TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessDigital Transformation Canvas คัมภีร์การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อการเติบโตครั้งใหม่

Digital Transformation Canvas คัมภีร์การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อการเติบโตครั้งใหม่

Digital Transformation ได้ยินมานานแล้ว มาพร้อม Digital Disruption เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว โควิด-19 มา เป็นตัวเร่งว่าหากธุรกิจยังไม่ทำ Digital Transformation ไม่รอด

หลายคนบอกว่ารู้แล้วว่า Digital Transformation คืออะไร แต่จากสถิติที่เก็บข้อมูลทั่วโลก พบว่าธุรกิจกำลังมุ่งหน้าไปสู่ดิจิทัลทั้งหมด อุตสาหกรรมดั้งเดิมติดลบหมด อยู่ที่ว่าติดลบมากหรือน้อยเท่านั้น มีเพียงบางอุตสาหกรรมเท่านั้นที่ได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากโควิด-19 ทำให้เติบโตเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่แล้วติดลบทั้งสิ้นทั่วโลก อุตสาหกรรมที่ยังเติบโต คือ อุตสาหกรรมที่อยู่ในเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)

ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล ผู้ให้คำปรึกษาด้าน Digital Transformation ผู้เขียนหนังสือ Digital Transformation in Action และ Digital Transformation Canvas กล่าวว่า มีการสำรวจจากบริษัทแมคเคนซี่ ระบุว่า ทุกธุรกิจกำลังทำ Digital Transformation แต่มีเพียง 16% เท่านั้นที่ทำแล้วสำเร็จ ทำไม่สำเร็จประมาณ 70% ที่เหลือกำลังทำอยู่ มีวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจที่ออกโดย Harvard Business School ระบุว่า บริษัทที่ทำ Digital Transformation ที่ดีที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีบริษัทอะไรบ้าง อันดับ 1 คือ Netflix อันดับ 2 คือ Adobe

Netflix เปลี่ยนจากการขายออนไลน์มาเป็น Home Delivery มาเป็น Streaming และ Original Content โดยใช้บิ๊กดาต้า (Big Data) ส่วน Adobe เปลี่ยนจากซอฟต์แวร์ Design and Creative ขายเป็นลิขสิทธิ์ (License) มาสู่การขายแบบ Subscription บวกกับการเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการทำเทคโนโลยีสำหรับการตลาด (Marketing Technology) ของโลก ดังนั้น เรื่องบิ๊กดาต้า การตลาด ระบบอัตโนมัติ อีคอมเมิร์ซ และเทคโนโลยีสำหรับการตลาด ตอนนี้ Adobe เป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงเป็นอันดับ 2 ของการทำ Digital Transformation

องค์กรธุรกิจในประเทศไทยส่วนใหญ่กำลังทำ Digital Transformation คือ กำลังสร้าง New Efficiency ใหม่ ๆ อาทิ หลายธนาคารเริ่มขยายมาทำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และกำลังสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า และกำลังหารูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ อยู่ แต่ 3 สิ่งนี้เรียกว่า กำลังทำ

Digital Transformation Canvas  คัมภีร์การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อการเติบโตครั้งใหม่

เกณฑ์ความสำเร็จ

ที่น่าสนใจ คือ มีหลักเกณฑ์อะไรที่บอกว่าทำแล้วสำเร็จ อย่างแรก คือ การทำ Digital Transformation ไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยี หรือการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) อันนั้น คือ เครื่องมือ (Tools)

Digital Transformation หลักเกณฑ์แรก คือ ต้องสร้างการเติบโตครั้งใหม่ได้ (New Growth) เช่น ผิงอัน เดิมเป็นบริษัทประกันในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่แข่งขันดุเดือด จึงปรับเปลี่ยนธุรกิจโดยใช้ฐานข้อมูลลูกค้าพบว่าส่วนใหญ่ทำประกันสุขภาพ จึงไปทำแพลตฟอร์มที่เรียกว่า Ping An Good Doctor ทำเป็นเรื่อง Preventive Medicine ป้องกันไม่ให้ลูกค้าป่วย ให้พบแพทย์ออนไลน์ ส่งยาไปที่บ้านผ่านอีคอมเมิร์ซ และขายประกันสุขภาพพ่วง ทำให้ “ผิงอัน” กลายเป็นแพลตฟอร์มด้านสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลก นี่คือการเปลี่ยนจากธุรกิจเดิมคือ ธุรกิจประกันมาเป็นธุรกิจแพลตฟอร์มด้านสุขภาพ นี่คือ การสร้างการเติบโตใหม่

ประเด็นที่ 2 คือ เปลี่ยนแกนหลักธุรกิจ (Repositioning the Core) ทั้งผิงอันและ Adobe เห็นตัวอย่างชัดเจนว่าเปลี่ยนจากธุรกิจเดิมมาเป็นธุรกิจใหม่ ประเด็นที่ 3 คือ ทำแล้วต้องมีการเติบโตมากขึ้น

“หากทำแล้วสำเร็จ คือ ต้องสร้างการเติบโตครั้งใหม่ รายได้จากธุรกิจใหม่ต้องมากกว่ารายได้จากธุรกิจเดิม เช่น ไปรษณีย์ไทย ที่เดิมธุรกิจหลัก คือ รับส่งจดหมาย ตอนนี้คือ การให้บริการ Fulfillment ต่อไปจะขยายไปสู่ Fintech ด้วย ซึ่งชัดเจนว่าไปรษณีย์เข้าเกณฑ์ว่าทำ Digital Transformation แล้วประสบความสำเร็จ”

อีกตัวอย่างขององค์กรในไทยที่ทำ Digital Transformation แล้วประสบความสำเร็จ คือ RS ที่เปลี่ยนจากธุรกิจเพลงมาสู่ธุกิจค้าปลีก มียอดขายอีคอมเมิร์ซเติบโตว่าธุรกิจมีเดียไปแล้ว

“วันนี้ปัญหาระดับประเทศหลังจบโควิด-19 มา คือ รายได้ของประเทศไทย ซึ่งในอดึตพึ่งพิงการท่องเที่ยว ซึ่งไปหายประมาณ 1 ใน 3 รายได้มาจากการลงทุนของต่างประเทศ​ (FDI) ก็หายไป และการค้าปลีกหดตัว ทำให้เศรษฐกิจไทยติดลบมากที่สุดในอาเซียน (ไม่นับสิงคโปร์) ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องทรานส์ฟอร์มด้วยดิจิทัลอย่างเร่งด่วน”

Digital Transformation มีความสำคัญ ถ้าไม่รู้ว่าทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ อันนี้อันตราย เพราะจะเป็นคน 70% ที่ทำไม่สำเร็จ

บริษัทวิจัย Bloomberg NEF ได้ทำสำรวจ Digital Transformation ระดับประเทศ ได้ออกรายงานเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยใช้เกณฑ์ในการจัดอันดับ Digital Transformation ของระดับประเทศ​ ได้แก่ ประเทศที่มีการสนับสนุนการลงทุน การศึกษา เปิดกว้างนวัตกรรม พัฒนาทรัพยากรบุคคล ใช้ Digital ในการสร้างรายได้ อันดับหนึ่ง คือ สิงคโปร์ ที่ประกาศว่าต้องเป็นผู้นำด้าน Deep Tech ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคต อันดับสองคือ ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย

“ประเทศไทยไม่ติดอันดับ แปลว่า รายได้จากดิจิทัลของไทยยังน้อยอยู่มาก องค์ความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ของคนไทย หรือความสามารถในการใช้ดิจิทัลในการสร้างรายได้ ในการทำงานของประเทศไทยต่ำมาก”

แม้ว่าประเทศจะมีรายได้ต่อหัวมากกว่าอินเดีย แต่ความสามารถในการทำ Digital Transformation ของไทยด้อยกว่าอินเดีย

ปัจจุบัน ประเทศแข่งขันกันที่ความสามารถด้านดิจิทัล IMD ที่วัดระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยตกจากอันดับที่ 20 กว่าไปอยู่ที่ 30 ตกเพราะความสามารถในการใช้ดิจิทัลเพื่อความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจของไทยยังด้อย

“ธุรกิจต้องรู้แล้วว่า Digital Transformation (ไม่ใช่รู้ว่าคืออะไร และทำไมต้องทำ) ทำอย่างไรถึงจะสำเร็จ”

ในประเทศไทย บริษัทมหาชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หรือ ตลาด MAI มีแต่บริษัทที่อยู่ในระดับที่กำลังทำ Digital Transformation ประมาณ 60-70% ไม่ทำอะไรเลยก็มีไม่น้อย อาทิ จาก Banking มาทำ Super App เป็นต้น

Digital Transformation Canvas  คัมภีร์การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อการเติบโตครั้งใหม่

กรณีศึกษา (Success Case)

เคสที่เล่าในหนังสือ Digital Transformation in Action ฉบับปรับปรุงใหม่ คือ AirAsia ผู้โดยสารน้อยลง จะหวังพึ่งรายได้จาก Air Cargo ได้บ้าง แต่ไม่สามารถช่วยพลิกสถานการณ์ AirAsia ได้

Tony Fernandes ประกาศเมื่อ 2 ปีที่แล้วว่า ธุรกิจสายการบินจะไม่เหมือนเดิม ธุรกิจสายการบิน คือ ธุรกิจที่ต้นทุนสูง การแข่งขันสูง กำไรลดลงทุกวัน ดังนั้น AirAsia ต้องการเปลี่ยนจากธุรกิจสายการบินเป็นธุรกิจอื่น

“ก่อนมีโควิด-19 Tony Fernandes บอกจะทำฟินเทค คือ BigPay สามารถจ่ายเงินโดยใช้บล็อกเชน ไม่เสียค่าอัตราแลกเปลี่ยน ทำแล้วที่สิงคโปร์กับมาเลเซีย แต่โควิด-19 มาพังเลย”

สิ่งที่ Tony Fernandes กลับมาใหม่ คือ นำสิ่งที่มีอยู่คือ ฐานข้อมูลลูกค้า เขารู้ว่าลูกค้ามีวิถีการใช้ชีวิตเป็นอย่างไร เขาจะเปลี่ยน AirAsia จากธุรกิจสายการบินมาเป็น Super App ด้านไลฟ์สไตล์ เช่น เอาแต้มของ AirAsia BigPoint มาแลกซื้อสินค้าในมาร์เก็ตเพลส มีร้านอาหารที่เคยขายในเที่ยวบินของ AirAsia มาทำเป็นฟู้ดเดลิเวอรี่ และทำเป็น Community Mall และ Loyalty Program คือ เปลี่ยนจากสายการบินเป็น Super App เหมือน LINE, Grab, GoJek, Lazada, Shopee

AirAsia เริ่มต้นจากการที่มีข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ Digital Transformation

“สิ่งที่อยากจะบอก คือ วันนี้กรณีศึกษาที่สำเร็จมีน้อยแต่มี แต่ถ้าธุรกิจอยากทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร ซึ่งได้สรุปวิธีการทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จอยู่ในหนังสือ Digital Transformation Canvas”

สิ่งแรก คือ ต้องรู้ว่าต้องเริ่มต้นทำ Digital Transformation อย่างไร และเช็คความพร้อม หรือการทำ Digital Readiness ว่าสถานะขององค์กรอยู่ระดับไหนของกระบวนการทำ Digital Transformation เพื่อที่จะได้รู้ว่ายังเหลืออะไร ขาดอะไร และสุดท้ายต้องรู้ว่าจะวัดความสำเร็จด้วยปัจจัยอะไร (Determine Digital Success Factor) รู้ว่าการทำ Digital Transformation อะไรบ้างที่เรียกว่าสำเร็จ

“หนังสือเล่มนี้ จะมีพิมพ์เขียวบอกให้ถ้าไม่อยากทำพลาดอย่าทำแบบนี้ เพราะคนที่ทำพลาดส่วนใหญ่ทำแบบนี้ และบอกว่าองค์กรที่ทำสำเร็จเริ่มต้นอย่างไร ทำอย่างไร วัดผลอย่างไร”

หนังสือเล่มนี้จะช่วยนำทางทุกองค์กรที่อยากจะทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จ เพราะการทำ Digital Transformation เป็นศาสตร์ หมายความว่า สามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกองค์กร ทั้งเอสเอ็มอี คอร์ปอเรตขนาดใหญ่ และสตาร์ตอัพ

กรณีศึกษาของ Stripe เป็นสตาร์ตอัพที่มา Disrupt ระบบการชำระเงินแบบดั้งเดิมของ Paypal สิ่งที่ Stripe ทำ คือ ให้ก๊อปปี้โค้ดของ Stripe ไปแปะที่หน้าเว็บแล้วขายของได้ทันทีทั่วโลก หมายความว่า ศาสตร์ Digital Transformation ก็สามารถปรับใช้กับสตาร์ตอัพได้ โดยที่ไม่ต้องทรานส์ฟอร์มตัวเอง แต่ทรานส์ฟอร์มอุตสาหกรรม หรือผู้เล่นแบบดั้งเดิมก็ได้

“วันนี้อยากมาช่วยเรื่ององค์ความรู้ด้าน Digital Transformation ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ทั้งองค์กรธุรกิจ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และหน่วยงานราชการ รัฐบาล โดยมาที่หลักการเดิมว่า ทำอย่างไรถึงเรียกว่าทำ Digital Transformation แล้วสำเร็จ 3 ข้อ คือ สร้างการเติบโตครั้งใหม่ การเปลี่ยนแกนหลักของธุรกิจ และการสร้างรายได้ ซึ่งประเทศไทยต้องการ New S-Curve และต้องการเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมเดิมไปเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ต้องการสร้างการเติบโตของ GDP การกินดีอยู่ดีของประชากร ความเป็นสุขภายในประเทศ เป็นต้น”

ทรานส์ฟอร์มประเทศ เพิ่มความสามารถแข่งขันระดับประเทศไม่ได้หมายถึงแค่รัฐบาล แต่หมายรวมถึงองค์กรต่าง ๆ เอสเอ็มอี และมหาวิทยาลัย ต้องร่วมด้วยช่วยกัน

การทำ Digital Transformation คือ การลงทุนสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยดิจิทัล ถ้าไม่ทำ Data ไม่ต้องพูดถึงการทำ AI เพราะจะทำ AI ได้ต้องมี Big Data และหากจะทำ IoT หากไม่มี 5G ก็ไม่สำเร็จ และถ้าไม่ทำบล็อกเชน ข้อมูลนั้นจะเป็นส่วนตัวไหม เป็นต้น และจะต้องมี Data Center ที่ดี และมี Super Computer ด้วย ไม่ใช่มีแค่ 5G คำถามคือ ประเทศไทยมีองค์ความรู้เรื่องเหล่านี้ไหม หากไม่ช่วยกันส่งเสริมองค์ความรู้เหล่านี้ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะสู้ประเทศอื่นไม่ได้

“ปัจจุบันไทยแพ้เวียดนามแล้ว เรื่องตัวชี้วัดด้านการเติบโต เราเห็นเลยว่า คนที่มีเงินลงทุนไม่ลงทุนในไทย แต่ย้ายไปลงทุนในเวียดนาม อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น พอโควิด-19 มาอัตราการเติบโตของไทยต่ำมาก หากไม่ทำอะไรในอนาคตเราอาจจะแพ้เมียนมา วันนี้ประเทศไทยต้องสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันใหม่ ๆ ด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านดิจิทัล คือ ต้องมีองค์ความรู้และรู้วิธีทำว่า Digital Transformation ทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ”

“นี่คือสิ่งที่ผมพยายามจะบอกว่าทำไมผมถึงออกหนังสือ และทำไมถึงออกเป็น e-Book เพราะวันนี้ประเทศไทยต้องทำทรานส์ฟอร์มระดับประเทศ ไม่เฉพาะระดับองค์กรธุรกิจ วันนี้ต้องสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมองค์ความรู้ด้าน Digital Transformation”

“วันนี้เราต้องร่วมด้วยช่วยกันในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนการสร้าง New S-Curve ให้กับประเทศไทยได้ New S-Curve ประเทศไทยไม่ได้เกิดจากรัฐบาล แต่เกิดจากทุกธุรกิจร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือ ถึงทำให้ทุกอย่างขับเคลื่อนไปได้”

นอกจากนี้ยัง ออกหนังสือเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษด้วย เป็นผลมาจากการตอบรับหนังสือเล่มแรก คือ Digital Transformation in Action เล่มแรกเป็นเรื่องของหลักการการทำ Digital Transformation ที่มี 5 ประการ คือ ต้องเข้าใจเรื่องของการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป (Disruption) การตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป เรื่องของประสบการณ์ผู้บริโภค ดาต้า นวัตกรรม และการทรานส์ฟอร์มองค์กร ซึ่งมีคนไทยที่อยากทำ Digital Transformation แต่ถนัดการสื่อสารภาษาอังกฤษ รวมถึงมีหลายองค์กรที่ผู้บริหารเป็น Expat อยากได้หนังสือที่เป็นคู่มือ นำมาปฏิบัติได้ (Practical)

“หนังสือผมเป็น How-to ที่สามารถนำไปประยุกต์กับทุกธุรกิจได้ มีเสียงเรียกร้องให้ทำภาษาอังกฤษ และช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา มีเสียงเรียกร้องว่าอยากได้ วิธีทำว่าทำอย่างไร ไม่อยากได้แค่หลักการ ผมเลยทำออกมาเป็น 9 ขั้นตอน เรียกว่า Digital Transformation Canvas เมื่อรู้หลักการแล้ว ก็เติมคำในช่องว่าง เหมือนการทำ Marketing Plan แต่นี่คือ Transformation Plan

“เมื่อคุณเติมเต็ม 9 ช่องใน Canvas ได้ อย่างน้อยก็ลดความเสี่ยงในการเสียเวลาลองผิดลองถูก เล่มแรกเป็นหลักการ เล่มสองเป็นวิธีทำ ซึ่งผู้อ่านควรอ่านทั้ง 2 เล่ม”

มีหลายคนซื้อ Digital Transformation Canvas เพราะเพิ่งเปิดตัวในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเล่มนี้บอกวิธีทำ แต่เขาอยากได้หลักการ (Principle) ก็ไปหาซื้อเล่มแรก หรือหลายคนซื้อพร้อมกัน 2 เล่ม ซึ่งควรอ่านทั้ง 2 เล่ม

Digital Transformation Canvas  คัมภีร์การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อการเติบโตครั้งใหม่

Digital Transformation เป็นเรื่องของทุกคน

กลุ่มเป้าหมายของหนังสือทั้ง 2 เล่ม คือ ทุกคน ทั้งในระดับปัจเจก พนักงานระดับปฎิบัติงาน และผู้บริหาร หลายองค์กรผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญเข้าใจ แต่ระดับปฎิบัติงานไม่เข้าใจ ไม่สามารถทำได้ บางองค์กรผู้บริหารไม่ขยับ ผู้บริหารระดับกลางเข้าใจ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ หรือบางองค์กรพนักงานเดินไปคนละทิศละทาง ทำให้การทำ Digital Transformation ไม่ประสบความสำเร็จ

“มีบทหนึ่งในหนังสือ ว่า ทำไมถึงทำ Digital Transformation แล้วล้มเหลว และความล้มเหลวมักจะมารูปแบบเดียวกัน ซึ่งทำแล้วสำเร็จก็มีรูปแบบอยู่ว่าทำอย่างไร สิ่งที่สำคัญ คือ หัวต้องส่าย หางต้องกระดิก และไปในทิศทางเดียวกัน หนังสือเล่มนี้เหมาะกับทุกคนที่อยากเปลี่ยน อยากทรานส์ฟอร์มองค์กร เพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่ให้กับองค์กร”​

หนังสือ Digital Transformation in Action และ Digital Transformation Canvas พยายามส่งทอดองค์ความรู้ให้ เพื่อเป็นพิมพ์เขียวให้ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง หรือแม้แต่พนักงานระดับปฏิบัติงาน ทุกคนควรรู้ว่าทำ Digital Transformation อย่างไร เพื่อจะช่วยกันขับเคลื่อนองค์กร สร้างการเปลี่ยนเปลง เพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่ให้เกิดขึ้นได้จริง ๆ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ