TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessเมื่อ กสิกรไทย ขยับจากผู้นำ Digital Banking สู่ผู้นำ Digital Lending

เมื่อ กสิกรไทย ขยับจากผู้นำ Digital Banking สู่ผู้นำ Digital Lending

ภูมิทัศน์การทำธุรกิจภาคการเงินการธนาคารต้องเปลี่ยนจากเดิม เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้บริโภคที่มีต่อผู้ให้บริการด้านการเงินการธนาคาร ซึ่งแต่เดิมมีแต่นายธนาคารเท่านั้นที่ผูกขาดตลาดบริการนี้

-กสิกรไทยจัด PossAbility Acceleration เร่งเครื่ององค์กรแห่งนวัตกรรม
-“ดอลฟิน มันนี่ จากธนาคารกสิกรไทย” สินเชื่อส่วนบุคคล บนแอป Dolfin

เทคโนโลยีให้อำนาจกับบริษัทเทคโนโลยีในการเข้าถึง รู้จัก และเข้าใจลูกค้าจำนวนมหาศาล นำมาซึ่งการต่อยอดการให้บริการด้านการเงินการธนาคาร ทำให้ธุรกิจธนาคารเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่และต้องเร่งปรับตัวสู่การให้บริการแบบใหม่ที่อาศัยความสามารถของเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์รวมถึงใส่จุดแข็งของการเป็นนายธนาคาร เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ความได้เปรียบ และแต้มต่อในสนามการเงินการธนาคารในโลกดิจิทัล

ธนาคารกสิกรไทยเองในฐานะผู้นำตลาดโดยเฉพาะตลาดรายย่อย หรือ Retial Bank ที่ดูแลทั้ง SMEs และประชาชนคนทั่วไป ได้มีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องโดดเด่นจนได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำด้านธนาคารดิจิทัล (Digital Banking) เป้าหมายของธนาคากสิกรไทย คือ การพลิกตัวเองจากการเป็นธนาคาร ไปสู่การเป็นผู้ให้บริการทางการเงินเต็มรูปแบบ (Banking Services) ด้วยการพาบริการของธนาคารไปอยู่ในทุกที่ที่ลูกค้าใช้ชีวิตอยู่

ธนาคารกสิกรไทยมีบริการด้านดิจิทัลออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยมี K PLUS เป็นบริการหลักของบริการธนาคารดิจิทัลของกสิกรไทย เรียกได้ว่า K PLUS คือ โครงสร้างพื้นฐานของบริการธนาคารดิจิทัล

ข้อมูล ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 มีผู้ใช้งาน K PLUS 14.04 ล้านคน ปริมาณธุรกรรมทั้งหมดกว่า 11,800 ล้านรายการ มูลค่าธุรกรรมกว่า 11.2 ล้านล้านบาท ธุรกรรมเด่น ๆ ที่มีการเติบโตอย่างสูงบน K PLUS ได้แก่ การโอนเงินโดยการ Scan QR PromptPay การจ่ายเงินโดยการ Scan QR K PLUS Shop การเติมเงินใน e-wallet ต่าง ๆ และ Easy Pass รวมถึงการเติมเกมออนไลน์

เมื่อ กสิกรไทย ขยับจากผู้นำ Digital Banking สู่ผู้นำ Digital Lending

ปัจจุบัน K PLUS คือ Basic Infrastructure ของการพัฒนา Digital Lifestyle Ecosystem มีลูกค้าล็อกอินเข้าใช้งาน K PLUS มากถึง 4 ล้านคนต่อวัน มีปริมาณการทำธุรกรรมทางการเงินประมาณ 10 ล้านรายการต่อวัน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 50% ของปริมาณธุรกรรมการเงินทั้งหมดของประเทศ

ธนาคารกสิกรไทย ตั้งเป้ามีลูกค้าใช้งาน K PLUS รวม 15 ล้านรายในปี 2563 โดยเป็นลูกค้าใหม่ 1.6 ล้านราย และมีปริมาณการทำธุรกรรมทางการเงินรวมทุกประเภทกว่า 2,900 ล้านรายการ

พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธุรกิจสินเชื่อบุคคลผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital Lending) ในประเทศไทยมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดย ณ ไตรมาส 2 ปี 2563 ภาพรวมตลาดสินเชื่อบุคคลในประเทศไทยที่อนุมัติผ่านสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) มีจำนวน 428,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อในช่องทางดิจิทัลเพียง 12,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของสินเชื่อบุคคลทั้งหมดในตลาด

ในส่วนของ KBank มีปริมาณสินเชื่อบุคคลยอดรวมปี 2563 อยู่ที่ 27,000 ล้านบาท คิดเป็น 6.4% ของตลาดสินเชื่อบุคคลทั้งหมดในประเทศไทย แต่คิดเป็นเพียง 8% ของยอดสินเชื่อทั้งหมดของธนาคารที่มีอยู่ราว 2.11 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ สินเชื่อบุคคลของ KBank ที่ขอผ่าน K PLUS เติบโตขึ้นจาก 1,090 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 2,300 ล้านบาทในปี 2562

“ปัจจุบันฐานข้อมูลของลูกค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้ามีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้การพิจารณาสินเชื่อสามารถประเมินผู้ขอสินเชื่อได้จากข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อมูลรายได้ เช่น ข้อมูลด้านการใช้จ่ายต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้” 

Digital Lending

ธนาคารกสิกรไทยเริ่มขยายประโยชน์การเป็นผู้นำ Digital Banking ด้วยการนำเสนอบริการ Digital Lending ทั้งบนแพลตฟอร์มตัวเองและแพลตฟอร์มของพันธมิตร

KBank เริ่มให้บริการ Digital Lending หรือบริการสินเชื่อส่วนบุคคลแบบไม่มีหลักประกันบน K PLUS ตั้งแต่ปี 2562 ผ่านทุกแพลตฟอร์มของธนาคาร รวมถึงแพลตฟอร์มของพันธมิตร เพื่อขยายบริการ Digital Lending ของ KBank ให้เข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด

ธนาคารกสิกรไทยให้บริการ Digital Lending กับลูกค้าหลากหลายกลุ่ม หลากหลายไลฟ์สไตล์ โดยร่วมมือกับพันธมิตรรายใหญ่ระดับโลกและระดับประเทศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง Digital Lifestyle Ecosystem อาทิ Grab, LINE, Shopee, Lazada, JD Central, YouTrip และ Lu International กับ Robowealth รวมถึง บริษัท ปตท.น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTT OR เป็นต้น

ที่โดดเด่นมากสำหรับการให้บริการ Digital Lending ก็คือ LINE BK คือ บริการของบริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารกสิกรไทย ที่ลงทุนผ่านบริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด หรือเค วิชั่น และ LINE ที่ลงทุนผ่านบริษัท ไลน์ ไฟแนนเชียล เอเชีย วางตำแหน่งทางการตลาดเป็น Social Banking เต็มรูปแบบรายแรกของไทย มีบริการ 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ บัญชีเงินฝาก บัญชีเงินออมดอกพิเศษ บัตรเดบิต และวงเงินให้ยืม ผู้ใช้งานที่มีบัญชีของธนาคารกสิกรไทยสามารถนำบัญชีมาเชื่อมไว้กับ LINE BK ได้ เพื่อใช้งานควบคู่กับ แอปพลิเคชัน K PLUS ได้โดยไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่

LINE BK เปิดให้บริการมาตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2563 ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน มียอดลูกค้าเปิดบัญชี LINE BK ประมาณ​ 800,000 ราย มีการสมัครบริการวงเงินให้ยืมแล้วประมาณ 500,000 – 600,000 ราย โดยมีวงเงินสินเชื่อที่ยื่นขอเฉลี่ยต่อคนราว 40,000 บาท

นอกจากนี้ KBank ได้ร่วมมือกับพันธมิตรให้บริการ Digital Lending ผ่านแพลตฟอร์มของพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็น GrabPay Wallet Powered by KBank ที่นอกจะเป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ใช้บริการ Grab แล้ว ยังให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลสำหรับพาร์ทเนอร์คนขับ Grab และให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์สำหรับพาร์ทเนอร์คนขับ Grab

ร่วมมือกับ Shopee ให้บริการสินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan สำหรับร้านค้าออนไลน์บน Shopee และ Lazada โดยกดสมัครจากแอป Shopee หรือ Lazada  รู้ผลบน K PLUS ใน 3 วัน รับเงิบภายใน 1 นาที ร่วมมือลักษณะคล้าย ๆ กันกับ Central JD Fintech ให้บริการ Digital Lending ชื่อ“ดอลฟิน มันนี่ จากธนาคารกสิกรไทย” (Dolfin Money | KBank) ตั้งเป้าผู้ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ 100,000 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท ภายในปี 2564 

ความร่วมมือกับบริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค จำกัด ตอกย้ำเป้าหมายของธนาคารกสิกรไทย ที่ต้องการขยายการให้บริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ ส่วนความร่วมมือกับ YouTrip และ PTT OR นั้น ยังไม่ถึงขั้นปล่อย Digital Lending แต่ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดไปสู่บริการ Digital Lending ในที่สุด

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ