TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologySkyller บริษัทลูกปตท.สผ.ให้บริการ "โดรน"ครบวงจร ตั้งเป้า 100 ล้านบาทปี 2565

Skyller บริษัทลูกปตท.สผ.ให้บริการ “โดรน”ครบวงจร ตั้งเป้า 100 ล้านบาทปี 2565

บริษัทสไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด (skyller) เปิดตัวนวัตกรรมแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำงานร่วมกับ Horrus เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone) แบบอัตโนมัติ ส่งผลให้การให้บริการโซลูชัน “โดรน” ครบรอบด้านเป็นรายแรกของประเทศไทย โดยจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า พร้อมตั้งเป้าสร้างรายได้ไว้ที่ 100 ล้านบาทภายในปี 2022 นี้ 

ดร. ศิวัตม์สายบัว CEO & Co-Founder ของสไกลเลอร์ กล่าวว่า บริการในเชิงพาณิชย์นี้มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าขนาดกลางและขนาดใหญ่ในทุกอุตสาหกรรมที่ต้องการโดรนไร้คนขับเพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งปัจจุบัน ความต้องการใช้โดรนเริ่มขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่เน้นหนักไปที่การเก็บข้อมูล และสำรวจตตรวจสอบเป็นหลัก

ทั้งนี้ ดร.ศิวัฒน์ กล่าวว่า สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านการพัฒนา และให้บริการตรวจสอบอุตสาหกรรมและโครงสร้างด้วยโดรนและระบบ AI ซึ่งเป็นหนึ่งหน่วยธุรกิจภายใต้ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ในเครือบริษัท ปตท.สผ. ปีแรกคาดหวังตั้งเป้ารายได้กว่า 100 ล้านบาท

ส่วนราคาค่าบริการจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละอุตสาหกรรม แต่สนนราคาเบื้องต้นจะคิดค่าบริการเหมาจ่ายต่อวัน และมีเงื่อนไขว่าพื้นที่ดังกล่าวต้องมีอินเทอร์เน็ตเข้าถึง แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ในกรณีที่ไม่มีสัญญาณเน็ต

“SKYLLER ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันอัจฉริยะที่นำ AI และ Machine Learning (ML) มาใช้ทำงานร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือ โดรนและหุ่นยนต์รูปแบบอื่น ๆ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของธุรกิจต่าง ๆ ในเชิงอุตสาหกรรม และนำเทคโนโลยีมาช่วยทำงานในภารกิจที่มีความเสี่ยงและอันตรายสูงต่อมนุษย์ เพื่อลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติภาระกิจหน้างาน (On-site)” ดร.ศิวัฒน์ กล่าว

โดยสไกลเลอร์มีบริการโดรนอัตโนมัติตรวจสอบอยู่แล้ว แพตลฟอร์ม HighSight ที่เพิ่มเข้ามาจึงช่วยเสริมศักยภาพในการปฎิบัติภารกิจแบบควบคุมระยะไกล หรือภารกิจที่เป็นกิจวัตรหลากหลายรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดความเสี่ยงในการทำงานและประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว 

“โดรนในปัจจุบัน ถือเป็นเทคโนโลยีอันดับต้น ๆ ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการนำโดรนมาใช้ในการตรวจสอบ ทำแผนที่เก็บภาพมุมสูง ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง -10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งโดยปกติแล้วการบินโดรนส่วนใหญ่จะควบคุมโดยนักบิน UAV ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ” ดร.ศิวัฒน์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันผู้พัฒนาด้าน AI และ Robotics ทั่วโลกต่างหันไปนิยมนำระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากขึ้น แพลตฟอร์มของโดรนที่นำเอา AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนี้มีอยู่บ้างแล้วในต่างประเทศ ซึ่งระบบของผู้พัฒนาแต่ละรายจะมีความฉลาดแตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรมหลักที่แพลตฟอร์มนั้นเติบโตขึ้นมา

สำหรับในประเทศไทย ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายมักจะเป็นของผู้พัฒนาจากต่างประเทศ และมีฟังก์ชันที่ไม่ครบวงจร บางซอฟต์แวร์ใช้งานตั้งค่าการทำงานโดรนได้เพียงอย่างเดียว หรือบางซอฟต์แวร์ใช้ดูข้อมูลรูปภาพจากโดรนได้อย่างเดียว ซึ่งทำให้การใช้งานไม่เป็นเอกภาพต้องแยกใช้งานไปในหลายแพลตฟอร์ม ทำให้ทางทีมพัฒนาของบริษัท พัฒนาแพลตฟอร์ม HighSight ขึ้นมา

การเปิดตัวแพลตฟอร์มอัจฉริยะในครั้งนี้ยังมีขึ้นในวันเดียวกันกับที่ทางบริษัทแม่ของสไกลเลอร์อย่าง บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด เปิดตัว Horrus ซึ่งเป็นโดรนขับเคลื่อนอัตโนมัติที่สามารถทำงานได้ด้วยการขับเคลื่อนตัวเองอย่างเป็นอิสระได้อย่างสมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรกของไทย ดังนั้น แพลตฟอร์ม HighSight จึงเปรียบเสมือนสมองที่ชาญฉลาดสำหรับควบคุม สั่งการ ตั้งโปรแกรมการทำงานของ Horrus ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ตามภารกิจที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันระหว่าง Horrus กับ HighSight ยังสามารถวิเคราะห์และรายงานผลจากข้อมูลที่จัดเก็บได้อย่างสะดวกอย่างเป็นเอกภาพบนแพลตฟอร์มเดียว ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงวิธีการสำรวจ และตรวจสอบ ไปจนถึงการเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัยแบบเดิม ๆ ไปโดยสิ้นเชิง

ดร.ศิวัฒน์ กล่าวว่า ได้เริ่มมีการนำร่องใช้แล้วในอุตสาหกรรมภายใต้เครือ ปตท. และ ปตท.สผ. และได้ผลการปฏิบัติงานที่น่าพอใจ สามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าปกติกว่า 50% 

โซลูชันการใช้งานโดรนแบบอัตโนมัติครบวงจร 

ด้าน ภาคภูมิ เกรียงโกมล Robotic Team Lead บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV  เสริมว่า หากเปรียบเทียบกับการเช่าอุปกรณ์และจ้างนักบินตามวิธิปกติ มองเห็นความคุ้มค่าในการลงทุนภายใน 1 ปี ประหยัดเวลาในการทำงานเร็วขึ้น 4 เท่า สามารถวิเคราะห์และรายงานผลด้วย AI ภายใน 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ได้ตลอดเวลา ช่วยป้องกันความเสียหายจากค่าเสียโอกาสในการหยุดผลิตกระทันหัน (unplanned shutdown) ที่มูลค่าสูงถึง 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน และลดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานให้เป็นศูนย์

“เราใช้เวลาพัฒนา Horrus รวมทั้งหมด 1 ปีครึ่งนับตั้งแต่ทำตัวต้นแบบออกมา โดยอุปสรรคในช่วงแรกก็คือพื้นที่ในการทดสอบที่ไม่สามารถดำเนินการอยู่ในใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยภายหลังจากเปิดตัว Horrus: Fully Automated Drone Solution อากาศยานไร้คนขับที่ขับเคลื่อนตัวเองอย่างอิสระ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาความต้องการใช้งานโดรนในเชิงพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นจนเกิดการขาดแคลนบุคลากรเนื่องจากบุคลากรที่เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะงานด้านตรวจสอบอุตสาหกรรมและโครงสร้างมีจำนวนจำกัด ประกอบกับความซับซ้อนในการทำงาน ผู้บังคับต้องอยู่ในระดับการมองเห็นของสายตาตลอดเวลา ต้องทำงานเดิมเป็นกิจวัตรและใช้เวลานาน” ภาคภูมิ กล่าว

ขณะที่ ปวริศคชรัตน์ Product Owner (Digital) ของสไกลเลอร์ ซึ่งพัฒนาในส่วนของแพลตฟอร์มโซลูชันอัจฉริยะ HighSight กล่าวว่า แพลตฟอร์มดังกล่าวถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการสั่งการควบคุม Horrus ซึ่งมีจุดเด่นในการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลบนข้อมูลที่เก็บเอาไว้ได้อย่างแม่นยำถึง 80% สามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของโดรนให้ง่าย สะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากขึ้นในระยะยาวส่งผลต่อการสร้างศักยภาพที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นให้กับธุรกิจและช่วยเพิ่มความสามารถในการก้าวเป็นผู้นำธุรกิจในอุตสาหกรรมได้อีกด้วย 

การคิดค้นพัฒนาแพลตฟอร์มอัจฉริยะของโซลูชัน HighSight เกิดจากการต่อยอดการใช้เทคโนโลยีโดรนสำรวจทั้งในและนอกหน่วยงานปตท.สผ. เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์การผลิตและโครงสร้างขนาดใหญ่ และพบ pain point ของผู้ตรวจสอบที่ต้องตรวจข้อมูลที่ได้จากโดรนทีละรูน เป็นหลักพันรูปเพื่อหาความผิดปกติ ซึ่งใช้แรงและเวลาเป็นสัปดาห์จึงเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็ว ไปจนถึงสามารถจัดการงานครบวงจรทั้งโครงการได้สะดวก ผ่านแพลตฟอร์มเดียวที่ใช้งานได้ทั้งมือถือ แท็บแล็ต คอมพิวเตอร์

HighSight เป็นโซลูชันที่เชื่อมต่อแพลตฟอร์มให้ทำงานกับ Horrus เพื่อทำหน้าที่เก็บข้อมูลรูปภาพและวิดีโอในการสำรวจ และมี AI เข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้การทำงานของโดรน

ทั้งนี้ แพลตฟอร์ม HighSight ประกอบไปด้วย 3 ฟังก์ชันหลัก ได้แก่ 1) Resource and Project Management ระบบช่วยจัดการโปรเจกต์ บริหารงานและการปฏิบัติงาน วางแผน ติดตามการทำงานของ Horrus ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ และระยะเวลาที่กำหนด 2) Data Visualization and Analysis การใช้ ระบบ AI และ Machine Learning ในการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายหรือวิดีโอจากการปฏิบัติภารกิจของโดรน เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติ และตรวจสอบความเคลื่อนไหวในระบบการผลิต และอุตสาหกรรม การรักษาความปลอดภัย การวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณของหิน ทราย และวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้าง ได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

“ตัวอย่างเช่นจากเดิมที่ต้องมีการใช้บุคลากรในการตรวจสอบสิ่งผิดปกติจากภาพที่ได้จากการสำรวจของโดรนทีละรูป การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยตรวจจับและแสดงผลจุดผิดปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบรูปเพื่อความแม่นยำอีกครั้ง และยังสามารถจัดการเพิ่มเติมจุดผิดปกติ เพิ่มเติมเข้าไปในรูปได้ด้วยตนเองโดยตรง ซึ่งระบบ Machine Learning จะเรียนรู้และเก็บข้อมูลที่ผู้ใช้งานเพิ่มเติมเข้ามาในระบบใหม่ทุกครั้ง เพื่อให้ระบบวิเคราะห์ผลได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆทุกครั้งที่มีการป้อนข้อมูล”

ส่วนองค์ประกอบสุดท้ายคือ 3) Report and Data Integration ซึ่งเป็นสรุปผลและนำเสนอการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบเข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบกับข้อมูลสำรวจในครั้งก่อน สามารถส่งออกเพื่อนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติม ประมาณการล่วงหน้า และแจ้งเตือนในการตรวจสอบครั้งต่อไป 

เปิดตัวใช้งานปีหน้าพร้อมแผนรุกตลาดต่างประเทศ 

ขณะที่ จุฑาทิพย์ ผ่องสุวรรณ Senior Marketing Executive ของสไกลเลอร์ กล่าวเเสริมว่า HighSight ถือเป็น Total Solution ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของโดรน Horrus ให้ผู้ใช้ทำงานจบได้ที่เดียว มีฟังก์ชันที่ครบวงจรทั้งการสั่งการ-ดูข้อมูล-วิเคราะห์ข้อมูล ด้วย AI ไปจนถึงการจัดทำเอกสารรายงานผล เป็นรายแรกและรายเดียวในไทย ซึ่งพัฒนาขึ้นจากการศึกษาเรียนรู้ปัญหาจากธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมของไทย ทำให้สามารถออกแบบโซลูชั่นได้ตอบโจทย์ธุรกิจ และช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าชาวไทยได้อย่างแท้จริง ๆ                   

“บริษัทจะดูแลตั้งแต่การใช้งาน ไปจนถึงการซ่อมบำรุงโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบกว่านวัตกรรมจากต่างประเทศที่ยังไม่มีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในไทย นอกจากนี้ HighSight ยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของลูกค้าแต่ละรายได้ตามต้องการ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีของต่างประเทศถือว่ายังเป็นราคาที่ประหยัดกว่าถึง 30-50% โดยพร้อมแล้วที่จะให้บริการในเชิงพาณิชย์แก่กลุ่มธุรกิจภาคอุตสาหกรรม” จุฑาทิพย์ กล่าว

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของสไกลเลอร์ เป็นองค์กรขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ อาทิ นิคมอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการสำรวจสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ธุรกิจการก่อสร้าง ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจด้านโทรคมนาคม ธุรกิจขนส่ง และหน่วยงานดูแลสาธารณภัย ที่มองหาเทคโนโลยีโดรนไร้คนขับอัจฉริยะไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำรวจและปฏิบัติงาน เพื่อประหยัดเวลาการทำงาน ลดต้นทุน ลดความเสี่ยงในการทำงาน 

ยิ่งไปกว่านั้น จุฑาทิพย์ เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนที่จะขยายบริการไปในตลาดต่างประเทศ แต่จะเปิดให้พรีออเดอร์ในประเทศก่อนในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า โดยมีลูกค้าติดต่อเข้าไปแล้ว เช่น การตรวจสอบโกดัง พื้นที่ไซต์งานก่อสร้าง ซึ่งบริษัทเชื่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมของไทยก็เป็นปัญหาสากลที่เกิดขึ้นในหลายประเทศด้วยเช่นกัน โดยเบื้องต้นอาจมุ่งไปที่อุตสาหกรรมน้ำมันและพลังงานก่อน

ท่องเที่ยววิถีใหม่ในยุค IoT Disruption

แลนเซสส์ ขยายการผลิตพลาสติกไฮเทคในประเทศจีน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ