากข้อมูล 80% ของประชากรสูงอายุ จะมีรายได้เฉลี่ยต่อปีระดับกลางลงล่าง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลที่เชื่อมโยงกับความเจ็บป่วย

ในส่วนของผู้สูงอายุนั้น รัฐบาลมีมาตรการดูแลช่วยเหลือบ้าง เช่น จ่ายเบี้ยคนชรา จ้างงาน สร้างที่พักอาศัยให้ ให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยและบูรณาการระบบบำเหน็จบำนาญ แต่มาตรการช่วยเหลือไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องแบกรับภาระด้วยการจัดสรรงบประมาณเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นทุกปี  เช่น ในส่วนของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งมีการจ่ายให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทุกเดือนตามอัตราขั้นบันได ดังนี้ 

อายุ 60 -69 ปี จะได้รับ 600 บาท

อายุ 70 -79 ปี จะได้รับ 700 บาท

อายุ 80 -89 ปี จะได้รับ 800 บาท

อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

ปี พ.ศ.2563 มีผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจำนวน 9.7 ล้านคน ใช้งบประมาณเป็นเงินจำนวน 76,280 ล้านบาท ส่วนในปี พ.ศ.2564 คาดว่า จำนวนผู้สูงอายุจะมีมากถึง 12 ล้านคน เม็ดเงินงบประมาณต้องจัดสรรให้ประมาณ 82,000  ล้านบาท คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไป 

นอกจากนี้ ผู้สูงอายุไทยใช้สิทธิบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมากที่สุด 81% รองลงมา คือ สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 17% และสิทธิอื่น ๆ ร้อยละ 2

เมื่อปี พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายเบี้ยหวัดบำเหน็ดบำนาญข้าราชการ จำนวน 803,293 คน เป็นเงินงบประมาณ 267,012 ล้านบาท และคาดว่าในปี พ.ศ.2564 งบประมาณค่าใช้จ่ายเบี้ยหวัดบำเหน็ดบำนาญข้าราชการ จะเพิ่มขึ้นเป็น 300,435.5 ล้านบาท

นอกจากนั้น ยังมีผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจากกองทุนประกันสังคมรวม 598,550 คน จำแนกเป็นการรับบำเหน็จขำนวน 277,192 คน และรับบำนาญจำนวน 321,358 คน งบประมาณรวม 20,206 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินบำเหน็จ 11,185.4 ล้านบาทและเงินบำนาญ 9020.97 ล้านบาท

จะเห็นว่า รัฐบาลมีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวนมาก แต่คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 สถานการณ์งบประมาณด้านผู้สูงอายุจะน้อยลง ประเทศไทยจะมีประชากรลดลง เหลือร้อยละ 63.9 โครงสร้างประชากรก็จะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก คือ มีประชากรวัยเด็ก (แรกเกิด- 14 ปี) 12.8% ประชากรวัยทำงาน (15-59 ปี) 55.1% และมีผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 32.1%

แต่กว่าจะถึง ปี พ.ศ.2583 อีกตั้ง 19 ปี ดังนั้น ในช่วงนี้รัฐบาลควรเตรียมความพร้อมทั้งแง่งบประมาณ สวัสดิการ และการพัฒนาทักษะ ให้ประชาชนผู้สูงวัย สามารถมีความสุข สูงวัยแบบมีคุณภาพ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ