TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessยานยนต์ไฟฟ้าไทยพุ่งทะยาน! เติบโต 700% โครงสร้างพื้นฐานพร้อมหนุนอนาคต

ยานยนต์ไฟฟ้าไทยพุ่งทะยาน! เติบโต 700% โครงสร้างพื้นฐานพร้อมหนุนอนาคต

กระแสความนิยมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยกำลังพุ่งทะยาน เมื่อยอดจำหน่ายสูงขึ้นเกือบ 700% โดยในปี 2022 มีรถยนต์จาก 9,678 คัน เป็น 76,366 คัน ภายในปี 2023 คิดเป็น 689% ของรถยนต์ไฟฟ้า สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวของผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกันโครงสร้างพื้นฐานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น

งานเสวนา MEET EVAT โดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ประจำปี 2024 ฉันทกร เดวิชญ์ กริดวิชญยาการ อุปนายกฯฝ่ายข้อมูลการสื่อสารและประชาสัมพันธ์สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย สรุปภาพรวมสถานการณ์เติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย ดังนี้

ภาพรวมยอดการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า xEV รวมถึงประเภทรถยนต์ไฟฟ้า 100% (BATTERY ELECTRIC VEHICLE MARKET DEVELOPMENT) มีอัตราการเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ ตามลำดับเปรียบเทียบปี 2022 และ 2023

  • รถยนต์ไฟฟ้า จาก 9,678 คัน เป็น 76,366 คัน มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 689%
  • รถมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้า จาก 9,912 คัน เป็น 21,927 คัน มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 121% 
  • รถสามล้อไฟฟ้า จาก 226 คัน เป็น 432 คัน มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 91%
  • รถบัสไฟฟ้า จาก 967 คัน เป็น 1,218 คัน มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 25%
  • รถบรรทุกไฟฟ้า จาก 24 คัน เป็น 276 คัน อัตราการเติบโตอยู่ที่ 1,050%           

เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG (Sustainable Development Goals) ประกอบด้วย

  • เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
  • เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
  • เป้าหมายที่ 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

ภาพรวมของตลาดยานยนต์ไฟฟ้า

ปัจจุบันภาพรวมของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายทั้งหมดจาก 100% สามารถทำยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าได้มากถึง 25 แบรนด์ 61 โมเดล จากข้อมูลข้างต้นสามารถจำแนกรถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาต่ำกว่า 1,000,000 บาท มีมากถึง 8 แบรนด์ 11 โมเดล

ด้านของอัตราการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคำนวณ ณ เดือนธันวาคม 2566 ค่าเชื้อเพลิง (บาท/กิโลเมตร) ค่าไฟฟ้ามิเตอร์ TOU (กลางคืน) 2.66 (บาท/หน่วย) ค่าไฟฟ้ามิเตอร์ทั่วไป 4.22 (บาท/หน่วย) ค่าไฟฟ้าตู้ชาร์จสาธารณะ 7.5 (บาท/หน่วย) โดยหลักการหากชาร์จที่บ้านจะมีอัตราการชาร์จถูกกว่าโดยประมาณ 3 ถึง 4 เท่า (ตัวเลขอาจมีการปรับเปลี่ยนตามค่า Ft ของแต่ละช่วงเวลา) นอกจากค่าใช้จ่ายรถยนต์ไฟฟ้าต่อกิโลเมตรแล้วยังมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ยกตัวอย่างข้อมูลค่าย MG รุ่น New MG ZS EV (รถยนต์ไฟฟ้า) และ New MG ZS (รถยนต์น้ำมัน)

เมื่อเปรียบเทียบ MAINTENACE COST – TOTAL SERVICE AT 100,000KM รถยนต์น้ำมันจะมีอัตราค่าใช้จ่ายสูงกว่ารถยนต์ไฟฟ้าถึง 355% โดยค่าเฉลี่ยรุ่น New MG ZS EV (รถยนต์ไฟฟ้า) อยู่ที่ 8,228 THB ด้านของรุ่น New MG ZS (รถยนต์น้ำมัน) อยู่ที่ 29,224 THB ภาพรวมการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในระดับภูมิภาค จากข้อมูล ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ประเทศไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจหลักในกลุ่มอาเซียนโดยมีสัดส่วนยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า 78.7% สูงสุด และปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 8.0% เวียดนาม 6.8% สิงค์โปร 4.1% มาเลเซีย 2.4% และฟิลิปปินส์ 0.04% ตามลำดับข้อมูลจาก Counterpoint’s SEA Passenger Electric Vehicle Model Sales Tracker

มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 (EV 3.5) จากกรมสรรพสามิต รถยนต์นั่ง (ไม่เกิน 2 ล้านบาท) ขนาดแบตเตอรี 10 – <50 kwh มีเงินอุดหนุนปี 2567 50,000 บาท ปี 2568 35,000 บาท ปี 2569 – ปี 2570 25,000 บาท สำหรับขนาดแบตเตอรีตั้งแต่ 50 kwh ขึ้นไปปี 2567 100,000 บาท ปี 2568 75,000 ปี 2569-2570 50,000 บาทผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนการลดอากรขาเข้า CBU ลดอัตราไม่เกิน 40% (นำเข้าช่วงปี 2567-2568) และลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% รถยนต์นั่ง (เกิน 2 ล้าน แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท) ขนาดแบตเตอรีตั้งแต่ 50 kwh ขึ้นไปไม่มีเงินอุดหนุน ลดอากรขาเข้า CBU ปกติ และลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% รถกระบะ (ไม่เกิน 2 ล้านบาท) ขนาดแบตเตอรีตั้งแต่ 50 kwh ขึ้นไป มีเงินอุดหนุน 100,000 บาทต่อคันผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ไม่มีลดอากรขาเข้า CBU และลดภาษีสรรพสามิต 0% (ปี 2567-2568) 2% (ปี 2569-2570) และรถจักรยานยนต์ (ไม่เกิน 150,000 บาท) ตั้งแต่ 3 kwh ขึ้นไปมีเงินอุดหนุน 10,000 บาทต่อคันผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ไม่มีลดอากรขาเข้า CBU และลดภาษีสรรพสามิต 1% 

การเปรียบเทียบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV 3.0 และ EV 3.5) สำหรับรถยนต์ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรีมากกว่า 10 kWh แต่ไม่น้อยกว่า 50 kWh ขนาดแบตเตอรีของ EV3 มากกว่า 10 kWh แต่น้อยกว่า 30 kWh ส่วน EV3.5 มากกว่า 10 kWh แต่น้อยกว่า 50 kWh ภาษีสรรพสามิต EV 3.0 และ EV 3.5 ลดจาก 8% เหลือ 2% เท่ากัน อาการขาเข้า CBU 9 ชิ้นส่วน EV 3.0 และ EV 3.5 ลดสูงสุด 40% (ในช่วง 2 ปีแรกของแต่ละมาตรการ) ยกเว้น ปี 2565-2568 เงินอุดหนุน EV 3.0 70,000 บาท ส่วน EV 3.5 ปี 2567 50,000 บาท ปี 2568 35,000 บาท และปี 2569-2570 25,000 บาท เฉพาะที่ผลิตในประเทศเท่านั้น และสัดส่วนการผลิตชดเชย EV 3.0 ปี 2567 เท่ากับ 1:1 ปี 2568 เท่ากับ 1:15 นำเข้า 1 คัน ต้องผลิตชดเชย 1 คัน ในปี 2567 หรือ 1.5 คันในปี 2568 ส่วน EV 3.5 ปี 2569 เท่ากับ 1:2 ปี 2570 เท่ากับ 1:3 นำเข้า 1 คัน ต้องผลิตชดเชย 2 คัน ในปี 2569 หรือ 3 คันในปี 2570

กรอบระยะเวลาของมาตรการฯ (EV 3.0 และ EV 3.5) EV 3.0 CBU ช่วงการขายเดือนเมษายน 2022 – เดือนธันวาคม 2023 ช่วงจดทะเบียนเดือนเมษายน 2022 – เดือนมกราคม 2024 สามารถนำเข้า (CBU) ได้ในระหว่างปี 2022-2023 ส่วน CKD ผลิตในประเทศภายในปี 2024 เท่ากับ 1:1 (1 เท่าของจำนวนที่นำเข้า) ผลิตในประเทศภายในปี 2025 เท่ากับ 1:1.5 (1.5 เท่าของจำนวนที่นำเข้า) และต้องผลิตชดเชยภายในปี 2024-2025 ด้าน EV 3.5 CBU ช่วงการขายเดือนมกราคม 2024 – เดือนธันวาคม 2025 ช่วงจดทะเบียนเดือนมกราคม 2024 – มกราคม 2026 สามารถนำเข้า (CBU) ได้ในระหว่างปี 2024-2025 ส่วน CKD ผลิตในประเทศภายในปี 2026 เท่ากับ 1:2 (2 เท่าของจำนวนที่นำเข้า) ผลิตในประเทศภายในปี 2027 เท่ากับ 1:3 (3เท่าของจำนวนที่นำเข้า) และต้องผลิตชดเชยภายในปี 2026-2027

นโยบายการส่งเสริมการผลิตโดยยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับ 9 ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (BEV) เงื่อนไขนี้มีไว้เพื่อส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายในประเทศในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาและเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานในการส่งเสริมให้ประทศไทยเป็น ศูนย์กลางฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน กรมศุลกากรจึงได้ดำเนินการเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การยกเว้นอากศุลกากรสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) แบตเตอรี (battery)  (2) มอเตอร์ขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า (traction motor) (3) คอมเพรสเซอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (4) ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี (BMS) (5) ระบบควบคุมการขับขี่ (6) ออนบอร์ดชาร์จเจอร์ (on-board charger) (7) ดีซี/ดีซี คอนเวอร์เตอร์ (DC/DC converter) (8) (อินเวอร์เตอร์ (inverter) รวมถึง พีซียูอินเวอร์เตอร์ (PCU inverter) (9) รีดักชัน เกียร์ (reduction gear) มีผลบังคับใช้คือวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ของประกาศนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ชิ้นส่วนเหล่านี้จะต้องมีใบรับรองจากสถาบันยานยนต์แห่งประเทศไทยว่าเป็นรายการ หรือส่วนประกอบของรายการเพื่อใช้ประกอบหรือผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (BEV) ชิ้นส่วนเหล่านี้จะต้องใช้ในการประกอบหรือผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือเรือไฟฟ้าแบตเตอรีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นำเข้าสินค้า

ภาพรวมฝ่ายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย

นอกจากนี้ ผศ.ดร.ชนะ เยี่ยงกมลสิงห์ กรรมการประธานคณะทำงาน WG5 ระบบอัดประจุไฟฟ้าสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย สรุปภาพรวมฝ่ายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยดังนี้ 

  • ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ามีอัตราสูงขึ้นอย่างรถยนต์ส่วนบุคคลมีราว ๆ 100,000 คัน ต่อจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้า 2,658 สถานี 1 ตู้เท่ากับ 2 หัวจ่าย เปรียบเป็นอัตราส่วน 1:1 เมื่อรถยนต์ไฟฟ้ามีอัตราสูงขึ้นสถานีอัดประจุไฟฟ้าต้องดำเนินตามไปด้วยเช่นกัน 
  • ปัญหาในประเทศไทยยังขาดมาตรฐานฝีมือแรงงาน การทดสอบ บำรุงรักษา มาตรฐานอุปกรณ์เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างเช่นผู้ใช้ติดตั้งเองทำให้เกิดปัญหาตามมา หรือจำนวนช่างไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นโจทย์ที่สมาคมกำลังมีการพัฒนาปรับปรุงและร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชนในการพัฒนาช่างฝีมือแรงงาน มาตรการในการตรวจสอบ และพร้อมผลักดันเครื่องชาร์จตามบ้านให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น ควรเป็นตู้ชาร์จที่ผ่านมาตราฐาน มอก. เนื่องจากเกิดปัญหาซื้อเครื่องชาร์จผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เพราะบางร้านไม่ได้มาตรฐานเสี่ยงอันตรายต่อไปในอนาคต แม้กระทั่งความเข้าใจผิดด้านการใช้งาน สมาคมพร้อมเดินหน้าสร้างความรู้ความเข้าใจต่อผู้ใช้งานเพื่อความปลอดภัย และเลือกใช้งานให้ถูกต้อง 
  • ด้าน Thailand Charging Consortium CHARGING CONSORTIUM เริ่มมีการแชร์ข้อมูลและเก็บดาต้ามากขึ้น เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และเพื่อให้สามารถใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าได้ในทุกเครือข่ายฯ และมีระบบการให้บริการที่เป็นมาตรฐาน เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางในความร่วมมือเพื่อให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้เครื่องมือ เช่นบัตร หรือ QR code โปรแกรม หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ข้ามเครือข่ายฯ โดยไม่จำกัดเฉพาะของเครือข่ายฯ ในเครือข่ายฯ หนึ่งเท่านั้น เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยง ระบบการเก็บคำบริการจากผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้บริการต่าง เครือข่ายฯ ที่สามารถบริหารจัดการทั้งรายรับและให้กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างเป็นธรรม ปี 2021 ถึง 2026 ทางทีมทดลองเริ่มพัฒนาและขยายต่อไปทั้งในปัจจุบันและอนาคต  
  • มาตรฐาน ISO 15118 &Interoperability Testing ประเทศไทยได้มีการใช้มาตรฐาน IEC 61851 ระบบประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งนำเสนอในสหภาพยุโรปจาก CharlN ต่อมา CharlN ได้นำเสนอ มาตรฐาน ISO 15118 &Interoperability Testing และเป็นมาตรฐานทดสอบหัวชาร์จ ที่มีกำลังขนาด 150kW 600kW 5MW 10-40MW สำหรับเรือ รถเหมืองแร่ เครื่องบิน การทำ Secure Payment การทำ Seamless roaming ระหว่างประเทศ การบริการ ทดสอบรถยี่ห้อต่าง ๆ กับระบบ และให้ comment กับค่ายรถเพื่อใช้ประกอบในการปรับปรุงระบบ
  • การทดสอบ ตู้ดีซี ของสถาบันไฟฟ้า สถาบันไฟฟ้าได้กำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำ แนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการประเทศไทยมีการส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและเร่งส่งเสริมการติดตั้งสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle Supply Equipment : EVSE ในพื้นที่สาธารณะ ให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าว่าจะมีสถานีอัดประจุฯ สาธารณะ ที่พร้อมให้บริการ อย่างทั่วถึง เกิดข้อกังวลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานีอัดประจุฯ ตั้งแต่ติดตั้ง เปิดให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีฯ ที่มีการใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง ว่ามีมาตราการใดสำหรับการตรวจติดตามหรือไม่ตลอดจนการจัดการสถานีฯ ตั้งแต่เปิดให้บริการจนหมดสภาพใช้งานแล้ว มีการทดสอบตู้ชาร์จดีชี พบว่ามีสถานีบางส่วน จำเป็นต้องมีการปรับปรุงทางด้านการทดสอบความเป็นฉนวนและการสื่อสารทางด้านความปลอดภัยให้เพิ่มมากขึ้น
  • วัดค่าพลังงานและการรับรองของกองชั่งตวงวัด กรมการค้าภายใน กองชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดประชุม อังคารที่ 5 มีค 2567 ณ. กรมการค้าภายใน ขอเชิญผู้ประกอบการสถานีอัดประจุสาธารณะ ผู้ผลิตผู้จัดจำหน่ายสถานีชาร์จรถยนต์ฟฟ้า สมาคมฯ และสถาบันตรวจสอบไฟฟ้า สถาบันมาตรวิทยา และผู้เกี่ยวข้อง มาร่วมประชุมหารือใน 2 หัวข้อ การแสดงราคาคำชาร์จไฟฟ้า โดยขอความร่วมมือให้มีการแสดงราคาต่อหน่วยของค่าพลังงาน ค่าจอด ค่าปรับ surcharge ต่างๆ อัตรา on-peakoff peak (ถ้ามี) ให้ชัดเจน สามารถมองเห็นได้ บนตัวเครื่องชาร์จ หรือบนแอปฯ ต่อมามีการหารือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถึงแนวทางการตรวจสอบความถูกต้องเที่ยงตรงของการวัดพลังานไฟฟ้าที่ขายให้กับผู้ใช้ ของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะอิงข้อมูลจากมาตรฐานสากล OIML (International Organization. of Legal Metrology) โดยจะตั้ง working group ที่ประกอบด้วย กรมการค้าภายในเป็นเจ้าภาพ สถาบันมาตรวิทยา และมีการไฟฟ้า 3 การสถาบันไฟฟ้า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาข้อกำหนดแบบแผนและการกำกับดูแลระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีการวัดและขายค่าพลังงานไฟฟ้าให้ถูกต้องเที่ยงตรงได้มาตรฐานต่อไป 
  • กิจกรรมที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการผลักดันร่วมมือกับภาครัฐการร่วมมือในการจัดทำมาตรฐาน เช่น มาตรฐานมือแรงงาน มาตรฐานการทดสอบ บำรุงรักษา มาตรฐานอุปกรณ์ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนจนถึงการรับรองมาตรฐานจนถึงการผลักตันให้เครื่องอัดประจุไฟฟ้าในบ้านและอาาคารเป็นมาตรฐานบังคับให้การสนับสนุนการจัดทำ มาตรฐานการสับเปลี่ยนแบตเตอรี ฐานข้อมูล และแบตเตอรีพาสปอร์ตการสนับสนุนการจัดทำ Roaming ในรูปธุรกิจไปจนถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งบริษัท Clearing House เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจการศึกษา ราคาจำหน่ายที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในกรตั้งราคาให้ธุรกิจสามารถดำเนินได้อย่างราบรื่น และนำเสนอมาตรการอุดหนุนจากภาครัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนและให้ความรู้ผู้ประกอบการและภาคประชาชนการจัดการอบรมซ่างติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้ามาตรฐานแนวทางการสนับสนุนการติตตั้งเครื่องชาร์จในคอนโดและอาคารต่างๆการจัดเสวนา ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้า เช่น โรงแรม ร้านอาหาร feet ทั้งรูปแบบสถานีระหว่างเส้นทาง และ สถานีปลายเส้นทางตอบคำถามข้อสงสัยรายละเอียดการติดตั้ง การลงทุน เทคนิค ฯลฯ การร่วมมือกับสมาคมประกันภัยในด้านทรัพย์สินและความปลอดภัย

สรุปจาก งานเสวนา MEET EVAT ประจำปี 2024 Session: สรุปภาพรวมสถานการณ์เติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย / สรุปภาพรวมอุตสาหกรรมและการพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย / สรุปภาพรวมฝ่ายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จับทิศทาง ESG ปี 2024 กับ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์

แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ปี 2030 วิเคราะห์ ปรับตัวตามเทรนด์ และเน้นการวางแผน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ