TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Business LIBRA 2.0  vs หยวนดิจิทัล: ใส่เกียร์เดินหน้าเต็มสูบ

LIBRA 2.0  vs หยวนดิจิทัล: ใส่เกียร์เดินหน้าเต็มสูบ

นับจากเดือนเมษายน ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ COVID-19 ที่ส่งกระทบกับทุกภาคส่วนจนถึงปัจจุบัน ขณะที่มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญของสองฟากฝั่งในโลกแห่งการเงินดิจิทัลที่อาจเรียกได้ว่าอยู่บนหลักการต่างขั้วกัน แต่ทว่ามีจุดร่วมของเป้าประสงค์เดียวกันที่มุ่งผลักดันระบบการเงินดิจิทัล “โลก” ให้รุดหน้าไปเร็วกว่าที่ใครจะคาดคิด

ด้านหนึ่งคือความเคลื่อนไหวของสกุลเงินดิจิทัล Libra โดยองค์กรเอกชนอย่าง Libra Association ที่มีสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันสำคัญ ที่แม้ดูเหมือนจะต้องปรับกระบวนท่า โดยถอยกลับไปตั้งหลักในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ได้มีการอัพเดทข้อมูลใน whitepaper ฉบับใหม่ หรือเรียกกันว่า “Libra 2.0” ซึ่งมีปรับเปลี่ยนสาระสำคัญหลายประการ อาทิ

จากเดิมที่มีความพยายามมีบทบาทในการสร้างสกุลเงินและระบบเศรษฐกิจใหม่ มาเป็นการสร้างแพลตฟอร์มและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชำระเงินดิจิทัลที่เอื้อต่อการเชื่อมโยงกับธนาคารกลางแต่ละประเทศ

ตัวอย่างเช่น การเปิดทางให้สามารถสร้าง Stable Coin หรือสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าอ้างอิงคงที่กับสกุลเงินจริง (fiat currency) ของแต่ละประเทศนั้น ๆ บนแพลตฟอร์มของ Libra (โดยความร่วมมือกับธนาคารกลางของแต่ละประเทศ) และต้องสำรองเงินสกุลดังกล่าวในอัตราส่วน 1:1 เสมอ (เช่น ถ้าจะสร้าง 10 ล้าน LibraUSD ก็จะต้องสำรองเงิน 10 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในบัญชีธนาคารของ Libra เป็นต้น) หรืออาจรองรับการเชื่อมโยงกับสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางเอง (Central Bank Digital Currency : CBDC) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถือว่าเป็นการปรับกลยุทธ์และรูปลักษณ์ใหม่ ที่มีความเป็นไปได้และมีโอกาสที่จะได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐในนานาประเทศมากกว่าแนวทางเดิม

ขณะเดียวกัน สกุลเงินกลางที่จะเรียกว่า Global Libra จะยังคงอยู่ในระบบของ Libra โดยเปลี่ยนการค้ำประกัน จากเดิมที่ระบุให้ค้ำประกันด้วยสินทรัพย์หลากหลายรูปแบบโดยไม่มีรายละเอียดการประเมินมูลค่าและองค์ประกอบที่ชัดเจน มาเป็นค้ำประกันด้วย stable coin ทั้งหลายที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มของ Libra เอง

โดยมีมูลค่าอิงตามค่าเฉลี่ยของทุกสกุลเงินที่รวมอยู่ใน “ตะกร้า” ของ Global Libra นั้น (ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับ SDR หรือ Special Drawing Rights ของ IMF)

นอกจากนี้ ใน whitepaper ฉบับใหม่ยังระบุด้วยว่า Libra Association กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการขอใบอนุญาตระบบการชำระเงินจาก FINMA ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศสวิสเซอร์แลนด์

รวมถึงการระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้ที่เป็นตัวแทนผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนภายใต้แพลตฟอร์มของ Libra ควรต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูและในแต่ละประเทศ และต้องผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบจาก Libra Association ในการดำเนินกิจการบนแพลตฟอร์มของ Libra อีกด้วย

มากกว่านั้น Libra Association เองได้สร้างแรงกระเพื่อมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นข่าวการแต่งตั้ง CEO คนแรกอย่างนาย Stuart A. Levey อดีตปลัดกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่ดูแลด้านการก่อการร้ายและข่าวกรองทางการเงิน หรือข่าวใหม่สด ๆ ร้อน ๆ เกี่ยวการต้อนรับสมาชิกใหม่ล่าสุดอย่างเทมาเส็กที่มีกระทรวงการคลังสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นหลัก นับว่า “เล่นใหญ่” ไม่ใช่น้อยทีเดียว

อีกด้านหนึ่งธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Bank of China หรือ PBoC) ได้ออกมายืนยันข่าวความคืบหน้าในการออกสกุลเงินดิจิทัลของประเทศจีน หรือ Digital Currency Electronic Payment (DC/EP) ที่ธนาคารกลางจีนเริ่มทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 นั้น ว่ายังคงอยู่ในช่วงของการทดสอบระบบการใช้งานเป็นการภายใน

โดยทดสอบในสภาพแวดล้อมจำกัดใน 4 เมือง ได้แก่ เซินเจิ้น ซูโจว สงอัน และเฉิงตู ซึ่งโจทย์การทดสอบอาจแตกต่างกันในแต่ละเมือง อาทิ กรณีของซูโจวเป็นการทดสอบการจ่ายเงินช่วยเหลือการเดินทางผ่านระบบขนส่งมวลชนสำหรับเจ้าหน้าที่ทางการจีนเป็น DC/EP ขณะที่กรณีของสงอันเป็นการทดสอบเกี่ยวกับกิจการค้าปลีก เป็นต้น

โดยการทดสอบอาจกินเวลานาน 6-12 เดือน ทั้งนี้ธนาคารกลางจีนยังไม่ได้มีการกำหนดเวลาที่จะเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ มีเพียงแผนที่จะทำการทดสอบภายในเพิ่มเติมอีกครั้งระหว่างการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว ในปี พ.ศ. 2565

แม้การแถลงอย่างเป็นทางการของธนาคารกลางจีนไม่ได้มีรายละเอียดที่ชัดเจนมากนัก แต่ข่าวลือต่าง ๆ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงภาพข่าวตัวอย่างหน้าจอและ link สำหรับดาวน์โหลดแอปพลิเคชันซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์และสกุลเงินดิจิทัลที่ธนาคารกลางจีนจะทำการทดสอบดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ในระดับที่ใกล้จะถึงจุดที่จะเปิดใช้งานจริง

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวระบุว่า มีอย่างน้อย 19 แบรนด์ร้านอาหารและร้านค้าปลีก ยอดนิยม อาทิ JD Supermarket, Subway และ McDonald’s เป็นต้น ที่จะเข้าร่วมการทดสอบสกุลดิจิทัลดังกล่าว

รวมถึง มีการตั้งข้อสังเกตด้วยว่า Tencent และ Ant Financial ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นยักษ์ใหญ่ในจีนก็น่าจะเข้าร่วมด้วยเช่นเดียวกัน

จอมขวัญ คงสกุล CFA CAIA ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทีมโฆษก และฝ่ายฟินเทค ให้ความเห็นว่า เมื่อเปรียบ DC/EP กับสกุลเงินดิจิทัลที่มีเป้าหมายในระดับ Global Scale อย่าง Libra นั้น จะมีข้อแตกต่างกันหลายในประการ เช่น

1. ระบบชำระเงินสกุลดิจิทัล (DC/EP) ของธนาคารกลางจีนนั้น ออกและควบคุมโดยรัฐบาลจีน ในขณะ Libra ออกและควบคุมโดยภาคเอกชนในรูปของ Libra Association (กลุ่มบริษัทเอกชนชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงเฟซบุ๊กเองด้วย)

2. DC/EP มีสภาพเป็นสกุลเงินเดียวโดยใช้เงินหยวนค้ำประกันในอัตราส่วน 1 : 1 อย่างตรงไปตรงมา ในขณะที่ Libra 2.0 มีแผนจะสร้าง Stable Coin ขึ้นหลายสกุล โดยที่แต่ละสกุลย่อย ๆ จะค้ำประกันด้วย Reserve ที่เป็นสกุลเงินนั้น ๆ เพียงสกุลเดียว อาทิ LibraUSD, LibraEUR, LibraGBP หรือ LibraSGD ส่วนสกุลเงินกลางของ Libra ก็จะเปลี่ยนเป็นการค้ำประกันด้วย Stable Coin หลาย ๆ สกุลเหล่านั้นแทน (เป็นที่สังเกตและคาดได้ว่าไม่น่าจะมีสกุลเงินหยวนรวมอยู่ในนั้น)

3. กลไกการทำงานของ Libra ยังคงอยู่บนพื้นฐานของระบบบล็อกเชนเป็นหลัก ในขณะที่ DC/EP นั้น ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเป็นเทคโนโลยีบล็อกเชนหรือมีการผสมผสานกับเทคโนโลยีอื่น แต่มีแนวโน้มที่เป็นลักษณะรวมศูนย์ (Centralized) และอยู่ในการควบคุมของรัฐบาลมากกว่า

4. Libra ดูเหมือนมีเจตนาที่จะประกาศตัวเองเป็นสกุลเงินใหม่อย่างชัดแจ้ง ซึ่งรวมไปถึงการสร้าง ecosystem ของระบบการใช้งานและผู้ให้บริการชำระเงินใหม่ทั้งหมด ในขณะที่ DC/EP ของรัฐบาลจีนนั้น ไม่ได้เป็นการสร้างสกุลเงินใหม่และลบล้างสกุลเงินหยวนเดิม แต่ดูเหมือนมีเจตนาที่จะเปลี่ยนผ่านจากการใช้เงินสดเป็นการใช้จ่ายด้วยระบบดิจิทัลเป็นหลัก และไม่ได้เป็นสร้างขึ้นมาเพื่อแทนที่การให้บริการ Electronic Payment ที่มีการใช้งานอยู่แล้วเดิมอย่าง WeChat Pay หรือ AliPay แต่เพื่อเป็นการเชื่อมโยงให้ระบบชำระเงินเหล่านี้เปลี่ยนมาอ้างอิงกับเงินดิจิทัลแทนเงินสดในรูปแบบเดิม

หากมองจากปัจจุบัน คงยังไม่มีข้อสรุปว่าระหว่าง Libra 2.0 ของภาคเอกชน หรือ DC/EP ของรัฐบาลจีน ใครจะก้าวไปถึงการใช้งานจริงและเป็นที่แพร่หลายมากกว่ากัน แต่สิ่งที่ทั้ง 2 ฟากฝั่งเล็งเป้าหมายไว้ มีอย่างน้อยหนึ่งประเด็นที่น่าจะเป็นจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ การผลักดันเศรษฐกิจและสังคมโลกไปสู่การขับเคลื่อนด้วยสกุลเงินดิจิทัลเต็มรูปแบบ

การประกาศความคืบหน้าของทั้งสองขั้วดูจะกลายเป็น New Normal ในภาวะที่โลกยังเผชิญวิกฤต ซึ่งระบบการเงินดิจิทัลเป็นที่ต้องการเพื่อทดแทนการใช้จ่ายทางกายภาพ และน่าจะเป็นตัวเร่งให้หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของนานาประเทศต้องปรับตัวให้ทันกับการมาของเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ก่อนที่จะ “ตกขบวน” และถูกกลืนหายไปจากระบบการเงิน “โลก” ในที่สุด

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

ปตท. มอบไข่ไก่ฟรี 4 ฟอง เมื่อเติมน้ำมันที่ PTT Station ในกรุงเทพฯ ครบ 300 บาท

อธิบดีกรมการค้าภายใน และผู้บริหารบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) สานต่อโครงการพื้นที่ปันสุขเพื่อชุมชน เติมเต็มรอยยิ้มให้เกษตรกรไทย

‘แอ๊พซินท์’ ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลสัญชาติไทยติดอันดับบริษัทเติบโตสูง จากการจัดอันดับโดย Financial Times

แอ๊พซินท์ (Appsynth) ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลชั้นนำ ได้รับการยอมรับในฐานะบริษัทเทคโนโลยีที่เติบโตเร็วที่สุดรายหนึ่ง จากรายงานการจัดอันดับประจำปีที่มีชื่อเสียงของ Financial Times

ออปโป้ เปิดตัว “OPPO Find N2 Flip” ราคา 29,990 บาท มอบประสบการณ์พับที่ดีกว่า

ออปโป้ ไทยแลนด์ รุกตลาดสมาร์ทโฟนจอพับ พลิกเกมพร้อมสร้างประสบการณ์พับที่ดีที่สุด เปิดตัวนวัตกรรม “OPPO Find N2 Flip”

60 ปี ‘คิงสเตลล่า กรุ๊ป’ ทรานส์ฟอร์มครั้งใหญ่ กางแผน 5 ปี ทุ่มงบ 250 ล้านบาท โกยยอดทะลุ 2,000 ล้านบาท

คิงสเตลล่า กรุ๊ป จัดทัพองค์กรในรอบ 60 ปี เดินหน้าทรานส์ฟอร์มกลุ่มบริษัทในเครือ หวังยกระดับการดำเนินธุรกิจสอดรับกับสถานการณ์

PUBAT ชวนทุกคนเป็น “Bookfluencer” ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 30 มี.ค. – 9 ม.ย. นี้

สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย หรือ PUBAT เตรียมจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21

Traveloka เปิดตัว ใบเฟิร์น-พิมพ์ชนก แบรนด์แอมบาสเดอร์ในประเทศไทย และเวียดนาม

Traveloka แพลตฟอร์มท่องเที่ยวชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แต่งตั้ง ใบเฟิร์น – พิมพ์ชนก ดาราชื่อดัง เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนใหม่ในประเทศไทยและเวียดนาม

LINE ดัน ‘LINE หมอพร้อม’ สู่ Digital Health Platform เพื่อคนไทย

LINE โชว์ศักยภาพ LINE OA เพื่อการเติบโตของธุรกิจและบริการสาธารณะ สู่แรงกำลังสำคัญ ผลักดัน “LINE หมอพร้อม” ก้าวเป็น Digital Health Platform

ไบโอเทค สวทช. เปิดโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค มาตรฐานสากล

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เปิดตัวโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค

Bitkub ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ เดินหน้า Collaboration for work สู่ยุค Fourth Industrial Revolution

บิทคับ อะคาเดมี ร่วมกับ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ

วาโก้ ชวนทุกคน ‘ทิ้งบราเก่าถูกที่ ดีต่อเรา รักษ์ต่อโลก’

หนึ่งในวิกฤติที่โลกของเรากำลังเผชิญคือ สภาพอากาศที่รุนแรงสุดขั้วเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

MUST READ

ออปโป้ เตรียมเปิดตัวสมาร์ทโฟนแฟลกชิป จอพับรุ่นแรก OPPO Find N2 Flip

ดีแทค แนะนำแพ็กเกจใหม่ DTAC 5G BETTER WONDERFUL ดูฟรีทุกความบันเทิง

Traveloka เปิดตัว ใบเฟิร์น-พิมพ์ชนก แบรนด์แอมบาสเดอร์ในประเทศไทย และเวียดนาม

Traveloka แพลตฟอร์มท่องเที่ยวชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แต่งตั้ง ใบเฟิร์น – พิมพ์ชนก ดาราชื่อดัง เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนใหม่ในประเทศไทยและเวียดนาม

ปัญหาแบงก์ในสหรัฐฯ ล้ม… ไทยกระทบทางอ้อม แต่ต้องติดตามต่อเนื่อง

จากการปิดตัวของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้ หน่วยงานของทางการสหรัฐฯ และธนาคารกลางสหรัฐฯ กำลังเร่งออกมาตรการมุ่งเป้าดูแลผู้ฝากเงิน

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท หนุนใช้หุ่นยนต์โคบอท ดันไทยสู่ EV Hub

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท บริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน (โคบอท) จากประเทศเดนมาร์ก พร้อมหนุนผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยใช้หุ่นยนต์โคบอทช่วยการผลิต

บลูบิค เปิดแนวคิด “Digital-First Company” เทรนด์ธุรกิจโลกอนาคต โอกาสใหม่แห่งการเติบโต

บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK เปิดเทรนด์สำคัญในการทำธุรกิจแห่งอนาคตสู่ “Digital-First Company” รับมือความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น