TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเริ่มทำ Big Data Project ได้เมื่อไร?

เริ่มทำ Big Data Project ได้เมื่อไร?

หากถามว่า “เมื่อไรที่เราควรเริ่มทำ Big Data Project?” ก็ตอบได้ง่าย ๆ ว่า “ตอนนี้” เพราะทุก ๆ ที่กำลังผลักดัน Big Data Project เพราะฉะนั้นใครทำได้ก่อนก็เดินเกมส์ได้ก่อน ใครล้าหลัง ก็ตกรถม้ากันไป การเริ่มต้นที่ถูกหลักที่สุด คือ เริ่มจากการมี “เป้าหมาย” ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะไม่สามารถตั้งเป้าหมายได้ เพราะเข้าใจว่า Big Data Project คือ เรื่องของการมี “ข้อมูล” เท่านั้น ดังนั้นวันนี้จะขอพูดเรื่องปริมาณข้อมูลที่เหมาะสมต่อการเริ่มทำ Big Data Project ดังนี้

1. เมื่อมีข้อมูลจำนวนมาก

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า จะทำ Big Data Project ต้องขอให้มีข้อมูลจำนวนมากก่อน ซึ่งไม่ถูกซะทีเดียว เพราะการมีข้อมูลเอาไว้มากๆ แต่ไม่เคยนำมาใช้ ทำให้ความสกปรกเกิดขึ้น เมื่อถึงเวลานำมาใช้จริง ๆ จะต้องมีขั้นตอนในการทำความสะอาดข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานาน และกินพลังงานอย่างมาก

กรณีตัวอย่าง การจัดการข้อมูลของภาครัฐ เช่น การตั้งงบของโรงพยาบาล ที่มีทั้งกฎจากกระทรวงการคลัง ข้อมูลประกันสังคมจากกระทรวงแรงงาน และนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอื่น ๆ ทำให้เจ้าของข้อมูลเป็นคนละภาคส่วนกัน จึงมีรูปแบบในการกรอกข้อมูล หรือการตั้งเบิกงบที่ไม่เหมือนกัน เป็นต้น 

2. เมื่อมีข้อมูลอยู่บางส่วน

กรณีที่มีข้ออยู่อยู่บางส่วน ถือว่าเป็นการเริ่มทำ Big Data Project ที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เพราะอย่างน้อยก็มีข้อมูลที่พอจะทำไปขึ้นเป็นต้นแบบ หรือโมเดลได้บ้าง และระบบการได้มาซึ่งข้อมูลยังไม่ซับซ้อนเกินไป 

กรณีตัวอย่าง กลุ่ม Retail มีการเก็บข้อมูลยอดสั่งซื้อสินค้ามา 3 ปี ถือว่ามีข้อมูลจำนวนหนึ่ง อาจไม่ได้ใหญ่โตมาก แต่เมื่อนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ ก็พบว่า ยอดขายที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ยอดขายที่แท้จริง เนื่องจากมีของขาดตลาด ทำให้มีช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่มีของขาย ส่งผลต่อความแม่นยำในการสร้างแบบจำลอง ซึ่งในกรณีนี้ หากไม่มีความคิดริเริ่มจะทำ Big Data Project อาจไม่ทราบได้เลยว่า องค์กรกำลังเผชิญมีปัญหาเรื่องการวางแผนอุปสงค์และอุปทานของสินค้า (Demand and Supply Planning)  

3. เมื่อไม่มีข้อมูลในระบบเลย

หลายองค์กรที่ไม่มีข้อมูลประวัติใด ๆ เก็บเอาไว้เลย ก็สามารถเริ่มทำ Big Data Project ได้เลยเช่นกัน เพราะการทำ Big Data Project เริ่มจากการวางเป้าหมายในการทำงานเสียก่อน เรารู้ก่อนว่า เราต้องการทำธุรกิจประเภทไหน และต้องการข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อวางแผนให้ได้ข้อมูลนั้น ๆ เข้ามาในระบบ

แต่ข้อเสียของการทำ Big Data Project โดยที่ไม่มีข้อมูลอยู่เลย นั้นคือ อาจต้องเสียเวลารอให้มีข้อมูลมากพอจะสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล หรืออาจต้องรอให้วางระบบอุปกรณ์ให้เรียบร้อยเสียก่อนนั้นเอง

กรณีตัวอย่าง การวางแผนระบบคมนาคมขนส่งของประเทศสิงคโปร์ที่มีนโยบายในการออกแบบระบบคมนาคมขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพโดยการใช้ Big Data ซึ่งแนวทางนี้ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มีข้อมูลจำนวนผู้โดยสารขึ้น-ลงต่อป้ายอย่างชัดเจน จนสามารถนำไปต่อยอดทำ Smart City ต่อได้

โดยสรุปแล้ว การทำจะเริ่ม Big Data Project นั้น ไม่ได้อยู่ที่ปริมาณ หรือการมีข้อมูล แต่อยู่ที่ว่าองค์กรนั้น มีเป้าหมาย หรือมีความเข้าใจในการทำ Big Data Project อย่างไรเสียมากกว่า จะเริ่มได้เมื่อไร ก็คือ เริ่มได้ เมื่อ “พร้อม” โดยที่คำว่า “พร้อม” นี้ก็อาจหมายถึงต้องมีทีมงานที่พร้อม และมีสภาพแวดล้อมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้วย

เพราะ Big Data Project มันใหญ่สมชื่อ ทั้งในมุมกว้าง และมุมลึก ดังนั้นการจะทำ Big Data Project ให้สำเร็จ จึงต้องมีการวางแผนให้ดี และมีความชัดเจนในทุกขั้นตอนการทำงาน ที่สำคัญ คือ “รอไม่ได้” เพราะทุกนาทีที่เสียไป คือ “ค่าเสียโอกาส” สำหรับองค์กรนั่นเอง

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

โครงการ Big Data แตกต่างจากโครงการ IT ทั่วไปอย่างไร

ทำไมโครงการ Big Data ต้องทำแบบ Customized

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ