TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusiness"รัสเซีย-ยูเครน" ดันราคาอาหารและเครื่องดื่มขยับเพิ่มสูง

“รัสเซีย-ยูเครน” ดันราคาอาหารและเครื่องดื่มขยับเพิ่มสูง

“รัสเซีย-ยูเครน” ส่งผลให้กลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ มีราคาสูงขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น

จากปัจจัยข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มในประเทศปี 2565 อาจอยู่ที่ระดับ 2.57-2.59 ล้านล้านบาทหรือขยายตัวอยู่ในกรอบ 1.9%-2.7% เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่ขยายตัว 2.5% 

  • กลุ่มน้ำมันพืชมีแนวโน้มจะพุ่งสูงขึ้น ทั้งน้ำปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง สวนทางกับปริมาณการผลิตที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก
  • กลุ่มเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (ผลิตภัณฑ์นมและไข่) ราคาจะยังอยู่ในระดับสูง ผลจากจำนวนผลผลิตสุกรที่ยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับต้นทุนอาหารสัตว์ (อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง) ซึ่งส่วนใหญ่ไทยนำเข้าจากต่างประเทศที่มีแนวโน้มจะปรับราคาสูงขึ้น ตลอดจนต้นทุนในการบริหารจัดการภายในโรงงานที่ปรับสูงขึ้น ผลให้ธุรกิจปลายน้ำที่นำวัตถุดิบไปใช้อย่าง ธุรกิจร้านอาหาร โรงงานอาหารแปรรูปสำเร็จรูป เผชิญความท้าทายด้านต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยส่งผลให้ธุรกิจปลายน้ำที่นำวัตถุดิบไปใช้อย่าง ธุรกิจร้านอาหาร โรงงานอาหารแปรรูปสำเร็จรูป เผชิญความท้าทายด้านต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • กลุ่มเครื่องดื่ม แม้ยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตในกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ด้วยต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบต้นน้ำ อาทิ มอลต์ (สกัดจากธัญพืช อาทิ บาร์เลย์ ข้าวสาลี เป็นต้น) ราคาบรรจุภัณฑ์ (กระป๋อง) รวมถึงต้นทุนด้านขนส่ง อาจส่งผลให้สินค้าในบางรายการมีโอกาสขยับราคาขึ้นได้ อาทิ เบียร์ น้ำอัดลม เป็นต้น

กลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะทรงตัว-หดตัว

กลุ่มสินค้าที่คาดว่าปริมาณการบริโภคจะอยู่ในระดับทรงตัวหรือขยายตัวเล็กน้อย ได้แก่ ผัก ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าอาหารพื้นฐานที่ยังจำเป็นต่อการบริโภค ซึ่งผู้บริโภคยังสำรองงบประมาณเพื่อการใช้จ่ายอยู่

นอกจากนี้ แม้แนวโน้มของต้นทุนการผลิตจะขยับขึ้น แต่ในหลายรายการยังเป็นสินค้าควบคุม ทำให้คาดว่าผู้บริโภคจะไม่จำกัดการซื้อมากนักเมื่อเทียบกับกลุ่มสินค้าอื่น ๆ

กลุ่มสินค้าที่คาดว่าปริมาณการบริโภคน่าจะหดตัว ได้แก่ กลุ่มเครื่องดื่ม (ทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์) ผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล อาหารสำเร็จรูป ปลาและอาหารทะเล ผลไม้ เนื่องจากอยู่ในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาจำหน่ายสูงและมีความจำเป็นรองลงมา รวมถึงกลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มของราคาเพิ่มสูงต่อเนื่อง อาทิ เนื้อสัตว์ น้ำมันพืช ซึ่งคาดว่าผู้บริโภคอาจจำกัดการซื้อลงบ้าง เพื่อให้อยู่ภายใต้งบประมาณที่มีอย่างจำกัด

ตลาดอาหารและเครื่องดื่มไทย มูลค่า 2.57-2.59 ล้านล้านบาท

มูลค่าการใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มในประเทศปี 2565 อาจอยู่ที่ระดับ 2.57-2.59 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวอยู่ในกรอบ 1.9%-2.7% เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่ขยายตัว 2.5%

  • กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า คือ น้ำมันพืชเนื้อสัตว์ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่

โดยเป็นผลมาจากราคาเป็นหลัก ขณะที่ปริมาณการบริโภคอาจลดลงได้ไม่มาก หรืออาจจะมีการปรับตัวโดยการบริโภคสินค้าอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันที่มีราคาต่ำกว่าทดแทน เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็น และคาดว่าผู้บริโภคน่าจะยังคงสำรองงบประมาณเพื่อการใช้จ่ายสินค้ากลุ่มนี้อยู่

  • กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายจะขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนหน้า คือ ผักผลไม้และอาหารสำเร็จรูป

ซึ่งเป็นผลมาจากราคาเป็นหลักเช่นกัน แต่เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้น่าจะมีความจำเป็นรองลงมาเมื่อเทียบกับกลุ่มแรก ทำให้ผู้บริโภคอาจสามารถลดปริมาณการซื้อลง เพื่อให้เพียงพอกับงบประมาณที่ได้ตั้งไว้ ท่ามกลางกำลังซื้อที่มีจำกัด

  • กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายจะขยายตัว

โดยเป็นผลของราคาที่ขยับขึ้นประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนแต่ปริมาณการบริโภคอาจมีแนวโน้มลดลงคือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผลิตภัณฑ์จากธัญพืชปลาและอาหารทะเลรวมถึงผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล 

ข้อแนะนำ

ภายใต้ข้อจำกัดของการทำธุรกิจในปีนี้ แม้ว่ากลยุทธ์ด้านราคาจะช่วยพยุงสภาพคล่องหรือระบายสต็อกสินค้าได้บางกลุ่ม อาทิ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่มีอายุผลิตภัณฑ์สั้น (อาหารสด อาหารพร้อมทาน ขนมขบเคี้ยว นมสด เครื่องดื่มฟังก์ชั่นนอล เป็นต้น) แต่ในระยะข้างหน้า

การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตและบริการ น่าจะเป็นแนวทางการปรับตัวที่สร้างความยั่งยืนกับธุรกิจ ท่ามกลางความท้าทายทั้งในเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบ แนวโน้มของการปรับขึ้นภาษีเพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภค (อาทิ ภาษีความเค็ม ภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขณะที่ภาษีความหวานจะขยับอัตราขึ้นตามที่กำหนดไว้) การเข้ามาของผู้เล่นหน้าใหม่ ซึ่งอยู่นอกอุตสาหกรรมที่สนใจเข้ามาลงเล่นในธุรกิจนี้มากขึ้น อาทิ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ฟังก์ชั่นนอลและสมุนไพร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตอาหาร อาทิ เทคโนโลยี Industrial Internet of Things (IIoT) การบริหารจัดการลดต้นทุนการผลิต/บริหารสต็อกสินค้า/ระบบขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ

รวมถึงการให้ความสำคัญกับนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) ซึ่งจะกลายเป็นกลยุทธ์การรับมือที่สอดรับไปกับเทรนด์การบริโภคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างยั่งยืน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ