TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessดีแทค ชูโซลูชั่น IoT ขับเคลื่อน Digital Transformation

ดีแทค ชูโซลูชั่น IoT ขับเคลื่อน Digital Transformation

Internet of Things หรือ IoT เป็นเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นกับหลากหลายธุรกิจ ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยมากกว่า 5 ปี และในต่างประเทศมากกว่า 10 ปี IoT เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศภายใต้ Thailand 4.0 และ อุตสาหกรรม Industry 4.0 และขับเคลื่อน Digital Transformation

ธุรกิจที่นำร่องไปก่อนในระดับโลก คือ ภาคอุตสาหกรรม เพราะมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น สำหรับประเทศไทย ภาคพลังงานเป็นกลุ่มที่นำ IoT ไปใช้มากที่สุด รองลงมาเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ เช่น กลุ่มบริการขนส่ง และกลุ่มบริการด้านการเงิน

ณฤต ดวงเครือรติโชติ หัวหน้าฝ่าย IoT ส่วนงาน B2B โซลูชัน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ ดีแทค กล่าวกับ The Story Thailand ว่า วิกฤติโควิด-19 ช่วยเพิ่มบทบาทให้การนำ IoT มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น แบ่งออกเป็น 4 แกนหลัก คือ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ต่อยอดเพิ่มรายได้ และสร้างนวัตกรรม

บทบาทของ IoT ในการลดต้นทุน อดีตที่ผ่านมาต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจะเป็นแรงงานคน และการใช้เครื่องจักรแบบบังคับด้วยมือ ซึ่งเป็นภาระต้นทุนเมื่อเทียบกับประสิทธิภพาแล้วมีมูลค่าสูงสำหรับผู้ประกอบการ ทว่า IoT เข้ามาช่วยให้ระบบการทำงานเป็นอัตโนมัติมากขึ้นและง่ายขึ้น เพราะเครื่องจักรทุกชิ้นที่ติดตั้งอุปกรณ์ IoT สามารถทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตได้ สามารถตรวจสอบ และควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพผ่านสมาร์ทโฟน

บทบาทของ IoT ในการเพิ่มผลผลิตให้ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงลดระยะเวลากระบวนการผลิตให้มีความต่อเนื่องมากขึ้น รวมถึงช่วยต่อยอดเพิ่มรายได้ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีเปลี่ยนไปเร็ว ความต้องการของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปเร็วเช่นกัน ธุรกิจจึงต้องสร้างประสบการณ์การใช้งานใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดรายได้ใหม่ ๆ IoT จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งาน

บทบาทของ IoT ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม หลายองค์กรมีการทำการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อนำ IoT เข้ามาต่อยอดนวัตกรรมขององค์กรในอนาคต เทคโนโลยี IoT เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพูดถึงและโดดเด่นมากในภาคอุตสาหกรรม เพราะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนทั้งเงิน เวลา และความผิดพลาดในการทำงาน

ทว่าปัจจุบันจะเห็นว่า IoT ไม่ได้มีบทบาทอยู่ที่ฝั่งธุรกิจเท่านั้น แต่ IoT เริ่มขยับบทบาทเข้ามาใกล้ชีวิตคนทั่วไปมากขึ้น เนื่องเพราะมีหลายธุรกิจเริ่มนำ IoT เข้ามาใช้งานเพื่อสร้างบริการให้ลูกค้าปลายทาง อาทิ ธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ และงานบริการต่าง ๆ เริ่มนำ IoT เข้ามาใช้ อาทิ smart home เป็นต้น

บทบาทดีแทคในตลาด IoT

ณฤต กล่าวว่า บทบาทของดีแทคในฐานะผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม คือ การทำหน้าที่ให้ความรู้กับภาคส่วนต่าง ๆ ถึงความสำคัญและประโยชน์ของเทคโนโลยี IoT รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ

ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยี IoT กลุ่มแรก ๆ ในประเทศไทย จะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ แต่วิกฤติโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรจำนวนมากเริ่มมองว่าอะไรที่จะเข้ามาช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตที่ดีขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจวิ่งเข้าหาเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยี IoT

อาทิ การนำอุปกรณ์ IoT มาติดตั้งกับเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อการตรวจจับบุคคลที่เดินเข้ามาในอาคาร การใช้เทคโนโลยี IoT กับระบบจดจำใบหน้า หรือการทำออฟฟิศให้เป็นระบบอัตโนมัติ การทำงานแบบรีโมท รวมถึงในภาคบริการขนส่ง ที่เทคโนโลยี IoT จะเข้ามามีบทบาทในเรื่องการติดตามการส่งสินค้า เป็นต้น

“ส่วนตัวมองว่าถ้าไม่เกิดวิกฤติ การเรียนรู้และรับรู้ว่าเทคโนโลยี IoT คือ อะไร มีประโยชน์อย่างไร ก็อาจจะต้องยืดไปอีก 1-2 ปี แต่เมื่อเกิดวิกฤติ ทำให้เทคโนโลยี IoT เป็นเรื่องที่ทุก ๆ องค์กรหันมามองเป็นอันดับแรก”

IoT จะมาช่วยแก้ปัญหาภาคธุรกิจหลังจากวิกฤติโรคโควิด 19 ที่จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการทรานสฟอร์มเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงานคนมากขึ้น นอกจากวิกฤติโควิด-19 ที่มาเร่งปฏิกิริยาการเรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT แล้ว การพัฒนาเครือข่ายของ 5G ก็เป็นอีกปัจจัยหนุนส่งให้เกิดการใช้งาน IoT เพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเพราะภายใน 1 เครือข่าย 5G สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้เป็นล้าน ๆ เซ็นเซอร์ ขณะที่ 4G ทำได้แค่หลักหมื่นชิ้น

นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติเด่นของเทคโนโลยี 5G ที่มีความหน่วงต่ำ ทำให้ 5G เข้ามาช่วยรองรับการรับส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเรื่องระยะทาง คือ ช่วยเรื่องการสื่อสารระยะไกล และเรื่องความแม่นยำ คือ ช่วยทำให้ควบคุมหุ่นยนต์ได้แม่นยำมากขึ้น ทั้งหลายทั้งมวลนี้ 5G จะช่วยทำให้ศักยภาพการขยายของ IoT เติบโตอย่างมหาศาลในอนาคตอันใกล้นี้

ดีแทค คาดการณ์ว่า โควิด-19 จะเร่งการลงทุน IoT ในองค์กรที่ยังมีสถานะการเงินที่พร้อม การใช้งานโครงการ IoT จะช่วยตอบโจทย์การรักษาระยะห่างทางสังคม และการทำงานจากภายนอกสำนักงานได้เป็นอย่างดี สอดรับกับกระแสวิถีความปกติใหม่หรือนิวนอร์มัล ทั้งรองรับการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ ลดต้นทุนให้กับองค์กรในยุคที่งบประมาณจำกัดจากเศรษฐกิจถดถอย

ตัวอย่าง เช่น การลงทุนด้านบริหารติดตามสินทรัพย์ (Asset Tracking) และการติดตามเฝ้าระวังระยะไกลเพื่อใช้ดูสถานะการทำงานของอุปกรณ์ในโรงงานเพื่อการบำรุงรักษา หรือติดตามสถานะอุปกรณ์เครื่องรูดบัตรไร้สายที่ติดตั้งกระจายตามจุดต่าง ๆ ในกลุ่มธนาคาร (Preventive Maintenance )  การใช้งานในคลังสินค้าที่เติบโตรับอีคอมเมิร์ซเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัย และระบบผ่านเข้าออกแบบไร้สายตรวจวัดอุณหภูมิในกลุ่มโรงพยาบาล และการวัดอุณหภูมิความชื้นของตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า สำหรับกลุ่มพลังงาน

dtac Business นำเสนอ IoT ผ่านพันธมิตร

จุดเด่นของดีแทค dtac IoT Business นำเสนอ IoT ผ่านพันธมิตรที่เชี่ยวชาญด้านส่วนอุปกรณ์การเชื่อมต่อที่หลากหลาย กว่าสิบโซลูชั่น  ด้วยความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีจากเทเลนอร์ ทำให้ดีแทคมี แพลทฟอร์มการบริหารอุปกรณ์ IoT (Managed IoT Cloud platform) ที่มีความปลอดภัยสูง ใช้แบนด์วิธน้อย และมีการเข้ารหัสข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT มายังแพลทฟอร์มของดีแทค

ดีแทคให้ความสำคัญกับลูกค้า เป็นศูนย์กลาง โดยนำเสนอโซลูชั่นที่ครบวงจร เพื่อให้ลูกค้าง่ายและสบายขึ้น โดยไม่ต้องกังวลกับการติดตั้ง และใช้งานด้านเทคโนโลยี  ทำให้ลูกค้ามีเวลาให้น้ำหนักไปกับการโฟกัสเรื่องธุรกิจ สร้างการเติบโต กับแหล่งรายได้ใหม่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ท้าทายจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และกระแสของดิจิทัลดิสริปชั่น

ดีแทคให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี IoT ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโซลูชั่นใหม่ ๆและหลากหลาย เพิ่มคุณค่าให้กลุ่มลูกค้าองค์ ใน 3 แกนหลัก คือ Smart City, Smart Industry และ Smart Life

กลุ่มแรก คือ Smart City ดีแทคทำงานกับทั้งภาครัฐและเอกชน โดยวางระบบนิเวศ และนำโซลูชั่นเข้าไปพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ รวมถึงในพื้นที่ EEC ที่ดีแทคเป็นผู้ร่วมนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยผลักดัน

กลุ่มต่อมา คือ Smart Industry ในทุกรายภาคอุตสาหกรรม (Vertical Industry) ทั้งการขนส่ง ธนาคาร โรงงาน การเกษตร หรือบริการต่าง ๆ ดีแทคมีลูกค้าผู้ใช้งานโซลูชั่น IoT ของดีแทคครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม รวมถึงต่อยอดไปที่ Smart Office เช่น การตรวจจับ ไฟ แอร์ อุณหภูมิ ความชื้น และในภาพกว้างมี Use Case ที่เป็น Smart Environment เช่น ตรวจจับอุณหภูมิภายนอก ความชื้น PM 2.5 ตรวจจับระดับน้ำท่วม

“นอกจากนี้ Narrowband IoT หรือ NB-IoT ยังอยู่ในแผนที่จะทดสอบพร้อมกับ 5G ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยประหยัดพลังงานของอุปกรณ์ เพราะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับโครงข่ายมือถือได้เลยโดยไม่ต้องผ่านเกตเวย์ ซึ่งจะช่วยให้บาง Use Case สามารถนำมาใช้และทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดได้อย่างมาก”

กลุ่มสุดท้าย คือ Smart Life ซึ่งเริ่มจากกลุ่มผู้บริโภค โดยเริ่มใช้กับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็น Smart Home รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตผู้คน ทำให้คนทำงานง่ายขึ้น เรื่องการทำงานจากที่บ้าน การมีสิ่งอำนวยความสะดวกในที่อยู่อาศัย เช่น การเปิด-ปิดไฟ ตรวจจับอุณหภูมิในที่อยู่อาศัย ขณะที่ฝั่งเฮลท์แคร์ มีการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนา Smart Watch เข้ามาตรวจจับสุขภาพของคน เป็นต้น

IoT จะเป็น mainstream อีก 3 ทศวรรษ

GSMA คาดการณ์ว่า อีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่าของตลาด IoT ทั้งโลกจะอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการเกิดของ 5G, IoT, AI และ Cloud พร้อมกัน เป็นเทคโนโลยีที่รวมโซลูชั่นเข้ามาด้วยกัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หันมาเน้นยกระดับการให้บริการสู่แพลทฟอร์ม แอปพลิเคชันและบริการต่าง ๆ นอกเหนือจากการให้บริการเชื่อมต่อ ขณะที่ทุกองค์กรเริ่มมองหาเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาศักยภาพธุรกิจ ซึ่ง IoT ถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพไปอีก 30 ปี

“IoT จะเริ่มเข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิต องค์กรใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วน SMEs จะยังต้องใช้เวลาเพราะจะต้องลงทุนเพิ่ม”

ดีแทคมีการพัฒนาภายใน สร้างโซลูชั่นที่เรียกว่า Co-Creation หาพาร์ทเนอร์หรือผู้ที่ต้องการใช้ IoT โดยเริ่มที่องค์กรขนาดใหญ่ก่อน เข้าไปช่วยกันหาปัญหาและจับมือร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นเข้ามาตอบโจทย์

อีกโมเดล คือ เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่น ใช้จุดแข็งของดีแทคที่เป็นผู้ให้บริการด้านการเชื่อมต่อและดาต้า โดยมีแพลตฟอร์มเข้ามาช่วยให้นักพัฒนาสร้างแอปพลิเคชันเข้ามาช่วยในการเชื่อมต่อ

“จุดเด่นของดีแทค คือ เรามีแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างแข็งแรงและได้รับการยอมรับระดับโลก คือ Managed IoT Cloud (MIC) ที่มีความปลอดภัยสูง และยังมี Message Queuing Telemetry Transport with Secure Communication (MQTTS) ที่พัฒนาแอปพลิเคชันได้อย่างปลอดภัย ขณะเดียวกันแพลตฟอร์มของดีแทคได้รับการยอมรับจากระดับโลกให้เป็นผู้นำในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในวันนี้เรามีความพร้อมที่จะให้บริการทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาประเทศไทย”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ