TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyเผยต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ พร้อมประยุกต์ใช้ตามหาคนและการเกษตรอัจฉริยะ

เผยต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ พร้อมประยุกต์ใช้ตามหาคนและการเกษตรอัจฉริยะ

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เผยต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ ผ่านโครงข่ายคลื่น VHF พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชัน การแจ้งเตือนระวังภัย ทั้งไฟป่า น้ำท่วม ดินสไลด์ ผ่านอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ และส่งข้อมูลเข้ามาที่ศูนย์กลางที่ กทม. และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ผ่าน คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์ ปัจจุบันมีโครงข่ายได้ทั้งหมด 40 จุด ใน 40 จังหวัดที่มีความพร้อม

-ดีแทค ชูโซลูชั่น IoT ขับเคลื่อน Digital Transformation
-เอไอเอส ส่ง 5G-IoT ลง “สมาร์ท สมุย” ปลุกท่องเที่ยวไทยคึกคัก

ดร.จักรี ห่านทองคํา นายกสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นักวิจัยเจ้าของผลงาน กล่าวว่า สมาคมฯ สร้างโครงข่ายผ่านคลื่น VHF เพื่อสื่อสารข้อมูลให้เกิดประโยชน์กับสาธารณะมากที่สุด มากกว่าการพูดคุยกัน จุดแข็งของ VHF คือสามารถสื่อสารได้ไกลมาก เป็น 100 กม. โดยไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต และครอบคลุมได้หลายจังหวัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสูงชองเสาอากาศ

ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ ประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้

1.สถานีรับข้อมูล (igate WX station) เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางธรรมชาติและข้อมูลประกอบแต่ละจังหวัด
2.อุปกรณ์ตรวจวัด (Sensor) ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งข้อมูลต่อไปยังสถานีรับข้อมูล
3.อุปกรณ์ระบบสายอากาศย่าน VHF ความถี่ 144.390 MHz
4.สายนำสัญญาณ แหล่งจ่ายพลังงาน พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงส่วนต่าง ๆ

การพัฒนาระบบนี้จะเข้ามาช่วยรัฐวางแผนเฝ้าระวัง/ป้องกันภัยธรรมชาติ ระบบจะทำการรายงานข้อมูลทางธรรมชาติที่จำเป็นแบบเรียลไทม์ จากอุปกรณ์ตรวจวัด ในทุกพื้นที่ของประเทศ อาทิ อุณหภูมิ ความชื่นสัมพัทธ์ ความกดอากาศ ปริมาณน้ำฝน ทิศทางลม ค่าฝุ่นในอากาศ (PM2.5) เพื่อเป็นข้อมูลแก่ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน พลเรือน หน่วยงานของรัฐ ในการติดตาม เฝ้าระวัง และวางแผนป้องกัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล ผ่านการสื่อสารในรูปแบบคลื่นความถี่วิทยุย่านความถี่ VHF ที่ไม่จำกัดโดยลักษณะภูมิศาสตร์ พร้อมทั้งแสดงผลในรูปแบบภาพกราฟิก ที่ง่ายต่อการเข้าใจและนำไปใช้งาน จึงทำให้ประชาชนทุกคน มีโอกาสในการเลือกรับข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

“เราสามารถต่อยอดนำโครงข่ายไปใช้ในด้านของ SAR หรือ Search And Rescue ในพื้นที่ห่างไกล ในป่าลึก ทะเล ที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต”

วิธีการ คือ ติดอุปกรณ์ GPS เพื่อระบุตำแหน่ง และให้ส่งข้อมูลผ่านคลื่น VHF ของวิทยุสมัครเล่น ผ่านมาที่สถานีรับ โดยสถานีที่ใกล้ที่สุดที่รับสัญญาณได้ก็จะส่งคลื่นเหล่านั้นเข้ามาประมวลผลที่ส่วนกลาง และจับคู่ตำแหน่งกับแผนที่ ทีมที่ทำการค้นหาผู้สูญหายสามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตามสถานการณ์เฉพาะหน้า โดยไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่จริง เพื่อให้ผู้บริหารหรือผู้บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลือระยะไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนด้านเกษตรกรรม ชาวนา ชาวไร่ ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต ก็สามารถใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์เพื่อส่งสัญญาณ 100-200 กม. เข้ามาที่สถานีส่วนกลางได้ ซึ่งจะทำให้ชาวนาเข้าถึงข้อมูลความชื้น ปริมาณน้ำฝน ความแรงลม ได้ และยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาระบบการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ได้

“ซึ่งข้อจำกัดของระบบ คือ การจะใช้คลื่น VHF จะต้องขอใบอนุญาตก่อน อีกส่วนคือ ไม่สามารถส่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้”

ทั้งนี้ผลงานดังกล่าวทีมงานของ “ดร.จักรี” วิจัยและพัฒนามาแล้วกว่า 18 เดือน ผ่านงบประมาณสนับสนุนจาก กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จำนวน 6 ล้านบาท เพื่อพัฒนาใน 40 จังหวัดทั่วประเทศ โดยทีมงานตั้งเป้าาจะติดตั้งให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะพิ้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ล่อแหลม ภายใน 2 ปี

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ