TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessเอสซีจี เปิดแผนขับเคลื่อนธุรกิจ “มุ่งสู่ 4 พลัง Net Zero และ Inclusive Green Growth”

เอสซีจี เปิดแผนขับเคลื่อนธุรกิจ “มุ่งสู่ 4 พลัง Net Zero และ Inclusive Green Growth”

เอสซีจี เผยภารกิจก้าวต่อไป ย้ำเดินหน้าสร้างสังคม Net Zero ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ภายในระยะเวลา 5–10 ปี พร้อมมุ่งสู่การสร้างการเติบโตในธุรกิจแบบ Green Growth ภายใต้แนวคิด ‘Passion for Inclusive Green Growth’ โดยยึดหลัก 4 ด้าน องค์กรคล่องตัว นวัตกรรมกรีน องค์กรแห่งโอกาส ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันธุรกิจ มุ่งสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ทุกคนสามารถเติบโตไปพร้อมกันได้นับต่อจากนี้ไป

ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี กล่าวว่า ความขัดแย้งเรื่อง Geopolitics รวมถึงเรื่องโลกเดือด ส่งผลให้ 5–10 ปีข้างหน้าจะเกิดความไม่แน่นนอนสูงซึ่ง Geopolitics จะกระทบด้านราคาน้ำมัน ห่วงโซอุปทาน FGA ดังนั้นเรื่องของ Climate Crisis อุณหภูมิโลกสูงขึ้นปัจจุบันสูงถึง 1.48 องศา เกือบแตะ 1.5 องศา ซึ่งเป็นจุดที่น่ากลัวเพราะฉะนั้นนับจากนี้ต่อไป 5–10 ปี ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น เอสซีจีอยู่มาแล้ว 111 ปี ทำอย่างไรให้อยู่อย่างน้อย 50-100 ปี และหลังจากนี้ไม่ควรปล่อยคาร์บอนจำนวนมาก สู่ชั้นบรรยากาศได้อีกต่อไปต้องเริ่มปรับตัวตั้งแต่ตอนนี้ “เพื่อก้าวเข้าสู่ Net Zero หรือการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์อย่างแท้จริง”

“เอสซีจีตั้งใจในทุกธุรกิจที่ดำเนินการให้มีการเติบโตไปในทิศทาง Green Growth แบบ Inclusive จึงเป็นที่มาของคำว่า Inclusive Green Growth ที่ดำเนินธุรกิจภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)”

ต่อมาในด้านธุรกิจซีเมนต์สู่ Green Growth มุ่งไปที่ Low Carbon หรือปูนคาร์บอนต่ำของเคมิคอลส์ เล็งเห็นความสำคัญ Green Polymer ซึ่งเป็นแพ็กเกจจิ้งที่ใช้ในการรีไซเคิลอยู่แล้วโดยประมาณ 95% แน่นอน “เอสซีจีคิดว่าจุดนี้จะเป็นจุดแรกที่สามารถเดินหน้าเข้าสู่ Green Growth ได้เร็วกว่าวิธีอื่น” เพราะฉะนั้นแพ็กเกจจิ้งสามารถเดินหน้า และเติบโตต่อไปได้ในระยะยาวโดยเฉพาะต้นน้ำไปจนกระทั่งเรื่องของการปลูกป่าการนำรีไซเคิลมาใช้ต่ออย่างครบวงจร อย่างธุรกิจน้องใหม่ SCG Cleanergy มีเป้าหมายในการเป็น Total Solutions Provider เพื่อสนับสนุน การดำเนินธุรกิจของพาร์ตเนอร์อย่างยั่งยืน มุ่งมั่นต่อสู้กับภาวะโลกร้อนและมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยเทคโนโลยี ที่ครอบคลุมความต้องการทุกมิติ ปีที่แล้วประเทศไทยมีประชากรศาสตร์คาดการณ์โดยประมาณแค่ 17% หากเมืองไทยจะไปให้ถึง Net Zero จะต้องมีพลังงานสะอาดถึง 100% รวมถึงประชากรศาสตร์ที่ต้องใช้อีกมากมาย

การจะไปสู่ “Green Growth” ได้ต้องใช้ความเข้าใจทางด้านจุดแข็งของแต่ละพื้นที่รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้หรือแม้กระทั่งพลาสติกรีไซเคิล การทำ Chemical Recycling  ทั้งสองอย่างนี้ยังคงเดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ ผลลัพธ์ (Outcome) คืออัตราการเติบโตของกรีน รีไซเคิลพลาสติกสูงกว่าพลาสติกทั่วไปถึง 2 เท่า จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เอสซีจีทำเมื่อสองถึงสามปีก่อน “นี่แหละคือ Green Growth”

เอสซีจี ลำปาง เปิดบ้านโชว์กระบวนการผลิตสีเขียว พร้อมผนึกพลังชุมชนในพื้นที่ สร้างสังคม Net Zero

เอสซีจีกับภารกิจก้าวต่อไปภายใต้แนวคิด ‘Passion for Inclusive Green Growth’ 4 เครื่องยนต์หลัก ขับเคลื่อน 4 Engines ดังนี้

  1. องค์กรคล่องตัว ยืดหยุ่น (Agile Organization) การปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัวนั้นจะสามารถก้าวสู่ Green Growth ได้ ซึ่งในแต่ละธุรกิจจำเป็นต้องมีความคล่องตัวเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นภายใน 5-10 ปีข้างหน้า เพราะหากมีปัจจัยเข้ามากระทบธุรกิจ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเตรียมพร้อม จุดสำคัญคือตัวนำหลักขององค์กรเองจะต้องสร้างองค์กรให้ทุกธุรกิจของเอสซีจีมีความคล่องตัวมากขึ้น เรียกว่า Agile Organization องค์กรที่สามารถปรับตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการปรับเปลี่ยนแนวคิดและสร้างทัศนคติใหม่ (New Mindset) เพื่อการทำงานที่รวดเร็ว และคล่องตัวมากขึ้น พร้อมก้าวเข้าสู่ Net Zero รวมถึง ESG ต่อมาเอสซีจียังเคย Spin-Off ดำเนินการต่อมาในด้านของ SCGJWD และการทำธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งการจะทำธุรกิจโลจิสติกส์ให้เติบโตได้นั้นจะต้องมีความคล่องแคล่ว เช่นด้านของการขนส่งคนภายใน Corporate นอกจากนี้เอสซีจียังต้องการเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาธุรกิจให้สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างรวดเร็วทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  • นวัตกรรมกรีน (Green Innovations) เอสซีจีเน้นพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่สังคม Net Zero เช่นนวัตกรรมปูนคาร์บอนต่ำ สมาร์ทโซลูชันเพื่อการอยู่อาศัย พลาสติกรักษ์โลก บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนที่ใช้ซ้ำรีไซเคิลได้ พลังงานสะอาดครบวงจร พร้อมขยายเข้าสู่อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้าน การวิจัยระดับโลกเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน โดยตั้งเป้ารายได้จากนวัตกรรมรักษ์โลก SCG Green Choice ร้อยละ 67 จากยอดขายทั้งหมด ภายในปี 2573 พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการผลิตคาร์บอนต่ำ ตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 (Net Zero 2050)

    เอสซีจี ทุ่งสง มุ่งสู่ความยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน
  • องค์กรแห่งโอกาส สร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ (Organization of Possibilities) จากข้อมูลข้างต้นไม่ว่าจะเป็น (Agile Organization ความคล่องตัว) (Green Innovations นวัตกรรมกรีน) จะเกิดไม่ได้หากไม่มีมนุษย์ ไม่มีทีมทาเลนจ์ดำเนินการซึ่ง Pain Pont คือการทำให้คนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าปล่อยพลังแสงหรือการปล่อยความสามารถได้อย่างเต็มที่ เพราะคนรุ่นใหม่เริ่มมีความคิดที่อยากจะประสบความสำเร็จภายใน 2-5 ปี มีความต้องการประสบความสำเร็จโดยเร็วและพร้อมปลดปล่อยพลังงาน หรือความสามารถออกมา บางคนอาจจะบอกว่า Work-life Balance แต่ในทางกลับกันคนที่เข้าโปรแกรมกับทางเอสซีจีแทบจะไม่มีความ Work-life Balance อยู่เลยเพราะคนเหล่านี้มุ่งมั่น ตั้งใจพัฒนาศักยภาพของตนเองแม้กระทั่งเสาร์ – อาทิตย์ คนกลุ่มนี้พร้อมสู้เต็มที่เมื่อเข้าสู่ZERO TO ONE ดังนั้นเอสซีจีจึงจำเป็นต้องสร้างองค์กรแห่งโอกาสมากขึ้นเรื่อย ๆ การที่จะมีนวัตกรรม (Innovation) ทางด้านทรัพยากรบุคคลในแบบ ZERO TO ONE โปรแกรมที่บอกว่า “ถ้าคุณเจ๋ง ถ้าคุณพร้อมจะเปลี่ยนโลก คุณมาเข้าโปรแกรมนี้” หากผ่านด่านแรกไปได้มีเงินรางวัลกว่า 200,000 บาท ปรากฏว่าเอสซีจีสร้าง Internal Startup ขึ้นมาส่งผลให้เกิดมูลค่ากว่า 4,000-5,000 ล้าน

    ยกตัวอย่าง DEZPAX เป็นอีกสตาร์ตอัพหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ เกี่ยวกับการทำแอปพลิเคชันและเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์อาหารแบบครบวงจร ที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์คุณภาพไว้ทุกรูปแบบ พร้อมบริการออกแบบและพิมพ์โลโก้ในราคาที่จับต้องได้ คำนวณราคาได้ทันที และที่สำคัญสั่งซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการจัดส่งทั่วประเทศที่ระบุระยะเวลาชัดเจน ติดตามได้ อีกทั้งยังรับประกันเมื่อสินค้าชำรุดเสียหาย ซึ่งนับเป็นผู้บริการแบบครบวงจรรายแรกที่นำเอาอุตสาหกรรมแพคเกจจิ้งและอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์มารวมไว้ในแพลตฟอร์มเดียว

    ลูกค้าของ DEZPAX จึงได้รับความสะดวกสบาย นับเป็นจุดแข็งที่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งและตอบโจทย์ลูกค้า โดยสรุปแล้วเอสซีจีเริ่มเห็นกระบวนการที่เหมาะกับเด็กรุ่นใหม่ กล่าวคือ “คนในสนับสนุน คนนอกก็ยินดี” หากถ้าคุณเก่งจริงสามารถเข้าโปรแกรมนี้ได้ และโปรแกรมนี้สิ่งที่ให้ความสำคัญคือไม่ใช่ทีมที่สำเร็จ เพราะทีมที่สำเร็จเข้ามา 100 ทีมอาจจะสำเร็จประมาณ 1-2 ทีม จะมุ่งโฟกัสไปที่ 98% ที่ตกเพื่อพลักดันให้มันไปต่อได้ เพราะคนที่เข้าโปรแกรมนี้แล้วต่อสู้ ฝ่าฟัน และแน่นอนว่าหากคุณผ่านโปรแกรมนี้ “คุณจะเป็นคนที่มีจุดแข็งในตัวเองอย่างชัดเจน” จากข้อมูลดังกล่าวนี้ทำให้เอสซีจีมุ่งมั่น ตั้งใจสร้างโอกาสแห่งองค์กรอยู่เรื่อย ๆ จึงจะต้องมี Innovations ทางด้าน HR Ecosystem เข้ามาดูแลในส่วนนี้เพื่อพัฒนาบุคคลากรอย่างยั่งยืน
  • ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Society) จุดสำคัญของเอสซีจีคือ Inclusive ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero เป็นเป้าหมายที่ไปได้ยากหากพูดถึงเป้าหมายภายในระยะเวลา 10-20ปี ต้องเกิดความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งคู่ธุรกิจ ชุมรอบ โรงงานรอบข้าง ยกตัวอย่างเช่น สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เอสซีจีเชิญชวนให้คนปลูกหญ้าเนเปียร์เพราะเป็นหญ้าพลังงานสามารถนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลลดคาร์บอนได้ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย กล่าวคือทั้งในด้านสังคม เยาวชน กลุ่มเปราะบาง  Learn to Earn ต่างเอสซีจี ลำปาง เปิดบ้านโชว์กระบวนการผลิตสีเขียว พร้อมผนึกพลังชุมชนในพื้นที่ สร้างสังคม Net Zeroๆ ต้องมั่นเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด แน่นอนว่าเรื่องทั้งหมดนี้ต่างฝ่ายต่างต้องร่วมด้วยช่วยกันหากเอสซีจีสามารถทำให้สังคมเติบโตได้จะส่งผลให้กลุ่มคนนี้มีความราบรื่น และมีความเข้มแข็งทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ทั้งหมดนี้เป็นแผนธุรกิจของเอสซีจี 4 ด้าน ประกอบไปด้วยองค์กรคล่องตัว ยืดหยุ่น (Agile Organization) นวัตกรรมกรีน (Green Innovations) องค์กรแห่งโอกาส สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ (Organization of Possibilities) ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Society) ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของเอสซีจีที่ตั้งใจก้าวสู่เป้าหมายที่วางไว้ Net Zero ภายใต้แนวคิด SCG “Passion for Inclusive Green Growth” ภายในระยะเวลา 5-10 ปีอย่างแน่นอน

“เอสซีจีเชื่อมั่นว่าการร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนจะเป็นพลังสำคัญที่จะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

สรุปงานจากแถลงข่าว SCG Business Purpose: Passion for Inclusive Green Growth

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ยานยนต์ไฟฟ้าไทยพุ่งทะยาน! เติบโต 700% โครงสร้างพื้นฐานพร้อมหนุนอนาคต

จับทิศทาง ESG ปี 2024 กับ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ