TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeCBO inter เผย สารสกัดกัญชาสามารถช่วยอาการนอนไม่หลับได้ หากเลือกใช้ถูกประเภท

CBO inter เผย สารสกัดกัญชาสามารถช่วยอาการนอนไม่หลับได้ หากเลือกใช้ถูกประเภท

HIGHLIGHT

  • เนื่องในโอกาส “วันนอนหลับโลก” ซีบีโอ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสารสกัดและผลิตภัณฑ์จากกัญชา/กัญชง คุณภาพสูง เผยสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนหลับของคนไทย และทั่วโลก รวมถึงความเชื่อเกี่ยวกับการใช้สารสกัดต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การนอนหลับมีประสิทธภาพมากยิ่งขึ้น

การนอนไม่หลับ ถือเป็นอีกปัญหาใหญ่ที่บั่นบอนคุณภาพชีวิตของคนไทย ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ข้อมูลจาก Worldsleepday เปิดเผยว่า ในปี 2564 มีประชาชนกว่า 2 พันล้านคนต้องประสบปัญหากับการนอนไม่หลับ

เนื่องในโอกาสวันนอนหลับโลก (18 มีนาคม) The Story Thailand มีข้อมูล และสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนอนหลับ จากบริษัท ซีบีโอ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่อาจช่วยให้คุณได้มีโอกาสนั่งวิเคราะห์ตัวเอง และหาวิธีทำให้นอนหลับสนิทมากขึ้น

สำหรับในประเทศไทย พบกระทู้สนทนาในโลกออนไลน์เกี่ยวกับ “การนอนไม่หลับ นอนยาก หรือหลับไม่สนิท” จำนวนมาก อาทิ ในพันทิป #นอนไม่หลับ (>10,000 กระทู้) #หลับไม่สนิท (≦3,000 กระทู้) ในขณะที่ข้อมูลจาก Google Trends พบว่าคนไทยค้นหาคำว่า “นอนไม่หลับ” สูงอย่างต่อเนื่องตลอดปี ตามมาด้วยการค้นหาคำที่อธิบายอาการนอนไม่หลับซึ่งมีปริมาณน้อยกว่า แต่ก็ยังปรากฏต่อเนื่องทั้งปี

โดย สาเหตุของการเข้าสู่ภาวะนอนไม่หลับ มักจากทั้งสิ่งเร้าภายนอก เช่น สถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล เวลาทำงานไม่ตายตัว การอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่ต้องใช้เวลาปรับตัว หรือจากลักษณะทางกายภาพของบุคคล เช่น มีโรคประจำตัวที่อาจส่งผลกับการนอน ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต นอนไม่หลับจนติดเป็นนิสัย ฯลฯ   

โควิด-19 ทำให้คนนอนไม่หลับ

การแพร่ระบาดสร้างบาดแผลที่ส่งผลกระทบทางจิตใจระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรง กระทบยาวมาถึงการนอนหลับ ที่เห็นได้ชัดคือพฤติกรรมการนอนหลับของคนส่วนใหญ่ในยุคโควิด-19 เปลี่ยนไป จากการศึกษา “Effects of Social Isolation on Sleep During the COVID-19 Pandemic” พบว่า คนใช้เวลาอยู่บนที่นอนนานกว่าช่วงก่อนการระบาดถึง 40 นาที (จาก 485.5 นาที เพิ่มเป็น 531.5 นาที) และต้องใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงจึงจะหลับสนิทและใช้เวลาชั่วโมงกว่าจึงจะลุกจากเตียง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของความอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Disorder) หรือภาวะซึมเศร้า

นักวิจัยยังพบว่ามีความเชื่อมโยงบางอย่างระหว่างโควิด-19 กับอาการนอนผิดปกติและทำให้คำว่า “โคโรนาซอมเนีย (Coronasomnia)”  หรือ “โควิดซอมเนีย (Covidsomnia)” เริ่มปรากฏตั้งแต่ปี 2563 และยังถูกค้นหาอย่างต่อเนื่องตลอดปีที่ผ่านมา

อีกปรากฏการณ์ที่พบมากขึ้นไล่ ๆ กันคือ คนส่วนใหญ่ยินดีที่จะผลัดเวลานอนออกไปและใช้เวลาช่วงกลางคืนไปทำกิจกรรมอื่น ๆ อย่างเอาจริงเอาจัง เช่น ทำงาน ดูหนัง ดูซีรีย์ เล่นเกม ฯลฯ เพื่อชดเชยสถานการณ์ความยุ่งเหยิง วุ่นวายใด ๆ ที่เกิดในช่วงกลางวัน อาการเหล่านี้ทางจิตวิทยาเรียกว่า “Revenge Bedtime Procrastination หรือการนอนดึกเพื่อล้างแค้น” ซึ่งส่งผลลบต่อทั้งร่างกายและจิตใจหนักไม่แพ้ผู้มีอาการ Insomnia เหมือนกัน

ซึ่งความพยายามจะปลดล็อคสภาวะนอนไม่หลับ นอนไม่พอหรือหลับไม่สนิทที่ผิดวิธี อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากขึ้น 

‘ได้นอน’ กับ ‘นอนได้’ ต่างกัน

เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ที่ยกขึ้นมาหักล้างความเชื่อเรื่องการนอนตามสูตร 8-10 ชั่วโมง “นอนน้อยแต่นอนดีนะ” คือนิยามการนอนที่ไม่ได้อิงกับชั่วโมงการนอนเพียงอย่างเดียว หลักฐานอย่างหนึ่งที่ชี้วัดได้อย่างชัดเจนคือ อาการตื่นนอนแต่กลับไม่สดชื่น แสดงว่าระดับการนอนอยู่แค่ในระยะหลับตื้น ไม่เข้าสู่ระยะหลับลึก จึงเป็นเหตุให้ความนิยมในการใช้สมาร์ทวอชเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนพยายามบันทึกพฤติกรรมการนอนของตนเอง และหาวิธีเพิ่มคุณภาพการนอนในระยะหลับลึกหรือ Deep Sleep (ไม่นับการนอนดึกหรือตื่นสายจนเกินไป) ยกเว้นบางเคสที่นอนหลับสั้นแต่มีคุณภาพ ส่วนหนึ่งเกิดจากยีนและพันธุกรรม เรียกว่า Short Sleeper Syndrome อย่าง อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา และ บิล คลินตัน หรือทอม ฟอร์ด เจ้าของแบรนด์แฟชั่นระดับโลก ที่แม้จะนอนน้อยและยังมีพลังแอคทีฟในเช้าวันถัดไปได้ 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฮอร์โมนเมลาโทนิน ในการช่วยให้นอนหลับ

ข้อมูลจากแบบสำรวจรายงานผู้บริโภคเผยว่า คนส่วนใหญ่เลือกรับประทานวิตามินซีและอาหารเสริมจากธรรมชาติมากที่สุด และเมลาโทนิน (Melatonin) เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มนุษย์ตาค้าง ตาแข็งตอนกลางคืนใช้กันเพื่อให้ออกฤทธิ์ทดแทนสารธรรมชาติในร่างกาย

ทางการแพทย์ยืนยันได้ว่า สารดังกล่าวสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนได้ทั้งในกลุ่มผู้ที่นอนหลับยากหรือหลับสั้น มีอาการตื่นกลางดึกบ่อย ทั้งนี้ ยังคาดว่าจำนวนคนมีปัญหาเรื่องการนอนจะเพิ่มขึ้นอีก ระยะที่ผ่านมาเริ่มมีการศึกษาโรคอุบัติใหม่อย่าง Long COVID หรืออาการหลงเหลือจากการติดเชื้อ COVID-19 ผู้ป่วยจำนวนมากมักจะมีอาการอ่อนเพลียและมีปัญหาการนอน ผลการศึกษา 6-month consequences of COVID-19 in patients discharged from hospital: a cohort study เผยจากจำนวนผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 จำนวน 1,733 ราย เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน 63% มีอาการเหนื่อยล้า ขณะที่อีก 26% มีปัญหาเรื่องการนอน ซึ่งในมุมนักวิชาการและทางการแพทย์

การทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเมลาโทนิน เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่อาจจะช่วยบรรเทาอาการในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ 

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของการใช้ยา เช่น อาการวิงเวียน ง่วงนอนระหว่างวัน อุณหภูมิร่างกายลดลง ฯลฯ หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อกลไกธรรมชาติในร่างกาย ลดการผลิตและทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนินที่สร้างขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นโรคนอนไม่หลับในที่สุด

กัญชาช่วยให้นอนหลับได้?

การใช้สารสกัดกัญชาแก้ปัญหาการนอนไม่หลับเป็นประเด็นที่พูดกันในสังคมวงกว้าง ชูสรรพคุณของสาร CBD (สารสกัดจากกัญชง ซึ่งไม่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท) ที่มีส่วนช่วยแก้ปัญหา อย่างไรก็ดี การรับรู้และความเข้าใจของคนต่อพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ยังคลุมเคลือ ไม่ชัดเจน โดยก่อนหน้านี้ถูกบอกเล่าต่อกันในหลาย ๆ ประเด็น ทั้งเรื่องการเพิ่มโดสเพื่อให้เห็นผลเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรืออาการจะบรรเทาลงเฉพาะตอนใช้เท่านั้น หรือไปจนถึงอาการจะแย่ลงเมื่อหยุดใช้ ฯลฯ 

ทุกคนต้องรู้ก่อนว่า “คุณภาพการนอนที่ดี” เป็นเรื่องปัจเจกบุคคล ฉะนั้นจุดน่าสนใจในการใช้น้ำมันกัญชา ผู้ใช้จะสามารถปรับโดสน้ำมันกัญชาได้ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการดึงไปใช้ เพื่อปรับสมดุลการนอนให้เหมาะสมกับร่างกายแต่ละคน ผู้ใช้จะรู้สึกเหมือนกำลังเรียนรู้ความต้องการของร่างกายตัวเอง มองหาจุดสมดุลในการนอน

สำหรับการใช้ให้ได้ผล ร่างกายจะต้องเข้าถึงสารสกัดกัญชาที่มีคุณภาพสูง (Full-Spectrum Extract) โดยมีสารสกัดสำคัญหลายชนิดที่ออกฤทธิ์เสริมกัน เพื่อการนอนหลับ โดยตัวหลักสำคัญ คือ CBD ช่วยลดความวิตกกังวล ทำให้หลับง่ายและช่วยเพิ่มคุณภาพช่วงการนอนในระดับ Deep Sleep ได้ดีขึ้น ทำงานควบคู่กับสาร THC ช่วยลดอาการฝัน หลับสนิทมากขึ้นและตัดสิ่งรบกวนต่าง ๆ ภายในจิตใจที่ส่งผลต่อการนอนหลับ สารทั้งสองตัวจะทำงานร่วมกันเพื่อดึงเอาประสิทธิภาพที่ดีที่สุดของน้ำมันกัญชาออกมา ทั้งนี้ ปริมาณสารสกัด CBD จะต้องสูงกว่า THC มากเสมอ 

เมื่อการนอนที่มีคุณภาพสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านผลิตภัณฑ์และสารสกัดคุณภาพสูง ย่อมเพิ่มโอกาสและทางเลือกของการมีสุขภาพดีแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เปิดเสรี ไม่ว่าจะเป็นสารเมลาโทนินที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นยาอันตรายหรือกัญชาเองก็ตาม วันนี้ต่างถูกปลดล็อคเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการสร้างคุณภาพชีวิตการนอนที่ดี ยกระดับสุขภาวะการนอนที่ดีให้ผู้คน ตอกย้ำวลีเดิมที่ทรงคุณค่า “การนอนคือการพักผ่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์” นั่นเอง 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เปิด “เส้นทาง 20 ปี Sinovac” ในฐานะ “ผู้พัฒนาและผลิตวัคซีน”

สะท้อนบทเรียนข่าว “ดาราตกเรือ” คนวงในแนะสื่อ กรองประเด็นมากกว่ารายงานตามกระแสโซเชียล

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ