TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistความใฝ่ฝัน ที่อยู่บน "ทัศนคติ"

ความใฝ่ฝัน ที่อยู่บน “ทัศนคติ”

ปัจจุบันเวลาเคลื่อนที่ไปเร็วมาก หรือเราเคลื่อนที่ช้าลง

วันนี้กำลังก้าวสู่เดือนสุดท้ายของปี เชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่สุขใจนักที่จะเตรียมต้อนรับปีใหม่ จากสถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ เป้าหมายที่คาดหวังไว้ เมื่อถึงเดือนสุดท้ายกลับพบว่าไม่ได้ตามที่คาดหมาย ที่หนักหนาก็คือภาระหนี้ล้นพ้นตัว

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เครดิตบูโร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เก็บรวบรวมข้อมูลการเป็นหนี้ของคนไทย (ที่ไม่ได้ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติใด ๆ ของสถาบันเงินต่าง ๆ เพียงแต่เป็นนำข้อมูลไปประกอบการอ้างอิงเท่านั้น) เปิดเผย โดย สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เปิดเผยว่า คนรุ่นใหม่หรือเรามักจะเรียกว่าคน Gen Y เป็นหนี้กันมากเหลือเกิน โดยเฉพาะเป็นหนี้ในหมวดการบริโภค เป็นหนี้เพื่อการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งไม่ใช่เป็นหนี้เพื่อการลงทุน โดยเป็นหนี้ผ่านการใช้สินเชื่อส่วนบุคคล

มีการเปิดเผยว่าในจำนวนสินเชื่อบุคคลนี้มีลูกหนี้ราว 3.2 ล้านคน เป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ใน Gen Y อายุ 21-30 ปีมีจำนวน 614,000 คน อายุ 31-40 ปี ประมาณ 800,000 คน อายุ 41-50 ปีประมาณ 770,000 คน อายุ 51-60 ปี มี 630,000 คน และยังพบว่าผู้ที่อยู่ในวัยใกล้เกษียณ ส่วนอายุ 61 ปีขึ้นไป มีประมาณ 300,000 คน ขณะที่ ลูกหนี้ 3.2 ล้านคนนั้นประมาณ 800,000 คนอยู่ในเขตภาคอีสาน ราว 500,000 คน อยู่ในกรุงเทพละปริมณฑล อีก 450,000 คนเป็นอยู่แถบภาคเหนือราว 250,000 คน อยู่ในทิศตะวันออกเฉียงและ 150,000 คนที่เหลือไม่มีสถานที่ชัดเจน

หากคิดเป็นจำนวนบัญชีจะพบว่าในจำนวน 3.5 ล้านบัญชี จะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 25-42 ปี (เจนวาย) ซึ่งบัญชีที่มีปัญหาเป็นเงิน 1.5 แสนล้านบาท (ค้างจ่ายมากกว่า 1 เดือน) อาจจะซื้อก่อนผ่อนทีหลังหรือซื้อเงินก้อนผ่อนเป็นงวด หากแก้ไขได้จะไม่สร้างปัญหาต่อเนื่องในระยะต่อไป เพราะคนกลุ่มนี้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะหากเป็นหนี้กับเรื่องบริโภคแล้วจะสร้างอนาคตได้อย่างไร

มีตัวเลขที่น่าสนใจอีกชุดหนึ่ง ที่กล่าวถึงสถิติการเข้ามาดูข้อมูลเครดิตบูโรในรอบ 10 เดือนพบว่า มีจำนวน 38 ล้านครั้ง ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่ายังมีความต้องการ “กู้เงิน” เป็นจำนวนที่สูงขึ้น ทำให้สถาบันการเงินเข้ามาตรวจสอบข้อมูลเก่าของลูกค้าเพื่อจะพิจารณาสินเชื่อ

สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในประเทศว่า มีจำนวน 14.7 ล้านล้านบาทคิดเป็น สัดส่วน 88% ของจีดีพี โดยทยอยปรับลดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งในจำนวนนี้มีสัดส่วน 28% ที่เป็นการก่อหนี้เพื่อกินเพื่อใช้จ่าย ซึ่งเป็นปัญหาที่แตกต่างจากประเทศส่วนใหญ่ซึ่งมักจะเป็นหนี้ที่อยู่อาศัย โดยมีหนี้เพื่อกินเพื่อใช้เพียง 10% เท่านั้น

ในฐานข้อมูลเครดิตบูโรมียอดสินเชื่อคงค้าง 13.05 ล้านล้านบาทในไตรมาส 3 ของปี 2565 เพิ่มขึ้น 4.7% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 12.46 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยสินเชื่ออื่น ๆ 1.46 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.5% สินเชื่อบัตรเครดิต 5.29 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.4% สินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.70 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.1% สินเชื่อรถยนต์ 2.56 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.5% สินเชื่อส่วนบุคคล 2.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.7% สินเชื่อเกษตร 9.44 แสนล้านบาท หดตัว 0.1% เช่นเดียวกับสินเชื่อเบิกเกินบัญชี (OD) 3.36 แสนล้านบาท หดตัว 0.3%
และเป็นที่น่ากังวลว่ามีการปล่อยกู้สินเชื่อบุคคลที่สูงจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (ธ.ก.ส.กับ ออมสิน ราว 15 ล้านบัญชี หรือ 5-6 ล้านคน) กลุ่มนี้มีความเปราะบาง โอกาสจะเป็นหนี้เสียในอนาคต เพิ่มอีกประมาณ 2-3 ล้านคน หากเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวกลับมาอย่างต่อเนื่อง
ทำไมถึงยอมเป็นหนี้ โดยเฉพาะเป็นหนี้เพื่อการบริโภค เพราะโลกของการบริโภคนิยม ที่มองเรื่องความสะดวก (วันนี้) ความต้องมีต้องได้ (เหมือนคนอื่น) หรือเป็นการทดแทน (ในสิ่งที่ขาดหรือไม่เคยมีมาก่อน)

เชื่อว่าวันนี้ ทุกคนมีความใฝ่ฝันเหมือนกันต้องการมีรายได้ที่มากพอที่จะเลี้ยงดูตัวเองให้สะดวกสบาย แต่ความสะดวกสบายจะมั่นคงได้นานแค่ไหนอยู่ที่การเริ่มต้นด้วยการไม่เป็นหนี้ โดยเพาะหนี้ที่เกี่ยวกับการบริโภค เพราะถือว่าเป็นหนี้ที่ไม่ได้สร้างรายได้ เหล่านี้ล้วนอยู่ที่ทัศนคติของแต่ละบุคคล ว่าจะเป็นคนประเภทไหน

สุดท้ายอยากฝากไว้อีกอย่าง อย่าใช้ชีวิตเพียงแค่วันนี้ โดยเฉพาะในวันที่อายุครบ 60 ปีแล้ว ไม่สามารถใช้ชีวิตหลังจากนั้นไปอีก 20-30 ปี แบบไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ