TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterview“บล็อคฟินท์” กับพันธกิจพัฒนาประเทศด้วยบล็อกเชน

“บล็อคฟินท์” กับพันธกิจพัฒนาประเทศด้วยบล็อกเชน

บล็อกเชน คือ ดีพเทคโนโลยีที่กำลังถูกพูดถึงและจับตามองมากที่สุดในตอนนี้ เพราะบล็อกเชนจะเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับโลกจากนี้ไป หากพูดถึงผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีบล็อกเชน เชื่อแน่ว่าหลายคนจะนึกถึงบริษัทสตาร์ตอัพไทยรายนี้ บล็อคฟินท์ (Blockfint)

บล็อคฟินท์ (Blockfint) ถูกก่อตั้งโดยนักเทคโนโลยีคนไทยที่ทำงานสะสมประสบการณ์ในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่ซิลิกอนวัลเลย์มาเป็นเวลานาน จนอิ่มตัวและจนความปรารถนาในใจสุกงอมเต็มที่ จึงตัดสินใจบินกลับเมืองไทยมาเปิดบริษัทพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีบล็อกเชนกับทุกอุตสาหกรรมด้วยเป้าหมายสูงสุด คือ ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านดีพเทคโนโลยีให้กับประเทศไทย

สุทธิพงศ์ กนกกากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บล็อคฟินท์ จำกัด( Blockfint) กล่าวกับ The Story Thailand ว่า ตนเองเป็นคนหลงใหลในเทคโนโลยีมาก ตั้งเป้าหมายตั้งแต่เด็กว่าจะต้องไปทำงานที่ซิลิกอน วัลเลย์ให้ได้ และได้ทำตามความฝันสำเร็จแล้ว 

“สมัยเด็ก ๆ มีเป้าหมายว่าอยากเข้าทำงานที่ซิลิกอน วัลเลย์ เพราะเป็นคนชอบเทคโนโลยี ได้ไปศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเรียนจบได้เข้าทำงานที่นั่น ทำงานให้กับริษัทสตาร์ตอัพจำนวน 3 บริษัท และเมื่อบริษัทสุดท้ายได้เข้าตลาดหุ้น ทำให้คิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะลาออกแล้วนำความรู้ที่ได้มากลับมาทำอะไรที่เมืองไทย รวมถึงอยากจะทำอะไรที่เป็นของตัวเอง และในปี  2018 จึงได้ก่อตั้งบริษัท บล็อคฟินท์ ขึ้นมา” สุทธิพงศ์ กล่าว

สุทธิพงศ์ เล่าวว่า ชื่อ “บล็อคฟินท์” มาจาก “บล็อกเชน” กับ “ฟินเทค” แรงบันดาลใจในการตั้ง บล็อคฟินท์ คือ ต้องการนำความรู้จากซิลิกอน วัลเลย์ มาสู่องกรค์ของไทย (Knowleade Tranfer) 

“อยากจะพิสูจน์ว่าคนไทยสามารถทำ Deep Technology ทำอะไรยาก ๆ เป็นของประเทศเราไทยได้ ไม่ต้องรอประเทศอื่นมาทำให้และยึดประเทศไป”

สำหรับประเทศไทย ตลาดไฟแนนซ์เป็นตลาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ธุรกิจภาคการเงินในไทยมีเงินจ่ายและกล้าที่จะปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยี 

“ฟินเทค สามารถลดความเหลื่อมล้ำของชีวิตคนและเพิ่มโอกาสของคนได้” สุทธิพงศ์ กล่าว

บริษัทได้ร่วมกับธนาคากรุงไทยทำ One Bath Government saving bond ที่เรียกง่าย ๆ ว่า “วันบาทบอนด์” เคสนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อหน่วยละพันบาทเหมือน แต่ก่อนหากคุณต้องการซื้อเป็นจำนวน 2,528 บาทก็ซื้อได้ มันช่วยให้คนออมเงินได้เร็วขึ้น นอกกจากบล็อกเชนจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบแล้วการทำเคสใหญ่ ๆ บล็อกเชนถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ต้องต่อสายโทรศัพท์หาลูกค้าเป็นรายบุคคล

แม้ บล็อกฟินท์จะตั้งขึ้นมาเพื่อการใช้บล็อกเชนเพิ่มศักยภาพไฟแนนซ์ แต่ด้วยความสามารถของบล็อกเชนและความสามารถของบริษัทบล็อกฟินท์ ทำให้บล็อกฟินท์ให้บริการเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับทุกอุตสหากรรม โดยเฉพาะพัลลงานและสิ่งแวดล้อม

“นอกจากเรื่องการเงินแล้ว เราต้องการช่วยโลกลดเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate effect) และเรื่องก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse  gas ) ด้วยการพัฒนาและให้บริการ Energy Trading Platform”

และนอกเหนือไปจากเทคโนโลยีบล็อกเชนแล้ว บล็อคฟินท์ยังให้บริการด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของโจทย์ของลูกค้าแต่ละราย

“ด้วยความตั้งใจที่จะนำเอาเทคโนโลยีและธุรกิจมารวมกัน ทำให้เรามองตัวเองเป็น Integrated Knowleagd เราต้องการเป็นผู้สร้างแพลตฟอร์มจากนั้นจะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาใช้ ในขณะที่คนทั่วไปจะรู้จักหรือมองเราว่าทำเรื่องบล็อกเชนเป็นหลัก เพราะคิดว่าเรารู้เรื่องบล็อกเชนดีที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย บวกกับเวลาอะไรที่แปลกและยากลูกค้าจะเดินมาหาเรา” สุทธิพงศ์ กล่าว

3 ตลาดหลัก: ฟินเทค ดิจิทัลทรานฟอร์เมชัน พลังงาน 

บริษัทจะเน้นกลุ่ม B2B และได้แบ่งตลาดออกเป็น 3 กลุ่ม คือ การเงินการธนาคาร (Financial Transformation) หรือฟินเทค กลุ่มดิจิทัล ทรานฟอรเมชัน โดยกลุ่มนี้จะเอาแฟลตฟอร์มของบล็อคฟินท์ไปใช้แล้วไปปรับให้เข้ากับองค์กรของตนเอง และกลุ่มเอ็นเนอจี ทรานฟอเมชัน ที่จะเป็นการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานของประเทศไทย ขณะเดียวกันก็แก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไปด้วยพร้อม ๆ กัน อาทิ ทำให้คนที่ติดแผงโซลาร์บนหลังคาสามารถขายให้กับเพื่อนบ้านได้ และจะมีเรื่อง Green Credit เป็นต้น

”ถ้าจะพูดไปบล็อคฟินท์จับสามตลาดหลัก และบางอย่างใช้ร่วมกันได้ เพียงแต่เราเริ่มใช้จากกลุ่มฟินเทคก่อน เช่น เรามีแพลตฟอร์มชื่อ SingnFin  ถ้าคุณอยากจะทำสัญญากู้เงินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด คุณต้องเอาสัญญากระดาษทิ้งไปและใช้การเซ็นทุกอย่างเป็นดิจิทัล ซึ่งมันสามารถใช้ได้ตลาดอื่นหรือธุรกิจอื่นได้ด้วย  ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจชิปปิ้ง บริษัทที่ต้องการทำสัญญาระหว่างกัน รวมถึงหน่วยงานราชการก็สามารถใช้แพลตฟอร์มนี้ได้ด้วย”  สุทธิพงศ์ กล่าว

มกราคม 2565 เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “Findee”

ผลิตภัณฑ์ของบริษัทในปัจจุบันมี Thinker LOS หรือ Loan origination system ,Thinker Bank , Gideon ซึ่งก็คือ Energy Trading Platform และ Singfin ซึ่งเอาไว้เซ็นเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกอย่าง ซึ่งตัวนี้จะขายเป็นผลิตภัณฑ์และขายเป็นเอสเสท เซอร์วิสด้วย เพราะบางบริษัทต้องการซื้อไปใช้งานของบริษัทเอง โดยที่ไม่ต้องยุ่งหรือแชร์กับใคร และอีกตัวที่จะออกมาคือ Finsdee ที่จะคาดว่าจะขายได้ในเดือนมกราคมนี้ 

“ลูกค้าของเราตอนนี้ถ้าเป็น Thinker ก็จะเป็นธนาคาร ส่วน Singfin เพิ่งเริ่มทำและเพิ่งจะเริ่มขายคิดว่าน่าจะเป็นคอร์ปอเรทระดับองค์กรก่อนในช่วงแรก เพราะเค้าต้องการทำดิจิทัล ทรานสฟอร์ชัน และ Findee จะจับกลุ่มลูกค้าผู้ปล่อยเงินกู้รายเล็ก ๆ ที่จะทรานฟอร์มไฟแนนเชียลบิสซิเนสของตัวเอง จากที่เคยจดลงในสมุดและใช้ Excel ในการตรวจสอบและไม่เคยรู้จักตัวจริงของลูกค้าให้มาใช้ระบบอิเล็กทรอกนิกส์หมดเป็นดิจิทัล ซึ่งบางบริษัทอาจจะมีเงิน 200 ล้านบาทแต่อยากจะปล่อยกู้หรือบางบริษัทอยากจะขยายงานจากเดิมทำงานแค่จังหวัดเดียวเป็นสามจังหวัด เป็นต้น” สุทธิพงศ์ กล่าว

ส่งออกซอฟต์แวร์ของคนไทยสู่สากล

เป้าหมายแรกที่บริษัทให้ความสำคัญจะเป็นเรื่องสังคม เพราะเทคโนโลยีบางตัวสามารถลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ อีกเรื่องอยากให้เปลี่ยนมาใช้พลังงานที่บริสุทธิ์เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อีกด้านหนึ่งคือ 

เป้าหมายทางธุรกิจของบล็อกฟินท์ คือ บริษัทได้วางเป้าหมายจะเข้าระดมทุนในปี 2025 อยากจะ IPO บล็อกฟินท์ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นตลาดในประเทศมีไม่พอจะทำให้ไปถึงเป้าหมาย ดังนั้น หากต้องการระดมทุน  5,000 ล้านบาท ยอดขายจะต้องใกล้เคียง 1,000 ล้านบาท ดังนั้นบริษัทต้องไปขายในตลาด Southeast Asia ให้ได้ก่อน 

“บริษัทที่ทำซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์ในประเทศไทยและเป็นของคนไทย ที่จับกลุ่มตลาดแบบ B2B แทบจะยังไม่เคยมี ดังนั้นหมายถึงต้องส่งออกซอฟต์แวร์ไปขายตลาดต่างประเทศ ขณะนี้มีการเจรจากับพันธมิตรในการตั้งบริษัทร่วมทุนที่ประเทศสิงคโปร์” สุทธิพงศ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาบริษัทมีการระดมทุนไปตอนต้นปี 2021 จำนวน 36 ล้านบาท โดยกลุ่มที่ลงทุนเป็นกลุ่ม Angel Invester ขณะที่บริษัทมีแผนจะระดมทุนครั้งสองโดยในครั้งนี้บริษัทต้องการเงินทุนประมาณ 20-60 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจประมาณ 1 ปี

” เราไม่ต้องการระดมทุนในครั้งเดียวมากเพราะไม่อยากให้หุ้นไดลูทในครั้งเดียว นโยบายเราไม่อยากให้หุ้นไดลูทเกิน 15-20% และในครั้งนี้บริษัทต้องการพันธมิตรทางธุรกิจแบบระยะยาว มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ มาช่วยเสริมศักยภาพให้กับบริษัท รวมถึงมีกลุ่มลูกค้าและมีตลาดให้บริษัทขยายและเติบโตไปได้ในอนาคต” สุทธิพงศ์ กล่าว

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
ศศิธร จันทศร – เรียบเรียง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ