TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewเป็ดไทยสู้ภัย... รวมพลังสตาร์ตอัพไทย ร่วมใจภาครัฐ สู้โควิด

เป็ดไทยสู้ภัย… รวมพลังสตาร์ตอัพไทย ร่วมใจภาครัฐ สู้โควิด

การระบาดอย่างหนักของโควิด-19 ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้กลุ่ม “เป็ดไทยสู้ภัย” กลุ่มสตาร์ตอัพไทย ได้นำเทคโนโลยีและความสามารถในการจัดการ มาสร้างรูปแบบใหม่ในการบริหารจัดการทรัพยากรให้กับสาธารณสุขไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ศักยภาพด้านการแพทย์ให้สามารถ repeatable และ scalable ได้ 

กลุ่มสตาร์ตอัพไทย ที่รวมตัวกันในนามของ เป็ดไทยสู้ภัย ร่วมมือกับ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกันจัดตั้ง “ศูนย์ให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชน

โดยจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผ่าน Facebook page ‘เป็ดไทยสู้ภัย’ และ Twitter @Pedthaisuphai มีเป้าหมายเพื่อนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมาช่วยแก้ปัญหาสังคม ทั้งการช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ช่วยลดภาระการทํา งานของบุคคลกรทางการแพทย์ รวมไปถึงช่วยเหลือภาครัฐในการรับมือกับการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าทีม “เป็ดไทยสู้ภัย” ซีอีโอ ZTRUS กล่าวกับ The Story Thailand ว่า โจทย์ที่ปี 2563 คือ คัดกรอง คือ หาคนที่ติดให้เร็ว เพื่อดึงออกมา เพื่อกักตัวไม่ให้เกิดการระบาด แต่ปี 2564 โจทย์ คือ บริหารจัดการระบบสาธารณสุขเพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิต 

เป็ดไทยสู้ภัย ที่ได้รับการติดต่อจากศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะทำโรงพยาบาลสนามให้บุคลากร ให้ช่วยทำระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม กลุ่มสตาร์ตอัพจึงนำซอฟต์แวร์ที่มีอยู่แล้วมาดัดแปลง รวมร่างกันกลายมาเป็นซอฟต์แวร์บริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม ได้แก่ 

  • การบริหารจัดการเตียง ใช้ Horganice นำซอตฟ์แวร์บริหารจัดการหอพักของ “Horganice” มาดัดแปลงในการบริหารจัดการเตียงในโรงพยาบาลสนาม 
  • การสื่อสารใช้ AIYA นำ chatbot ของบริษัท AIYA ที่ไว้พูดคุยกับลูกค้าของคอปอเรตมาดัดแปลงใช้ดูแลพูดคุยกับคนไข้ในอยู่ในโรงพยาบาลสนาม 
  • ฐานข้อมูลใช้ Wisible นำระบบ CRM ของ Wisible ที่ไว้ดูแล sale management มาดัดแปลงใช้ track ประวัติคนไข้ 
  • Dashboard ใช้ YDM  นำเครื่องมือในการบริหารจัดการ dashboard ของ YDM ที่ทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง มาทำ dashboard ให้โรงพยาบาลสนาม 

“และจะมีสตาร์ตอัพอื่นแทรกอยู่ระหว่างทาง อาทิ Dayworks สตาร์ตอัพทำแพลตฟอร์มในการหาคนทำงานรายวัน เข้ามาทำงานในโรงพยาบาลสนาม ประสานคนเข้ามาทำงานที่โรงพยาบาลสนาม” ดร.พณชิต กล่าว

จากนั้นกลุ่มเป็ดไทยสู้ภัยไปพบกับอว.และกรมควบคุมโรค ไปช่วยงานอยู่ด้านหลังของระบบ 1422 เวลาโทรและคัดกรองว่าติดโควิดหรือไม่ ในส่วนนี้จะมีสตาร์ตอัพ Octagon ซึ่งเป็น bot call ที่จะช่วยคัดกรองผู้ที่โทรเข้ามาที่ 1422 ตามคำถามของกรมควบคุมโรคเพื่อประเมินความเสี่ยง หากเป็นกลุ่มความเสี่ยงสูงจะส่งให้คุณหมออาสา เช่น ChiiWii และ True Health คุยกับคนไข้หากมีความเสี่ยง แนะนำให้ไปตรวจรายชื่อจะส่งไปที่ Dayworks จะเข้ามาโทรประสานคนไข้และโทรนัดจุดตรวจให้ เช่น รพ.ราชวิถี หรือรพ.อื่น ๆ หรือส่งให้กรมควบคุมโรคตรวจ

ซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการการคัดกรองผู้ป่วยโควิด 

หลังจากนั้น เมื่อเกิดวิกฤติเตียงเต็ม ทีมเป็ดไทยสู้ภัย ได้ย้ายจากกรมควบคุมโรค ซึ่งจุดควบคุมการระบาด มาช่วยที่กรมการแพทย์ที่ดูแลการรักษา มาทำความเข้าใจโจทย์ ทีมเป็ดไทยสู้ภัยเป็นทีมสตาร์ตอัพจิตอาสาที่จะเข้ามาช่วยปรับกระบวนการการรักษาให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น 

โจทย์แรก คือ ยาฟาวิพิราเวียร์ แจกช้าเกินไป ต้องทำให้การแจกยาฟาวิพิราเวียร์ได้รวดเร็วขึ้น จากการศึกษาพบว่าปัญหาคืออะไร พบว่าโจทย์ปีที่แล้ว คือ กันติด ไม่ให้ระบาด แต่โจทย์ปีนี้ คือ กันตาย โจทย์คือ จะแก้ปัญหาคนเสียชีวิต ต้องหยุดจากปริมาณผู้ป่วยสีเขียวเป็นสีเหลือง เพราะเตียงเหลือง-แดงเต็ม ก็มีโอกาสเสียชีวิตมาก การหยุดปริมาณผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง ต้องหาผู้ป่วยให้เจอให้เร็ว และต้องจ่ายยาให้เร็ว 

ปัญหา คือ เงื่อนไขในการจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ยากเกินไป เพราะไม่สามารถจ่ายยาจำนวนมาก ๆ ได้ในระยะเวลาสั้น เพราะความแม่นยำต้องสูงสุด ทำให้กระบวนการจ่ายใช้เวลานานทำให้ยาถึงมือคนไข้ช้า ต้องมีแพทย์มาคุย เภสัชจัดยา มีคนไปส่งยา ทำได้วันละ 100-200 เคส เท่านั้น แต่มีคนต้องการยาฟาวิพิราเวียร์ประมาณ 20-30% ของจำนวนคนติดเชื้อต่อวัน 

กลุ่มสตาร์ตอัพเข้าไปช่วยในกระบวนส่วนนี้ จากคำถามที่คุณหมอต้องถามซ้ำเพื่อกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่ต้องพบแพทย์โดยเฉพาะ ออกจากจำนวนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ต้องคัดกรองต่อว่า มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัมหรือไม่ และมีคำถามบางคำถามที่ใช้คัดกรองผู้ป่วย จึงรวบกระบวนการจากเดิมที่ต้องพบหมอและพบเภสัช มาเป็นกระบวนการเดียวกัน โดยนำกระบวนการทั้งหมดมาเปลี่ยนขั้นตอน นำ robot call ของสตาร์ตอัพ Octagon เพื่อคัดกรองผู้ป่วยด้วยคำถาม check list เพื่อคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงให้ไปพบคุณหมอและผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าออกเพื่อทำการจัดส่งยาฟาวิพิราเวียร์ไปให้

“ช่วงนั้น 1668 มีคนค้างอยู่ในระบบ 70,000-80,000 คน ระหว่างนั้น SCB 10X และบริษัท On-Demand (Learn Corporation) ซึ่งเป็น call center มาช่วยรับสายก่อนแบบเต็มเวลา 2 วัน จากนั้นนำระบบ bot call ของ Octagon เข้ามาโทรหาคนทุกคนที่อยู่ในฐานข้อมูลในเวลา 2 สัปดาห์ คัดกรองมาว่าคนไหนต้องได้ยาและจัดส่งยาไปให้ครบหมดทุกคนแล้ว ทั้งหมด 50,000-60,000 คน”

รายชื่อของคนไข้กลุ่มที่จะได้รับยานี้จะถูกส่งไปที่ NSquare ซึ่งเป็นสตาร์ตอัพอีคอมเมิร์ซจะช่วยแพคยาส่งให้ผู้ป่วย

เดิมใช้คนจัดยาสำหรับผู้ป่วยรายคนซึ่งสามารถจัดยาออกมาได้ว่าต้องแยกยาสำหรับกลุ่มคนท้อง เด็ก และคนเป็นโรคตับและเบาหวานออกไป สุดท้ายแล้วจะเหลือ 3 กลุ่ม คือ คนที่น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม คนน้ำหนักน้อยกว่า 90 กิโลกกรัม และคนที่เป็นเบาหวาน ที่จะได้รับชุดยาไม่เหมือนกัน

Nsquare ดัดแปลงระบบการแพคสินค้ามาแพคชุดยา (ที่แตกต่างกัน 3 SKUs) และติดบาร์โค้ดบรรจุรายละเอียดของคนไข้ ส่งให้ผู้ป่วยทุกคนไม่ผิดแพคยาอย่างแน่นอน ซึ่งผู้ป่วยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนว่ายาชุดที่ได้แพคโดยใคร

“ก่อนหน้านี้เภสัชจัดยาเอง และใช้ไรเดอร์ 15 คนส่งได้วันละ 500 เคส ซึ่งความยาก คือ ต้องปักหมุดตำแหน่งบ้านของคนไข้ ซึ่งตอนนี้มีสตาร์ตอัพ Pin Point ที่ให้คนไข้ใส่ที่อยู่เข้ามาในแอปจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งและเส้นทางให้ไรเดอร์ แต่เราได้นำ Nsquare เข้ามาช่วยเรื่องจัดยาและใช้ Ninja Van ในการส่งยา ความถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด การติดตั้งระบบการจัดยาจึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเภสัชกรกับ Nsquare ซึ่งก่อนส่งยา 1 วัน Dayworks จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ คือ การโทรเช็คคนไข้ก่อนที่จะออกไปจัดส่งยาในวันรุ่งขึ้น” ดร.พณชิต กล่าว

ระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการ CI

จากนั้น กลุ่มเป็ดไทยสู้ภัย เข้าไปช่วยบริหารจัดการ HI/CI ร่วมกับภาครัฐ โดยใช้ Horganize และเข้าไปช่วย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA และมี Loops สตาร์ตอัพที่ทำระบบริหารจัดการรถตู้แถวอนุสาวรีย์ นำรถตู้เข้ามาขนส่งคนไข้

“การจะหยุดผู้ป่วยสีเหลือง และสีแดง เป็นสีดำ (เสียชีวิต) ต้องทำให้เกิดสถานที่สำหรับการกักตัวในชุมชนหรือ CI สำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองให้มีจำนวนมากขึ้น” ดร.พณชิต กล่าว

ระบบ HI (การรักษาตัวที่บ้าน) ใช้ระบบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดย A-MED ซึ่งผูกระบบเข้ากับโรงพยาบาล และนำข้อมูลเชื่อมไปเพื่อของบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ ซึ่งระบบบริหารจัดการระบบ HI ให้คุณหมอใช้ ส่วนหน้างานการบริหารจัดการ CI ใช้ซอฟต์แวร์ของ Horganize แล้วระบบหลังบ้านเชื่อมโยงกัน 

กลุ่มสตาร์ตอัพเป็ดไทยสู้ภัยเข้าไปช่วยสนับสนุนส่วนงานที่เรียกว่า HI/CI Exchange ให้ DGA ซึ่งรวมถึงการจัดการ HI/CI การจัดการรถพยายาล การทำการคัดกรอง เป็นต้น อาทิ สตาร์ตอัพ Loops นำระบบบริหารจัดการรถตู้มาดัดแปลงใช้บริหารจัดการรถฉุกเฉินของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และมีการนำรถตู้มาช่วยรับคนไข้กลุ่มสีเหลือง เพื่อเก็บรถของสพฉ.ไว้รับส่งคนไข้สีแดง 

“เราโฟกัสเฉพาะกุรงเทพฯ​เป็นหลัก ซึ่งมี CI ทั้งหมด 50 เขต ซึ่งหากทำในกรุงทเพฯ สำเร็จ ก็ไม่ยากที่จะนำไปขยายผลในต่างจังหวัด” ดร.พณชิต กล่าว

ส่วนสตาร์ตอัพ QueQ เข้ามาช่วยเรื่องทำคิวฉีดวัคซีน และคิวตรวจหาเชื้อและช่วยภารกิจเปิดเมือง

ดร.พณชิต  กล่าวว่า ที่ผ่านมาทำงานอาสาแบบพาร์ทไทม์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแทบไม่ได้ทำงานของบริษัทเลย สตาร์ตอัพในกลุ่มเป็ดไทยสู้ภัย ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนการลงทุนจาก NIA และ DEPA ทำให้ทั้งสองหน่วยงานนี้พาสตาร์ตอัพไปพบกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งกรมควบคุมโรค และกรมการแพทย์ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เข้ามาให้การสนับสนุนเงินทุนให้สตาร์ตอัพได้ทำงานสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขเพื่อการนี้ผ่าน DEPA

“ระบบทั้งหมดที่พัฒนาขึ้นจะมอบให้ภาครัฐไปใช้อย่างถาวร เรามาร่วมมือทำกันตรงนี้เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศเดินหน้าได้ เศรษฐกิจเดินหน้าต่อได้” ดร.พณชิต กล่าวทิ้งท้าย 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ