TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessแคนนอน คาดส่วนแบ่งตลาดอิงค์เจ็ท 40% ยืนหนึ่งต่อเนื่องปีที่ 21

แคนนอน คาดส่วนแบ่งตลาดอิงค์เจ็ท 40% ยืนหนึ่งต่อเนื่องปีที่ 21

ท่ามกลางกระแส Digitalization ส่งผลถึงขั้นตอนกระบวนการทำงานที่พึ่งพาการใช้กระดาษให้น้อยลง จนถึงขึ้น “ไร้กระดาษ” (paperless) กันแล้วบางองค์กร ในบางประเทศ

แนวโน้มดังกล่าวทำให้ ธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระดาษ อย่างธุรกิจพรินเตอร์ ตกอยู่ในความกังขาของใครหลายคนว่าจะได้โอกาสไปต่อ หรือนับถอยหลังรอวันเลือนหายไป เหมือนธุรกิจส่วนหนึ่งที่หายไปเพราะไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้งานแล้วในตลาดในปัจจุบัน

-เอปสัน เปิดตัวเครื่องพิมพ์หมึกสะท้อนแสง รุกตลาดอุตสาหกรรมขนาดเล็ก สตาร์ตอัพ นักออกแบบ
-แคนนอน – บราเดอร์ ผุดโปรเจกต์ “คนใช้หมึกแท้เท่านั้นที่รู้”

เนตรนรินทร์ จันทร์จรัสสุข ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์ พรินเตอร์ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวกับ The Story Thailand ว่า ตลาดพรินเตอร์ของประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะสามารถเติบโตต่อไปได้ โดยเฉพาะจากฝั่งของลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจ รวมถึงหน่วยงานราชการเข้ามาทดแทนในส่วนของตลาดผู้บริโภค (Consumer)

โดยตลาดองค์กร (COMMERCIAL) ถือเป็นตลาดที่มีปริมาณการพิมพ์งานที่ค่อนข้างสูงทำให้ผลตอบแทนในเรื่องของหมึกมีสัดส่วนสูงตามไปด้วย

ทิศทางตลาดพรินเตอร์ในอีกหลายปีต่อจากนี้ จะข้ามมายังฝั่งของกลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กรและหน่วยงานราชการมากขึ้น แคนนอนคาดการณ์ไว้ล่วงหน้ามานานหลายปีแล้ว ทำให้ที่ผ่านมา แคนนอนลงสนามเข้าร่วมการประมูลเพื่อชิงโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐเข้ามาดำเนินการ ได้หลากหลายโครงการ

โดยส่วนหนึ่งของความสำเร็จมาจากจุดเด่นของแคนนอนที่มีความหลากหลายของกลุ่มสินค้า เพราะแคนนอนมองว่าทุกกลุ่มมีความต้องการใช้งานพรินเตอร์

“พรินเตอร์ของแคนนอนถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ในทุกความต้องการ ไม่ว่ากลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้แทงค์ที่มีการพิมพ์ในปริมาณมาก หรือกลุ่มนักศึกษาที่อาจจะพิมพ์ไม่มากและมีงบน้อย แคนนอนก็มีสินค้ามารองรับ”

แคนนอนมีความหลากหลายในส่วนของไลน์สินค้าเพื่ออุดช่องว่างความต้องการของแต่ละ ​SEGMENT ซึ่งสิ่งนี้ คือ จุดแข็งของแคนนอนที่มีความหลากหลายของตัวเลือกให้กับลูกค้า

ขณะที่ความสำเร็จอีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากบริการหลังการขาย ที่แคนนอนมั่นใจว่า เป็นหนึ่งไม่ด้อยกว่าแบรนด์ไหน ๆ โดยครอบคลุมตั้งแต่การดูแลบำรุงรักษาเปลี่ยนหมึกให้ตลอด 24 ชั่วโมง ไปจนบริการอื่น ๆ เช่น การให้เช่าเครื่อง บริการงานพิมพ์งานถ่ายเอกสาร ระบบจัดการเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ ภาพรวมของตลาดพรินเตอร์ในปีที่ผ่านมา ตลาดรวมเลเซอร์ และอิงค์เจ็ท ที่เป็นพอร์ทใหญ่ไม่นับรวมตลาดพรินเตอร์ตัวอื่นที่เริ่มน้อยแล้ว เลเซอร์กับอิงค์เจ็ท รวมกันปีที่แล้วประมาณ 1.16 ล้านเครื่อง แต่ปีนี้คาดว่าน่าจะลดลงมาเหลือที่ประมาณ 800,000 เครื่อง

ปัญหาหลักไม่ได้เกิดจากความต้องการพรินเตอร์ที่ลดลง แต่มาจากในส่วนของซัพพลาย เนื่องจากมาตรการโควิด-19 ที่ทำให้คนต้อง Work from Home มากขึ้น ความต้องการใช้พรินเตอร์จึงมากขึ้น ทว่าโรงงานกลับมีปัญหาในเรื่องการผลิตที่สะดุดเพราะล็อกดาวน์ ดังนั้น ก็เลยส่งผลต่อยอดขายที่ไม่กระเตื้องเท่าที่ควร

โดยภาพรวมแล้ว ตลาดรวมจะค่อนข้างทรง ๆ เรียกว่า แทบจะนิ่ง ไม่โต ขณะเดียวกันก็จะเห็นอัตราส่วนการเปลี่ยนของพรินเตอร์ที่เป็นตลับหมึกไปเป็นพรินเตอร์ที่เป็นแบบแทงค์มากขึ้น และตัวเลขยอดขายพรินเตอร์ในไตรมาส 3 ที่เพิ่มขึ้น เป็นเพราะความต้องการที่มากอยู่แล้วในไตรมาส 2 ค่อย ๆ ทยอยได้รับการตอบสนองเติมเต็มในไตรมาส 3

ทั้งนี้ แคนนอน คาดการณ์ว่า ตลาดน่าจะใกล้เคียงปีที่แล้ว คือ ประมาณ 1.16 ล้านเครื่อง แต่ถ้าเกิดว่าจบไตรมาส 3 แล้วตัวเลขสุดท้ายออกมาดี มันก็อาจจะหย่อนสักประมาณ 10% มาอยู่ที่ 9 แสนกว่า ๆ ก็เป็นไปได้

“ส่วนที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 8 แสนกว่า ๆ ใช้ข้อมูลพรินเตอร์อย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งปีแรกมาประเมิน แต่พอเห็นตัวเลขของไตรมาส 3 ทำให้คิดว่าการตกอาจจะตกน้อยลง เพราะตัวเลขของไตรมาส 3 ตลาดกลับฟื้นขึ้นมาก”

แม้แคนนอนจะมีสินค้าในแต่ละ Segment เยอะ แต่แคนนอนก็ทุ่มเทให้กับการวิจัยและพัฒนาเพื่อรักษาฐานตลาด รวมถึงกำจัด Pain Point ที่ลูกค้าพบ ไม่ว่าจะเป็น กรณีของตลาดแทงค์ที่กำลังโต โดยมี Segment เกิน 65% แล้วของอิงค์เจ็ท ทำให้แคนอนเริ่มมองแล้วว่า Pain Point ของลูกค้าที่ใช้แทงค์ คืออะไร และจะผลิตสินค้าตัวใหม่เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร

แคนนอน ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตสินค้า แต่จะเป็น Cosmetic Change ที่เพิ่ม Speed และสิ่งต่าง ๆ ที่จะมีส่วนช่วยเพิ่มประโยชน์ให้กับลูกค้า ทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหาให้ลูกค้า ทำอย่างไรให้ลูกค้าสะดวกที่สุดโดยที่ยังคงคุณภาพในเรื่องของการพิมพ์อยู่

“เราค่อนข้างที่จะแข็งแกร่งอยู่แล้วในเรื่องของคุณภาพการพิมพ์ แล้วลูกค้าก็มั่นใจว่าพรินเตอร์ของแคนนอนเป็นพรินเตอร์ที่ให้สีตรง ไม่เพี้ยน ตัวหนังสือคม ซึ่งตอบโจทย์พื้นฐานความต้องการหลักของการใช้พรินเตอร์”

“การทุ่มเทให้กับการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ Pain Point ผู้ใช้งานจะทำให้ แคนนอน ยืนหนึ่งเป็นแบรนด์พรินเตอร์ในใจผู้บริโภคไทย”

อิงค์เจ็ทของแคนนอนครองอันดับหนึ่งมาตลอด 20 ปี แคนนอนคาดการณ์ว่าจะได้ส่วนแบ่งการตลาดปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 38-40% ของตลาดอิงค์เจ็ทโดยรวม

“มีความเป็นไปได้ ทำให้แคนนอนน่าจะได้เป็นที่หนึ่งของปีที่ 21 ณ ผลที่สิ้นสุดในปี 2020”

แม้ว่าจะมีปัจจัยคุกคามอย่างพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หันไปนิยมการแชร์รูปในโซเชียลมีเดียแทนการพิมพ์ แต่แคนนอนก็ยังพบว่า ยังคงมีความต้องการใช้งานในส่วนนี้อยู่บ้าง ซึ่งแม้จะน้อยแต่ก็ไม่ทำให้แคนนอนละเลยในเรื่องคุณภาพ

“สินค้าพรินเตอร์แคนนอนให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักความสำเร็จของแคนนอนมาจากลูกค้าพันธมิตรและคุณภาพของสินค้าแคนนอนพยายามรักษา 3 เสาหลักนี้ให้แข็งแกร่งเพราะเป็นส่วนที่สามารถรักษาประคองธุรกิจแคนนอนได้ในระยะยาว”​

https://youtu.be/RB-xXhlilo0

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
นงลักษณ์ อัจนปัญญา – เรียบเรียง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ