TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyม.สงขลานครินทร์ โชว์ 4 นวัตกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ตั้งเป้าขยายสู่ รพ.สต.-อนามัย ทั่วประเทศ

ม.สงขลานครินทร์ โชว์ 4 นวัตกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ตั้งเป้าขยายสู่ รพ.สต.-อนามัย ทั่วประเทศ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกที่เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด” หรือ “Hyper-aged society” อย่างเต็มตัวแล้ว จากการคาดการณ์การเติบโตของประชากรผู้สูงอายุ ในวัย 65 ปีขึ้นไป ภายในปี 2578 จะคิดเป็น 25% ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งโรคภัยไข้เจ็บที่ตามมากับวัยที่เพิ่มขึ้น มักเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสุขภาพ

-เผยต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ พร้อมประยุกต์ใช้ตามหาคนและการเกษตรอัจฉริยะ
-แนะทุกองคาพยพตระหนักความสำคัญ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนอนาคตที่ดีและยั่งยืน

โดยเฉพาะโรคกลุ่มกระดูกและข้อ และ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ซึ่งลักษณะของอาการดังกล่าว จำเป็นต้องพึ่งพาการรักษาแบบเฉพาะทางตามหลักกายภาพศาสตร์ แต่ทั้งนี้ กลับพบว่า นักกายภาพบำบัด 1 คน ต้องรักษาผู้ป่วย 23,614 คน ซึ่งประชากรไทยทั้งหมด 72 ล้านคน จะต้องมีนักกายภาพบำบัดถึง 32,180 คน ถึงจะเพียงพอ (ที่มา: สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย) ดังนั้น จึงส่งผลกระทบต่อให้นักกายภาพมีภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นแบบทวีคูณ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ผุดโครงการพัฒนา “นวัตกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ” โดยขอทุนกับทาง กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จนคณะวิจัยสามารถพัฒนาระบบและอุปกรณ์กายภาพบำบัดทั้งหมด 4 ชนิดดังนี้

1.นวัตกรรมบริหารหัวไหล่ ระบบประมวลผลภาพ สำหรับการวัดองศาของการเคลื่อนไหวข้อไหล่ เพื่อใช้ในผู้ที่มีปัญหาข้อไหล่ติดหัวไหล่
2.นวัตกรรมฝึกการขยายปอด ระบบประมวลผลภาพ สำหรับติดตามการทำกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูปริมาตรปอด
3.นวัตกรรมบริหารกล้ามเนื้อหายใจ ระบบติดตาม ช่วยบริหาร พร้อมทั้งวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ
4.นวัตกรรมบริหารข้อเข่า ระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยบริหารข้อเข่า การออกกำลังกายแบบไอโซโทนิก (Isotonic Exercise) ที่เน้นการยืดเหยียดเข่าโดยมีตุ้มน้ำหนัก(ถุงทราย)รัดบริเวณข้อเท้า

ม.สงขลานครินทร์ โชว์ 4 นวัตกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ตั้งเป้าขยายสู่ รพ.สต.-อนามัย ทั่วประเทศ

รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนนท์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า โครงการนี้ได้ทุนจาก กทปส. ครั้งแรกมาเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ประมาณ 5 ล้านบาท เพื่อทำต้นแบบ ก่อนจะได้ทุนในเฟสที่ 2 ประมาณ 12 ล้าน และได้พัฒนาจนสามารถทดลองจริงได้ ที่ โรงพยาบาลตรัง มีการทดสอบกับคนไข้ที่ยินยอมให้ทดสอบแล้วประมาณ 30-40 เคส ในอุปกรณ์แต่ละชนิด

“มหาวิทยาลัยมีคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องการผลิตอุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้ป่วย หน้าที่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คือ การวิจัย ซึ่งเมื่อได้เป็นผลิตภัณฑ์ออกมาแล้วเราจะนำไปจดเป็นสิทธิบัตร ขั้นตอนต่อไป ก็จะพัฒนาให้ออกมาขายได้จริง” รศ.ดร.ธนิต กล่าว

ปัจจุบันระบบและอุปกรณ์ทั้งหมดจะทำการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเซิร์ฟเวอร์ (Server) และคลาวด์ เซิร์ฟเวอร์ (Cloud Service) ผ่านเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเป็นการออกแบบ พัฒนา และผลิตอุปกรณ์ต้นแบบทั้ง 4 ชนิด ให้ได้มาตรฐานสากลตามมาตรฐาน ISO 13485 และ IEC 60601 และเป็นประโยชน์ในระดับประเทศต่อไป

รศ.ดร.ธนิต กล่าวต่อว่า ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจะไม่ได้เป็นผู้ผลิตขายเองแต่จะให้ใบอนุญาตกับภาครัฐหรือเอกชน นำไปผลิตให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลาย ซึ่งผู้ผลิตอาจจะเป็น ก.สาธารณะสุข ผลิตเพื่อแจกจ่ายไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรืออนามัยทั่วประเทศ ก็ได้ และถ้าขยายการใช้งานออกไปในพื้นที่อื่น ๆ จะสามารถเก็บเป็น Big Data เพื่อให้ระบบมีความแม่นยำมากขึ้น

“เราคาดหวังว่าจะได้ข้อมูลมากที่สุด และอยากจะขยายไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ได้ภายใน 1-2 ปี ทั้งนี้จะต้องได้รับทุนในเฟสถัดไป” รศ.ดร.ธนิต กล่าว

ด้าน นิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดเผยว่า กทปส. เล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์ ที่เอื้อต่อการรักษาและการดูแลผู้ป่วยได้โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ต้องทำกายภาพบำบัด หรือผู้สูงอายุ ที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลหรือไม่สะดวกที่จะเดินทางมายังโรงพยาบาลสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายดังกล่าวโดยการใช้เทคโนโลยีผ่านระบบสื่อสารได้ เพื่อลดภาระงานของนักกายภาพบำบัด อีกทั้งยังสามารถติดตาม/ช่วยเหลือผู้ทำกายภาพบำบัด และผู้สูงอายุ โดยที่ผู้สูงอายุสามารถทำกายภาพบำบัดที่ถูกต้องด้วยตนเอง หรือศูนย์ส่งเสริมสุขภาพใกล้บ้าน ผ่านการจัดสรรงบประมาณแก่ นักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนา “นวัตกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ” ภายใต้โครงการ “การขยายผลระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสาร สำหรับประโยชน์สาธารณะ”

ม.สงขลานครินทร์ โชว์ 4 นวัตกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ตั้งเป้าขยายสู่ รพ.สต.-อนามัย ทั่วประเทศ

“นวัตกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เป็นโครงการที่ได้ทุนวิจัยระยะที่ 2 โดยระยะแรกมหาวิทยาลับทำต้นแบบ 4 ชนิด สเกลการให้ทุนรอบที่ 2 เราดูเรื่องการทดลองในสภาวะแวดล้อมจริง โอกาสในการทำตลาด สร้างโมเดลธุรกิจ มีเป้าหมายคือให้มีการทดลองกับผู้ป่วยจริงในโรงพยาบาล รวมถึงหาโอกาสขยายในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้กทปส. จะให้ทุนสำหรับการพัฒนานวัตกรรมเท่านั้น ส่วนหน้าที่การขยายตลาดป็นเรื่องของผู้รับทุน” นิพนธ์ กล่าว

นิพนธ์ กล่าวต่อว่า กทปส. เน้นการวิจัยที่ตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 โดยเฉพาะงานวิจัยที่ใช้ร่วมกับเทคโนโลยี 5G, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และบล็อกเชน ซึ่ง 1 โครงการขอทุนได้ 50 ล้านบาท โดยจะเปิดให้ทุนใหม่ในต้นปี 2564

ปี 2563 นี้ กทปส. ได้ให้ทุนไปประมาณ 25 โครงการ งบประมาณ 200 ล้านบาท โดยโครงการที่ได้ไปนั้นเกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัยไซเบอร์ เมืองอัจฉริยะ การแพทย์อัจฉริยะ เกษตรอัจฉริยะ ซึ่งส่วนมากยังอยู่ในการดำเนินการ คาดว่าน่าจะเห็นความคืบหน้าในปีหน้า

“งานของกองทุนส่วนมากจะเน้นทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าการสร้างรายได้ ทั้งนี้การติดตามโครงการต่าง ๆ เรามีทีมงานที่คอยติดตามผู้รับทุนต่าง ๆ ตลอดเวลา” นิพนธ์ กล่าวสรุป

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ