TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyคนละครึ่ง-โควิด ดันไทยเข้าสู่ดิจิทัลเร็วและแรง Google เตรียมเปิด Cloud Region รองรับศักยภาพของไทย

คนละครึ่ง-โควิด ดันไทยเข้าสู่ดิจิทัลเร็วและแรง Google เตรียมเปิด Cloud Region รองรับศักยภาพของไทย

ดูเหมือนว่าประเทศไทยหลังโควิด จะเติบโตแบบก้าวกระโดดในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีคลาวด์ ที่ล่าสุด Google ได้ประกาศการลงทุนตั้ง Cloud Region ในประเทศไทย เพื่อรองรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ในกลุ่มธนาคาร โทรคมนาคม สาธารณสุข และบริการสาธารณะ 

Google มองเห็นศักยภาพของตลาดดิจิทับในประเทศไทยที่เติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางวิกฤติโควิดที่เร่งให้คนไทยกระโดดเข้าสู่โลกดิจิทัล รวมถึงนโยบายและสิ่งที่รัฐบาลไทยทำผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ล้วนแต่วิ่งอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่งที่เร่งปฏิกิริยาให้คนไทยเข้าโลกดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว

Ruma Balasubramaniam กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Google Cloud กล่าวกับสื่อไทยว่า หลังจากการฟื้นตัวของสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่ ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการแข่งขันทางดิจิทัลสูงที่สุดในโลก โดยมี 2 ปัจจัยขับเคลื่อน 

ปัจจัยแรก คือในเรื่องของการบริโภค เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงถาวรที่เกิดขึ้นจากการระบาดครั้งใหญ่นี้ทำให้คนไทย 9 ใน 10 คน กำลังใช้บริการดิจิตัลและการวางแผนที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต

บริการดิจิทัลมีลักษณะเฉพาะตัว 5 ประการ คือ ทำงานอยู่ตลอดเวลา รู้ว่าผู้ใช้เป็นใครเข้าใจในตัวตนของทุกคน เรียบง่าย มีระบบรักษาความปลอดภัย (ทั้งข้อมูลส่วนบุคคลและการปกป้องข้อมูล) และอยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์

การเพิ่มขึ้นของความต้องการการบริการที่สามารถเปิดใช้งานได้ตลอดเวลา ความเฉพาะเจาะจงในเรื่องของบุคคล ความเรียบง่ายและความปลอดภัย นำมาสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในยุคปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจึงกลายเป็นความจำเป็นในเชิงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจในประเทศไทยที่ต้องการอยู่ในการแข่งขันนี้ 

คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะมีมูลค่าถึง 57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 363,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 และมีมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาสหรัฐ ภายในสิ้นทศวรรษ หรือ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลากใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ อาจสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อปีของประเทศไทย ได้สูงถึง 57.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030 นั่นเอง เทียบเท่ากับ 16%ของ GDP ของประเทศในปี 2020 

ปัจจัยที่ 2 ที่ขับเคลื่อนศักยภาพของประเทศไทย ให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการแข่งขัน ทาง Digital มากที่สุดในโลก คือนโยบายและการสนับสนุนของรัฐบาลซึ่งประกอบด้วยแผนพัฒนาดิจิทัลแห่งชาติ 20 ปี ซึ่งรัฐบาลกำลังดึงดูดเม็ดเงินลงทุนด้านเทคโนโลยีคุณภาพสูงเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในประเทศไทย

รัฐบาลกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลและมีรายได้สูง อีกทั้งเป็นผู้นำระดับภูมิภาคในเศรษฐกิจดิจิทัลและรัฐบาลมีการดำเนินโครงการปฏิรูปอุตสาหกรรมโดยการจะตั้งระเบียงเศรษฐกิจในภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วย 

“จากนโยบายดังกล่าวเหล่านี้ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่แน่นอนว่า เราจะได้มีการลงทุน ตรงนี้กับ Google Cloud ในประเทศไทย Google Cloud ต้องบอกว่าเราตั้งใจและมีเป้าหมายที่จะเป็นปัจจัยที่ 3 ที่จะช่วยให้ประเทศไทยได้บรรลุศักยภาพ ในการเป็น 1 ของประเทศที่มีการแข่งขัน ทางดิจิทัลมากที่สุดของโลก Google ได้ลงทุนมหาศาล จริงๆในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของบริษัทบนมาตรฐานความปลอดภัย ความสามารถในการปรับขนาดต่าง ๆ และการได้รับความไว้วางใจ จากองค์กรต่าง ๆ”

TD ตะวันแดง – SCG … ตัวอย่างลูกค้า

แม้ที่ผ่านมา Google จะยังไม่ได้เข้ามาตั้ง Cloud Region ในไทย แต่มีองค์กรในไทยจำนวนไม่น้อยใช้บริการคลาวด์ของ Google ตัวอย่างแรก Google Cloud ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันกับผู้ประกอบการร้านขายของชำ TD ตะวันแดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคาราบาวกรุ๊ป ได้นำเสนอโมเดลหุ้นส่วนแบ่ง ปันผลกำไร ทำให้ผู้ประกอบการมีเงินมาปรับปรุงร้านค้า ของพวกเขาและยังสามารถใช้งาน platform ของ TD ที่ช่วยให้เกิดการค้าปลีกแบบครบวงจร 

แพลตฟอร์มนี้ สร้างขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยและสามารถปรับขนาดได้ ของ Google Cloud ซึ่งมาพร้อมกับความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง คือ AI และ ML 

ทั้งนี้ platform TD ช่วยเติมเต็มการจัดการด้านสต๊อกสินค้าและบัญชี ทำให้เจ้าของร้านไม่จำเป็นต้องปิดร้านเพื่อไปหาผู้ส่ง ไม่ต้องบันทึกธุรกรรมการขายด้วยตนเองอีกต่อไป โดยพวกเขาสามารถจะโฟกัสไปงานอื่น ๆ ได้ เช่น การรับสินค้า ข้อความส่งเสริมการขาย มีแอพลิเคชัน ณ จุดขายต่าง ๆ การเติมชั้นวางสินค้า รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวกับลูกค้า

ตัวอย่างต่อมา คือ SCG ใช้ Google Cloud เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ทางธุรกิจ การรักษาความปลอดภัยของระบบภายใน และการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน 

โดยภารกิจแรกคือการย้าย ระบบ SAP คือไปยังโครงสร้างพื้นฐานของ Google Cloud ซึ่งดำเนินงานโดยใช้พลังงานหมุนเวียน  100% ทำให้บริษัทผู้ผลิตซีเมนต์ แล้ววัสดุก่อสร้าง ที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุด ของไทยเจ้านี้ สามารถสานฝันสู่เป้าหมาย คือ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของคุณลูกค้าปลายทางได้ด้วย 

SCG ยังใช้ Google Cloud เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลในระบบ การเงิน การขาย ซัพพลายเชน การจัดหาและการจัดซื้อ การผลิต และการวางแผนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และหลีกเลี่ยงการหยุดชะงัก ของปริมาณ และระยะเวลาในการส่งมอบด้วย 

Thailand Cloud Region 

Ruma Balasubramaniam  กล่าวว่า Google Cloud กำลังจะนำ Cloud ในระดับภูมิภาคแห่งแรก เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น

สำหรับระบบคลาวด์ภูมิภาค (Cloud Region) เป็นโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ที่ให้บริการลูกค้า Google Cloud โดยเฉพาะ โดยเมื่อคลาวด์ภูมิภาค ถูกเปิดตัวแล้ว องค์กรทุกขนาดสามารถใช้ ประโยชน์จากการบริการ ของคลาวด์แบบออนดีมานด์ เพื่อจัดการกับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ซึ่งจะมีทั้งหมด 5 ประการ คือ 

  • การทำความเข้าใจและการใช้ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นแบบเรียลไทม์และการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ  
  • การสร้างรากฐานที่เปิดกว้างและยืดหยุ่น เพื่อปรับให้เข้ากับความต้องการทางธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถ สร้าง App และบริการ ได้รวดเร็วและเป็นธรรมชาติมากขึ้น 
  • การพลิกโฉมวิธีการสื่อสาร การสร้างงาน และการทำงานร่วมกันระหว่างคนในองค์กรไม่ว่าเขาจะกลับมาที่สำนักงาน ทำงานที่บ้าน หรือเป็นตัวแทนองค์กร เพื่อส่งมอบบริการให้กับลูกค้า 
  • การรักษาความปลอดภัย ของตัวระบบและผู้ใช้ ซึ่งเราได้ใช้โครงสร้างพื้นฐานและการบริการรักษาความปลอดภัย เดียวกับที่ Google ใช้สำหรับการดำเนินงานทั่วโลก อย่างที่ทุกท่านคุ้นเคย เช่น YouTube หรือ App ต่าง ๆ
  • เรื่องของ sustainability คือ ความยั่งยืนในระยะยาว ลดคาร์บอนในการดำเนินธุรกิจ และการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยี เช่น คาร์บอนฟุตพริ้นท์ Active Access และเป็น First Engine 

ทั้งนี้ผลกระทบหลังจากที่ระบบคลาวด์ภูมิภาค (Cloud Region) ในประเทศไทยได้เริ่มขึ้น คือ ช่วยให้การเข้าถึงบริการต่าง ๆ ทำได้รวดเร็ว น่าเชื่อถือมาก และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่องค์กรสร้างเอง และยังช่วยให้ลูกค้า ปฏิบัติตามข้อกำหนดในพื้นที่หรือท้องถิ่นนั้น ๆ และการนำเสนอฟังก์ชันที่ช่วยในการกู้คืนข้อมูลจากความเสียหายต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก ทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 

เมื่อเปิดตัวแล้ว คลาวด์ภูมิภาคประเทศไทย จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Google Cloud ทั้ง 11 ภูมิภาคที่มีอยู่ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึง 2 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือสิงคโปร์และอินโดนีเซีย และจะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายคลาวด์ภูมิภาค ที่เป็น Global Network พื้นที่พร้อมใช้งานที่เครือข่ายที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการลูกค้าในพื้นที่ที่ต้องการขยายธุรกิจไปทั่วโลก ทั้งหมด 43 region 103 โซน 143 Network Edge Location และมีให้บริการแล้วใน 200 กว่าประเทศ 

การลงทุนในประเทศไทย จะเกิดอะไรขึ้นบ้างต่อคนไทยในประเทศไทย อย่างแรกคือเป็น Dedicated Cloud Interconnect ของ Google Cloud ที่มีอยู่แล้วในกรุงเทพฯ ซึ่งในเรื่องของการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง เครือข่ายภายในองค์กร แล้วเครือข่ายทั่วโลกของ Google Cloud จะได้รับการสนับสนุนมากยิ่งขึ้น

และจากการลงทุนนี้ทำให้เครือข่ายคู่ค้าช่องทางท้องถิ่นที่กำลังเติบโต อาทิ MFEC, Pomelo, SCL Technology และ NTT Data เป็นต้น ซึ่งให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและอำนวยความสะดวก การใช้งาน Solution Technology อย่างราบรื่น

นอกจากนี้ Google For Startup Cloud Program ซึ่งอยู่ในฟังก์ชันของ Google Cloud เรียบร้อยแล้วและครอบคลุมค่าใช้จ่ายระบบ Cloud ได้สูงถึง 1 แสนเหรียญสหรัฐ เป็นเวลาถึง 2 ปี เพื่อช่วยผู้ก่อตั้ง startup ระยะเริ่มต้นที่ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนในประเทศไทยในเรื่องของการขยายธุรกิจก็ได้รับผลประโยชน์ ตรงนี้ด้วย

“อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ บิ๊กซี คิงส์สเตลล่ธนาคารกรุงไทย และ True Digital ได้เลือก Google Cloud เพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุการเปลี่ยนแปลง และสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน” 

Google Thailand Cloud Region เป็นโครงสร้างพื้นฐานมารองรับการทำงานกับภาคธุรกิจ ภาครัฐ โดยพาะ ในขณะที่ Google Cloud Customer หมายถึง Google Data Center ที่จะรองรับบริการและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ Google เช่น Google Search และ YouTube เป็นต้น

การลงทุนของ Google Cloud Region จะมี 3 availability zone จะเป็น full scale cloud region เหมือนที่ Google เปิดตัวในภูมิภาคและทั่วโลก ทำให้ Google Thailand Cloud Region สามารถมี backup กับการป้องกันภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นที่ทำให้เกิด disruption ได้

ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารกรุงไทยมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีปีละประมาณ 10,000 ล้านบาทในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการเงินเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มลูกค้าทุกส่วน ผ่านแพลตฟอร์ม Krungthai NeXT  เป๋าตัง และถุงเงิน โดยเฉพาะ แพลตฟอร์มของเป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนโครงการของทางภาครัฐ ที่ได้ช่วยเข้ามาเยียวยาประชาชนในยุคโควิด สิ่งที่รัฐบาลมอง คือแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงไปสู่ประชาชนทุกภาคส่วนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 

ธนาคารกรุงไทยมุ่งเป็น Open Banking Platform ซึ่งตอนหลังจะเรียกว่าเป็น  Thailand Open Digital Platform ความสามารถที่แพลตฟอร์มต้องมี คือ ต้องขยายขนาดได้ (Scalability) เป็น API Base เพื่อเชื่อมโยงกับตัวระบบนิเวศและพันธมิตรอื่น ๆ และเป็น pen source ทำให้ตัดสินใจว่าต้องเป็น Cloud First ในทุกสิ่งที่พัฒนา 

“ตอนนั้น Google มี API Service ที่สามารถตอบโจทย์ เชื่อมโยงกับนวัตกรรมทั่วโลกได้อย่างเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพมาก ปัจจุน แพลตฟอร์มเป๋าตังมีเกือบ 40 ล้านคน Krungthai Next มีเกือบ 16 -17 ล้านคน ถุงเงิน มี 1.6 ล้านร้านค้ารายย่อยทั่วประเทศ จะเห็นว่าเป็นแพลตฟอร์มที่การประมวลผลข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ และต้องการการซัพพอร์ต แบบ 24/7 และต้องการระบบรักษาความปลอดภัยของระบบและของข้อมูล” 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ