TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessอินโดรามา เวนเจอร์ส เข้าซื้อโรงงานรีไซเคิล PET รีไซเคิล 3 พันล้านขวดต่อปี

อินโดรามา เวนเจอร์ส เข้าซื้อโรงงานรีไซเคิล PET รีไซเคิล 3 พันล้านขวดต่อปี

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก เสร็จสิ้นการเข้าซื้อโรงงานของบริษัท CarbonLite Holdings ในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความมุ่งมั่นของไอวีแอลที่จะเพิ่มกำลังการรีไซเคิลทั่วโลก

โรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองแดลลัส ปัจจุบันใช้ชื่อ Indorama Ventures Sustainable Recycling (IVSR) เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (Recycled Polyethylene Terephthalate หรือ rPET) สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ มีกำลังการผลิต 92,000 ตันต่อปี สามารถรีไซเคิลขวดเครื่องดื่มพลาสติกได้กว่า 3 พันล้านขวดต่อปี และสนับสนุนการจ้างงานโดยตรงกว่า 130 ตำแหน่ง

ทั้งนี้ ไอวีแอลเป็นผู้ผลิต PET รีไซเคิลสำหรับขวดเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะช่วยขยายกำลังการรีไซเคิลของไอวีแลในสหรัฐฯ เพิ่มเป็น 10,000 ล้านขวดต่อปี สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มกำลังการรีไซเคิลของไอวีแอลทั่วโลกเป็น 50,000 ล้านขวดต่อปี (หรือ 750,000 ตันต่อปี) ภายในปี 2568

อินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศไทย เริ่มเข้าสู่ตลาด PET ในสหรัฐฯ เมื่อปี 2546 และในปี 2562 ได้เข้าซื้อโรงงานรีไซเคิลในรัฐแอละแบมาและรัฐแคลิฟอร์เนีย ถือเป็นการนำธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนไปดำเนินงานในสหรัฐฯ

การเข้าซื้อกิจการแห่งใหม่ในรัฐเท็กซัสครั้งนี้ จะช่วยให้ไอวีแอลสามารถตอบสนองลูกค้าที่มีความต้องการใช้ PET รีไซเคิลสำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มได้ดียิ่งขึ้น โดยบริษัทเครื่องดื่มชั้นนำของสหรัฐฯ ได้ร่วมกันริเริ่มโครงการ ‘Every Bottle Back’ หรือการนำขวดกลับมารีไซเคิล เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติก ด้วยการตอกย้ำให้ผู้บริโภคตะหนักถึงคุณค่าของขวด PET ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด

ดีเค อากาวาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจ Combined PET, IOD และ Fibers อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้บรรลุการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ และขอต้อนรับพนักงานใหม่ทุกคนเข้าสู่ครอบครัวอินโดรามา เวนเจอร์ส ตอนนี้เมืองแดลลัสได้เป็นหนึ่งในฐานการรีไซเคิลของไอวีแอลทั่วโลก ซึ่งดำเนินการเพื่อให้ชีวิตใหม่กับขวดเครื่องดื่มที่ผ่านการบริโภคแล้ว นอกจากนี้ เรายังมีความยินดีที่ได้สนับสนุนการจ้างงานในธุรกิจสีเขียวกว่า 130 ตำแหน่งสำหรับชุมชนในเมืองแดลลัส Indorama Ventures Sustainable Recycling จะช่วยเติมเต็มธุรกิจ PET และ Fibers ของเราในสหรัฐฯ และการขยายโรงงานรีไซเคิลทั่วโลกจะช่วยให้เราสามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของลูกค้าได้เป็นอย่างดี”

ยาช โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า สิ่งแวดล้อมไม่ควรมีขยะพลาสติก การรีไซเคิลขวดเครื่องดื่มกว่า 10,000 ล้านขวดต่อปีในสหรัฐฯ ช่วยลดจำนวนขยะในสิ่งแวดล้อมและนำกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยพลาสติก PET ที่ใช้ในการผลิตขวดเครื่องดื่มนั้น มีคุณสมบัติเฉพาะ ทำให้สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด ผู้บริโภคต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ในขณะที่แบรนด์ทั่วโลกต่างใช้วัสดุรีไซเคิลมาเป็นส่วนประกอบของขวดบรรจุภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น โรงงานรีไซเคิลแห่งนี้จึงตอบโจทย์ทั้งความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค เรากำลังมอบโครงสร้างพื้นฐานที่สหรัฐฯ ต้องการ เพื่อทำให้เกิดวงจรการใช้วัสดุหมุนเวียน ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของไอวีแอลอย่างแบรนด์ Deja™ และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับขวดเครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติก PET

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • PET หรือ โพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท (Polyethylene terephthalate) เป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ได้รับการเก็บและนำมารีไซเคิลมากที่สุดในโลก
  • PET นิยมนำไปผลิตขวดน้ำอัดลมและน้ำดื่มมากที่สุด
  • ขวดที่ผลิตจาก PET สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด
  • ในปี 2562 อินโดรามา เวนเจอร์ส เข้าซื้อโรงงานรีไซเคิล PET ในเมืองเอเธนส์ รัฐแอละบามา จากบริษัท Custom Polymers PET และอีกแห่งจากบริษัท Green Fiber International ในเมืองฟอนทาน่า รัฐแคลิฟอร์เนีย
  • อินโดรามา เวนเจอร์ส มีโรงงานรีไซเคิลในประเทศเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ โปร์แลนด์ ไทย และอีกแห่งในประเทศฟิลิปปินส์จะเริ่มดำเนินการปี 2565
  • โรงงานของบริษัท CarbonLite ในรัฐเท็กซัสมีกำลังการผลิตรวม 92,000 ตันต่อปี ประกอบด้วยเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิลจำนวน 48,000 ตันต่อปี และเกล็ดพลาสติก PET รีไซเคิล 44,000 ตันต่อปี ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Indorama Ventures Sustainable Recycling (IVSR) ซึ่งจะสามารถรีไซเคิลขวดเครื่องดื่มที่ผ่านการบริโภคแล้วน้ำหนักเทียบเท่า 3,160,000,000 ขวด

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ